ประวัติพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร โดยสังเขป ท่านพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร มีนามเดิมว่า เสถียร ทองโคตร์ บิดาชื่อว่าพรหมา มารดาชื่อ ก้าน ท่านถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๘ คํ่า เดือน ๔ ปีระกา ณ ตำบลโนนสัง อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี ท่านมีพี่น้องรวม ๔ คน คือ ๑.ท่านอาจารย์เสถียร ทองโคตร์ ๒.นายวิเชียร ทองโคตร์ ๓.นางหนูเพียร ทองโคตร์ ๔.นายบัวเรียน ทองโคตร์ โยมบิดา มารดา ของท่านมีอาชีพทำนา ท่านเรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔ จากนั้นครอบครัวของท่าน ได้ย้ายไปอยู่ที่จังหวัดเชียงราย ต่อมาเมื่อมีอายุครบบวช ท่านได้บรรพชาอุปสมบท ที่วัดป่าสำราญนิวาส ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐ มีพระครูการุณยธรรมนิวาส (หลวงปู่หลวง กตปุญโญ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระคำมูล ชิตมาโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ (ปัจจุบันอยู่ที่วัดรัตนวนาราม จ.พะเยา เป็นเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย-พะเยา) ได้ฉายา สมาจาโร สังกัดธรรมยุตินิกาย พรรษาที่ ๑-๔ จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ขาล ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า อ.เวียงชัย จ.เชียงราย พรรษาที่ ๕ จำพรรษาที่ บ้านอีก้อ อ.แม่สาย จ.เชียงราย พรรษาที่ ๖-๗ ท่านได้กลับไปจำพรรษา อยู่กับหลวงปู่ขาล พรรษาที่ ๘ ท่านได้ธุดงค์และจำพรรษา อยู่ทางภาคอีสาน หลังออกพรรษาแล้ว พอดีช่วงนั้น มีงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ผาง จิตตคุตโต ท่านพระอาจารย์เสถียร ก็ได้ไปช่วยงานท่านด้วย และได้พบกับท่านพระอาจารย์สาคร ธมฺมาวุโธเป็นครั้งแรกในงานนี้ เมื่อเสร็จงานพระราชทานเพลิงศพ หลางปู่ผางแล้ว ท่านจึงได้ธุดงค์เรื่อยมา จนถึงอำเภอทองผาภูมิ พรรษาที่ ๙-๑๐ จำพรรษาอยู่ที่วัดเวฬุวัน ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ในช่วงออกพรรษา ท่านได้ไปวิเวกตามป่า ตามเขาในเขตป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อาศัยบิณฑบาตจากชาวกะเหรี่ยง จนท่านสามารถพูดภาษากะเหรี่ยง ได้อย่างชำนิชำนาญ พรรษาที่ ๑๑-๑๖ จำพรรษาที่วัดวาชูคุ ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี วัดนี้เป็นวัดอยู่กลางป่า ชาวบ้านเป็นชาวกะเหรี่ยง ในช่วงที่ท่านมาจำพรรษาใหม่ๆ ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือฤาษี ไว้ผมยาวเกล้าเป็นมวย แล้วใช้ผ้าผูกทับไว้ ท่านอาจารย์ก็ได้แนะนำสั่งสอน ให้ชาวบ้านยึดมั่นในพระรัตนตรัย นำเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่สักการะ จนชาวบ้านส่วนใหญ่ หันมาปฏิบัติตาม บ้างก็ส่งลูกหลานมาบวช ในบวรพุทธศาสนา หลายคน หรือเมื่อมีเรื่องทุกข์เรื่องร้อนประการใด ไม่ว่าเจ็บไข้ได้ป่วย ความเป็นอยู่ การทำมาหากิน ก็จะมาให้ท่านอาจารย์ ช่วยสงเคราะห์ให้ ซึ่งท่านอาจารย์ ก็เมตตาช่วยสงเคราะห์ ด้วยดีทุกรายการไป ประดุจดังพี่น้องร่วมสายโลหิต ที่ต้องดูแลและเอื้ออาทร ให้พ้นทุกข์พ้นยาก ดังนั้นชาวกะเหรี่ยง ทั้งหมู่บ้านใกล้ไกล จึงให้ความเคารพ ยำเกรงและศรัทธาท่านมาก เวลาท่านอาจารย์ไปทางหมู่บ้านไหน ท่านมักจะชักชวนชาวบ้าน พัฒนาแหล่งนํ้า โดยให้ชาวบ้านช่วยกันขุดบ่อ ดังนั้นชาวบ้านจึงตั้งสมญา ให้ท่านเป็นภาษากะเหรี่ยงว่า"ซองค่าที่กะเล่อ" ซึ่งหมายถึงพระบ่อนํ้า การเดินทางจากหมู่บ้านหนึ่ง ไปหมู่บ้านหนึ่ง ก็ต้องใช้วิธีเดินเท้า ใช้เวลาเป็นวันๆคืนๆ จึงจะถึงจุดหมาย เรื่องรถนั้น แทบไม่ต้องพูดถึง ยิ่งฤดูฝนด้วยแล้ว พาหนะที่ดีที่สุดในแถบที่ท่านอาจารย์ จำพรรษาอยู่ ก็คือช้าง ในฤดูแล้ง ก็พอที่จะได้พบเห็นรถอยู่บ้าง แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรค ในการประพฤติปฏิบัติ และพัฒนาชาวกะเหรี่ยง สำหรับพระอย่างท่านอาจารย์ ท่านยังคงปฏิบัติ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แม้ใกล้วาระสุดท้าย ที่ท่านอาพาธอย่างหนัก ด้วยโรคมะเร็ง เวทนาจะกล้าสักเพียงใดก็ตาม ท่านยังคงปฏิบัติ และพัฒนาอย่างปกติ โดยมิได้หวั่นไหว ต่อธาตุขันธ์ที่ใกล้จะแตกดับเลย ท่านวางธาตุขันธ์ โดยอาการสงบสุข ที่วัดวาชูคุ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖ เวลา ๒๔.๐๐น. สิริรวมอายุ ๓๖ ปี พรรษา ๑๖ ปฏิปทาและข้อวัตรปฏิบัติ ท่านพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร ท่านเป็นผู้ที่มีปฏิปทา เด็ดเดี่ยวและกล้าหาญมาก เป็นพระที่หาได้ยากองค์หนึ่ง ในสมัยปัจจุบัน ครั้งหนึ่ง ท่านสนธนาธรรมกับสหธรรมมิกของท่าน เกี่ยวกับเรื่องทำความเพียร ท่านยกตัวอย่างการทำความเพียร เมื่อสมัยบวชใหม่ๆ จิตใจฟุ้งซ่าน รำคาญมาก ท่านจึงตัดสินใจให้หมู่เพื่อน มัดแขน มัดขา ไว้กลางป่าในท่านั่งสมาธิ ถึง ๓ วัน ๓ คืน ท่านเล่าว่าเวทนาเกิดขึ้นมาก ท่านจึงกำหนดความตายเป็นอารมณ์ จิตจึงวางเวทนา แม้แต่สังขารก็วาง เหลือแต่ความรู้ที่สว่างอยู่เฉยๆ ไม่รู้นานเท่าไร จิตจึงจะถอนออก เมื่อครบ ๓ วันแล้ว หมู่เพื่อนจึงมาแก้มัดออก แล้วจึงค่อยๆช่วยกันนวด ตามแขนตามขา เมื่อยกมือที่วางซ้อนกันออก ปรากฏว่า ตรงฝ่ามือและขาที่ซ้อนกันนั้น มีลักษณะเหมือนไฟไหม้ ตั้งแต่นั้นมา การทำความเพียรของท่าน เมื่อจิตใจฟุ้งซ่าน ท่านมักจะไปหาที่อยู่องค์เดียว ในถํ้าหรือป่าลึกๆและบำเพ็ญภาวนา นานเป็นวันๆคืนๆไป ท่านบอกว่า การทำความเพียร เมื่อจิตใจมีรากฐานดีแล้ว การภาวนาเป็นวันๆคืนๆ มีแต่จะเพิ่มความชำนาญ ของสมาธิไปเรื่อยๆ การพิจารณาการของท่านๆมักจะใช้อิริยาบถเดิน บางครั้งท่านจะเดินไปตามป่าคนเดียว ในตอนกลางคืน และจะกลับมาถึงศาลา ก็ตอนใกล้สว่างเป็นประจำ คราวหนึ่งกลางพรรษาที่วัดวาชูคุ ฝนตกหนัก ถนนหนทางถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง ทั้งตามลำห้วย นํ้าป่าก็พัดแรง ท่านอาจารย์อาพาธเป็นไข้อย่างหนัก หนาวสั่น ท่านจึงสั่งให้ชาวบ้าน ตัดลำไม้ไผ่มาผูกเป็นแพเล็กๆ แค่นั่งคนเดียว แพก็เกือบจะล่มแล้ว นำไปลอยไว้ในหนองนํ้า ใกล้ๆกับกุฏิที่พัก แล้วท่านจึงขึ้นไปนั่งบนแพ ปล่อยแพให้ลอยอยู่กลางหนองนํ้า นั่งภาวนาตากแดดตากฝน ลอยนํ้าอยู่ทั้งวันทั้งคืน จนอาการดีขึ้น ต่อเมื่อมีผู้ไปถามท่านว่า ทำไมต้องไปอยู่บนแพเล็กๆ เวลาเป็นไข้อย่างหนักด้วยท่านก็ว่า มันอยากเป็นไข้นี่ ถ้าควบคุมตัวเองไม่ได้ กระดุกกระดิกก็ให้แพล่มจมนํ้าไปเลย โดยปกติแล้วท่านอาจารย์เสถียร ท่านชอบธุดงค์ไปยังที่ต่างๆ ที่เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร ภาวนาอยู่เสมอทั้งทางภาคเหนือ ภาคอีสาน ตะวันออก ตะวันตก บางคราวก็เลยไปยังประเทศพม่าด้วย ท่านเล่าว่ามีอยู่ครั้งหนึ่ง ที่ดงลาน จ.เลย ท่านภาวนาแล้วบังเกิดนิมิต เป็นที่อัศจรรย์หลายเรื่องหลายราว ท่านก็ว่าเราก็รู้แล้วจะไม่หลงหรือ ดังนั้นท่านจึงเดินทางทางกลับ ไปกราบเรียนหลวงปู่ขาล หลวงปู่ท่านว่า ถ้ารู้แล้วมีสติจะหลงอะไร หรือเวลาท่านไปธุดงค์ทางพม่า ท่านมักจะพักตามป่าช้า ท่านว่าป่าทางพม่าสวยดี มีต้นไม้ใหญ่ ร่มครึ้ม เหมือนป่าดึกดำบรรพ์ เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรภาวนาเป็นยิ่งนัก คราวหนึ่ง ช่วงที่ท่านอยู่วาชูคุ ท่านบังเกิดความคิดถึง พ่อ แม่ ครูบาอาจารย์ ที่เชียงรายเป็นอย่างยิ่ง ท่านจึงเดินทางจะกลับไปบ้าน พอถึงลำปาง ท่านเห็นชาวบ้านเขาฝึกช้าง แยกลูกแยกแม่จากกัน ท่านก็เลยพิจารณาปล่อยวาง แล้วก็เลยเดินทางกลับวาชูคุอีก ส่วนมากท่านอาจารย์ จะพูดน้อยและถ่อมตน หรือบางทีมีญาติโยม ถามธรรมะท่านๆก็จะตอบว่า ไม่รู้สิ แต่เมื่อถูกรบเร้ามากๆท่านก็ว่า เรามันพระเล็กพระน้อย ให้ไปถามครูบาอาจารย์ ซึ่งหมายถึง ท่านพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ ส่วนเรื่องบริขารของท่านๆ จะไม่กระตือรือร้น ท่านมักจะใช้ของขาดๆเก่าๆ เพียงแต่ไม่ผิดพระธรรมวินัยเป็นอันใช้ได้ ยิ่งเรื่องอาหารการฉัน ของท่านอาจารย์ด้วยแล้ว เป็นไปอย่างเรียบง่าย ตามฐานะความเป็นอยู่ ศรัทธาของญาติโยม แม้แต่นํ้าพริกกะเหรี่ยง ซึ่งขึ้นชื่อลือชาในเรื่องความเผ็ด เค็ม ท่านก็ฉันได้อย่างเอร็ดอร่อย ท่านชอบชวนญาติโยม ไปเที่ยววัดท่านที่วาชูคุ โดยบอกว่า ไปกินชะอมต้มเกลือ แล้วท่านก็ยิ้มๆ ท่านอาจารย์ มักมีอารมณ์ดี และอารมณ์ขันอยู่เสมอ ครั้งหนึ่ง ญาติโยมที่ทำอาหารถวายพระนอนตื่นสาย กลัวว่าจะทำอาหารถวายพระไม่ทัน ก็เลยกราบเรียนท่านอาจารย์ว่า ขอให้พระรอก่อน แต่ท่านไม่รอ ท่านบอกว่าท่านชื่อเสถียร ท่านไม่ใช่พระรอ หรือคราวหนึ่ง โยมชาวกะเหรี่ยง ต้มยอดฟักทองมาถวายท่าน โดยต้มมาทั้งเถาเลย ท่านประมาณดูว่าขดได้ ๓ รอบบาตร ท่านรับประเคนแล้วไม่ว่าอะไร พอฉันเสร็จแล้ว ก็ออกไปหัวเราะกับสหธรรมมิกของท่าน ตรงที่ล้างบาตร โดยปกติ ลูกศิษย์ชาวกะเหรี่ยง ของท่านอาจารย์ ส่วนมากแล้ว จะไม่ค่อยได้เข้ามาในเมืองบ่อยนัก เวลาท่านเดินทางไปกรุงเทพฯ ท่านมักจะพาเด็กๆชาวกะเหรี่ยง ไปกับท่านด้วยเสมอ คราวละหลายสิบคน ญาติโยมมักจะถามว่า ไม่กลัวเด็กๆพลัดหลงหรือ ท่านก็บอกว่าไม่กลัว เพราะเวลาจะข้ามถนน หรือเดินไปทางไหน ก็ให้เด็กๆจับมือกันไว้เป็นแถวกันหลง แล้วท่านก็หัวเราะ จวบจนเมื่อท่านเริ่มอาพาธ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง แต่ท่านอาจารย์ก็มิได้มาให้แพทย์ตรวจ แต่ประการใด คงเป็นเพราะอยู่ในระหว่างพรรษา ท่านจึงไม่ยอมเดินทางไปไหน ต่อเมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านถึงยอมอยู่ในความดูแลของแพทย์ แพทย์ลงความเห็นว่า ท่านเป็นโรคมะเร็งในต่อมนํ้าเหลือง ท่านพักรักษาตัว อยู่ที่โรงพยาบาล ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก็ออกจากโรงพยาบาล มาพักที่วัดเวฬุวัน จากนั้น จึงเข้าไปอยู่วัดท่านที่วาชูคุ วัดที่มีความผูกพันกับท่านอาจารย์มาก ต่อมาท่านก็มรณภาพ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖ หลังจากที่ได้ประชุมเพลิงศพท่านแล้ว บรรดาญาติโยม ได้พากันนำอัฐิธาตุส่วนหนึ่ง ของท่านอาจารย์กลับไปเชียงราย ตามคำปรารภของท่านอาจารย์ ก่อนมรณภาพ และได้ไปกราบนมัสการหลวงปู่ขาล ซึ่งเป็นอาจารย์องค์แรก ของท่านอาจารย์เสถียร ท่านได้เมตตา ต่อบรรดาญาติโยม ที่ไปกราบท่านในครั้งนั้นมาก พร้อมกับปรารภให้บรรดาญาติโยมฟัง ตอนหนึ่งว่า “ท่านอาจารย์เสถียร เคยเกิดเป็นกะเหรี่ยงมาหลายภพหลายชาติ” ปกิณกะธรรม อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่กับมิตรให้ระวังวาจา เราจะกลัวอะไร เราพิจารณามาจนพอแล้ว เราก็พูดเล่น พูดหัวไปอย่างนั้นแหละ ใครจะรู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ เธอไม่รู้หรือว่าใจเราวันหนึ่งๆมันเปลี่ยนไปตั้งกี่ครั้ง ผู้ที่เดินทางอยู่ย่อมถึงจุดหมายไม่ช้าก็เร็ว หนูตัวเล็กๆมันกินนํ้าในห้วย มันก็กินได้แค่พออิ่มท้องมันเท่านั้น เวทนา เมื่อถึงที่สุดแล้ว จะเปรียบเสมือนพระอาทิตย์ตอนเที่ยงวัน หลังจากนั้นมันก็จะค่อยๆลดลงไป งานทางด้านพัฒนาทางด้านวัตถุและบุคคล ท่านอาจารย์เสถียร ได้ดำริและริเริ่ม ให้มีการพัฒนาเกี่ยวกับ ความเป็นอยู่ของชาวไทยกะเหรี่ยง ในเขตตำบลไล่โว่ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งงบประมาณทั้งหมด ได้มาจากแรงศรัทธา จากบรรดาญาติโยม ที่รวมพลังกัน ทั้งพลังกาย พลังใจ พลังทรัพย์และพลังความคิด ดังที่ท่านอาจารย์ ได้ดำริวางแนว และปฏิบัตินำให้บรรดาญาติโยม ปฏิบัติตามจนสำเร็จ ตามความมุ่งมาด ปรารถนา ดังผลงานที่ได้แล้วเสร็จไป มีดังนี้ จัดสร้างระบบประปาภูเขาบ้านวาชูคุ จัดสร้างระบบประปาภูเขาซาละวะ จัดสร้างศาลาอเนกประสงค์บ้านวาชูคุ จัดสร้างศาลาอเนกประสงค์บ้านซาละวะ จัดให้มีการอบรมเยาวชน ในเขตตำบลไล่โว่หลายครั้ง จัดส่งชาวบ้านที่มีความรู้ภาษาไทย มารับการฝึกอบรมผู้สื่อข่าวสาธารณสุข ณ โรงพยาบาลทองผาภูมิ นำเยาวชนไปทัศนศึกษา ณ กรุงเทพมหานคร ริเริ่มให้มีการจัดสร้าง โรงเรียนบ้านทิไร่ป้า ให้ถูกต้องตามหลักสูตร ของกระทรวงศึกษาธิการ ริเริ่มให้มีการจัดสร้าง สถานีอนามัยบ้านทิไร่ป้า ตามมาตรฐานและระเบียบ ของกระทรวงสาธารณสุข แนะนำให้ชาวบ้าน ปลูกพืชผักโดยไม่ใช้สารเคมี สารพิษต่างๆ
การสร้างเจดีย์พระอาจารย์เสถียร สมาจาโร หลังจากพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๓๖แล้ว ทางคณะสงฆ์นำโดยพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธและคณะศิษยานุศิษย์ ได้มีดำริร่วมใจกัน ในการจัดสร้างเจดีย์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ อริยสงฆ์แห่งป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และเป็นสิ่งเคารพบูชา สำหรับพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป และโดยเฉพาะ ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ในพื้นที่ซึ่งมีความผูกพัน กับพระอาจารย์เป็นอย่างมาก จักได้เป็นขวัญและกำลังใจ ในการดำเนินชีวิต ที่ยึดมั่นในหลักคุณงามความดี มีศีลธรรม ตามหลักพระธรรมคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไป เฉกเช่นพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร พระอริยสงฆ์ ผู้ประกาศหลักสัจธรรม ความจริงของชีวิต และดำเนินชีวิตเป็นแบบอย่าง ของเหล่ามนุษย์ทั้งหลาย ผู้ได้ชื่อว่า เป็นผู้ประเสริฐอย่างแท้จริง สำหรับการก่อสร้างเจดีย์ พระอาจารย์เสถียร สมาจาโรนั้น ได้สร้างทับ บริเวณที่เป็นพื้นที่ ในการประชุมเพลิง ท่านพระอาจารย์ ณ วัดวาชูคุนั้นเอง และฉลองสมโภชเจดีย์ เมื่อวันศุกร์ ที่ ๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๗ หลังจากนั้น ในทุกๆปี เมื่อถึงวันคล้ายวันมรณภาพ ของพระอาจารย์เสถียรแล้ว ทางคณะสงฆ์และเหล่าศิษยานุศิษย์ จึงได้จัดให้มีการน้อมรำลึก และสักการะเจดีย์ อันเป็นองค์แทนแห่ง พระอาจารย์ผู้ทรงศีลวิสุทธิ์ ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบ ควรทักษิณาทาน ควรอัญชลีกรรม เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด เป็นนาบุญอันประเสริฐ อันยากจะหานาอื่นเทียบเทียม เป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน งานประจำปีสักการะเจดีย์พระอาจารย์เสถียร สมาจาโร
