ประวัติบางส่วนของ ท่านพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ
ท่านพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ มีนามเดิมว่า สาคร แสงมุกดา เป็นบุตรคนที่ ๕ ในจำนวน ๗ คน ของ นายบู่ แสงมุกดา และนางบัวลา แสงมุกดา (สกุลเดิมของโยมแม่ ชามนตรี ทายาทอดีตเจ้าเมืองหนองบัวลำภูในยุคนั้น) ท่านเกิดเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๐ เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘ ปีระกา ที่บ้านโนนสงเปลือย ต.หนองบัว อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี (ปัจจุบันคือ ต. เหล่าโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู) การศึกษา ท่านเข้าเรียนที่โรงเรียนบ้านนาวังเวิน เมื่อจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ ก็มิได้ศึกษาต่อ ด้วยเหตุที่ทางบ้าน ไม่สนับสนุน ทั้งนี้เนื่องมาจาก การที่โยมตาของท่าน ซึ่งเคยรับราชการ ในตำแหน่งสูงด้วยความซื่อสัตย์ กลับถูกสอบสวนอย่างไม่เป็นธรรม จนถูกจำคุกอยู่ถึง ๒๐ ปี โยมตาจึงหมดความศรัทธา ในระบบราชการ จึงไม่สนับสนุนให้ศึกษาต่อ อีกทั้งโยมตาท่าน ก็อยากให้มาช่วยกันดูแล เรือกสวนไร่นา ของครอบครัวตนเองจะดีกว่า และโยมพ่อโยมแม่ก็เห็นดีด้วย ท่านพระอาจารย์สาคร ซึ่งโดยนิสัย เชื่อฟังผู้ใหญ่อยู่เป็นพื้น จึงไม่ได้กลับไปศึกษาต่อ แม้ครูจะมาตามให้กลับไปเรียนก็ตาม เป็นกำลังสำคัญของครอบครัว ด้วยทางบ้าน ถือได้ว่ามีฐานะ เพราะมีเรือกสวนไร่นา ทั้งสัตว์เลี้ยงที่ต้องดูแลมาก เมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว ท่านจึงช่วยทางบ้านอย่างแข็งขัน เมื่อถึงฤดูฝนก็ทำไร่ ทำนา และเมื่อหมดหน้านา ก็ต้องต้อนฝูงวัวควายไปขาย ต่างบ้าน และต้องคุม หมู ไก่ กลับมาขาย บางครั้ง ก็ตามโยมพ่อเข้าป่า ไปหาใบยาและของป่า เนื่องจากโยมพ่อเป็นหมอยา ท่านจึงได้ความรู้ เรื่องยาและสมุนไพร จากโยมพ่ออีกด้วย เห็นทุกข์ทางโลก ด้วยหมู่บ้านสมัยก่อน บ้านเรือนมักอยู่ไม่ห่างกันนัก มีอะไรก็ช่วยซึ่งกันและกัน บางครั้งคนในหมู่บ้านจะคลอดลูก ได้ยินเสียงร้องโอดโอยไปหลายหลังคาเรือน ท่านมีโอกาสได้ตามไปดู ได้เห็นความเจ็บปวดทุกขเวทนา ของหญิงที่จะกำลังคลอดลูก ทำให้ท่านรู้สึกกลัว อีกทั้งเมื่อท่านคิดถึงเด็กที่อยู่ในท้อง ที่ต้องไปขดอยู่ในที่แคบๆ เป็นเวลานาน ให้รู้สึกอึดอัดเป็นอย่างยิ่ง แค่คิดก็แย่แล้ว แต่นี่คนที่เกิดต้องทนอยู่ถึง ๙ เดือน และในบางครั้งการคลอดลูก แม่ตายบ้าง เด็กไม่รอดบ้าง บางทีก็ต้องมาตายทั้งแม่ทั้งลูก ด้วยการคิดพิจารณา จากประสบการณ์ที่รับรู้มา ทำให้ท่านเห็นว่า การเกิดนั้นเป็นทุกข์อย่างยิ่ง กอปรกับเมื่อท่านต้องช่วยทำงานไร่นาที่บ้าน อย่างเหน็ดเหนื่อย ทำให้ท่านเห็นว่า ชีวิตคนทางโลก ต้องทำมาหากินไม่หยุดหย่อน เพื่อหาเลี้ยงตนเองและครอบครัว แต่สุดท้ายแล้ว ก็ไม่มีอะไรเป็นสาระที่แท้จริง จะบวชเป็นท่านเจ้าคุณ ในวัยเด็กท่านมีโอกาสติดตามโยมแม่ และญาติใหญ่ ไปวัดโดยสม่ำเสมอ ด้วยมีญาติพี่น้องบวชอยู่ ท่านจึงคุ้นเคยกับชีวิตสมณะ นักบวช และเนื่องจากโยมพี่ชายของท่าน (หลวงตาวา) ได้บวชเป็นเณรอยู่วัดมหาชัย โยมแม่จึงได้อาศัย ใช้ท่านนำอาหารไปถวายเสมอ และท่านก็ได้เห็นเณรพี่ชายท่าน ต้องถูกฝึกหัดให้ทำงาน และรับใช้อุปัฎฐาก ท่านเจ้าคุณที่วัดอยู่ เป็นประจำ ทำให้ท่านเกิดความคิดว่า เมื่อท่านจะบวช ท่านจะไม่บวชเป็นเณร ท่านอยากจะบวชเป็นท่านเจ้าคุณ
ออกบวช อำเภอหนองบัวลำภูในยุคนั้น อยู่บนเส้นทาง ที่พระวิปัสสนากัมมัฎฐานหลายรูป ใช้เป็นเส้นทางเดินธุดงค์ เพื่อไปฟังธรรมอบรมจากองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่จังหวัดสกลนคร และหลายท่าน ได้มาพักสร้างวัดในธรรมยุตินิกาย ที่เน้นการปฏิบัติธรรม ขึ้น ณ อำเภอนี้ ซึ่งญาติพี่น้องของท่านพระอาจารย์สาครเอง ก็ได้บวชเป็นพระเณรกันหลายท่าน บางท่านบวชเรียนสามารถสอบได้นักธรรม เปรียญธรรมประโยคต่างๆ บางท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นท่านเจ้าคุณ มีจริยวัตรงดงาม แสดงธรรมเทศนาได้ลึกซึ้ง น่าติดตาม ดังนั้นเมื่ออายุครบบวช ท่านพระอาจารย์สาคร จึงตัดสินใจ ขออนุญาติบิดามารดา ลาบวช เพื่อศึกษาธรรม ณ วัดมหาชัย ต.หนองบัว จ.อุดรธานี เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๘ โดยมี พระพิศาลคณานุกิจ เป็นพระอุปัชฌาย พระสมุห์คำบาล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาพุทธศาสนาว่า ธมมาวุโธ อันมีความหมายว่า ผู้มีธรรมเป็นอาวุธ สังกัดธรรมยุตนิกาย อยู่จำพรรษาแรก ณ วัดมหาชัย ต. หนองบัว อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี จะไม่อยู่ใกล้บ้าน เมื่อท่านบวชจำพรรษาแรกที่ วัดมหาชัย ใกล้บ้าน เพื่อโปรดญาติโยม และเมื่อทางบ้าน ได้อนุโมทนาการบวชของท่าน พอสมควรแล้ว ได้ขอให้ท่านลาสิกขาบทเพื่อ มาดูแลไร่นาและบ้านต่อไป หากแต่ด้วยท่านมีจิตใจที่มุ่งมั่นแล้ว ว่าจะบวช ดังนั้นท่านพระอาจารย์สาคร จึงผัดผ่อนเรื่อยมา หากญาติโยมมาตอนเช้า ท่านก็บอกให้รอตอนเย็นเสียก่อน หากญาติโยมมาตอนเย็น ท่านก็บอกให้รอเช้าเสียก่อน จนออกพรรษา ท่านจึงกราบลาอุปัชฌาย์ เดินทางเพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ต่อไป โดยท่านตั้งใจแน่วแน่ว่า จะไม่อยู่ในจังหวัดเลย อุดรธานี หนองคาย เพราะอยู่ใกล้บ้าน ใกล้ญาติโยมเกินไป แสวงหาครูบาอาจารย์ ตลอดพรรษา ปีพ.