เหล่าพุทธบริษัทที่มาร่วมงานจะได้ทำบุญตักบาตร สมาทานรักษาศีล ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์
ก่อนวันประกอบพิธีสักการะเจดีย์ ในตอนเย็น จะมีการเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อเป็นสิริมงคล แก่เหล่าพุทธบริษัทที่มาร่วมงาน เสร็จแล้ว จะมีการแสดงพื้นบ้าน รำตง ของเหล่าเยาวชนสตรี ในหมู่บ้าน มาแสดงให้แขกผู้มาเยือนได้ชมเป็นขวัญตา
การทำพิธีสักการะเจดีย์ จะทำพิธีในวันสุดท้ายของช่วงวันงาน ซึ่งจะมีทั้งพิธีสงฆ์ และพิธีของชาวบ้าน เชื้อสายกะเหรี่ยงโพล่ว แห่งป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก พิธีสงฆ์ มีการเจริญพระพุทธมนต์ นำคารวะขอขมา และพรมนํ้าหอมรอบเจดีย์
พิธีพื้นบ้านชาวกะเหรี่ยง มีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นตัวแทนกล่าวคำขอขมาเป็นภาษากะเหรี่ยง และกรวดนํ้าอุทิศส่วนกุศล เสร็จแล้วร่วมกันพรมนํ้าหอม รอบเจดีย์ด้วยความเคารพ เพื่อเป็นสิริมงคล แก่ชีวิตที่ได้มาร่วมงานบุญในครั้งนี้
โครงการอนุาักษ์และฟื้นฟู ศิลปะวัฒนธรรมฯ ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ปี ๒๕๕๓ (คลิกเพื่อดาวน์โหลด) โครงการอนุาักษ์และฟื้นฟู ศิลปะวัฒนธรรมฯ ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ปี ๒๕๕๔ (คลิกเพื่อดาวน์โหลด)

 

จัดทำโดย คณะศิษย์วัดป่ามณีกาญจน์

ประวัติพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร โดยสังเขป ท่านพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร มีนามเดิมว่า เสถียร ทองโคตร์ บิดาชื่อว่าพรหมา มารดาชื่อ ก้าน ท่านถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๘ คํ่า เดือน ๔ ปีระกา ณ ตำบลโนนสัง อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี ท่านมีพี่น้องรวม ๔ คน คือ ๑.ท่านอาจารย์เสถียร ทองโคตร์ ๒.นายวิเชียร ทองโคตร์ ๓.นางหนูเพียร ทองโคตร์ ๔.นายบัวเรียน ทองโคตร์ โยมบิดา มารดา ของท่านมีอาชีพทำนา ท่านเรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔ จากนั้นครอบครัวของท่าน ได้ย้ายไปอยู่ที่จังหวัดเชียงราย ต่อมาเมื่อมีอายุครบบวช ท่านได้บรรพชาอุปสมบท ที่วัดป่าสำราญนิวาส ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐ มีพระครูการุณยธรรมนิวาส (หลวงปู่หลวง กตปุญโญ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระคำมูล ชิตมาโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ (ปัจจุบันอยู่ที่วัดรัตนวนาราม จ.พะเยา เป็นเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย-พะเยา) ได้ฉายา สมาจาโร สังกัดธรรมยุตินิกาย พรรษาที่ ๑-๔ จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ขาล ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า อ.เวียงชัย จ.เชียงราย พรรษาที่ ๕ จำพรรษาที่ บ้านอีก้อ อ.แม่สาย จ.เชียงราย พรรษาที่ ๖-๗ ท่านได้กลับไปจำพรรษา อยู่กับหลวงปู่ขาล พรรษาที่ ๘ ท่านได้ธุดงค์และจำพรรษา อยู่ทางภาคอีสาน หลังออกพรรษาแล้ว พอดีช่วงนั้น มีงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ผาง จิตตคุตโต ท่านพระอาจารย์เสถียร ก็ได้ไปช่วยงานท่านด้วย และได้พบกับท่านพระอาจารย์สาคร ธมฺมาวุโธเป็นครั้งแรกในงานนี้ เมื่อเสร็จงานพระราชทานเพลิงศพ หลางปู่ผางแล้ว ท่านจึงได้ธุดงค์เรื่อยมา จนถึงอำเภอทองผาภูมิ พรรษาที่ ๙-๑๐ จำพรรษาอยู่ที่วัดเวฬุวัน ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ในช่วงออกพรรษา ท่านได้ไปวิเวกตามป่า ตามเขาในเขตป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อาศัยบิณฑบาตจากชาวกะเหรี่ยง จนท่านสามารถพูดภาษากะเหรี่ยง ได้อย่างชำนิชำนาญ พรรษาที่ ๑๑-๑๖ จำพรรษาที่วัดวาชูคุ ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี วัดนี้เป็นวัดอยู่กลางป่า ชาวบ้านเป็นชาวกะเหรี่ยง ในช่วงที่ท่านมาจำพรรษาใหม่ๆ ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือฤาษี ไว้ผมยาวเกล้าเป็นมวย แล้วใช้ผ้าผูกทับไว้ ท่านอาจารย์ก็ได้แนะนำสั่งสอน ให้ชาวบ้านยึดมั่นในพระรัตนตรัย นำเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่สักการะ จนชาวบ้านส่วนใหญ่ หันมาปฏิบัติตาม บ้างก็ส่งลูกหลานมาบวช ในบวรพุทธศาสนา หลายคน หรือเมื่อมีเรื่องทุกข์เรื่องร้อนประการใด ไม่ว่าเจ็บไข้ได้ป่วย ความเป็นอยู่ การทำมาหากิน ก็จะมาให้ท่านอาจารย์ ช่วยสงเคราะห์ให้ ซึ่งท่านอาจารย์ ก็เมตตาช่วยสงเคราะห์ ด้วยดีทุกรายการไป ประดุจดังพี่น้องร่วมสายโลหิต ที่ต้องดูแลและเอื้ออาทร ให้พ้นทุกข์พ้นยาก ดังนั้นชาวกะเหรี่ยง ทั้งหมู่บ้านใกล้ไกล จึงให้ความเคารพ ยำเกรงและศรัทธาท่านมาก เวลาท่านอาจารย์ไปทางหมู่บ้านไหน ท่านมักจะชักชวนชาวบ้าน พัฒนาแหล่งนํ้า โดยให้ชาวบ้านช่วยกันขุดบ่อ ดังนั้นชาวบ้านจึงตั้งสมญา ให้ท่านเป็นภาษากะเหรี่ยงว่า"ซองค่าที่กะเล่อ" ซึ่งหมายถึงพระบ่อนํ้า การเดินทางจากหมู่บ้านหนึ่ง ไปหมู่บ้านหนึ่ง ก็ต้องใช้วิธีเดินเท้า ใช้เวลาเป็นวันๆคืนๆ จึงจะถึงจุดหมาย เรื่องรถนั้น แทบไม่ต้องพูดถึง ยิ่งฤดูฝนด้วยแล้ว พาหนะที่ดีที่สุดในแถบที่ท่านอาจารย์ จำพรรษาอยู่ ก็คือช้าง ในฤดูแล้ง ก็พอที่จะได้พบเห็นรถอยู่บ้าง แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรค ในการประพฤติปฏิบัติ และพัฒนาชาวกะเหรี่ยง สำหรับพระอย่างท่านอาจารย์ ท่านยังคงปฏิบัติ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แม้ใกล้วาระสุดท้าย ที่ท่านอาพาธอย่างหนัก ด้วยโรคมะเร็ง เวทนาจะกล้าสักเพียงใดก็ตาม ท่านยังคงปฏิบัติ และพัฒนาอย่างปกติ โดยมิได้หวั่นไหว ต่อธาตุขันธ์ที่ใกล้จะแตกดับเลย ท่านวางธาตุขันธ์ โดยอาการสงบสุข ที่วัดวาชูคุ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖ เวลา ๒๔.๐๐น. สิริรวมอายุ ๓๖ ปี พรรษา ๑๖ ปฏิปทาและข้อวัตรปฏิบัติ ท่านพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร ท่านเป็นผู้ที่มีปฏิปทา เด็ดเดี่ยวและกล้าหาญมาก เป็นพระที่หาได้ยากองค์หนึ่ง ในสมัยปัจจุบัน ครั้งหนึ่ง ท่านสนธนาธรรมกับสหธรรมมิกของท่าน เกี่ยวกับเรื่องทำความเพียร ท่านยกตัวอย่างการทำความเพียร เมื่อสมัยบวชใหม่ๆ จิตใจฟุ้งซ่าน รำคาญมาก ท่านจึงตัดสินใจให้หมู่เพื่อน มัดแขน มัดขา ไว้กลางป่าในท่านั่งสมาธิ ถึง ๓ วัน ๓ คืน ท่านเล่าว่าเวทนาเกิดขึ้นมาก ท่านจึงกำหนดความตายเป็นอารมณ์ จิตจึงวางเวทนา แม้แต่สังขารก็วาง เหลือแต่ความรู้ที่สว่างอยู่เฉยๆ ไม่รู้นานเท่าไร จิตจึงจะถอนออก เมื่อครบ ๓ วันแล้ว หมู่เพื่อนจึงมาแก้มัดออก แล้วจึงค่อยๆช่วยกันนวด ตามแขนตามขา เมื่อยกมือที่วางซ้อนกันออก ปรากฏว่า ตรงฝ่ามือและขาที่ซ้อนกันนั้น มีลักษณะเหมือนไฟไหม้ ตั้งแต่นั้นมา การทำความเพียรของท่าน เมื่อจิตใจฟุ้งซ่าน ท่านมักจะไปหาที่อยู่องค์เดียว ในถํ้าหรือป่าลึกๆและบำเพ็ญภาวนา นานเป็นวันๆคืนๆไป ท่านบอกว่า การทำความเพียร เมื่อจิตใจมีรากฐานดีแล้ว การภาวนาเป็นวันๆคืนๆ มีแต่จะเพิ่มความชำนาญ ของสมาธิไปเรื่อยๆ การพิจารณาการของท่านๆมักจะใช้อิริยาบถเดิน บางครั้งท่านจะเดินไปตามป่าคนเดียว ในตอนกลางคืน และจะกลับมาถึงศาลา ก็ตอนใกล้สว่างเป็นประจำ คราวหนึ่งกลางพรรษาที่วัดวาชูคุ ฝนตกหนัก ถนนหนทางถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง ทั้งตามลำห้วย นํ้าป่าก็พัดแรง ท่านอาจารย์อาพาธเป็นไข้อย่างหนัก หนาวสั่น ท่านจึงสั่งให้ชาวบ้าน ตัดลำไม้ไผ่มาผูกเป็นแพเล็กๆ แค่นั่งคนเดียว แพก็เกือบจะล่มแล้ว นำไปลอยไว้ในหนองนํ้า ใกล้ๆกับกุฏิที่พัก แล้วท่านจึงขึ้นไปนั่งบนแพ ปล่อยแพให้ลอยอยู่กลางหนองนํ้า นั่งภาวนาตากแดดตากฝน ลอยนํ้าอยู่ทั้งวันทั้งคืน จนอาการดีขึ้น ต่อเมื่อมีผู้ไปถามท่านว่า ทำไมต้องไปอยู่บนแพเล็กๆ เวลาเป็นไข้อย่างหนักด้วยท่านก็ว่า มันอยากเป็นไข้นี่ ถ้าควบคุมตัวเองไม่ได้ กระดุกกระดิกก็ให้แพล่มจมนํ้าไปเลย โดยปกติแล้วท่านอาจารย์เสถียร ท่านชอบธุดงค์ไปยังที่ต่างๆ ที่เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร ภาวนาอยู่เสมอทั้งทางภาคเหนือ ภาคอีสาน ตะวันออก ตะวันตก บางคราวก็เลยไปยังประเทศพม่าด้วย ท่านเล่าว่ามีอยู่ครั้งหนึ่ง ที่ดงลาน จ.เลย ท่านภาวนาแล้วบังเกิดนิมิต เป็นที่อัศจรรย์หลายเรื่องหลายราว ท่านก็ว่าเราก็รู้แล้วจะไม่หลงหรือ ดังนั้นท่านจึงเดินทางทางกลับ ไปกราบเรียนหลวงปู่ขาล หลวงปู่ท่านว่า ถ้ารู้แล้วมีสติจะหลงอะไร หรือเวลาท่านไปธุดงค์ทางพม่า ท่านมักจะพักตามป่าช้า ท่านว่าป่าทางพม่าสวยดี มีต้นไม้ใหญ่ ร่มครึ้ม เหมือนป่าดึกดำบรรพ์ เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรภาวนาเป็นยิ่งนัก คราวหนึ่ง ช่วงที่ท่านอยู่วาชูคุ ท่านบังเกิดความคิดถึง พ่อ แม่ ครูบาอาจารย์ ที่เชียงรายเป็นอย่างยิ่ง ท่านจึงเดินทางจะกลับไปบ้าน พอถึงลำปาง ท่านเห็นชาวบ้านเขาฝึกช้าง แยกลูกแยกแม่จากกัน ท่านก็เลยพิจารณาปล่อยวาง แล้วก็เลยเดินทางกลับวาชูคุอีก ส่วนมากท่านอาจารย์ จะพูดน้อยและถ่อมตน หรือบางทีมีญาติโยม ถามธรรมะท่านๆก็จะตอบว่า ไม่รู้สิ แต่เมื่อถูกรบเร้ามากๆท่านก็ว่า เรามันพระเล็กพระน้อย ให้ไปถามครูบาอาจารย์ ซึ่งหมายถึง ท่านพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ ส่วนเรื่องบริขารของท่านๆ จะไม่กระตือรือร้น ท่านมักจะใช้ของขาดๆเก่าๆ เพียงแต่ไม่ผิดพระธรรมวินัยเป็นอันใช้ได้ ยิ่งเรื่องอาหารการฉัน ของท่านอาจารย์ด้วยแล้ว เป็นไปอย่างเรียบง่าย ตามฐานะความเป็นอยู่ ศรัทธาของญาติโยม แม้แต่นํ้าพริกกะเหรี่ยง ซึ่งขึ้นชื่อลือชาในเรื่องความเผ็ด เค็ม ท่านก็ฉันได้อย่างเอร็ดอร่อย ท่านชอบชวนญาติโยม ไปเที่ยววัดท่านที่วาชูคุ โดยบอกว่า ไปกินชะอมต้มเกลือ แล้วท่านก็ยิ้มๆ ท่านอาจารย์ มักมีอารมณ์ดี และอารมณ์ขันอยู่เสมอ ครั้งหนึ่ง ญาติโยมที่ทำอาหารถวายพระนอนตื่นสาย กลัวว่าจะทำอาหารถวายพระไม่ทัน ก็เลยกราบเรียนท่านอาจารย์ว่า ขอให้พระรอก่อน แต่ท่านไม่รอ ท่านบอกว่าท่านชื่อเสถียร ท่านไม่ใช่พระรอ หรือคราวหนึ่ง โยมชาวกะเหรี่ยง ต้มยอดฟักทองมาถวายท่าน โดยต้มมาทั้งเถาเลย ท่านประมาณดูว่าขดได้ ๓ รอบบาตร ท่านรับประเคนแล้วไม่ว่าอะไร พอฉันเสร็จแล้ว ก็ออกไปหัวเราะกับสหธรรมมิกของท่าน ตรงที่ล้างบาตร โดยปกติ ลูกศิษย์ชาวกะเหรี่ยง ของท่านอาจารย์ ส่วนมากแล้ว จะไม่ค่อยได้เข้ามาในเมืองบ่อยนัก เวลาท่านเดินทางไปกรุงเทพฯ ท่านมักจะพาเด็กๆชาวกะเหรี่ยง ไปกับท่านด้วยเสมอ คราวละหลายสิบคน ญาติโยมมักจะถามว่า ไม่กลัวเด็กๆพลัดหลงหรือ ท่านก็บอกว่าไม่กลัว เพราะเวลาจะข้ามถนน หรือเดินไปทางไหน ก็ให้เด็กๆจับมือกันไว้เป็นแถวกันหลง แล้วท่านก็หัวเราะ จวบจนเมื่อท่านเริ่มอาพาธ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง แต่ท่านอาจารย์ก็มิได้มาให้แพทย์ตรวจ แต่ประการใด คงเป็นเพราะอยู่ในระหว่างพรรษา ท่านจึงไม่ยอมเดินทางไปไหน ต่อเมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านถึงยอมอยู่ในความดูแลของแพทย์ แพทย์ลงความเห็นว่า ท่านเป็นโรคมะเร็งในต่อมนํ้าเหลือง ท่านพักรักษาตัว อยู่ที่โรงพยาบาล ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก็ออกจากโรงพยาบาล มาพักที่วัดเวฬุวัน จากนั้น จึงเข้าไปอยู่วัดท่านที่วาชูคุ วัดที่มีความผูกพันกับท่านอาจารย์มาก ต่อมาท่านก็มรณภาพ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖ หลังจากที่ได้ประชุมเพลิงศพท่านแล้ว บรรดาญาติโยม ได้พากันนำอัฐิธาตุส่วนหนึ่ง ของท่านอาจารย์กลับไปเชียงราย ตามคำปรารภของท่านอาจารย์ ก่อนมรณภาพ และได้ไปกราบนมัสการหลวงปู่ขาล ซึ่งเป็นอาจารย์องค์แรก ของท่านอาจารย์เสถียร ท่านได้เมตตา ต่อบรรดาญาติโยม ที่ไปกราบท่านในครั้งนั้นมาก พร้อมกับปรารภให้บรรดาญาติโยมฟัง ตอนหนึ่งว่า “ท่านอาจารย์เสถียร เคยเกิดเป็นกะเหรี่ยงมาหลายภพหลายชาติ” ปกิณกะธรรม อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่กับมิตรให้ระวังวาจา เราจะกลัวอะไร เราพิจารณามาจนพอแล้ว เราก็พูดเล่น พูดหัวไปอย่างนั้นแหละ ใครจะรู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ เธอไม่รู้หรือว่าใจเราวันหนึ่งๆมันเปลี่ยนไปตั้งกี่ครั้ง ผู้ที่เดินทางอยู่ย่อมถึงจุดหมายไม่ช้าก็เร็ว หนูตัวเล็กๆมันกินนํ้าในห้วย มันก็กินได้แค่พออิ่มท้องมันเท่านั้น เวทนา เมื่อถึงที่สุดแล้ว จะเปรียบเสมือนพระอาทิตย์ตอนเที่ยงวัน หลังจากนั้นมันก็จะค่อยๆลดลงไป งานทางด้านพัฒนาทางด้านวัตถุและบุคคล ท่านอาจารย์เสถียร ได้ดำริและริเริ่ม ให้มีการพัฒนาเกี่ยวกับ ความเป็นอยู่ของชาวไทยกะเหรี่ยง ในเขตตำบลไล่โว่ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งงบประมาณทั้งหมด ได้มาจากแรงศรัทธา จากบรรดาญาติโยม ที่รวมพลังกัน ทั้งพลังกาย พลังใจ พลังทรัพย์และพลังความคิด ดังที่ท่านอาจารย์ ได้ดำริวางแนว และปฏิบัตินำให้บรรดาญาติโยม ปฏิบัติตามจนสำเร็จ ตามความมุ่งมาด ปรารถนา ดังผลงานที่ได้แล้วเสร็จไป มีดังนี้ จัดสร้างระบบประปาภูเขาบ้านวาชูคุ จัดสร้างระบบประปาภูเขาซาละวะ จัดสร้างศาลาอเนกประสงค์บ้านวาชูคุ จัดสร้างศาลาอเนกประสงค์บ้านซาละวะ จัดให้มีการอบรมเยาวชน ในเขตตำบลไล่โว่หลายครั้ง จัดส่งชาวบ้านที่มีความรู้ภาษาไทย มารับการฝึกอบรมผู้สื่อข่าวสาธารณสุข ณ โรงพยาบาลทองผาภูมิ นำเยาวชนไปทัศนศึกษา ณ กรุงเทพมหานคร ริเริ่มให้มีการจัดสร้าง โรงเรียนบ้านทิไร่ป้า ให้ถูกต้องตามหลักสูตร ของกระทรวงศึกษาธิการ ริเริ่มให้มีการจัดสร้าง สถานีอนามัยบ้านทิไร่ป้า ตามมาตรฐานและระเบียบ ของกระทรวงสาธารณสุข แนะนำให้ชาวบ้าน ปลูกพืชผักโดยไม่ใช้สารเคมี สารพิษต่างๆ