ศ. ๒๕๐๘ ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ และพระธรรมวินัยต่างๆ จนมีความเข้าใจเป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยสร้าง โบสถ์วัดมหาชัย จนลุล่วง ครั้นเมื่อออกพรรษา และได้ทำพิธีฉลองโบสถ์ในวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๙ แล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบลาพระอุปัชาฌาย์ เพื่อออกเดินทาง ไปกับท่านพระอาจารย์แถว โดยออกเดินทางโดยรถไฟ จาก จ.อุดรธานี แล้วไปเปลี่ยนรถไฟที่ภาชี เพื่อจะไปยังจ.พิษณุโลก เมื่อ ถึง จ.พิษณุโลกแล้ว ท่านจึงโดยสารรถยนต์ ต่อไปยังบ้านป่าหญ้าคา ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านพระอาจารย์แถว เพื่อทำกิจธุระ เมื่อทำธุระเสร็จแล้ว ท่านพระอาจารย์แถวจึงพาท่านลงมา ที่วัดนิรมลวัฒนา อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งท่านพระอาจารย์แถวเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ต่อมาในวันวิสาขบูชา ท่านพระอาจารย์สาครได้มีโอกาสพบ ท่านพระอาจารย์ทองดี ชุตินธโร เป็นครั้งแรก ซึ่งมาร่วมลงอุโบสถที่วัด และท่านพระอาจารย์สาคร ได้มีโอกาส พูดคุยกับท่านพระอาจารย์ทองดี เรื่องครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ สายองค์หลวงปู่มั่นภูริทัตโต ซึ่งขณะนั้น ครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ เริ่มทยอยเดินทาง กลับสู่ภาคอีสานแล้ว แต่เนื่องจากขณะนั้น ใกล้ฤดูการเข้าพรรษา ท่านพระอาจารย์สาคร จึงจำพรรษาที่วัดนิรมลวัฒนา กับท่านพระอาจารย์แถวก่อน กราบองค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เมื่อออกพรรษา ท่านพระอาจารย์สาคร จึงออกเดินทาง กลับจากจังหวัดเพชรบูรณ์ สู่ภาคอีสาน การเดินทาง ของท่านพระอาจารย์สาครคราวนั้น ท่านต้องเดินทางผ่าน จ.เลย ท่านจึงแวะกราบนมัสการ องค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ซึ่งขณะนั้นองค์หลวงปู่ชอบ พักอยู่ที่วัดม่วงไข่ อ.วังสะพุง จ.เลย เมื่อท่านพระอาจารย์สาคร เข้าไปกราบนมัสการองค์หลวงปู่ชอบ ซึ่ง ท่านมีจิตเมตตา ให้ท่านพระอาจารย์สาคร พักอยู่ด้วย พร้อมทั้งแนะนำ ให้อุบายธรรมต่างๆ ให้ท่านพระอาจารย์สาคร นำไปปฏิบัติ ทำให้ผลการปฏิบัติธรรม ของท่านพระอาจารย์สาคร มีความก้าวหน้า ขึ้นตามลำดับ ช่วงเวลาที่ท่านพระอาจารย์สาคร ได้พักอยู่กับองค์หลวงปู่ชอบนั้น ท่านต้องตื่นแต่ตี ๓ เพื่อมารองน้ำหมอกไว้เป็นน้ำฉัน ท่านกลางอากาศหนาวจัด ขนาดที่ว่ากำมือแล้ว ต้องเอามืออีกข้างหนึ่งมาแกะออก อีกทั้งเครื่องกันหนาวต่างๆ ก็มีไม่มากเหมือนยุคปัจจุบัน ในช่วงกลางวันที่ต้องทำงานก่อสร้าง ท่านพระอาจารย์สาครต้องหาฟืน และผ่าฟืนด้วย ท่านผ่าฟืนมากจนมือพอง จากมือพองจนมือแตก ในช่วงกลางคืน องค์หลวงปู่ จะพาพระเณรนั่งภาวนา ตั้งแต่ช่วงค่ำ จนกระทั่ง ๔ ทุ่ม จึงพาทำวัตรเย็น ในขณะที่พระเณรนั่งภาวนากันเงียบอยู่นั้น องค์หลวงปู่ก็จะสูบบุหรี่ ฉันหมาก และฉันหมาก สูบบุหรี่ สลับกันไป แต่หากใครพลิกขา หรือขยับแม้แต่นิดเดียว ท่านก็จะรู้ ท่านจะพูดว่า “พระพวกนี้เคารพขา มากกว่าเคารพธรรม อุตส่าห์แบกกลดแบกบาตร แสวงหาธรรม แต่เมื่อธรรมเกิดขึ้น กลับไม่ยอมพิจารณา” สิ่งเหล่านี้ เป็นตัวอย่างอุบาย ที่องค์หลวงปู่ชอบ ใช้อบรมสั่งสอนศิษย์ ท่านพระอาจารย์สาคร ได้อยู่ศึกษาปฏิบัติธรรม จากองค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม อยู่ช่วงระยะหนึ่ง ต่อมาองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ซึ่งขณะนั้นท่านพักอยู่ที่วัดกกกอก ต.งิ้วตาก อ.วังสะพุง จ.เลย ได้มีจดหมายนิมนต์พระเณรในแถบนั้น ไปร่วมงานทำบุญฉลองศาลา วัดกกกอก ท่านพระอาจารย์สาคร จึงได้ไปร่วมงาน และได้มีโอกาสกราบนมัสการ องค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ในครั้งนั้นด้วย อุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ในคราวที่ไปร่วมงานฉลองศาลาวัดกกกอกนั้น ท่านพระอาจารย์สาคร ได้มีโอกาสเข้ากราบนมัสการองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ต่อเมื่อเสร็จงานฉลองศาลาแล้ว เณรผู้ดูแลอุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย ต้องไปคัดเลือกทหาร ท่านพระอาจารย์สาคร จึงได้รับเมตตาจากององค์หลวงปู่หลุย ให้ทำหน้าที่นี้ พร้อมกับได้มีโอกาส ฟังพระธรรมาเทศนา อบรมสั่งสอน ฝึกความอดทน และรับการแนะนำ ธรรมภาคปฎิบัติ จากองค์หลวงปู่หลุยอีกด้วย การอยู่ดูแลรับใช้ อุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร นั้น ท่านพระอาจารย์สาคร ได้มีโอกาสติดตามองค์หลวงปู่ ออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆทั่วจังหวัดเลย และจังหวัดใกล้เคียง
หลวงปู่หลุย จันทสาโร
หลวงปู่ซามา อจฺตโต
ธุดงค์กับองค์หลวงปู่หลุย ครั้งหนึ่งท่านพระอาจารย์สาคร มีโอกาสได้ธุดงค์ติดตามเพียงลำพัง ไปกับองค์หลวงปู่หลุย เมื่อองค์หลวงปู่ต้องเดินทาง ไปงานที่วัดท่าแขก โดยองค์หลวงปู่หลุยพาเดินทาง จากบ้านกกกอก ข้ามเขาลงมายังบ้านไร่ม่วง เพื่อกราบองค์หลวงปู่ซามา อจุตโต ที่วัดป่าอัมพวัน อ.เมือง จ.เลย ซึ่งระหว่างทางนั้นเอง ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ถูกฝึกความอดทน ความเพียร จากองค์หลวงปู่หลุยอย่างหนัก กล่าวคือ ครั้งหนึ่งซึ่งตรงกับวันโกน ในพระธรรมวินัย ซึ่งองค์หลวงปู่หลุย อนุญาตให้ท่านพระอาจารย์สาคร ปลงเกศา ให้องค์หลวงปู่จนเสร็จแล้ว องค์หลวงปู่ ก็ไปสรงน้ำชำระร่างกาย ท่านพระอาจารย์สาคร จึงเริ่มปลงเกศาของท่านเอง เมื่อท่านปลงเกศาไปได้เพียงครึ่งเดียว องค์หลวงปู่หลุยก็สรงน้ำเสร็จพอดี ท่านได้บอกกับท่านพระอาจารย์สาครว่า “เราออกเดินทางกันต่อไปเถอะ” คำว่า “ไป” ขององค์หลวงปู่หลุยนี้ ท่านมิได้เพียงแต่พูด ท่านได้ออกเดินทางไปจริงๆ ท่านพระอาจารย์สาคร จึงต้องหยุดการปลงเกศาตนเองไว้เท่านั้น รีบไปเก็บสัมภาระอัฐบริขารต่างๆ ทั้งของท่านเองกับขององค์หลวงปู่ด้วย ซึ่งมีถุงบาตร และ ย่าม อย่างละ ๒ ใบ แล้วรีบออกเดินทางต่อ เพื่อที่จะติดตามองค์หลวงปู่หลุยให้ทัน เมื่อเดินทันองค์หลวงปู่ หลุยแล้วท่านจึงเริ่มทำการปลงเกศาต่อ โดยใช้วิธีเดินไปปลงเกศาไป เพื่อปลงให้แล้วเสร็จก่อนถึงหมู่บ้าน ซึ่งครั้งนั้นเป็นการปลงเกศาที่ลำบากมาก เพราะมือข้างหนึ่งทำการปลงเกศา อีกข้างหนึ่ง ก็แบกย่ามกับถุงบาตรอีก ๒ ใบ ซึ่งโดยปกติการเดินปลงเกศา ก็เป็นเรื่องลำบากอยู่แล้ว แต่ท่านยังต้องสะพายของบนบ่าอีก จึงเป็นการเพิ่มความลำบาก ให้กับท่านยิ่งขึ้น ในครั้งนั้น ท่านจึงถูกมีดโกนบาด เสียหลายแผล เมื่อกราบลาองค์หลวงปู่ชามา อจุตโต แล้ว องค์หลวงปู่หลุย ได้พาเดินต่อไปยังถ้ำผาปู่ เพื่อกราบ องค์หลวงปู่คำดี ปภาโส และที่นี่ ท่านได้รับการฝึกอีกครั้งในระหว่างที่ พักอยู่ที่นี่ คือ โดยปกติแล้วหลังจาก ท่านทำอาจริยวัตร ถวายองค์หลวงปู่หลุยเสร็จ ในช่วงเช้า และองค์หลวงปู่ได้เข้าพักแล้ว โดยปกติองค์หลวงปู่จะออกมาอีกครั้ง ในเวลา ๒-๓ โมง ท่านพระอาจารย์สาคร จึงแยกไปภาวนาที่ถ้าผาปู่เพียงลำพัง สักครู่ที่ท่านเดินจงกรมภาวนาอยู่ ปรากฎว่าจิตท่านมีอาการผิดปกติ ข้างในมีอาการใจเต้นเร็ว ท่านเห็นผิดปกติ จึงออกจากการภาวนา เดินออกมา พอพ้นถ้ำเท่านั้นก็ได้ยินเสียงระฆัง อันเป็นสัญญาน เรียกพระเณรที่ถ้ำผาปู่ดังลั่นวัด ท่านจึงรีบมาทันที ปรากฏว่าองค์หลวงปู่หลุย เป็นผู้ตีระฆังเพื่อเรียกหาท่าน พระเณรออกมาดูกันทั้งวัด แต่เพราะท่านอยู่ในถ้ำ จึงไม่ได้ยินเสียงเลยแม้แต่น้อย องค์หลวงปู่จึงถามท่าน และบอกว่าจะเดินทางต่อ อันเป็นนิสัยการมาเร็วไปเร็ว ขององค์หลวงปู่ ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบเรียนถึงที่อยู่ และอาการของจิตท่าน องค์หลวงปู่จึงมิได้ต่อว่าอย่างไร นับเป็นอีกครั้ง ที่การภาวนา และความจดจ่ออยู่กับครูบาอาจารย์เสมอ ช่วยให้ท่านไม่ถูกตำหนิได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติอันพึงมี ในพระติดตามครูบาอาจารย์ต่อไป เมื่อออกจากวัดถ้ำผาปู่แล้ว ได้เดินธุดงค์ต่อไปยังวัดท่าแขก อันเป็นเป้าหมาย ท่านพระอาจารย์สาคร ได้อยู่ช่วยงานศพจนแล้วเสร็จ และเมื่อพระอุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย ได้มาถึงแล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบลาองค์หลวงปู่หลุย ที่วัดท่าแขกนี้เอง องค์หลวงปู่หลุย วางใจในท่านพระอาจารย์สาครแล้ว จึงอนุญาตให้ไปได้ ท่านจึงได้เดินทางย้อนกลับมา ยังถ้ำผาบิ้ง