การสร้างเจดีย์พระอาจารย์เสถียร สมาจาโร หลังจากพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๓๖แล้ว ทางคณะสงฆ์นำโดยพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธและคณะศิษยานุศิษย์ ได้มีดำริร่วมใจกัน ในการจัดสร้างเจดีย์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ อริยสงฆ์แห่งป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และเป็นสิ่งเคารพบูชา สำหรับพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป และโดยเฉพาะ ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ในพื้นที่ซึ่งมีความผูกพัน กับพระอาจารย์เป็นอย่างมาก จักได้เป็นขวัญและกำลังใจ ในการดำเนินชีวิต ที่ยึดมั่นในหลักคุณงามความดี มีศีลธรรม ตามหลักพระธรรมคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไป เฉกเช่นพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร พระอริยสงฆ์ ผู้ประกาศหลักสัจธรรม ความจริงของชีวิต และดำเนินชีวิตเป็นแบบอย่าง ของเหล่ามนุษย์ทั้งหลาย ผู้ได้ชื่อว่า เป็นผู้ประเสริฐอย่างแท้จริง สำหรับการก่อสร้างเจดีย์ พระอาจารย์เสถียร สมาจาโรนั้น ได้สร้างทับ บริเวณที่เป็นพื้นที่ ในการประชุมเพลิง ท่านพระอาจารย์ ณ วัดวาชูคุนั้นเอง และฉลองสมโภชเจดีย์ เมื่อวันศุกร์ ที่ ๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๗ หลังจากนั้น ในทุกๆปี เมื่อถึงวันคล้ายวันมรณภาพ ของพระอาจารย์เสถียรแล้ว ทางคณะสงฆ์และเหล่าศิษยานุศิษย์ จึงได้จัดให้มีการน้อมรำลึก และสักการะเจดีย์ อันเป็นองค์แทนแห่ง พระอาจารย์ผู้ทรงศีลวิสุทธิ์ ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบ ควรทักษิณาทาน ควรอัญชลีกรรม เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด เป็นนาบุญอันประเสริฐ อันยากจะหานาอื่นเทียบเทียม เป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน งานประจำปีสักการะเจดีย์พระอาจารย์เสถียร สมาจาโร
เหล่าพุทธบริษัทที่มาร่วมงานจะได้ทำบุญตักบาตร สมาทานรักษาศีล ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์
ก่อนวันประกอบพิธีสักการะเจดีย์ ในตอนเย็น จะมีการเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อเป็นสิริมงคล แก่เหล่าพุทธบริษัทที่มาร่วมงาน เสร็จแล้ว จะมีการแสดงพื้นบ้าน รำตง ของเหล่าเยาวชนสตรี ในหมู่บ้าน มาแสดงให้แขกผู้มาเยือนได้ชมเป็นขวัญตา
การทำพิธีสักการะเจดีย์ จะทำพิธีในวันสุดท้ายของช่วงวันงาน ซึ่งจะมีทั้งพิธีสงฆ์ และพิธีของชาวบ้าน เชื้อสายกะเหรี่ยงโพล่ว แห่งป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก พิธีสงฆ์ มีการเจริญพระพุทธมนต์ นำคารวะขอขมา และพรมนํ้าหอมรอบเจดีย์
พิธีพื้นบ้านชาวกะเหรี่ยง มีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นตัวแทนกล่าวคำขอขมาเป็นภาษากะเหรี่ยง และกรวดนํ้าอุทิศส่วนกุศล เสร็จแล้วร่วมกันพรมนํ้าหอม รอบเจดีย์ด้วยความเคารพ เพื่อเป็นสิริมงคล แก่ชีวิตที่ได้มาร่วมงานบุญในครั้งนี้
โครงการอนุาักษ์และฟื้นฟู ศิลปะวัฒนธรรมฯ ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ปี ๒๕๕๓ (คลิกเพื่อดาวน์โหลด) โครงการอนุาักษ์และฟื้นฟู ศิลปะวัฒนธรรมฯ ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ปี ๒๕๕๔ (คลิกเพื่อดาวน์โหลด)
ประวัติพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร โดยสังเขป ท่านพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร มีนามเดิมว่า เสถียร ทองโคตร์ บิดาชื่อว่าพรหมา มารดาชื่อ ก้าน ท่านถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๘ คํ่า เดือน ๔ ปีระกา ณ ตำบลโนนสัง อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี ท่านมีพี่น้องรวม ๔ คน คือ ๑.ท่านอาจารย์เสถียร ทองโคตร์ ๒.นายวิเชียร ทองโคตร์ ๓.นางหนูเพียร ทองโคตร์ ๔.นายบัวเรียน ทองโคตร์ โยมบิดา มารดา ของท่านมีอาชีพทำนา ท่านเรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔ จากนั้นครอบครัวของท่าน ได้ย้ายไปอยู่ที่จังหวัดเชียงราย ต่อมาเมื่อมีอายุครบบวช ท่านได้บรรพชาอุปสมบท ที่วัดป่าสำราญนิวาส ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐ มีพระครูการุณยธรรมนิวาส (หลวงปู่หลวง กตปุญโญ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระคำมูล ชิตมาโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ (ปัจจุบันอยู่ที่วัดรัตนวนาราม จ.พะเยา เป็นเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย-พะเยา) ได้ฉายา สมาจาโร สังกัดธรรมยุตินิกาย พรรษาที่ ๑-๔ จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ขาล ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า อ.เวียงชัย จ.เชียงราย พรรษาที่ ๕ จำพรรษาที่ บ้านอีก้อ อ.แม่สาย จ.เชียงราย พรรษาที่ ๖-๗ ท่านได้กลับไปจำพรรษา อยู่กับหลวงปู่ขาล พรรษาที่ ๘ ท่านได้ธุดงค์และจำพรรษา อยู่ทางภาคอีสาน หลังออกพรรษาแล้ว พอดีช่วงนั้น มีงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ผาง จิตตคุตโต ท่านพระอาจารย์เสถียร ก็ได้ไปช่วยงานท่านด้วย และได้พบกับท่านพระอาจารย์สาคร ธมฺมาวุโธเป็นครั้งแรกในงานนี้ เมื่อเสร็จงานพระราชทานเพลิงศพ หลางปู่ผางแล้ว ท่านจึงได้ธุดงค์เรื่อยมา จนถึงอำเภอทองผาภูมิ พรรษาที่ ๙-๑๐ จำพรรษาอยู่ที่วัดเวฬุวัน ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ในช่วงออกพรรษา ท่านได้ไปวิเวกตามป่า ตามเขาในเขตป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อาศัยบิณฑบาตจากชาวกะเหรี่ยง จนท่านสามารถพูดภาษากะเหรี่ยง ได้อย่างชำนิชำนาญ พรรษาที่ ๑๑-๑๖ จำพรรษาที่วัดวาชูคุ ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี วัดนี้เป็นวัดอยู่กลางป่า ชาวบ้านเป็นชาวกะเหรี่ยง ในช่วงที่ท่านมาจำพรรษาใหม่ๆ ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือฤาษี ไว้ผมยาวเกล้าเป็นมวย แล้วใช้ผ้าผูกทับไว้ ท่านอาจารย์ก็ได้แนะนำสั่งสอน ให้ชาวบ้านยึดมั่นในพระรัตนตรัย นำเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่สักการะ จนชาวบ้านส่วนใหญ่ หันมาปฏิบัติตาม บ้างก็ส่งลูกหลานมาบวช ในบวรพุทธศาสนา หลายคน หรือเมื่อมีเรื่องทุกข์เรื่องร้อนประการใด ไม่ว่าเจ็บไข้ได้ป่วย ความเป็นอยู่ การทำมาหากิน ก็จะมาให้ท่านอาจารย์ ช่วยสงเคราะห์ให้ ซึ่งท่านอาจารย์ ก็เมตตาช่วยสงเคราะห์ ด้วยดีทุกรายการไป ประดุจดังพี่น้องร่วมสายโลหิต ที่ต้องดูแลและเอื้ออาทร ให้พ้นทุกข์พ้นยาก ดังนั้นชาวกะเหรี่ยง ทั้งหมู่บ้านใกล้ไกล จึงให้ความเคารพ ยำเกรงและศรัทธาท่านมาก เวลาท่านอาจารย์ไปทางหมู่บ้านไหน ท่านมักจะชักชวนชาวบ้าน พัฒนาแหล่งนํ้า โดยให้ชาวบ้านช่วยกันขุดบ่อ ดังนั้นชาวบ้านจึงตั้งสมญา ให้ท่านเป็นภาษากะเหรี่ยงว่า"ซองค่าที่กะเล่อ" ซึ่งหมายถึงพระบ่อนํ้า การเดินทางจากหมู่บ้านหนึ่ง ไปหมู่บ้านหนึ่ง ก็ต้องใช้วิธีเดินเท้า ใช้เวลาเป็นวันๆคืนๆ จึงจะถึงจุดหมาย เรื่องรถนั้น แทบไม่ต้องพูดถึง ยิ่งฤดูฝนด้วยแล้ว พาหนะที่ดีที่สุดในแถบที่ท่านอาจารย์ จำพรรษาอยู่ ก็คือช้าง ในฤดูแล้ง ก็พอที่จะได้พบเห็นรถอยู่บ้าง แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรค ในการประพฤติปฏิบัติ และพัฒนาชาวกะเหรี่ยง สำหรับพระอย่างท่านอาจารย์ ท่านยังคงปฏิบัติ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แม้ใกล้วาระสุดท้าย ที่ท่านอาพาธอย่างหนัก ด้วยโรคมะเร็ง เวทนาจะกล้าสักเพียงใดก็ตาม ท่านยังคงปฏิบัติ และพัฒนาอย่างปกติ โดยมิได้หวั่นไหว ต่อธาตุขันธ์ที่ใกล้จะแตกดับเลย ท่านวางธาตุขันธ์ โดยอาการสงบสุข ที่วัดวาชูคุ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖ เวลา ๒๔.๐๐น. สิริรวมอายุ ๓๖ ปี พรรษา ๑๖ ปฏิปทาและข้อวัตรปฏิบัติ ท่านพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร ท่านเป็นผู้ที่มีปฏิปทา เด็ดเดี่ยวและกล้าหาญมาก เป็นพระที่หาได้ยากองค์หนึ่ง ในสมัยปัจจุบัน ครั้งหนึ่ง ท่านสนธนาธรรมกับสหธรรมมิกของท่าน เกี่ยวกับเรื่องทำความเพียร ท่านยกตัวอย่างการทำความเพียร เมื่อสมัยบวชใหม่ๆ จิตใจฟุ้งซ่าน รำคาญมาก ท่านจึงตัดสินใจให้หมู่เพื่อน มัดแขน มัดขา ไว้กลางป่าในท่านั่งสมาธิ ถึง ๓ วัน ๓ คืน ท่านเล่าว่าเวทนาเกิดขึ้นมาก ท่านจึงกำหนดความตายเป็นอารมณ์ จิตจึงวางเวทนา แม้แต่สังขารก็วาง เหลือแต่ความรู้ที่สว่างอยู่เฉยๆ ไม่รู้นานเท่าไร จิตจึงจะถอนออก เมื่อครบ ๓ วันแล้ว หมู่เพื่อนจึงมาแก้มัดออก แล้วจึงค่อยๆช่วยกันนวด ตามแขนตามขา เมื่อยกมือที่วางซ้อนกันออก ปรากฏว่า ตรงฝ่ามือและขาที่ซ้อนกันนั้น มีลักษณะเหมือนไฟไหม้ ตั้งแต่นั้นมา การทำความเพียรของท่าน เมื่อจิตใจฟุ้งซ่าน ท่านมักจะไปหาที่อยู่องค์เดียว ในถํ้าหรือป่าลึกๆและบำเพ็ญภาวนา นานเป็นวันๆคืนๆไป ท่านบอกว่า การทำความเพียร เมื่อจิตใจมีรากฐานดีแล้ว การภาวนาเป็นวันๆคืนๆ มีแต่จะเพิ่มความชำนาญ ของสมาธิไปเรื่อยๆ การพิจารณาการของท่านๆมักจะใช้อิริยาบถเดิน บางครั้งท่านจะเดินไปตามป่าคนเดียว ในตอนกลางคืน และจะกลับมาถึงศาลา ก็ตอนใกล้สว่างเป็นประจำ คราวหนึ่งกลางพรรษาที่วัดวาชูคุ ฝนตกหนัก ถนนหนทางถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง ทั้งตามลำห้วย นํ้าป่าก็พัดแรง ท่านอาจารย์อาพาธเป็นไข้อย่างหนัก หนาวสั่น ท่านจึงสั่งให้ชาวบ้าน ตัดลำไม้ไผ่มาผูกเป็นแพเล็กๆ แค่นั่งคนเดียว แพก็เกือบจะล่มแล้ว นำไปลอยไว้ในหนองนํ้า ใกล้ๆกับกุฏิที่พัก แล้วท่านจึงขึ้นไปนั่งบนแพ ปล่อยแพให้ลอยอยู่กลางหนองนํ้า นั่งภาวนาตากแดดตากฝน ลอยนํ้าอยู่ทั้งวันทั้งคืน จนอาการดีขึ้น ต่อเมื่อมีผู้ไปถามท่านว่า ทำไมต้องไปอยู่บนแพเล็กๆ เวลาเป็นไข้อย่างหนักด้วยท่านก็ว่า มันอยากเป็นไข้นี่ ถ้าควบคุมตัวเองไม่ได้ กระดุกกระดิกก็ให้แพล่มจมนํ้าไปเลย โดยปกติแล้วท่านอาจารย์เสถียร ท่านชอบธุดงค์ไปยังที่ต่างๆ ที่เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร ภาวนาอยู่เสมอทั้งทางภาคเหนือ ภาคอีสาน ตะวันออก ตะวันตก บางคราวก็เลยไปยังประเทศพม่าด้วย ท่านเล่าว่ามีอยู่ครั้งหนึ่ง ที่ดงลาน จ.เลย ท่านภาวนาแล้วบังเกิดนิมิต เป็นที่อัศจรรย์หลายเรื่องหลายราว ท่านก็ว่าเราก็รู้แล้วจะไม่หลงหรือ ดังนั้นท่านจึงเดินทางทางกลับ ไปกราบเรียนหลวงปู่ขาล หลวงปู่ท่านว่า ถ้ารู้แล้วมีสติจะหลงอะไร หรือเวลาท่านไปธุดงค์ทางพม่า ท่านมักจะพักตามป่าช้า ท่านว่าป่าทางพม่าสวยดี มีต้นไม้ใหญ่ ร่มครึ้ม เหมือนป่าดึกดำบรรพ์ เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรภาวนาเป็นยิ่งนัก คราวหนึ่ง ช่วงที่ท่านอยู่วาชูคุ ท่านบังเกิดความคิดถึง พ่อ แม่ ครูบาอาจารย์ ที่เชียงรายเป็นอย่างยิ่ง ท่านจึงเดินทางจะกลับไปบ้าน พอถึงลำปาง ท่านเห็นชาวบ้านเขาฝึกช้าง แยกลูกแยกแม่จากกัน ท่านก็เลยพิจารณาปล่อยวาง แล้วก็เลยเดินทางกลับวาชูคุอีก ส่วนมากท่านอาจารย์ จะพูดน้อยและถ่อมตน หรือบางทีมีญาติโยม ถามธรรมะท่านๆก็จะตอบว่า ไม่รู้สิ แต่เมื่อถูกรบเร้ามากๆท่านก็ว่า เรามันพระเล็กพระน้อย ให้ไปถามครูบาอาจารย์ ซึ่งหมายถึง ท่านพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ ส่วนเรื่องบริขารของท่านๆ จะไม่กระตือรือร้น ท่านมักจะใช้ของขาดๆเก่าๆ เพียงแต่ไม่ผิดพระธรรมวินัยเป็นอันใช้ได้ ยิ่งเรื่องอาหารการฉัน ของท่านอาจารย์ด้วยแล้ว เป็นไปอย่างเรียบง่าย ตามฐานะความเป็นอยู่ ศรัทธาของญาติโยม แม้แต่นํ้าพริกกะเหรี่ยง ซึ่งขึ้นชื่อลือชาในเรื่องความเผ็ด เค็ม ท่านก็ฉันได้อย่างเอร็ดอร่อย ท่านชอบชวนญาติโยม ไปเที่ยววัดท่านที่วาชูคุ โดยบอกว่า ไปกินชะอมต้มเกลือ แล้วท่านก็ยิ้มๆ ท่านอาจารย์ มักมีอารมณ์ดี และอารมณ์ขันอยู่เสมอ ครั้งหนึ่ง ญาติโยมที่ทำอาหารถวายพระนอนตื่นสาย กลัวว่าจะทำอาหารถวายพระไม่ทัน ก็เลยกราบเรียนท่านอาจารย์ว่า ขอให้พระรอก่อน แต่ท่านไม่รอ ท่านบอกว่าท่านชื่อเสถียร ท่านไม่ใช่พระรอ หรือคราวหนึ่ง โยมชาวกะเหรี่ยง ต้มยอดฟักทองมาถวายท่าน โดยต้มมาทั้งเถาเลย ท่านประมาณดูว่าขดได้ ๓ รอบบาตร ท่านรับประเคนแล้วไม่ว่าอะไร พอฉันเสร็จแล้ว ก็ออกไปหัวเราะกับสหธรรมมิกของท่าน ตรงที่ล้างบาตร โดยปกติ ลูกศิษย์ชาวกะเหรี่ยง ของท่านอาจารย์ ส่วนมากแล้ว จะไม่ค่อยได้เข้ามาในเมืองบ่อยนัก เวลาท่านเดินทางไปกรุงเทพฯ ท่านมักจะพาเด็กๆชาวกะเหรี่ยง ไปกับท่านด้วยเสมอ คราวละหลายสิบคน ญาติโยมมักจะถามว่า ไม่กลัวเด็กๆพลัดหลงหรือ ท่านก็บอกว่าไม่กลัว เพราะเวลาจะข้ามถนน หรือเดินไปทางไหน ก็ให้เด็กๆจับมือกันไว้เป็นแถวกันหลง แล้วท่านก็หัวเราะ จวบจนเมื่อท่านเริ่มอาพาธ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง แต่ท่านอาจารย์ก็มิได้มาให้แพทย์ตรวจ แต่ประการใด คงเป็นเพราะอยู่ในระหว่างพรรษา ท่านจึงไม่ยอมเดินทางไปไหน ต่อเมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านถึงยอมอยู่ในความดูแลของแพทย์ แพทย์ลงความเห็นว่า ท่านเป็นโรคมะเร็งในต่อมนํ้าเหลือง ท่านพักรักษาตัว อยู่ที่โรงพยาบาล ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก็ออกจากโรงพยาบาล มาพักที่วัดเวฬุวัน จากนั้น จึงเข้าไปอยู่วัดท่านที่วาชูคุ วัดที่มีความผูกพันกับท่านอาจารย์มาก ต่อมาท่านก็มรณภาพ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖ หลังจากที่ได้ประชุมเพลิงศพท่านแล้ว บรรดาญาติโยม ได้พากันนำอัฐิธาตุส่วนหนึ่ง ของท่านอาจารย์กลับไปเชียงราย ตามคำปรารภของท่านอาจารย์ ก่อนมรณภาพ และได้ไปกราบนมัสการหลวงปู่ขาล ซึ่งเป็นอาจารย์องค์แรก ของท่านอาจารย์เสถียร ท่านได้เมตตา ต่อบรรดาญาติโยม ที่ไปกราบท่านในครั้งนั้นมาก พร้อมกับปรารภให้บรรดาญาติโยมฟัง ตอนหนึ่งว่า “ท่านอาจารย์เสถียร เคยเกิดเป็นกะเหรี่ยงมาหลายภพหลายชาติ” ปกิณกะธรรม อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่กับมิตรให้ระวังวาจา เราจะกลัวอะไร เราพิจารณามาจนพอแล้ว เราก็พูดเล่น พูดหัวไปอย่างนั้นแหละ ใครจะรู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ เธอไม่รู้หรือว่าใจเราวันหนึ่งๆมันเปลี่ยนไปตั้งกี่ครั้ง ผู้ที่เดินทางอยู่ย่อมถึงจุดหมายไม่ช้าก็เร็ว หนูตัวเล็กๆมันกินนํ้าในห้วย มันก็กินได้แค่พออิ่มท้องมันเท่านั้น เวทนา เมื่อถึงที่สุดแล้ว จะเปรียบเสมือนพระอาทิตย์ตอนเที่ยงวัน หลังจากนั้นมันก็จะค่อยๆลดลงไป งานทางด้านพัฒนาทางด้านวัตถุและบุคคล ท่านอาจารย์เสถียร ได้ดำริและริเริ่ม ให้มีการพัฒนาเกี่ยวกับ ความเป็นอยู่ของชาวไทยกะเหรี่ยง ในเขตตำบลไล่โว่ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งงบประมาณทั้งหมด ได้มาจากแรงศรัทธา จากบรรดาญาติโยม ที่รวมพลังกัน ทั้งพลังกาย พลังใจ พลังทรัพย์และพลังความคิด ดังที่ท่านอาจารย์ ได้ดำริวางแนว และปฏิบัตินำให้บรรดาญาติโยม ปฏิบัติตามจนสำเร็จ ตามความมุ่งมาด ปรารถนา ดังผลงานที่ได้แล้วเสร็จไป มีดังนี้ จัดสร้างระบบประปาภูเขาบ้านวาชูคุ จัดสร้างระบบประปาภูเขาซาละวะ จัดสร้างศาลาอเนกประสงค์บ้านวาชูคุ จัดสร้างศาลาอเนกประสงค์บ้านซาละวะ จัดให้มีการอบรมเยาวชน ในเขตตำบลไล่โว่หลายครั้ง จัดส่งชาวบ้านที่มีความรู้ภาษาไทย มารับการฝึกอบรมผู้สื่อข่าวสาธารณสุข ณ โรงพยาบาลทองผาภูมิ นำเยาวชนไปทัศนศึกษา ณ กรุงเทพมหานคร ริเริ่มให้มีการจัดสร้าง โรงเรียนบ้านทิไร่ป้า ให้ถูกต้องตามหลักสูตร ของกระทรวงศึกษาธิการ ริเริ่มให้มีการจัดสร้าง สถานีอนามัยบ้านทิไร่ป้า ตามมาตรฐานและระเบียบ ของกระทรวงสาธารณสุข แนะนำให้ชาวบ้าน ปลูกพืชผักโดยไม่ใช้สารเคมี สารพิษต่างๆ
การสร้างเจดีย์พระอาจารย์เสถียร สมาจาโร หลังจากพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๓๖แล้ว ทางคณะสงฆ์นำโดยพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธและคณะศิษยานุศิษย์ ได้มีดำริร่วมใจกัน ในการจัดสร้างเจดีย์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ อริยสงฆ์แห่งป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และเป็นสิ่งเคารพบูชา สำหรับพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป และโดยเฉพาะ ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ในพื้นที่ซึ่งมีความผูกพัน กับพระอาจารย์เป็นอย่างมาก จักได้เป็นขวัญและกำลังใจ ในการดำเนินชีวิต ที่ยึดมั่นในหลักคุณงามความดี มีศีลธรรม ตามหลักพระธรรมคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไป เฉกเช่นพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร พระอริยสงฆ์ ผู้ประกาศหลักสัจธรรม ความจริงของชีวิต และดำเนินชีวิตเป็นแบบอย่าง ของเหล่ามนุษย์ทั้งหลาย ผู้ได้ชื่อว่า เป็นผู้ประเสริฐอย่างแท้จริง สำหรับการก่อสร้างเจดีย์ พระอาจารย์เสถียร สมาจาโรนั้น ได้สร้างทับ บริเวณที่เป็นพื้นที่ ในการประชุมเพลิง ท่านพระอาจารย์ ณ วัดวาชูคุนั้นเอง และฉลองสมโภชเจดีย์ เมื่อวันศุกร์ ที่ ๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๗ หลังจากนั้น ในทุกๆปี เมื่อถึงวันคล้ายวันมรณภาพ ของพระอาจารย์เสถียรแล้ว ทางคณะสงฆ์และเหล่าศิษยานุศิษย์ จึงได้จัดให้มีการน้อมรำลึก และสักการะเจดีย์ อันเป็นองค์แทนแห่ง พระอาจารย์ผู้ทรงศีลวิสุทธิ์ ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบ ควรทักษิณาทาน ควรอัญชลีกรรม เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด เป็นนาบุญอันประเสริฐ อันยากจะหานาอื่นเทียบเทียม เป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน งานประจำปีสักการะเจดีย์พระอาจารย์เสถียร สมาจาโร
เหล่าพุทธบริษัทที่มาร่วมงานจะได้ทำบุญตักบาตร สมาทานรักษาศีล ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์
ก่อนวันประกอบพิธีสักการะเจดีย์ ในตอนเย็น จะมีการเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อเป็นสิริมงคล แก่เหล่าพุทธบริษัทที่มาร่วมงาน เสร็จแล้ว จะมีการแสดงพื้นบ้าน รำตง ของเหล่าเยาวชนสตรี ในหมู่บ้าน มาแสดงให้แขกผู้มาเยือนได้ชมเป็นขวัญตา
การทำพิธีสักการะเจดีย์ จะทำพิธีในวันสุดท้ายของช่วงวันงาน ซึ่งจะมีทั้งพิธีสงฆ์ และพิธีของชาวบ้าน เชื้อสายกะเหรี่ยงโพล่ว แห่งป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก พิธีสงฆ์ มีการเจริญพระพุทธมนต์ นำคารวะขอขมา และพรมนํ้าหอมรอบเจดีย์
พิธีพื้นบ้านชาวกะเหรี่ยง มีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นตัวแทนกล่าวคำขอขมาเป็นภาษากะเหรี่ยง และกรวดนํ้าอุทิศส่วนกุศล เสร็จแล้วร่วมกันพรมนํ้าหอม รอบเจดีย์ด้วยความเคารพ เพื่อเป็นสิริมงคล แก่ชีวิตที่ได้มาร่วมงานบุญในครั้งนี้
โครงการอนุาักษ์และฟื้นฟู ศิลปะวัฒนธรรมฯ ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ปี ๒๕๕๓ (คลิกเพื่อดาวน์โหลด) โครงการอนุาักษ์และฟื้นฟู ศิลปะวัฒนธรรมฯ ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ปี ๒๕๕๔ (คลิกเพื่อดาวน์โหลด)
ประวัติพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร โดยสังเขป ท่านพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร มีนามเดิมว่า เสถียร ทองโคตร์ บิดาชื่อว่าพรหมา มารดาชื่อ ก้าน ท่านถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๘ คํ่า เดือน ๔ ปีระกา ณ ตำบลโนนสัง อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี ท่านมีพี่น้องรวม ๔ คน คือ ๑.ท่านอาจารย์เสถียร ทองโคตร์ ๒.นายวิเชียร ทองโคตร์ ๓.นางหนูเพียร ทองโคตร์ ๔.นายบัวเรียน ทองโคตร์ โยมบิดา มารดา ของท่านมีอาชีพทำนา ท่านเรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔ จากนั้นครอบครัวของท่าน ได้ย้ายไปอยู่ที่จังหวัดเชียงราย ต่อมาเมื่อมีอายุครบบวช ท่านได้บรรพชาอุปสมบท ที่วัดป่าสำราญนิวาส ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐ มีพระครูการุณยธรรมนิวาส (หลวงปู่หลวง กตปุญโญ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระคำมูล ชิตมาโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ (ปัจจุบันอยู่ที่วัดรัตนวนาราม จ.พะเยา เป็นเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย-พะเยา) ได้ฉายา สมาจาโร สังกัดธรรมยุตินิกาย พรรษาที่ ๑-๔ จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ขาล ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า อ.เวียงชัย จ.เชียงราย พรรษาที่ ๕ จำพรรษาที่ บ้านอีก้อ อ.แม่สาย จ.เชียงราย พรรษาที่ ๖-๗ ท่านได้กลับไปจำพรรษา อยู่กับหลวงปู่ขาล พรรษาที่ ๘ ท่านได้ธุดงค์และจำพรรษา อยู่ทางภาคอีสาน หลังออกพรรษาแล้ว พอดีช่วงนั้น มีงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ผาง จิตตคุตโต ท่านพระอาจารย์เสถียร ก็ได้ไปช่วยงานท่านด้วย และได้พบกับท่านพระอาจารย์สาคร ธมฺมาวุโธเป็นครั้งแรกในงานนี้ เมื่อเสร็จงานพระราชทานเพลิงศพ หลางปู่ผางแล้ว ท่านจึงได้ธุดงค์เรื่อยมา จนถึงอำเภอทองผาภูมิ พรรษาที่ ๙-๑๐ จำพรรษาอยู่ที่วัดเวฬุวัน ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ในช่วงออกพรรษา ท่านได้ไปวิเวกตามป่า ตามเขาในเขตป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อาศัยบิณฑบาตจากชาวกะเหรี่ยง จนท่านสามารถพูดภาษากะเหรี่ยง ได้อย่างชำนิชำนาญ พรรษาที่ ๑๑-๑๖ จำพรรษาที่วัดวาชูคุ ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี วัดนี้เป็นวัดอยู่กลางป่า ชาวบ้านเป็นชาวกะเหรี่ยง ในช่วงที่ท่านมาจำพรรษาใหม่ๆ ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือฤาษี ไว้ผมยาวเกล้าเป็นมวย แล้วใช้ผ้าผูกทับไว้ ท่านอาจารย์ก็ได้แนะนำสั่งสอน ให้ชาวบ้านยึดมั่นในพระรัตนตรัย นำเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่สักการะ จนชาวบ้านส่วนใหญ่ หันมาปฏิบัติตาม บ้างก็ส่งลูกหลานมาบวช ในบวรพุทธศาสนา หลายคน หรือเมื่อมีเรื่องทุกข์เรื่องร้อนประการใด ไม่ว่าเจ็บไข้ได้ป่วย ความเป็นอยู่ การทำมาหากิน ก็จะมาให้ท่านอาจารย์ ช่วยสงเคราะห์ให้ ซึ่งท่านอาจารย์ ก็เมตตาช่วยสงเคราะห์ ด้วยดีทุกรายการไป ประดุจดังพี่น้องร่วมสายโลหิต ที่ต้องดูแลและเอื้ออาทร ให้พ้นทุกข์พ้นยาก ดังนั้นชาวกะเหรี่ยง ทั้งหมู่บ้านใกล้ไกล จึงให้ความเคารพ ยำเกรงและศรัทธาท่านมาก เวลาท่านอาจารย์ไปทางหมู่บ้านไหน ท่านมักจะชักชวนชาวบ้าน พัฒนาแหล่งนํ้า โดยให้ชาวบ้านช่วยกันขุดบ่อ ดังนั้นชาวบ้านจึงตั้งสมญา ให้ท่านเป็นภาษากะเหรี่ยงว่า"ซองค่าที่กะเล่อ" ซึ่งหมายถึงพระบ่อนํ้า การเดินทางจากหมู่บ้านหนึ่ง ไปหมู่บ้านหนึ่ง ก็ต้องใช้วิธีเดินเท้า ใช้เวลาเป็นวันๆคืนๆ จึงจะถึงจุดหมาย เรื่องรถนั้น แทบไม่ต้องพูดถึง ยิ่งฤดูฝนด้วยแล้ว พาหนะที่ดีที่สุดในแถบที่ท่านอาจารย์ จำพรรษาอยู่ ก็คือช้าง ในฤดูแล้ง ก็พอที่จะได้พบเห็นรถอยู่บ้าง แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรค ในการประพฤติปฏิบัติ และพัฒนาชาวกะเหรี่ยง สำหรับพระอย่างท่านอาจารย์ ท่านยังคงปฏิบัติ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แม้ใกล้วาระสุดท้าย ที่ท่านอาพาธอย่างหนัก ด้วยโรคมะเร็ง เวทนาจะกล้าสักเพียงใดก็ตาม ท่านยังคงปฏิบัติ และพัฒนาอย่างปกติ โดยมิได้หวั่นไหว ต่อธาตุขันธ์ที่ใกล้จะแตกดับเลย ท่านวางธาตุขันธ์ โดยอาการสงบสุข ที่วัดวาชูคุ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖ เวลา ๒๔.๐๐น. สิริรวมอายุ ๓๖ ปี พรรษา ๑๖ ปฏิปทาและข้อวัตรปฏิบัติ ท่านพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร ท่านเป็นผู้ที่มีปฏิปทา เด็ดเดี่ยวและกล้าหาญมาก เป็นพระที่หาได้ยากองค์หนึ่ง ในสมัยปัจจุบัน ครั้งหนึ่ง ท่านสนธนาธรรมกับสหธรรมมิกของท่าน เกี่ยวกับเรื่องทำความเพียร ท่านยกตัวอย่างการทำความเพียร เมื่อสมัยบวชใหม่ๆ จิตใจฟุ้งซ่าน รำคาญมาก ท่านจึงตัดสินใจให้หมู่เพื่อน มัดแขน มัดขา ไว้กลางป่าในท่านั่งสมาธิ ถึง ๓ วัน ๓ คืน ท่านเล่าว่าเวทนาเกิดขึ้นมาก ท่านจึงกำหนดความตายเป็นอารมณ์ จิตจึงวางเวทนา แม้แต่สังขารก็วาง เหลือแต่ความรู้ที่สว่างอยู่เฉยๆ ไม่รู้นานเท่าไร จิตจึงจะถอนออก เมื่อครบ ๓ วันแล้ว หมู่เพื่อนจึงมาแก้มัดออก แล้วจึงค่อยๆช่วยกันนวด ตามแขนตามขา เมื่อยกมือที่วางซ้อนกันออก ปรากฏว่า ตรงฝ่ามือและขาที่ซ้อนกันนั้น มีลักษณะเหมือนไฟไหม้ ตั้งแต่นั้นมา การทำความเพียรของท่าน เมื่อจิตใจฟุ้งซ่าน ท่านมักจะไปหาที่อยู่องค์เดียว ในถํ้าหรือป่าลึกๆและบำเพ็ญภาวนา นานเป็นวันๆคืนๆไป ท่านบอกว่า การทำความเพียร เมื่อจิตใจมีรากฐานดีแล้ว การภาวนาเป็นวันๆคืนๆ มีแต่จะเพิ่มความชำนาญ ของสมาธิไปเรื่อยๆ การพิจารณาการของท่านๆมักจะใช้อิริยาบถเดิน บางครั้งท่านจะเดินไปตามป่าคนเดียว ในตอนกลางคืน และจะกลับมาถึงศาลา ก็ตอนใกล้สว่างเป็นประจำ คราวหนึ่งกลางพรรษาที่วัดวาชูคุ ฝนตกหนัก ถนนหนทางถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง ทั้งตามลำห้วย นํ้าป่าก็พัดแรง ท่านอาจารย์อาพาธเป็นไข้อย่างหนัก หนาวสั่น ท่านจึงสั่งให้ชาวบ้าน ตัดลำไม้ไผ่มาผูกเป็นแพเล็กๆ แค่นั่งคนเดียว แพก็เกือบจะล่มแล้ว นำไปลอยไว้ในหนองนํ้า ใกล้ๆกับกุฏิที่พัก แล้วท่านจึงขึ้นไปนั่งบนแพ ปล่อยแพให้ลอยอยู่กลางหนองนํ้า นั่งภาวนาตากแดดตากฝน ลอยนํ้าอยู่ทั้งวันทั้งคืน จนอาการดีขึ้น ต่อเมื่อมีผู้ไปถามท่านว่า ทำไมต้องไปอยู่บนแพเล็กๆ เวลาเป็นไข้อย่างหนักด้วยท่านก็ว่า มันอยากเป็นไข้นี่ ถ้าควบคุมตัวเองไม่ได้ กระดุกกระดิกก็ให้แพล่มจมนํ้าไปเลย โดยปกติแล้วท่านอาจารย์เสถียร ท่านชอบธุดงค์ไปยังที่ต่างๆ ที่เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร ภาวนาอยู่เสมอทั้งทางภาคเหนือ ภาคอีสาน ตะวันออก ตะวันตก บางคราวก็เลยไปยังประเทศพม่าด้วย ท่านเล่าว่ามีอยู่ครั้งหนึ่ง ที่ดงลาน จ.