โดยหมายใช้เป็นที่วิเวกภาวนาต่อไป เวทนาทางกาย ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๐ ขณะที่ท่านพระอาจารย์สาคร ธุดงค์มาถึงที่ถ้ำผาบิ้ง ท่านได้พิจารณาพักอยู่ เพื่อภาวนาชั่วระยะหนึ่ง (ขณะนั้น องค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ยังไม่ได้อยู่ที่ถ้ำผาบิ้งนี้) ท่านได้ไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านน้ำทบ ได้เพียงข้าวเปล่าเท่านั้น และบางวันก็ได้พริกป่น กับเกลือมาด้วย ท่านก็ได้พิจารณาฉันตามฐานะนักบวช หากด้วยความไม่คุ้นเคย ทำให้ท่านปากพองแสบร้อนไปหมด จนแม้แต่ฉันน้ำ ก็ยังทรมาน เกิดเวทนาทางกายยิ่งนัก
เสือช่วย ตกคืนนั้นที่ท่านนั่งภาวนาอยู่ภายในถ้ำ ปรากฎมีเสียง สวบ สวบ ดั่งเสียงเสือเดินอยู่หน้าถ้ำ ด้วยความกลัวท่านจึงนั่งหลับตานิ่ง เร่งภาวนา พุทโธ พุทโธ อยู่ภายในใจ จนจิตสงบเงียบลงไป เหลือแต่มีความรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ขณะนั้นท่านพิจารณาร่างกาย สังขาร ข้อธรรมใดก็พิจารณาได้หมด จวบจนกระทั่งเช้าได้เวลาบิณฑบาต จึงได้ถอนออกจากการภาวนา นับเป็นเวลานานที่ผ่านไปอย่างรวดเร็ว นับจากที่ท่านได้เข้าภาวนา ขณะได้ยินเสียงเสือเมื่อราว ๑ ทุ่ม เมื่อท่านออกจากภาวนาแล้ว ก็ได้หวนคิดดื่มด่ำกับสิ่งที่เกิดขึ้น อัศจรรย์ว่า “ตัวเราภาวนาได้ขนาดนี้เชียวหรือ” และคิดว่า “ ถ้าเสือไม่ช่วยเราคงยังติดขัดอยู่” ขณะที่ภาวนานั้นก็ไม่รู้ เสือหายไปทางไหน เมื่อท่านมาดูอย่างละเอียด จนเข้าใจ่ว่า น่าจะเป็นบ่างมากินมะขามจากต้นหน้าถ้ำมากกว่า เช้านั้นท่านออกไปบิณฑบาต ก็ได้ข้าวกับพริกเกลือเช่นเดิม แต่ครั้งนี้ท่านฉันแล้วไม่รู้สึกแสบปาก แสบลิ้นดังที่เคย ท่านจึงได้อยู่ภาวนาต่อในถ้ำนี้ และตลอดเวลา ๒-๓ อาทิตย์ที่อยู่นั้น การภาวนาของท่านได้ผลดีเป็นอย่างยิ่งแต่เพราะมีนัดหมายกับท่านพระอาจารย์ทองดีไว้ ว่าจะไปพบกัน ที่วัดถ้ำกลองเพลจ.อุดรธานี ก่อนสิ้นเดือนเมษายน ทำให้ท่านต้องละจากถ้ำผ้าบิ้งนี้ไป จากถ้ำผาบิ้งไปวัดถ้ำกลองเพล หลังฉันเช้าเสร็จ ประมาณ ๙ โมงเช้า ท่านพระอาจารย์สาคร ออกเดินเท้าจากถ้ำผาบิ้ง เพื่อไปยังหมู่บ้านโนนสงเปลือย จ.หนองบังลำภู โดยมีระยะทางทั้งสิ้นกว่า ๙๕ กิโลเมตร ท่านเดินทางตามผ่านป่า ผ่านดงหนองไผ่ หากช่วงไหนเป็นหมู่บ้าน ท่านจะเดินเลี่ยงอ้อมเอา ท่านพระอาจารย์สาคร เดินภาวนาพุธโธไปตลอดระยะทาง ทำให้จิตสงบ กายเบา จิตเบา จนท่านสามารถเดินได้เร็วมาก โดยไม่เหน็ดเหนื่อยเลยแม้แต่น้อย ท่านมาถึงไร่โยมพ่อ บ้านโนนสงเปลือย เวลาบ่าย ๔ โมงเย็น ใช้เวลาเดินเท้าทั้งสิ้นเพียง ๗ ชั่วโมงเท่านั้น นับเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง เมื่อมาถึงไร่ ปรากฏว่าโยมพ่อกลับไปบ้านแล้ว ท่านจึงกางกลด พักอยู่ที่กระต๊อบในไร่นั้นเอง เช้าวันรุ่งขึ้น ได้บิณฑบาตโปรดโยม ที่บ้านโนนสงเปลือย แล้วไต่ถามได้ความว่า โยมพี่สะใภ้จะเดินทางไปอุดรธานีพอดี จึงนั่งรถโดยสารไปกับโยมพี่สะใภ้ เพื่อเดินทางต่อไปจนถึงวัดถ้ำกลองเพล
กราบองค์หลวงปู่ขาว อนาลโย เมื่อถึงวัดถ้ำกลองเพล (พุทธศักราช ๒๕๑๐) ท่านพระอาจารย์สาครได้เข้ากราบนมัสการองค์หลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งขณะนั้น กำลังอาพาธ และมีครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่สำคัญหลายองค์ มาถวายการดูแลองค์หลวงปู่ อันได้แก่ ท่านพระอาจารย์สุวัจน์ สุวโจ ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร ท่านพระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต ซึ่งถือว่าเป็นโชคดี ของท่านพระอาจารย์สาคร ที่ได้มีโอกาสรับใช้ ครูบาอาจารย์องค์สำคัญ ในคราวนั้นด้วย หลังจากที่ได้พบ กับท่านพระอาจารย์ทองดี ที่วัดถ้ำกลองเพล ตามที่ได้นัดหมายไว้ จึงได้กราบลาองค์หลวงปู่ขาวอนาลโย เพื่อออกเดินทางต่อไป
กราบองค์หลวงปู่ฝั้นครั้งแรก ท่านพระอาจารย์สาคร ออกเดินทางจากวัดถ้ำกลองเพล พร้อมท่านพระอาจารย์ทองดี โดยได้พาท่านพระอาจารย์สาคร ไปงานศพท่านพระอาจารย์สีลา อิสสโร อุปัชฌาย์ของท่านพระอาจารย์ทองดี ที่สำนักงานสงฆ์วัดโพธิ์ชัย ตำบลวาใหญ่ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร และที่นี้เอง ที่ท่านพระอาจารย์สาคร ได้พบองค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นครั้งแรก ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ระลึกถึงคำขององค์หลวงปู่หลุย ที่บอกว่าองค์หลวงปู่ฝั้น เป็นพระที่ได้รับการยกย่อง จากองค์หลวงปู่มั่น ในด้านความสามารถ ทางด้านจิตใจ ทั้งองค์หลวงปู่หลุย แม้พรรษาจะมากกว่าองค์หลวงปู่ฝั้น ก็เรียกองค์หลวงปู่ฝั้น ด้วยความเคารพว่า “อาจารย์ใหญ่” ดังนั้นองค์หลวงปู่ฝั้น จึงเป็นพระผู้ที่มีความสำคัญมาก ทั้งท่านพระอาจารย์ทองดี ก็สนับสนุนให้ไปอยู่กับองค์หลวงปู่ฝั้น โดยให้เหตุผลว่า ที่นั้นมีตั้ง ๒ วัด หากไม่พอใจในวัดป่าอุดมสมพร ก็สามารถขึ้นเขาไปอยู่ที่ถ้ำขามได้ ดังนั้น เมื่อเสร็จจากงานศพท่านพระอาจารย์สีลา แล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร ได้แยกกับ ท่านพระอาจารย์ทองดี ที่นี่เอง โดยท่านตั้งจุดหมายการเดินทาง ต่อไป ยังวัดป่าอุดมสมพร อ.พรรนานิคม จังหวัดสกลนคร เพื่อกราบถวายตัวเป็นลูกศิษย์ ขององค์หลวงปู่ฝั้นต่อไป ถึงวัดป่าอุดมสมพร ลุถึงวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ พุทธศักราช ๒๕๑๐ อันเป็นวันลงอุโบสถ ท่านก็ถึงวัดป่าอุดมสมพร ได้กราบองค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และนับจากวันนั้น ท่านได้อยู่ถวายตัว เป็นศิษย์องค์หลวงปู่ฝั้นมาตลอด ขณะนั้นที่วัดป่าอุดมสมพร มีพระอยู่เพียง ๕ รูป และเณรอีก ๑ รูป คือ ๑.