เลย ท่านภาวนาแล้วบังเกิดนิมิต เป็นที่อัศจรรย์หลายเรื่องหลายราว ท่านก็ว่าเราก็รู้แล้วจะไม่หลงหรือ ดังนั้นท่านจึงเดินทางทางกลับ ไปกราบเรียนหลวงปู่ขาล หลวงปู่ท่านว่า ถ้ารู้แล้วมีสติจะหลงอะไร หรือเวลาท่านไปธุดงค์ทางพม่า ท่านมักจะพักตามป่าช้า ท่านว่าป่าทางพม่าสวยดี มีต้นไม้ใหญ่ ร่มครึ้ม เหมือนป่าดึกดำบรรพ์ เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรภาวนาเป็นยิ่งนัก คราวหนึ่ง ช่วงที่ท่านอยู่วาชูคุ ท่านบังเกิดความคิดถึง พ่อ แม่ ครูบาอาจารย์ ที่เชียงรายเป็นอย่างยิ่ง ท่านจึงเดินทางจะกลับไปบ้าน พอถึงลำปาง ท่านเห็นชาวบ้านเขาฝึกช้าง แยกลูกแยกแม่จากกัน ท่านก็เลยพิจารณาปล่อยวาง แล้วก็เลยเดินทางกลับวาชูคุอีก ส่วนมากท่านอาจารย์ จะพูดน้อยและถ่อมตน หรือบางทีมีญาติโยม ถามธรรมะท่านๆก็จะตอบว่า ไม่รู้สิ แต่เมื่อถูกรบเร้ามากๆท่านก็ว่า เรามันพระเล็กพระน้อย ให้ไปถามครูบาอาจารย์ ซึ่งหมายถึง ท่านพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ ส่วนเรื่องบริขารของท่านๆ จะไม่กระตือรือร้น ท่านมักจะใช้ของขาดๆเก่าๆ เพียงแต่ไม่ผิดพระธรรมวินัยเป็นอันใช้ได้ ยิ่งเรื่องอาหารการฉัน ของท่านอาจารย์ด้วยแล้ว เป็นไปอย่างเรียบง่าย ตามฐานะความเป็นอยู่ ศรัทธาของญาติโยม แม้แต่นํ้าพริกกะเหรี่ยง ซึ่งขึ้นชื่อลือชาในเรื่องความเผ็ด เค็ม ท่านก็ฉันได้อย่างเอร็ดอร่อย ท่านชอบชวนญาติโยม ไปเที่ยววัดท่านที่วาชูคุ โดยบอกว่า ไปกินชะอมต้มเกลือ แล้วท่านก็ยิ้มๆ ท่านอาจารย์ มักมีอารมณ์ดี และอารมณ์ขันอยู่เสมอ ครั้งหนึ่ง ญาติโยมที่ทำอาหารถวายพระนอนตื่นสาย กลัวว่าจะทำอาหารถวายพระไม่ทัน ก็เลยกราบเรียนท่านอาจารย์ว่า ขอให้พระรอก่อน แต่ท่านไม่รอ ท่านบอกว่าท่านชื่อเสถียร ท่านไม่ใช่พระรอ หรือคราวหนึ่ง โยมชาวกะเหรี่ยง ต้มยอดฟักทองมาถวายท่าน โดยต้มมาทั้งเถาเลย ท่านประมาณดูว่าขดได้ ๓ รอบบาตร ท่านรับประเคนแล้วไม่ว่าอะไร พอฉันเสร็จแล้ว ก็ออกไปหัวเราะกับสหธรรมมิกของท่าน ตรงที่ล้างบาตร โดยปกติ ลูกศิษย์ชาวกะเหรี่ยง ของท่านอาจารย์ ส่วนมากแล้ว จะไม่ค่อยได้เข้ามาในเมืองบ่อยนัก เวลาท่านเดินทางไปกรุงเทพฯ ท่านมักจะพาเด็กๆชาวกะเหรี่ยง ไปกับท่านด้วยเสมอ คราวละหลายสิบคน ญาติโยมมักจะถามว่า ไม่กลัวเด็กๆพลัดหลงหรือ ท่านก็บอกว่าไม่กลัว เพราะเวลาจะข้ามถนน หรือเดินไปทางไหน ก็ให้เด็กๆจับมือกันไว้เป็นแถวกันหลง แล้วท่านก็หัวเราะ จวบจนเมื่อท่านเริ่มอาพาธ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง แต่ท่านอาจารย์ก็มิได้มาให้แพทย์ตรวจ แต่ประการใด คงเป็นเพราะอยู่ในระหว่างพรรษา ท่านจึงไม่ยอมเดินทางไปไหน ต่อเมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านถึงยอมอยู่ในความดูแลของแพทย์ แพทย์ลงความเห็นว่า ท่านเป็นโรคมะเร็งในต่อมนํ้าเหลือง ท่านพักรักษาตัว อยู่ที่โรงพยาบาล ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก็ออกจากโรงพยาบาล มาพักที่วัดเวฬุวัน จากนั้น จึงเข้าไปอยู่วัดท่านที่วาชูคุ วัดที่มีความผูกพันกับท่านอาจารย์มาก ต่อมาท่านก็มรณภาพ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖ หลังจากที่ได้ประชุมเพลิงศพท่านแล้ว บรรดาญาติโยม ได้พากันนำอัฐิธาตุส่วนหนึ่ง ของท่านอาจารย์กลับไปเชียงราย ตามคำปรารภของท่านอาจารย์ ก่อนมรณภาพ และได้ไปกราบนมัสการหลวงปู่ขาล ซึ่งเป็นอาจารย์องค์แรก ของท่านอาจารย์เสถียร ท่านได้เมตตา ต่อบรรดาญาติโยม ที่ไปกราบท่านในครั้งนั้นมาก พร้อมกับปรารภให้บรรดาญาติโยมฟัง ตอนหนึ่งว่า “ท่านอาจารย์เสถียร เคยเกิดเป็นกะเหรี่ยงมาหลายภพหลายชาติ” ปกิณกะธรรม อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่กับมิตรให้ระวังวาจา เราจะกลัวอะไร เราพิจารณามาจนพอแล้ว เราก็พูดเล่น พูดหัวไปอย่างนั้นแหละ ใครจะรู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ เธอไม่รู้หรือว่าใจเราวันหนึ่งๆมันเปลี่ยนไปตั้งกี่ครั้ง ผู้ที่เดินทางอยู่ย่อมถึงจุดหมายไม่ช้าก็เร็ว หนูตัวเล็กๆมันกินนํ้าในห้วย มันก็กินได้แค่พออิ่มท้องมันเท่านั้น เวทนา เมื่อถึงที่สุดแล้ว จะเปรียบเสมือนพระอาทิตย์ตอนเที่ยงวัน หลังจากนั้นมันก็จะค่อยๆลดลงไป งานทางด้านพัฒนาทางด้านวัตถุและบุคคล ท่านอาจารย์เสถียร ได้ดำริและริเริ่ม ให้มีการพัฒนาเกี่ยวกับ ความเป็นอยู่ของชาวไทยกะเหรี่ยง ในเขตตำบลไล่โว่ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งงบประมาณทั้งหมด ได้มาจากแรงศรัทธา จากบรรดาญาติโยม ที่รวมพลังกัน ทั้งพลังกาย พลังใจ พลังทรัพย์และพลังความคิด ดังที่ท่านอาจารย์ ได้ดำริวางแนว และปฏิบัตินำให้บรรดาญาติโยม ปฏิบัติตามจนสำเร็จ ตามความมุ่งมาด ปรารถนา ดังผลงานที่ได้แล้วเสร็จไป มีดังนี้ จัดสร้างระบบประปาภูเขาบ้านวาชูคุ จัดสร้างระบบประปาภูเขาซาละวะ จัดสร้างศาลาอเนกประสงค์บ้านวาชูคุ จัดสร้างศาลาอเนกประสงค์บ้านซาละวะ จัดให้มีการอบรมเยาวชน ในเขตตำบลไล่โว่หลายครั้ง จัดส่งชาวบ้านที่มีความรู้ภาษาไทย มารับการฝึกอบรมผู้สื่อข่าวสาธารณสุข ณ โรงพยาบาลทองผาภูมิ นำเยาวชนไปทัศนศึกษา ณ กรุงเทพมหานคร ริเริ่มให้มีการจัดสร้าง โรงเรียนบ้านทิไร่ป้า ให้ถูกต้องตามหลักสูตร ของกระทรวงศึกษาธิการ ริเริ่มให้มีการจัดสร้าง สถานีอนามัยบ้านทิไร่ป้า ตามมาตรฐานและระเบียบ ของกระทรวงสาธารณสุข แนะนำให้ชาวบ้าน ปลูกพืชผักโดยไม่ใช้สารเคมี สารพิษต่างๆ
การสร้างเจดีย์พระอาจารย์เสถียร สมาจาโร หลังจากพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๓๖แล้ว ทางคณะสงฆ์นำโดยพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธและคณะศิษยานุศิษย์ ได้มีดำริร่วมใจกัน ในการจัดสร้างเจดีย์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ อริยสงฆ์แห่งป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และเป็นสิ่งเคารพบูชา สำหรับพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป และโดยเฉพาะ ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ในพื้นที่ซึ่งมีความผูกพัน กับพระอาจารย์เป็นอย่างมาก จักได้เป็นขวัญและกำลังใจ ในการดำเนินชีวิต ที่ยึดมั่นในหลักคุณงามความดี มีศีลธรรม ตามหลักพระธรรมคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไป เฉกเช่นพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร พระอริยสงฆ์ ผู้ประกาศหลักสัจธรรม ความจริงของชีวิต และดำเนินชีวิตเป็นแบบอย่าง ของเหล่ามนุษย์ทั้งหลาย ผู้ได้ชื่อว่า เป็นผู้ประเสริฐอย่างแท้จริง สำหรับการก่อสร้างเจดีย์ พระอาจารย์เสถียร สมาจาโรนั้น ได้สร้างทับ บริเวณที่เป็นพื้นที่ ในการประชุมเพลิง ท่านพระอาจารย์ ณ วัดวาชูคุนั้นเอง และฉลองสมโภชเจดีย์ เมื่อวันศุกร์ ที่ ๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๗ หลังจากนั้น ในทุกๆปี เมื่อถึงวันคล้ายวันมรณภาพ ของพระอาจารย์เสถียรแล้ว ทางคณะสงฆ์และเหล่าศิษยานุศิษย์ จึงได้จัดให้มีการน้อมรำลึก และสักการะเจดีย์ อันเป็นองค์แทนแห่ง พระอาจารย์ผู้ทรงศีลวิสุทธิ์ ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบ ควรทักษิณาทาน ควรอัญชลีกรรม เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด เป็นนาบุญอันประเสริฐ อันยากจะหานาอื่นเทียบเทียม เป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน งานประจำปีสักการะเจดีย์พระอาจารย์เสถียร สมาจาโร
เหล่าพุทธบริษัทที่มาร่วมงานจะได้ทำบุญตักบาตร สมาทานรักษาศีล ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์
ก่อนวันประกอบพิธีสักการะเจดีย์ ในตอนเย็น จะมีการเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อเป็นสิริมงคล แก่เหล่าพุทธบริษัทที่มาร่วมงาน เสร็จแล้ว จะมีการแสดงพื้นบ้าน รำตง ของเหล่าเยาวชนสตรี ในหมู่บ้าน มาแสดงให้แขกผู้มาเยือนได้ชมเป็นขวัญตา
การทำพิธีสักการะเจดีย์ จะทำพิธีในวันสุดท้ายของช่วงวันงาน ซึ่งจะมีทั้งพิธีสงฆ์ และพิธีของชาวบ้าน เชื้อสายกะเหรี่ยงโพล่ว แห่งป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก พิธีสงฆ์ มีการเจริญพระพุทธมนต์ นำคารวะขอขมา และพรมนํ้าหอมรอบเจดีย์
พิธีพื้นบ้านชาวกะเหรี่ยง มีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นตัวแทนกล่าวคำขอขมาเป็นภาษากะเหรี่ยง และกรวดนํ้าอุทิศส่วนกุศล เสร็จแล้วร่วมกันพรมนํ้าหอม รอบเจดีย์ด้วยความเคารพ เพื่อเป็นสิริมงคล แก่ชีวิตที่ได้มาร่วมงานบุญในครั้งนี้
โครงการอนุาักษ์และฟื้นฟู ศิลปะวัฒนธรรมฯ ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ปี ๒๕๕๓ (คลิกเพื่อดาวน์โหลด) โครงการอนุาักษ์และฟื้นฟู ศิลปะวัฒนธรรมฯ ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ปี ๒๕๕๔ (คลิกเพื่อดาวน์โหลด)
ประวัติพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร โดยสังเขป ท่านพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร มีนามเดิมว่า เสถียร ทองโคตร์ บิดาชื่อว่าพรหมา มารดาชื่อ ก้าน ท่านถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๘ คํ่า เดือน ๔ ปีระกา ณ ตำบลโนนสัง อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี ท่านมีพี่น้องรวม ๔ คน คือ ๑.ท่านอาจารย์เสถียร ทองโคตร์ ๒.นายวิเชียร ทองโคตร์ ๓.นางหนูเพียร ทองโคตร์ ๔.นายบัวเรียน ทองโคตร์ โยมบิดา มารดา ของท่านมีอาชีพทำนา ท่านเรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔ จากนั้นครอบครัวของท่าน ได้ย้ายไปอยู่ที่จังหวัดเชียงราย ต่อมาเมื่อมีอายุครบบวช ท่านได้บรรพชาอุปสมบท ที่วัดป่าสำราญนิวาส ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐ มีพระครูการุณยธรรมนิวาส (หลวงปู่หลวง กตปุญโญ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระคำมูล ชิตมาโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ (ปัจจุบันอยู่ที่วัดรัตนวนาราม จ.พะเยา เป็นเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย-พะเยา) ได้ฉายา สมาจาโร สังกัดธรรมยุตินิกาย พรรษาที่ ๑-๔ จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ขาล ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า อ.เวียงชัย จ.เชียงราย พรรษาที่ ๕ จำพรรษาที่ บ้านอีก้อ อ.แม่สาย จ.เชียงราย พรรษาที่ ๖-๗ ท่านได้กลับไปจำพรรษา อยู่กับหลวงปู่ขาล พรรษาที่ ๘ ท่านได้ธุดงค์และจำพรรษา อยู่ทางภาคอีสาน หลังออกพรรษาแล้ว พอดีช่วงนั้น มีงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ผาง จิตตคุตโต ท่านพระอาจารย์เสถียร ก็ได้ไปช่วยงานท่านด้วย และได้พบกับท่านพระอาจารย์สาคร ธมฺมาวุโธเป็นครั้งแรกในงานนี้ เมื่อเสร็จงานพระราชทานเพลิงศพ หลางปู่ผางแล้ว ท่านจึงได้ธุดงค์เรื่อยมา จนถึงอำเภอทองผาภูมิ พรรษาที่ ๙-๑๐ จำพรรษาอยู่ที่วัดเวฬุวัน ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ในช่วงออกพรรษา ท่านได้ไปวิเวกตามป่า ตามเขาในเขตป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อาศัยบิณฑบาตจากชาวกะเหรี่ยง จนท่านสามารถพูดภาษากะเหรี่ยง ได้อย่างชำนิชำนาญ พรรษาที่ ๑๑-๑๖ จำพรรษาที่วัดวาชูคุ ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี วัดนี้เป็นวัดอยู่กลางป่า ชาวบ้านเป็นชาวกะเหรี่ยง ในช่วงที่ท่านมาจำพรรษาใหม่ๆ ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือฤาษี ไว้ผมยาวเกล้าเป็นมวย แล้วใช้ผ้าผูกทับไว้ ท่านอาจารย์ก็ได้แนะนำสั่งสอน ให้ชาวบ้านยึดมั่นในพระรัตนตรัย นำเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่สักการะ จนชาวบ้านส่วนใหญ่ หันมาปฏิบัติตาม บ้างก็ส่งลูกหลานมาบวช ในบวรพุทธศาสนา หลายคน หรือเมื่อมีเรื่องทุกข์เรื่องร้อนประการใด ไม่ว่าเจ็บไข้ได้ป่วย ความเป็นอยู่ การทำมาหากิน ก็จะมาให้ท่านอาจารย์ ช่วยสงเคราะห์ให้ ซึ่งท่านอาจารย์ ก็เมตตาช่วยสงเคราะห์ ด้วยดีทุกรายการไป ประดุจดังพี่น้องร่วมสายโลหิต ที่ต้องดูแลและเอื้ออาทร ให้พ้นทุกข์พ้นยาก ดังนั้นชาวกะเหรี่ยง ทั้งหมู่บ้านใกล้ไกล จึงให้ความเคารพ ยำเกรงและศรัทธาท่านมาก เวลาท่านอาจารย์ไปทางหมู่บ้านไหน ท่านมักจะชักชวนชาวบ้าน พัฒนาแหล่งนํ้า โดยให้ชาวบ้านช่วยกันขุดบ่อ ดังนั้นชาวบ้านจึงตั้งสมญา ให้ท่านเป็นภาษากะเหรี่ยงว่า"ซองค่าที่กะเล่อ" ซึ่งหมายถึงพระบ่อนํ้า การเดินทางจากหมู่บ้านหนึ่ง ไปหมู่บ้านหนึ่ง ก็ต้องใช้วิธีเดินเท้า ใช้เวลาเป็นวันๆคืนๆ จึงจะถึงจุดหมาย เรื่องรถนั้น แทบไม่ต้องพูดถึง ยิ่งฤดูฝนด้วยแล้ว พาหนะที่ดีที่สุดในแถบที่ท่านอาจารย์ จำพรรษาอยู่ ก็คือช้าง ในฤดูแล้ง ก็พอที่จะได้พบเห็นรถอยู่บ้าง แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรค ในการประพฤติปฏิบัติ และพัฒนาชาวกะเหรี่ยง สำหรับพระอย่างท่านอาจารย์ ท่านยังคงปฏิบัติ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แม้ใกล้วาระสุดท้าย ที่ท่านอาพาธอย่างหนัก ด้วยโรคมะเร็ง เวทนาจะกล้าสักเพียงใดก็ตาม ท่านยังคงปฏิบัติ และพัฒนาอย่างปกติ โดยมิได้หวั่นไหว ต่อธาตุขันธ์ที่ใกล้จะแตกดับเลย ท่านวางธาตุขันธ์ โดยอาการสงบสุข ที่วัดวาชูคุ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖ เวลา ๒๔.๐๐น. สิริรวมอายุ ๓๖ ปี พรรษา ๑๖ ปฏิปทาและข้อวัตรปฏิบัติ ท่านพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร ท่านเป็นผู้ที่มีปฏิปทา เด็ดเดี่ยวและกล้าหาญมาก เป็นพระที่หาได้ยากองค์หนึ่ง ในสมัยปัจจุบัน ครั้งหนึ่ง ท่านสนธนาธรรมกับสหธรรมมิกของท่าน เกี่ยวกับเรื่องทำความเพียร ท่านยกตัวอย่างการทำความเพียร เมื่อสมัยบวชใหม่ๆ จิตใจฟุ้งซ่าน รำคาญมาก ท่านจึงตัดสินใจให้หมู่เพื่อน มัดแขน มัดขา ไว้กลางป่าในท่านั่งสมาธิ ถึง ๓ วัน ๓ คืน ท่านเล่าว่าเวทนาเกิดขึ้นมาก ท่านจึงกำหนดความตายเป็นอารมณ์ จิตจึงวางเวทนา แม้แต่สังขารก็วาง เหลือแต่ความรู้ที่สว่างอยู่เฉยๆ ไม่รู้นานเท่าไร จิตจึงจะถอนออก เมื่อครบ ๓ วันแล้ว หมู่เพื่อนจึงมาแก้มัดออก แล้วจึงค่อยๆช่วยกันนวด ตามแขนตามขา เมื่อยกมือที่วางซ้อนกันออก ปรากฏว่า ตรงฝ่ามือและขาที่ซ้อนกันนั้น มีลักษณะเหมือนไฟไหม้ ตั้งแต่นั้นมา การทำความเพียรของท่าน เมื่อจิตใจฟุ้งซ่าน ท่านมักจะไปหาที่อยู่องค์เดียว ในถํ้าหรือป่าลึกๆและบำเพ็ญภาวนา นานเป็นวันๆคืนๆไป ท่านบอกว่า การทำความเพียร เมื่อจิตใจมีรากฐานดีแล้ว การภาวนาเป็นวันๆคืนๆ มีแต่จะเพิ่มความชำนาญ ของสมาธิไปเรื่อยๆ การพิจารณาการของท่านๆมักจะใช้อิริยาบถเดิน บางครั้งท่านจะเดินไปตามป่าคนเดียว ในตอนกลางคืน และจะกลับมาถึงศาลา ก็ตอนใกล้สว่างเป็นประจำ คราวหนึ่งกลางพรรษาที่วัดวาชูคุ ฝนตกหนัก ถนนหนทางถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง ทั้งตามลำห้วย นํ้าป่าก็พัดแรง ท่านอาจารย์อาพาธเป็นไข้อย่างหนัก หนาวสั่น ท่านจึงสั่งให้ชาวบ้าน ตัดลำไม้ไผ่มาผูกเป็นแพเล็กๆ แค่นั่งคนเดียว แพก็เกือบจะล่มแล้ว นำไปลอยไว้ในหนองนํ้า ใกล้ๆกับกุฏิที่พัก แล้วท่านจึงขึ้นไปนั่งบนแพ ปล่อยแพให้ลอยอยู่กลางหนองนํ้า นั่งภาวนาตากแดดตากฝน ลอยนํ้าอยู่ทั้งวันทั้งคืน จนอาการดีขึ้น ต่อเมื่อมีผู้ไปถามท่านว่า ทำไมต้องไปอยู่บนแพเล็กๆ เวลาเป็นไข้อย่างหนักด้วยท่านก็ว่า มันอยากเป็นไข้นี่ ถ้าควบคุมตัวเองไม่ได้ กระดุกกระดิกก็ให้แพล่มจมนํ้าไปเลย โดยปกติแล้วท่านอาจารย์เสถียร ท่านชอบธุดงค์ไปยังที่ต่างๆ ที่เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร ภาวนาอยู่เสมอทั้งทางภาคเหนือ ภาคอีสาน ตะวันออก ตะวันตก บางคราวก็เลยไปยังประเทศพม่าด้วย ท่านเล่าว่ามีอยู่ครั้งหนึ่ง ที่ดงลาน จ.เลย ท่านภาวนาแล้วบังเกิดนิมิต เป็นที่อัศจรรย์หลายเรื่องหลายราว ท่านก็ว่าเราก็รู้แล้วจะไม่หลงหรือ ดังนั้นท่านจึงเดินทางทางกลับ ไปกราบเรียนหลวงปู่ขาล หลวงปู่ท่านว่า ถ้ารู้แล้วมีสติจะหลงอะไร หรือเวลาท่านไปธุดงค์ทางพม่า ท่านมักจะพักตามป่าช้า ท่านว่าป่าทางพม่าสวยดี มีต้นไม้ใหญ่ ร่มครึ้ม เหมือนป่าดึกดำบรรพ์ เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรภาวนาเป็นยิ่งนัก คราวหนึ่ง ช่วงที่ท่านอยู่วาชูคุ ท่านบังเกิดความคิดถึง พ่อ แม่ ครูบาอาจารย์ ที่เชียงรายเป็นอย่างยิ่ง ท่านจึงเดินทางจะกลับไปบ้าน พอถึงลำปาง ท่านเห็นชาวบ้านเขาฝึกช้าง แยกลูกแยกแม่จากกัน ท่านก็เลยพิจารณาปล่อยวาง แล้วก็เลยเดินทางกลับวาชูคุอีก ส่วนมากท่านอาจารย์ จะพูดน้อยและถ่อมตน หรือบางทีมีญาติโยม ถามธรรมะท่านๆก็จะตอบว่า ไม่รู้สิ แต่เมื่อถูกรบเร้ามากๆท่านก็ว่า เรามันพระเล็กพระน้อย ให้ไปถามครูบาอาจารย์ ซึ่งหมายถึง ท่านพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ ส่วนเรื่องบริขารของท่านๆ จะไม่กระตือรือร้น ท่านมักจะใช้ของขาดๆเก่าๆ เพียงแต่ไม่ผิดพระธรรมวินัยเป็นอันใช้ได้ ยิ่งเรื่องอาหารการฉัน ของท่านอาจารย์ด้วยแล้ว เป็นไปอย่างเรียบง่าย ตามฐานะความเป็นอยู่ ศรัทธาของญาติโยม แม้แต่นํ้าพริกกะเหรี่ยง ซึ่งขึ้นชื่อลือชาในเรื่องความเผ็ด เค็ม ท่านก็ฉันได้อย่างเอร็ดอร่อย ท่านชอบชวนญาติโยม ไปเที่ยววัดท่านที่วาชูคุ โดยบอกว่า ไปกินชะอมต้มเกลือ แล้วท่านก็ยิ้มๆ ท่านอาจารย์ มักมีอารมณ์ดี และอารมณ์ขันอยู่เสมอ ครั้งหนึ่ง ญาติโยมที่ทำอาหารถวายพระนอนตื่นสาย กลัวว่าจะทำอาหารถวายพระไม่ทัน ก็เลยกราบเรียนท่านอาจารย์ว่า ขอให้พระรอก่อน แต่ท่านไม่รอ ท่านบอกว่าท่านชื่อเสถียร ท่านไม่ใช่พระรอ หรือคราวหนึ่ง โยมชาวกะเหรี่ยง ต้มยอดฟักทองมาถวายท่าน โดยต้มมาทั้งเถาเลย ท่านประมาณดูว่าขดได้ ๓ รอบบาตร ท่านรับประเคนแล้วไม่ว่าอะไร พอฉันเสร็จแล้ว ก็ออกไปหัวเราะกับสหธรรมมิกของท่าน ตรงที่ล้างบาตร โดยปกติ ลูกศิษย์ชาวกะเหรี่ยง ของท่านอาจารย์ ส่วนมากแล้ว จะไม่ค่อยได้เข้ามาในเมืองบ่อยนัก เวลาท่านเดินทางไปกรุงเทพฯ ท่านมักจะพาเด็กๆชาวกะเหรี่ยง ไปกับท่านด้วยเสมอ คราวละหลายสิบคน ญาติโยมมักจะถามว่า ไม่กลัวเด็กๆพลัดหลงหรือ ท่านก็บอกว่าไม่กลัว เพราะเวลาจะข้ามถนน หรือเดินไปทางไหน ก็ให้เด็กๆจับมือกันไว้เป็นแถวกันหลง แล้วท่านก็หัวเราะ จวบจนเมื่อท่านเริ่มอาพาธ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง แต่ท่านอาจารย์ก็มิได้มาให้แพทย์ตรวจ แต่ประการใด คงเป็นเพราะอยู่ในระหว่างพรรษา ท่านจึงไม่ยอมเดินทางไปไหน ต่อเมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านถึงยอมอยู่ในความดูแลของแพทย์ แพทย์ลงความเห็นว่า ท่านเป็นโรคมะเร็งในต่อมนํ้าเหลือง ท่านพักรักษาตัว อยู่ที่โรงพยาบาล ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก็ออกจากโรงพยาบาล มาพักที่วัดเวฬุวัน จากนั้น จึงเข้าไปอยู่วัดท่านที่วาชูคุ วัดที่มีความผูกพันกับท่านอาจารย์มาก ต่อมาท่านก็มรณภาพ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖ หลังจากที่ได้ประชุมเพลิงศพท่านแล้ว บรรดาญาติโยม ได้พากันนำอัฐิธาตุส่วนหนึ่ง ของท่านอาจารย์กลับไปเชียงราย ตามคำปรารภของท่านอาจารย์ ก่อนมรณภาพ และได้ไปกราบนมัสการหลวงปู่ขาล ซึ่งเป็นอาจารย์องค์แรก ของท่านอาจารย์เสถียร ท่านได้เมตตา ต่อบรรดาญาติโยม ที่ไปกราบท่านในครั้งนั้นมาก พร้อมกับปรารภให้บรรดาญาติโยมฟัง ตอนหนึ่งว่า “ท่านอาจารย์เสถียร เคยเกิดเป็นกะเหรี่ยงมาหลายภพหลายชาติ” ปกิณกะธรรม อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่กับมิตรให้ระวังวาจา เราจะกลัวอะไร เราพิจารณามาจนพอแล้ว เราก็พูดเล่น พูดหัวไปอย่างนั้นแหละ ใครจะรู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ เธอไม่รู้หรือว่าใจเราวันหนึ่งๆมันเปลี่ยนไปตั้งกี่ครั้ง ผู้ที่เดินทางอยู่ย่อมถึงจุดหมายไม่ช้าก็เร็ว หนูตัวเล็กๆมันกินนํ้าในห้วย มันก็กินได้แค่พออิ่มท้องมันเท่านั้น เวทนา เมื่อถึงที่สุดแล้ว จะเปรียบเสมือนพระอาทิตย์ตอนเที่ยงวัน หลังจากนั้นมันก็จะค่อยๆลดลงไป งานทางด้านพัฒนาทางด้านวัตถุและบุคคล ท่านอาจารย์เสถียร ได้ดำริและริเริ่ม ให้มีการพัฒนาเกี่ยวกับ ความเป็นอยู่ของชาวไทยกะเหรี่ยง ในเขตตำบลไล่โว่ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งงบประมาณทั้งหมด ได้มาจากแรงศรัทธา จากบรรดาญาติโยม ที่รวมพลังกัน ทั้งพลังกาย พลังใจ พลังทรัพย์และพลังความคิด ดังที่ท่านอาจารย์ ได้ดำริวางแนว และปฏิบัตินำให้บรรดาญาติโยม ปฏิบัติตามจนสำเร็จ ตามความมุ่งมาด ปรารถนา ดังผลงานที่ได้แล้วเสร็จไป มีดังนี้ จัดสร้างระบบประปาภูเขาบ้านวาชูคุ จัดสร้างระบบประปาภูเขาซาละวะ จัดสร้างศาลาอเนกประสงค์บ้านวาชูคุ จัดสร้างศาลาอเนกประสงค์บ้านซาละวะ จัดให้มีการอบรมเยาวชน ในเขตตำบลไล่โว่หลายครั้ง จัดส่งชาวบ้านที่มีความรู้ภาษาไทย มารับการฝึกอบรมผู้สื่อข่าวสาธารณสุข ณ โรงพยาบาลทองผาภูมิ นำเยาวชนไปทัศนศึกษา ณ กรุงเทพมหานคร ริเริ่มให้มีการจัดสร้าง โรงเรียนบ้านทิไร่ป้า ให้ถูกต้องตามหลักสูตร ของกระทรวงศึกษาธิการ ริเริ่มให้มีการจัดสร้าง สถานีอนามัยบ้านทิไร่ป้า ตามมาตรฐานและระเบียบ ของกระทรวงสาธารณสุข แนะนำให้ชาวบ้าน ปลูกพืชผักโดยไม่ใช้สารเคมี สารพิษต่างๆ
การสร้างเจดีย์พระอาจารย์เสถียร สมาจาโร หลังจากพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๓๖แล้ว ทางคณะสงฆ์นำโดยพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธและคณะศิษยานุศิษย์ ได้มีดำริร่วมใจกัน ในการจัดสร้างเจดีย์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ อริยสงฆ์แห่งป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และเป็นสิ่งเคารพบูชา สำหรับพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป และโดยเฉพาะ ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ในพื้นที่ซึ่งมีความผูกพัน กับพระอาจารย์เป็นอย่างมาก จักได้เป็นขวัญและกำลังใจ ในการดำเนินชีวิต ที่ยึดมั่นในหลักคุณงามความดี มีศีลธรรม ตามหลักพระธรรมคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไป เฉกเช่นพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร พระอริยสงฆ์ ผู้ประกาศหลักสัจธรรม ความจริงของชีวิต และดำเนินชีวิตเป็นแบบอย่าง ของเหล่ามนุษย์ทั้งหลาย ผู้ได้ชื่อว่า เป็นผู้ประเสริฐอย่างแท้จริง สำหรับการก่อสร้างเจดีย์ พระอาจารย์เสถียร สมาจาโรนั้น ได้สร้างทับ บริเวณที่เป็นพื้นที่ ในการประชุมเพลิง ท่านพระอาจารย์ ณ วัดวาชูคุนั้นเอง และฉลองสมโภชเจดีย์ เมื่อวันศุกร์ ที่ ๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๗ หลังจากนั้น ในทุกๆปี เมื่อถึงวันคล้ายวันมรณภาพ ของพระอาจารย์เสถียรแล้ว ทางคณะสงฆ์และเหล่าศิษยานุศิษย์ จึงได้จัดให้มีการน้อมรำลึก และสักการะเจดีย์ อันเป็นองค์แทนแห่ง พระอาจารย์ผู้ทรงศีลวิสุทธิ์ ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบ ควรทักษิณาทาน ควรอัญชลีกรรม เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด เป็นนาบุญอันประเสริฐ อันยากจะหานาอื่นเทียบเทียม เป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน งานประจำปีสักการะเจดีย์พระอาจารย์เสถียร สมาจาโร
เหล่าพุทธบริษัทที่มาร่วมงานจะได้ทำบุญตักบาตร สมาทานรักษาศีล ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์
ก่อนวันประกอบพิธีสักการะเจดีย์ ในตอนเย็น จะมีการเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อเป็นสิริมงคล แก่เหล่าพุทธบริษัทที่มาร่วมงาน เสร็จแล้ว จะมีการแสดงพื้นบ้าน รำตง ของเหล่าเยาวชนสตรี ในหมู่บ้าน มาแสดงให้แขกผู้มาเยือนได้ชมเป็นขวัญตา
การทำพิธีสักการะเจดีย์ จะทำพิธีในวันสุดท้ายของช่วงวันงาน ซึ่งจะมีทั้งพิธีสงฆ์ และพิธีของชาวบ้าน เชื้อสายกะเหรี่ยงโพล่ว แห่งป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก พิธีสงฆ์ มีการเจริญพระพุทธมนต์ นำคารวะขอขมา และพรมนํ้าหอมรอบเจดีย์
พิธีพื้นบ้านชาวกะเหรี่ยง มีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นตัวแทนกล่าวคำขอขมาเป็นภาษากะเหรี่ยง และกรวดนํ้าอุทิศส่วนกุศล เสร็จแล้วร่วมกันพรมนํ้าหอม รอบเจดีย์ด้วยความเคารพ เพื่อเป็นสิริมงคล แก่ชีวิตที่ได้มาร่วมงานบุญในครั้งนี้
โครงการอนุาักษ์และฟื้นฟู ศิลปะวัฒนธรรมฯ ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ปี ๒๕๕๓ (คลิกเพื่อดาวน์โหลด) โครงการอนุาักษ์และฟื้นฟู ศิลปะวัฒนธรรมฯ ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ปี ๒๕๕๔ (คลิกเพื่อดาวน์โหลด)
ประวัติพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร โดยสังเขป ท่านพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร มีนามเดิมว่า เสถียร ทองโคตร์ บิดาชื่อว่าพรหมา มารดาชื่อ ก้าน ท่านถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๘ คํ่า เดือน ๔ ปีระกา ณ ตำบลโนนสัง อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี ท่านมีพี่น้องรวม ๔ คน คือ ๑.ท่านอาจารย์เสถียร ทองโคตร์ ๒.นายวิเชียร ทองโคตร์ ๓.นางหนูเพียร ทองโคตร์ ๔.นายบัวเรียน ทองโคตร์ โยมบิดา มารดา ของท่านมีอาชีพทำนา ท่านเรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔ จากนั้นครอบครัวของท่าน ได้ย้ายไปอยู่ที่จังหวัดเชียงราย ต่อมาเมื่อมีอายุครบบวช ท่านได้บรรพชาอุปสมบท ที่วัดป่าสำราญนิวาส ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐ มีพระครูการุณยธรรมนิวาส (หลวงปู่หลวง กตปุญโญ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระคำมูล ชิตมาโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ (ปัจจุบันอยู่ที่วัดรัตนวนาราม จ.พะเยา เป็นเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย-พะเยา) ได้ฉายา สมาจาโร สังกัดธรรมยุตินิกาย พรรษาที่ ๑-๔ จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ขาล ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า อ.เวียงชัย จ.เชียงราย พรรษาที่ ๕ จำพรรษาที่ บ้านอีก้อ อ.แม่สาย จ.เชียงราย พรรษาที่ ๖-๗ ท่านได้กลับไปจำพรรษา อยู่กับหลวงปู่ขาล พรรษาที่ ๘ ท่านได้ธุดงค์และจำพรรษา อยู่ทางภาคอีสาน หลังออกพรรษาแล้ว พอดีช่วงนั้น มีงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ผาง จิตตคุตโต ท่านพระอาจารย์เสถียร ก็ได้ไปช่วยงานท่านด้วย และได้พบกับท่านพระอาจารย์สาคร ธมฺมาวุโธเป็นครั้งแรกในงานนี้ เมื่อเสร็จงานพระราชทานเพลิงศพ หลางปู่ผางแล้ว ท่านจึงได้ธุดงค์เรื่อยมา จนถึงอำเภอทองผาภูมิ พรรษาที่ ๙-๑๐ จำพรรษาอยู่ที่วัดเวฬุวัน ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ในช่วงออกพรรษา ท่านได้ไปวิเวกตามป่า ตามเขาในเขตป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อาศัยบิณฑบาตจากชาวกะเหรี่ยง จนท่านสามารถพูดภาษากะเหรี่ยง ได้อย่างชำนิชำนาญ พรรษาที่ ๑๑-๑๖ จำพรรษาที่วัดวาชูคุ ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี วัดนี้เป็นวัดอยู่กลางป่า ชาวบ้านเป็นชาวกะเหรี่ยง ในช่วงที่ท่านมาจำพรรษาใหม่ๆ ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือฤาษี ไว้ผมยาวเกล้าเป็นมวย แล้วใช้ผ้าผูกทับไว้ ท่านอาจารย์ก็ได้แนะนำสั่งสอน ให้ชาวบ้านยึดมั่นในพระรัตนตรัย นำเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่สักการะ จนชาวบ้านส่วนใหญ่ หันมาปฏิบัติตาม บ้างก็ส่งลูกหลานมาบวช ในบวรพุทธศาสนา หลายคน หรือเมื่อมีเรื่องทุกข์เรื่องร้อนประการใด ไม่ว่าเจ็บไข้ได้ป่วย ความเป็นอยู่ การทำมาหากิน ก็จะมาให้ท่านอาจารย์ ช่วยสงเคราะห์ให้ ซึ่งท่านอาจารย์ ก็เมตตาช่วยสงเคราะห์ ด้วยดีทุกรายการไป ประดุจดังพี่น้องร่วมสายโลหิต ที่ต้องดูแลและเอื้ออาทร ให้พ้นทุกข์พ้นยาก ดังนั้นชาวกะเหรี่ยง ทั้งหมู่บ้านใกล้ไกล จึงให้ความเคารพ ยำเกรงและศรัทธาท่านมาก เวลาท่านอาจารย์ไปทางหมู่บ้านไหน ท่านมักจะชักชวนชาวบ้าน พัฒนาแหล่งนํ้า โดยให้ชาวบ้านช่วยกันขุดบ่อ ดังนั้นชาวบ้านจึงตั้งสมญา ให้ท่านเป็นภาษากะเหรี่ยงว่า"ซองค่าที่กะเล่อ" ซึ่งหมายถึงพระบ่อนํ้า การเดินทางจากหมู่บ้านหนึ่ง ไปหมู่บ้านหนึ่ง ก็ต้องใช้วิธีเดินเท้า ใช้เวลาเป็นวันๆคืนๆ จึงจะถึงจุดหมาย เรื่องรถนั้น แทบไม่ต้องพูดถึง ยิ่งฤดูฝนด้วยแล้ว พาหนะที่ดีที่สุดในแถบที่ท่านอาจารย์ จำพรรษาอยู่ ก็คือช้าง ในฤดูแล้ง ก็พอที่จะได้พบเห็นรถอยู่บ้าง แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรค ในการประพฤติปฏิบัติ และพัฒนาชาวกะเหรี่ยง สำหรับพระอย่างท่านอาจารย์ ท่านยังคงปฏิบัติ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แม้ใกล้วาระสุดท้าย ที่ท่านอาพาธอย่างหนัก ด้วยโรคมะเร็ง เวทนาจะกล้าสักเพียงใดก็ตาม ท่านยังคงปฏิบัติ และพัฒนาอย่างปกติ โดยมิได้หวั่นไหว ต่อธาตุขันธ์ที่ใกล้จะแตกดับเลย ท่านวางธาตุขันธ์ โดยอาการสงบสุข ที่วัดวาชูคุ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖ เวลา ๒๔.๐๐น. สิริรวมอายุ ๓๖ ปี พรรษา ๑๖ ปฏิปทาและข้อวัตรปฏิบัติ ท่านพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร ท่านเป็นผู้ที่มีปฏิปทา เด็ดเดี่ยวและกล้าหาญมาก เป็นพระที่หาได้ยากองค์หนึ่ง ในสมัยปัจจุบัน ครั้งหนึ่ง ท่านสนธนาธรรมกับสหธรรมมิกของท่าน เกี่ยวกับเรื่องทำความเพียร ท่านยกตัวอย่างการทำความเพียร เมื่อสมัยบวชใหม่ๆ จิตใจฟุ้งซ่าน รำคาญมาก ท่านจึงตัดสินใจให้หมู่เพื่อน มัดแขน มัดขา ไว้กลางป่าในท่านั่งสมาธิ ถึง ๓ วัน ๓ คืน ท่านเล่าว่าเวทนาเกิดขึ้นมาก ท่านจึงกำหนดความตายเป็นอารมณ์ จิตจึงวางเวทนา แม้แต่สังขารก็วาง เหลือแต่ความรู้ที่สว่างอยู่เฉยๆ ไม่รู้นานเท่าไร จิตจึงจะถอนออก เมื่อครบ ๓ วันแล้ว หมู่เพื่อนจึงมาแก้มัดออก แล้วจึงค่อยๆช่วยกันนวด ตามแขนตามขา เมื่อยกมือที่วางซ้อนกันออก ปรากฏว่า ตรงฝ่ามือและขาที่ซ้อนกันนั้น มีลักษณะเหมือนไฟไหม้ ตั้งแต่นั้นมา การทำความเพียรของท่าน เมื่อจิตใจฟุ้งซ่าน ท่านมักจะไปหาที่อยู่องค์เดียว ในถํ้าหรือป่าลึกๆและบำเพ็ญภาวนา นานเป็นวันๆคืนๆไป ท่านบอกว่า การทำความเพียร เมื่อจิตใจมีรากฐานดีแล้ว การภาวนาเป็นวันๆคืนๆ มีแต่จะเพิ่มความชำนาญ ของสมาธิไปเรื่อยๆ การพิจารณาการของท่านๆมักจะใช้อิริยาบถเดิน บางครั้งท่านจะเดินไปตามป่าคนเดียว ในตอนกลางคืน และจะกลับมาถึงศาลา ก็ตอนใกล้สว่างเป็นประจำ คราวหนึ่งกลางพรรษาที่วัดวาชูคุ ฝนตกหนัก ถนนหนทางถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง ทั้งตามลำห้วย นํ้าป่าก็พัดแรง ท่านอาจารย์อาพาธเป็นไข้อย่างหนัก หนาวสั่น ท่านจึงสั่งให้ชาวบ้าน ตัดลำไม้ไผ่มาผูกเป็นแพเล็กๆ แค่นั่งคนเดียว แพก็เกือบจะล่มแล้ว นำไปลอยไว้ในหนองนํ้า ใกล้ๆกับกุฏิที่พัก แล้วท่านจึงขึ้นไปนั่งบนแพ ปล่อยแพให้ลอยอยู่กลางหนองนํ้า นั่งภาวนาตากแดดตากฝน ลอยนํ้าอยู่ทั้งวันทั้งคืน จนอาการดีขึ้น ต่อเมื่อมีผู้ไปถามท่านว่า ทำไมต้องไปอยู่บนแพเล็กๆ เวลาเป็นไข้อย่างหนักด้วยท่านก็ว่า มันอยากเป็นไข้นี่ ถ้าควบคุมตัวเองไม่ได้ กระดุกกระดิกก็ให้แพล่มจมนํ้าไปเลย โดยปกติแล้วท่านอาจารย์เสถียร ท่านชอบธุดงค์ไปยังที่ต่างๆ ที่เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร ภาวนาอยู่เสมอทั้งทางภาคเหนือ ภาคอีสาน ตะวันออก ตะวันตก บางคราวก็เลยไปยังประเทศพม่าด้วย ท่านเล่าว่ามีอยู่ครั้งหนึ่ง ที่ดงลาน จ.เลย ท่านภาวนาแล้วบังเกิดนิมิต เป็นที่อัศจรรย์หลายเรื่องหลายราว ท่านก็ว่าเราก็รู้แล้วจะไม่หลงหรือ ดังนั้นท่านจึงเดินทางทางกลับ ไปกราบเรียนหลวงปู่ขาล หลวงปู่ท่านว่า ถ้ารู้แล้วมีสติจะหลงอะไร หรือเวลาท่านไปธุดงค์ทางพม่า ท่านมักจะพักตามป่าช้า ท่านว่าป่าทางพม่าสวยดี มีต้นไม้ใหญ่ ร่มครึ้ม เหมือนป่าดึกดำบรรพ์ เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรภาวนาเป็นยิ่งนัก คราวหนึ่ง ช่วงที่ท่านอยู่วาชูคุ ท่านบังเกิดความคิดถึง พ่อ แม่ ครูบาอาจารย์ ที่เชียงรายเป็นอย่างยิ่ง ท่านจึงเดินทางจะกลับไปบ้าน พอถึงลำปาง ท่านเห็นชาวบ้านเขาฝึกช้าง แยกลูกแยกแม่จากกัน ท่านก็เลยพิจารณาปล่อยวาง แล้วก็เลยเดินทางกลับวาชูคุอีก ส่วนมากท่านอาจารย์ จะพูดน้อยและถ่อมตน หรือบางทีมีญาติโยม ถามธรรมะท่านๆก็จะตอบว่า ไม่รู้สิ แต่เมื่อถูกรบเร้ามากๆท่านก็ว่า เรามันพระเล็กพระน้อย ให้ไปถามครูบาอาจารย์ ซึ่งหมายถึง ท่านพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ ส่วนเรื่องบริขารของท่านๆ จะไม่กระตือรือร้น ท่านมักจะใช้ของขาดๆเก่าๆ เพียงแต่ไม่ผิดพระธรรมวินัยเป็นอันใช้ได้ ยิ่งเรื่องอาหารการฉัน ของท่านอาจารย์ด้วยแล้ว เป็นไปอย่างเรียบง่าย ตามฐานะความเป็นอยู่ ศรัทธาของญาติโยม แม้แต่นํ้าพริกกะเหรี่ยง ซึ่งขึ้นชื่อลือชาในเรื่องความเผ็ด เค็ม ท่านก็ฉันได้อย่างเอร็ดอร่อย ท่านชอบชวนญาติโยม ไปเที่ยววัดท่านที่วาชูคุ โดยบอกว่า ไปกินชะอมต้มเกลือ แล้วท่านก็ยิ้มๆ ท่านอาจารย์ มักมีอารมณ์ดี และอารมณ์ขันอยู่เสมอ ครั้งหนึ่ง ญาติโยมที่ทำอาหารถวายพระนอนตื่นสาย กลัวว่าจะทำอาหารถวายพระไม่ทัน ก็เลยกราบเรียนท่านอาจารย์ว่า ขอให้พระรอก่อน แต่ท่านไม่รอ ท่านบอกว่าท่านชื่อเสถียร ท่านไม่ใช่พระรอ หรือคราวหนึ่ง โยมชาวกะเหรี่ยง ต้มยอดฟักทองมาถวายท่าน โดยต้มมาทั้งเถาเลย ท่านประมาณดูว่าขดได้ ๓ รอบบาตร ท่านรับประเคนแล้วไม่ว่าอะไร พอฉันเสร็จแล้ว ก็ออกไปหัวเราะกับสหธรรมมิกของท่าน ตรงที่ล้างบาตร โดยปกติ ลูกศิษย์ชาวกะเหรี่ยง ของท่านอาจารย์ ส่วนมากแล้ว จะไม่ค่อยได้เข้ามาในเมืองบ่อยนัก เวลาท่านเดินทางไปกรุงเทพฯ ท่านมักจะพาเด็กๆชาวกะเหรี่ยง ไปกับท่านด้วยเสมอ คราวละหลายสิบคน ญาติโยมมักจะถามว่า ไม่กลัวเด็กๆพลัดหลงหรือ ท่านก็บอกว่าไม่กลัว เพราะเวลาจะข้ามถนน หรือเดินไปทางไหน ก็ให้เด็กๆจับมือกันไว้เป็นแถวกันหลง แล้วท่านก็หัวเราะ จวบจนเมื่อท่านเริ่มอาพาธ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง แต่ท่านอาจารย์ก็มิได้มาให้แพทย์ตรวจ แต่ประการใด คงเป็นเพราะอยู่ในระหว่างพรรษา ท่านจึงไม่ยอมเดินทางไปไหน ต่อเมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านถึงยอมอยู่ในความดูแลของแพทย์ แพทย์ลงความเห็นว่า ท่านเป็นโรคมะเร็งในต่อมนํ้าเหลือง ท่านพักรักษาตัว อยู่ที่โรงพยาบาล ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก็ออกจากโรงพยาบาล มาพักที่วัดเวฬุวัน จากนั้น จึงเข้าไปอยู่วัดท่านที่วาชูคุ วัดที่มีความผูกพันกับท่านอาจารย์มาก ต่อมาท่านก็มรณภาพ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖ หลังจากที่ได้ประชุมเพลิงศพท่านแล้ว บรรดาญาติโยม ได้พากันนำอัฐิธาตุส่วนหนึ่ง ของท่านอาจารย์กลับไปเชียงราย ตามคำปรารภของท่านอาจารย์ ก่อนมรณภาพ และได้ไปกราบนมัสการหลวงปู่ขาล ซึ่งเป็นอาจารย์องค์แรก ของท่านอาจารย์เสถียร ท่านได้เมตตา ต่อบรรดาญาติโยม ที่ไปกราบท่านในครั้งนั้นมาก พร้อมกับปรารภให้บรรดาญาติโยมฟัง ตอนหนึ่งว่า “ท่านอาจารย์เสถียร เคยเกิดเป็นกะเหรี่ยงมาหลายภพหลายชาติ” ปกิณกะธรรม อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่กับมิตรให้ระวังวาจา เราจะกลัวอะไร เราพิจารณามาจนพอแล้ว เราก็พูดเล่น พูดหัวไปอย่างนั้นแหละ ใครจะรู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ เธอไม่รู้หรือว่าใจเราวันหนึ่งๆมันเปลี่ยนไปตั้งกี่ครั้ง ผู้ที่เดินทางอยู่ย่อมถึงจุดหมายไม่ช้าก็เร็ว หนูตัวเล็กๆมันกินนํ้าในห้วย มันก็กินได้แค่พออิ่มท้องมันเท่านั้น เวทนา เมื่อถึงที่สุดแล้ว จะเปรียบเสมือนพระอาทิตย์ตอนเที่ยงวัน หลังจากนั้นมันก็จะค่อยๆลดลงไป งานทางด้านพัฒนาทางด้านวัตถุและบุคคล ท่านอาจารย์เสถียร ได้ดำริและริเริ่ม ให้มีการพัฒนาเกี่ยวกับ ความเป็นอยู่ของชาวไทยกะเหรี่ยง ในเขตตำบลไล่โว่ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งงบประมาณทั้งหมด ได้มาจากแรงศรัทธา จากบรรดาญาติโยม ที่รวมพลังกัน ทั้งพลังกาย พลังใจ พลังทรัพย์และพลังความคิด ดังที่ท่านอาจารย์ ได้ดำริวางแนว และปฏิบัตินำให้บรรดาญาติโยม ปฏิบัติตามจนสำเร็จ ตามความมุ่งมาด ปรารถนา ดังผลงานที่ได้แล้วเสร็จไป มีดังนี้ จัดสร้างระบบประปาภูเขาบ้านวาชูคุ จัดสร้างระบบประปาภูเขาซาละวะ จัดสร้างศาลาอเนกประสงค์บ้านวาชูคุ จัดสร้างศาลาอเนกประสงค์บ้านซาละวะ จัดให้มีการอบรมเยาวชน ในเขตตำบลไล่โว่หลายครั้ง จัดส่งชาวบ้านที่มีความรู้ภาษาไทย มารับการฝึกอบรมผู้สื่อข่าวสาธารณสุข ณ โรงพยาบาลทองผาภูมิ นำเยาวชนไปทัศนศึกษา ณ กรุงเทพมหานคร ริเริ่มให้มีการจัดสร้าง โรงเรียนบ้านทิไร่ป้า ให้ถูกต้องตามหลักสูตร ของกระทรวงศึกษาธิการ ริเริ่มให้มีการจัดสร้าง สถานีอนามัยบ้านทิไร่ป้า ตามมาตรฐานและระเบียบ ของกระทรวงสาธารณสุข แนะนำให้ชาวบ้าน ปลูกพืชผักโดยไม่ใช้สารเคมี สารพิษต่างๆ
การสร้างเจดีย์พระอาจารย์เสถียร สมาจาโร หลังจากพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๓๖แล้ว ทางคณะสงฆ์นำโดยพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธและคณะศิษยานุศิษย์ ได้มีดำริร่วมใจกัน ในการจัดสร้างเจดีย์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ อริยสงฆ์แห่งป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และเป็นสิ่งเคารพบูชา สำหรับพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป และโดยเฉพาะ ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ในพื้นที่ซึ่งมีความผูกพัน กับพระอาจารย์เป็นอย่างมาก จักได้เป็นขวัญและกำลังใจ ในการดำเนินชีวิต ที่ยึดมั่นในหลักคุณงามความดี มีศีลธรรม ตามหลักพระธรรมคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไป เฉกเช่นพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร พระอริยสงฆ์ ผู้ประกาศหลักสัจธรรม ความจริงของชีวิต และดำเนินชีวิตเป็นแบบอย่าง ของเหล่ามนุษย์ทั้งหลาย ผู้ได้ชื่อว่า เป็นผู้ประเสริฐอย่างแท้จริง สำหรับการก่อสร้างเจดีย์ พระอาจารย์เสถียร สมาจาโรนั้น ได้สร้างทับ บริเวณที่เป็นพื้นที่ ในการประชุมเพลิง ท่านพระอาจารย์ ณ วัดวาชูคุนั้นเอง และฉลองสมโภชเจดีย์ เมื่อวันศุกร์ ที่ ๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๗ หลังจากนั้น ในทุกๆปี เมื่อถึงวันคล้ายวันมรณภาพ ของพระอาจารย์เสถียรแล้ว ทางคณะสงฆ์และเหล่าศิษยานุศิษย์ จึงได้จัดให้มีการน้อมรำลึก และสักการะเจดีย์ อันเป็นองค์แทนแห่ง พระอาจารย์ผู้ทรงศีลวิสุทธิ์ ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบ ควรทักษิณาทาน ควรอัญชลีกรรม เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด เป็นนาบุญอันประเสริฐ อันยากจะหานาอื่นเทียบเทียม เป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน งานประจำปีสักการะเจดีย์พระอาจารย์เสถียร สมาจาโร
เหล่าพุทธบริษัทที่มาร่วมงานจะได้ทำบุญตักบาตร สมาทานรักษาศีล ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์
ก่อนวันประกอบพิธีสักการะเจดีย์ ในตอนเย็น จะมีการเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อเป็นสิริมงคล แก่เหล่าพุทธบริษัทที่มาร่วมงาน เสร็จแล้ว จะมีการแสดงพื้นบ้าน รำตง ของเหล่าเยาวชนสตรี ในหมู่บ้าน มาแสดงให้แขกผู้มาเยือนได้ชมเป็นขวัญตา
การทำพิธีสักการะเจดีย์ จะทำพิธีในวันสุดท้ายของช่วงวันงาน ซึ่งจะมีทั้งพิธีสงฆ์ และพิธีของชาวบ้าน เชื้อสายกะเหรี่ยงโพล่ว แห่งป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก พิธีสงฆ์ มีการเจริญพระพุทธมนต์ นำคารวะขอขมา และพรมนํ้าหอมรอบเจดีย์
พิธีพื้นบ้านชาวกะเหรี่ยง มีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นตัวแทนกล่าวคำขอขมาเป็นภาษากะเหรี่ยง และกรวดนํ้าอุทิศส่วนกุศล เสร็จแล้วร่วมกันพรมนํ้าหอม รอบเจดีย์ด้วยความเคารพ เพื่อเป็นสิริมงคล แก่ชีวิตที่ได้มาร่วมงานบุญในครั้งนี้
โครงการอนุาักษ์และฟื้นฟู ศิลปะวัฒนธรรมฯ ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ปี ๒๕๕๓ (คลิกเพื่อดาวน์โหลด)
โครงการอนุาักษ์และฟื้นฟู ศิลปะวัฒนธรรมฯ ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ปี ๒๕๕๔ (คลิกเพื่อดาวน์โหลด)
ประวัติพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร โดยสังเขป ท่านพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร มีนามเดิมว่า เสถียร ทองโคตร์ บิดาชื่อว่าพรหมา มารดาชื่อ ก้าน ท่านถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๘ คํ่า เดือน ๔ ปีระกา ณ ตำบลโนนสัง อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี ท่านมีพี่น้องรวม ๔ คน คือ ๑.ท่านอาจารย์เสถียร ทองโคตร์ ๒.นายวิเชียร ทองโคตร์ ๓.นางหนูเพียร ทองโคตร์ ๔.นายบัวเรียน ทองโคตร์ โยมบิดา มารดา ของท่านมีอาชีพทำนา ท่านเรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔ จากนั้นครอบครัวของท่าน ได้ย้ายไปอยู่ที่จังหวัดเชียงราย ต่อมาเมื่อมีอายุครบบวช ท่านได้บรรพชาอุปสมบท ที่วัดป่าสำราญนิวาส ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐ มีพระครูการุณยธรรมนิวาส (หลวงปู่หลวง กตปุญโญ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระคำมูล ชิตมาโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ (ปัจจุบันอยู่ที่วัดรัตนวนาราม จ.พะเยา เป็นเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย-พะเยา) ได้ฉายา สมาจาโร สังกัดธรรมยุตินิกาย พรรษาที่ ๑-๔ จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ขาล ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า อ.เวียงชัย จ.เชียงราย พรรษาที่ ๕ จำพรรษาที่ บ้านอีก้อ อ.แม่สาย จ.เชียงราย พรรษาที่ ๖-๗ ท่านได้กลับไปจำพรรษา อยู่กับหลวงปู่ขาล พรรษาที่ ๘ ท่านได้ธุดงค์และจำพรรษา อยู่ทางภาคอีสาน หลังออกพรรษาแล้ว พอดีช่วงนั้น มีงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ผาง จิตตคุตโต ท่านพระอาจารย์เสถียร ก็ได้ไปช่วยงานท่านด้วย และได้พบกับท่านพระอาจารย์สาคร ธมฺมาวุโธเป็นครั้งแรกในงานนี้ เมื่อเสร็จงานพระราชทานเพลิงศพ หลางปู่ผางแล้ว ท่านจึงได้ธุดงค์เรื่อยมา จนถึงอำเภอทองผาภูมิ พรรษาที่ ๙-๑๐ จำพรรษาอยู่ที่วัดเวฬุวัน ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ในช่วงออกพรรษา ท่านได้ไปวิเวกตามป่า ตามเขาในเขตป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อาศัยบิณฑบาตจากชาวกะเหรี่ยง จนท่านสามารถพูดภาษากะเหรี่ยง ได้อย่างชำนิชำนาญ พรรษาที่ ๑๑-๑๖ จำพรรษาที่วัดวาชูคุ ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี วัดนี้เป็นวัดอยู่กลางป่า ชาวบ้านเป็นชาวกะเหรี่ยง ในช่วงที่ท่านมาจำพรรษาใหม่ๆ ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือฤาษี ไว้ผมยาวเกล้าเป็นมวย แล้วใช้ผ้าผูกทับไว้ ท่านอาจารย์ก็ได้แนะนำสั่งสอน ให้ชาวบ้านยึดมั่นในพระรัตนตรัย นำเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่สักการะ จนชาวบ้านส่วนใหญ่ หันมาปฏิบัติตาม บ้างก็ส่งลูกหลานมาบวช ในบวรพุทธศาสนา หลายคน หรือเมื่อมีเรื่องทุกข์เรื่องร้อนประการใด ไม่ว่าเจ็บไข้ได้ป่วย ความเป็นอยู่ การทำมาหากิน ก็จะมาให้ท่านอาจารย์ ช่วยสงเคราะห์ให้ ซึ่งท่านอาจารย์ ก็เมตตาช่วยสงเคราะห์ ด้วยดีทุกรายการไป ประดุจดังพี่น้องร่วมสายโลหิต ที่ต้องดูแลและเอื้ออาทร ให้พ้นทุกข์พ้นยาก ดังนั้นชาวกะเหรี่ยง ทั้งหมู่บ้านใกล้ไกล จึงให้ความเคารพ ยำเกรงและศรัทธาท่านมาก เวลาท่านอาจารย์ไปทางหมู่บ้านไหน ท่านมักจะชักชวนชาวบ้าน พัฒนาแหล่งนํ้า โดยให้ชาวบ้านช่วยกันขุดบ่อ ดังนั้นชาวบ้านจึงตั้งสมญา ให้ท่านเป็นภาษากะเหรี่ยงว่า"ซองค่าที่กะเล่อ" ซึ่งหมายถึงพระบ่อนํ้า การเดินทางจากหมู่บ้านหนึ่ง ไปหมู่บ้านหนึ่ง ก็ต้องใช้วิธีเดินเท้า ใช้เวลาเป็นวันๆคืนๆ จึงจะถึงจุดหมาย เรื่องรถนั้น แทบไม่ต้องพูดถึง ยิ่งฤดูฝนด้วยแล้ว พาหนะที่ดีที่สุดในแถบที่ท่านอาจารย์ จำพรรษาอยู่ ก็คือช้าง ในฤดูแล้ง ก็พอที่จะได้พบเห็นรถอยู่บ้าง แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรค ในการประพฤติปฏิบัติ และพัฒนาชาวกะเหรี่ยง สำหรับพระอย่างท่านอาจารย์ ท่านยังคงปฏิบัติ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แม้ใกล้วาระสุดท้าย ที่ท่านอาพาธอย่างหนัก ด้วยโรคมะเร็ง เวทนาจะกล้าสักเพียงใดก็ตาม ท่านยังคงปฏิบัติ และพัฒนาอย่างปกติ โดยมิได้หวั่นไหว ต่อธาตุขันธ์ที่ใกล้จะแตกดับเลย ท่านวางธาตุขันธ์ โดยอาการสงบสุข ที่วัดวาชูคุ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖ เวลา ๒๔.๐๐น. สิริรวมอายุ ๓๖ ปี พรรษา ๑๖ ปฏิปทาและข้อวัตรปฏิบัติ ท่านพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร ท่านเป็นผู้ที่มีปฏิปทา เด็ดเดี่ยวและกล้าหาญมาก เป็นพระที่หาได้ยากองค์หนึ่ง ในสมัยปัจจุบัน ครั้งหนึ่ง ท่านสนธนาธรรมกับสหธรรมมิกของท่าน เกี่ยวกับเรื่องทำความเพียร ท่านยกตัวอย่างการทำความเพียร เมื่อสมัยบวชใหม่ๆ จิตใจฟุ้งซ่าน รำคาญมาก ท่านจึงตัดสินใจให้หมู่เพื่อน มัดแขน มัดขา ไว้กลางป่าในท่านั่งสมาธิ ถึง ๓ วัน ๓ คืน ท่านเล่าว่าเวทนาเกิดขึ้นมาก ท่านจึงกำหนดความตายเป็นอารมณ์ จิตจึงวางเวทนา แม้แต่สังขารก็วาง เหลือแต่ความรู้ที่สว่างอยู่เฉยๆ ไม่รู้นานเท่าไร จิตจึงจะถอนออก เมื่อครบ ๓ วันแล้ว หมู่เพื่อนจึงมาแก้มัดออก แล้วจึงค่อยๆช่วยกันนวด ตามแขนตามขา เมื่อยกมือที่วางซ้อนกันออก ปรากฏว่า ตรงฝ่ามือและขาที่ซ้อนกันนั้น มีลักษณะเหมือนไฟไหม้ ตั้งแต่นั้นมา การทำความเพียรของท่าน เมื่อจิตใจฟุ้งซ่าน ท่านมักจะไปหาที่อยู่องค์เดียว ในถํ้าหรือป่าลึกๆและบำเพ็ญภาวนา นานเป็นวันๆคืนๆไป ท่านบอกว่า การทำความเพียร เมื่อจิตใจมีรากฐานดีแล้ว การภาวนาเป็นวันๆคืนๆ มีแต่จะเพิ่มความชำนาญ ของสมาธิไปเรื่อยๆ การพิจารณาการของท่านๆมักจะใช้อิริยาบถเดิน บางครั้งท่านจะเดินไปตามป่าคนเดียว ในตอนกลางคืน และจะกลับมาถึงศาลา ก็ตอนใกล้สว่างเป็นประจำ คราวหนึ่งกลางพรรษาที่วัดวาชูคุ ฝนตกหนัก ถนนหนทางถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง ทั้งตามลำห้วย นํ้าป่าก็พัดแรง ท่านอาจารย์อาพาธเป็นไข้อย่างหนัก หนาวสั่น ท่านจึงสั่งให้ชาวบ้าน ตัดลำไม้ไผ่มาผูกเป็นแพเล็กๆ แค่นั่งคนเดียว แพก็เกือบจะล่มแล้ว นำไปลอยไว้ในหนองนํ้า ใกล้ๆกับกุฏิที่พัก แล้วท่านจึงขึ้นไปนั่งบนแพ ปล่อยแพให้ลอยอยู่กลางหนองนํ้า นั่งภาวนาตากแดดตากฝน ลอยนํ้าอยู่ทั้งวันทั้งคืน จนอาการดีขึ้น ต่อเมื่อมีผู้ไปถามท่านว่า ทำไมต้องไปอยู่บนแพเล็กๆ เวลาเป็นไข้อย่างหนักด้วยท่านก็ว่า มันอยากเป็นไข้นี่ ถ้าควบคุมตัวเองไม่ได้ กระดุกกระดิกก็ให้แพล่มจมนํ้าไปเลย โดยปกติแล้วท่านอาจารย์เสถียร ท่านชอบธุดงค์ไปยังที่ต่างๆ ที่เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร ภาวนาอยู่เสมอทั้งทางภาคเหนือ ภาคอีสาน ตะวันออก ตะวันตก บางคราวก็เลยไปยังประเทศพม่าด้วย ท่านเล่าว่ามีอยู่ครั้งหนึ่ง ที่ดงลาน จ.เลย ท่านภาวนาแล้วบังเกิดนิมิต เป็นที่อัศจรรย์หลายเรื่องหลายราว ท่านก็ว่าเราก็รู้แล้วจะไม่หลงหรือ ดังนั้นท่านจึงเดินทางทางกลับ ไปกราบเรียนหลวงปู่ขาล หลวงปู่ท่านว่า ถ้ารู้แล้วมีสติจะหลงอะไร หรือเวลาท่านไปธุดงค์ทางพม่า ท่านมักจะพักตามป่าช้า ท่านว่าป่าทางพม่าสวยดี มีต้นไม้ใหญ่ ร่มครึ้ม เหมือนป่าดึกดำบรรพ์ เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรภาวนาเป็นยิ่งนัก คราวหนึ่ง ช่วงที่ท่านอยู่วาชูคุ ท่านบังเกิดความคิดถึง พ่อ แม่ ครูบาอาจารย์ ที่เชียงรายเป็นอย่างยิ่ง ท่านจึงเดินทางจะกลับไปบ้าน พอถึงลำปาง ท่านเห็นชาวบ้านเขาฝึกช้าง แยกลูกแยกแม่จากกัน ท่านก็เลยพิจารณาปล่อยวาง แล้วก็เลยเดินทางกลับวาชูคุอีก ส่วนมากท่านอาจารย์ จะพูดน้อยและถ่อมตน หรือบางทีมีญาติโยม ถามธรรมะท่านๆก็จะตอบว่า ไม่รู้สิ แต่เมื่อถูกรบเร้ามากๆท่านก็ว่า เรามันพระเล็กพระน้อย ให้ไปถามครูบาอาจารย์ ซึ่งหมายถึง ท่านพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ ส่วนเรื่องบริขารของท่านๆ จะไม่กระตือรือร้น ท่านมักจะใช้ของขาดๆเก่าๆ เพียงแต่ไม่ผิดพระธรรมวินัยเป็นอันใช้ได้ ยิ่งเรื่องอาหารการฉัน ของท่านอาจารย์ด้วยแล้ว เป็นไปอย่างเรียบง่าย ตามฐานะความเป็นอยู่ ศรัทธาของญาติโยม แม้แต่นํ้าพริกกะเหรี่ยง ซึ่งขึ้นชื่อลือชาในเรื่องความเผ็ด เค็ม ท่านก็ฉันได้อย่างเอร็ดอร่อย ท่านชอบชวนญาติโยม ไปเที่ยววัดท่านที่วาชูคุ โดยบอกว่า ไปกินชะอมต้มเกลือ แล้วท่านก็ยิ้มๆ ท่านอาจารย์ มักมีอารมณ์ดี และอารมณ์ขันอยู่เสมอ ครั้งหนึ่ง ญาติโยมที่ทำอาหารถวายพระนอนตื่นสาย กลัวว่าจะทำอาหารถวายพระไม่ทัน ก็เลยกราบเรียนท่านอาจารย์ว่า ขอให้พระรอก่อน แต่ท่านไม่รอ ท่านบอกว่าท่านชื่อเสถียร ท่านไม่ใช่พระรอ หรือคราวหนึ่ง โยมชาวกะเหรี่ยง ต้มยอดฟักทองมาถวายท่าน โดยต้มมาทั้งเถาเลย ท่านประมาณดูว่าขดได้ ๓ รอบบาตร ท่านรับประเคนแล้วไม่ว่าอะไร พอฉันเสร็จแล้ว ก็ออกไปหัวเราะกับสหธรรมมิกของท่าน ตรงที่ล้างบาตร โดยปกติ ลูกศิษย์ชาวกะเหรี่ยง ของท่านอาจารย์ ส่วนมากแล้ว จะไม่ค่อยได้เข้ามาในเมืองบ่อยนัก เวลาท่านเดินทางไปกรุงเทพฯ ท่านมักจะพาเด็กๆชาวกะเหรี่ยง ไปกับท่านด้วยเสมอ คราวละหลายสิบคน ญาติโยมมักจะถามว่า ไม่กลัวเด็กๆพลัดหลงหรือ ท่านก็บอกว่าไม่กลัว เพราะเวลาจะข้ามถนน หรือเดินไปทางไหน ก็ให้เด็กๆจับมือกันไว้เป็นแถวกันหลง แล้วท่านก็หัวเราะ จวบจนเมื่อท่านเริ่มอาพาธ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง แต่ท่านอาจารย์ก็มิได้มาให้แพทย์ตรวจ แต่ประการใด คงเป็นเพราะอยู่ในระหว่างพรรษา ท่านจึงไม่ยอมเดินทางไปไหน ต่อเมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านถึงยอมอยู่ในความดูแลของแพทย์ แพทย์ลงความเห็นว่า ท่านเป็นโรคมะเร็งในต่อมนํ้าเหลือง ท่านพักรักษาตัว อยู่ที่โรงพยาบาล ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก็ออกจากโรงพยาบาล มาพักที่วัดเวฬุวัน จากนั้น จึงเข้าไปอยู่วัดท่านที่วาชูคุ วัดที่มีความผูกพันกับท่านอาจารย์มาก ต่อมาท่านก็มรณภาพ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖ หลังจากที่ได้ประชุมเพลิงศพท่านแล้ว บรรดาญาติโยม ได้พากันนำอัฐิธาตุส่วนหนึ่ง ของท่านอาจารย์กลับไปเชียงราย ตามคำปรารภของท่านอาจารย์ ก่อนมรณภาพ และได้ไปกราบนมัสการหลวงปู่ขาล ซึ่งเป็นอาจารย์องค์แรก ของท่านอาจารย์เสถียร ท่านได้เมตตา ต่อบรรดาญาติโยม ที่ไปกราบท่านในครั้งนั้นมาก พร้อมกับปรารภให้บรรดาญาติโยมฟัง ตอนหนึ่งว่า “ท่านอาจารย์เสถียร เคยเกิดเป็นกะเหรี่ยงมาหลายภพหลายชาติ” ปกิณกะธรรม อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่กับมิตรให้ระวังวาจา เราจะกลัวอะไร เราพิจารณามาจนพอแล้ว เราก็พูดเล่น พูดหัวไปอย่างนั้นแหละ ใครจะรู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ เธอไม่รู้หรือว่าใจเราวันหนึ่งๆมันเปลี่ยนไปตั้งกี่ครั้ง ผู้ที่เดินทางอยู่ย่อมถึงจุดหมายไม่ช้าก็เร็ว หนูตัวเล็กๆมันกินนํ้าในห้วย มันก็กินได้แค่พออิ่มท้องมันเท่านั้น เวทนา เมื่อถึงที่สุดแล้ว จะเปรียบเสมือนพระอาทิตย์ตอนเที่ยงวัน หลังจากนั้นมันก็จะค่อยๆลดลงไป งานทางด้านพัฒนาทางด้านวัตถุและบุคคล ท่านอาจารย์เสถียร ได้ดำริและริเริ่ม ให้มีการพัฒนาเกี่ยวกับ ความเป็นอยู่ของชาวไทยกะเหรี่ยง ในเขตตำบลไล่โว่ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งงบประมาณทั้งหมด ได้มาจากแรงศรัทธา จากบรรดาญาติโยม ที่รวมพลังกัน ทั้งพลังกาย พลังใจ พลังทรัพย์และพลังความคิด ดังที่ท่านอาจารย์ ได้ดำริวางแนว และปฏิบัตินำให้บรรดาญาติโยม ปฏิบัติตามจนสำเร็จ ตามความมุ่งมาด ปรารถนา ดังผลงานที่ได้แล้วเสร็จไป มีดังนี้ จัดสร้างระบบประปาภูเขาบ้านวาชูคุ จัดสร้างระบบประปาภูเขาซาละวะ จัดสร้างศาลาอเนกประสงค์บ้านวาชูคุ จัดสร้างศาลาอเนกประสงค์บ้านซาละวะ จัดให้มีการอบรมเยาวชน ในเขตตำบลไล่โว่หลายครั้ง จัดส่งชาวบ้านที่มีความรู้ภาษาไทย มารับการฝึกอบรมผู้สื่อข่าวสาธารณสุข ณ โรงพยาบาลทองผาภูมิ นำเยาวชนไปทัศนศึกษา ณ กรุงเทพมหานคร ริเริ่มให้มีการจัดสร้าง โรงเรียนบ้านทิไร่ป้า ให้ถูกต้องตามหลักสูตร ของกระทรวงศึกษาธิการ ริเริ่มให้มีการจัดสร้าง สถานีอนามัยบ้านทิไร่ป้า ตามมาตรฐานและระเบียบ ของกระทรวงสาธารณสุข แนะนำให้ชาวบ้าน ปลูกพืชผักโดยไม่ใช้สารเคมี สารพิษต่างๆ
การสร้างเจดีย์พระอาจารย์เสถียร สมาจาโร หลังจากพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๓๖แล้ว ทางคณะสงฆ์นำโดยพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธและคณะศิษยานุศิษย์ ได้มีดำริร่วมใจกัน ในการจัดสร้างเจดีย์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ อริยสงฆ์แห่งป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และเป็นสิ่งเคารพบูชา สำหรับพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป และโดยเฉพาะ ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ในพื้นที่ซึ่งมีความผูกพัน กับพระอาจารย์เป็นอย่างมาก จักได้เป็นขวัญและกำลังใจ ในการดำเนินชีวิต ที่ยึดมั่นในหลักคุณงามความดี มีศีลธรรม ตามหลักพระธรรมคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไป เฉกเช่นพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร พระอริยสงฆ์ ผู้ประกาศหลักสัจธรรม ความจริงของชีวิต และดำเนินชีวิตเป็นแบบอย่าง ของเหล่ามนุษย์ทั้งหลาย ผู้ได้ชื่อว่า เป็นผู้ประเสริฐอย่างแท้จริง สำหรับการก่อสร้างเจดีย์ พระอาจารย์เสถียร สมาจาโรนั้น ได้สร้างทับ บริเวณที่เป็นพื้นที่ ในการประชุมเพลิง ท่านพระอาจารย์ ณ วัดวาชูคุนั้นเอง และฉลองสมโภชเจดีย์ เมื่อวันศุกร์ ที่ ๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๗ หลังจากนั้น ในทุกๆปี เมื่อถึงวันคล้ายวันมรณภาพ ของพระอาจารย์เสถียรแล้ว ทางคณะสงฆ์และเหล่าศิษยานุศิษย์ จึงได้จัดให้มีการน้อมรำลึก และสักการะเจดีย์ อันเป็นองค์แทนแห่ง พระอาจารย์ผู้ทรงศีลวิสุทธิ์ ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบ ควรทักษิณาทาน ควรอัญชลีกรรม เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด เป็นนาบุญอันประเสริฐ อันยากจะหานาอื่นเทียบเทียม เป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน งานประจำปีสักการะเจดีย์พระอาจารย์เสถียร สมาจาโร
เหล่าพุทธบริษัทที่มาร่วมงานจะได้ทำบุญตักบาตร สมาทานรักษาศีล ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์
ก่อนวันประกอบพิธีสักการะเจดีย์ ในตอนเย็น จะมีการเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อเป็นสิริมงคล แก่เหล่าพุทธบริษัทที่มาร่วมงาน เสร็จแล้ว จะมีการแสดงพื้นบ้าน รำตง ของเหล่าเยาวชนสตรี ในหมู่บ้าน มาแสดงให้แขกผู้มาเยือนได้ชมเป็นขวัญตา
การทำพิธีสักการะเจดีย์ จะทำพิธีในวันสุดท้ายของช่วงวันงาน ซึ่งจะมีทั้งพิธีสงฆ์ และพิธีของชาวบ้าน เชื้อสายกะเหรี่ยงโพล่ว แห่งป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก พิธีสงฆ์ มีการเจริญพระพุทธมนต์ นำคารวะขอขมา และพรมนํ้าหอมรอบเจดีย์
พิธีพื้นบ้านชาวกะเหรี่ยง มีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นตัวแทนกล่าวคำขอขมาเป็นภาษากะเหรี่ยง และกรวดนํ้าอุทิศส่วนกุศล เสร็จแล้วร่วมกันพรมนํ้าหอม รอบเจดีย์ด้วยความเคารพ เพื่อเป็นสิริมงคล แก่ชีวิตที่ได้มาร่วมงานบุญในครั้งนี้
โครงการอนุาักษ์และฟื้นฟู ศิลปะวัฒนธรรมฯ ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ปี ๒๕๕๓ (คลิกเพื่อดาวน์โหลด)
โครงการอนุาักษ์และฟื้นฟู ศิลปะวัฒนธรรมฯ ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ปี ๒๕๕๔ (คลิกเพื่อดาวน์โหลด)