องค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ๒.ท่านพระอาจารย์แปลง สุนฺทโร ๓.หลวงตาพรหม ๔.หลวงตาไข ๕.หลวงตาอ่อน และเณร ด้วยขณะนั้น ท่านพระอาจารย์ปิ่น ปิยธัมโม ไม่อยู่ และท่านพระอาจารย์อุทัย สิริธโร ยังไม่ลงมาจากถ้ำขาม ทั้งท่านพระอาจารย์แปลง ก็มีภาระดูแลงานอื่นเป็นจำนวนมาก คงมีหลวงตาอ่อน ดูแลอุปัฏฐากองค์หลวงปู่ฝั้น อยู่ผู้เดียว ท่านพระอาจารย์สาคร จึงได้เข้าช่วยงาน หลวงตาอ่อนอีกแรงหนึ่ง นับจากนั้น ท่านก็ได้รับหน้าที่ ดูแลอุปัฏฐากองค์หลวงปู่ฝั้น มาโดยตลอด จากการที่มีโอกาสรับใช้ใกล้ชิด องค์หลวงปู่ฝั้น และได้รับฟังโอวาท ได้เห็นจริยาวัตรอันงดงาม ทั้งข้อปฏิบัติที่เพียบพร้อม ทำให้ท่านพระอาจารย์สาคร เกิดความศรัทธาและลงใจ ในองค์หลวงปู่ฝั้นเป็นอย่างยิ่ง แม้เพิ่งจะมาถวายตัวรับใช้กับองค์หลวงปู่ เพียงไม่นาน
เพชรบนยอดมงกุฎแห่งเมืองเลย มาวัดป่าอุดมสมพร ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ พุทธศักราช ๒๕๑๐ หลังจากพำนักอยู่กับองค์หลวงปู่ฝั้นเพียง ๗ วัน องค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม และองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ได้เดินทางมาเยี่ยมองค์หลวงปู่ฝั้น และรอลงอุโบสถร่วมกันในวันวิสาขบูชา ที่วัดป่าอุดมสมพร เมื่อองค์หลวงปู่ท่าน ได้กราบคารวะกันแล้ว องค์หลวงปู่หลุยเห็นท่านพระอาจารย์สาคร กำลังจัดอาสนะอยู่นั้น ท่านจึงกล่าวขึ้นกับองค์หลวงปู่ฝั้นว่า “พระองค์นี้เคยอยู่กับผมมาก่อน” องค์หลวงปู่ชอบก็ได้กล่าวขึ้นด้วยว่า “เคยอยู่กับผมเหมือนกันพระองค์นี้” ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบเรียนองค์หลวงปู่ฝั้นว่า ท่านเคยอยู่กับองค์หลวงปู่ชอบมาก่อนที่วัดป่าม่วงไข่ แล้วจึงมาอยู่กับองค์หลวงปู่หลุย ที่บ้านกกกอก หลังจากลงอุโบสถ ในวันวิสาขบูชา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อองค์หลวงปู่ชอบ และ องค์หลวงปู่หลุย ได้กลับไปแล้ว นับจากวันนั้นมา ท่านพระอาจารย์สาครเปรียบว่า เหมือนผ้าเช็ดหน้า จะบิดให้ขาดเสียให้ได้ องค์หลวงปู่ฝั้น เปลี่ยนจากองค์หลวงปู่องค์เดิม อย่างสิ้นเชิง หันมาเข้มงวด กับท่านพระอาจารย์สาครมากขึ้น หากมีอะไรผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ก็จะค่อยดุว่า ไม่ปล่อยให้ความผิดพลาดนั้นผ่านไปเฉยๆ บางครั้งความผิดพลาดของท่าน ก็นำมาเทศน์บนศาลา เทศน์กันเป็นอาทิตย์ๆเป็นเดือนๆ ในความผิดนั้นๆ ทั้งนี้คงเป็นเจตนาขององค์หลวงปู่ฝั้น ที่ต้องการทดสอบความเข้มแข็ง ทางจิตใจของลูกศิษย์ และต้องการให้ศิษย์ได้ดีในทางธรรม อยากหนี จากการที่องค์หลวงปู่ฝั้นเข้มงวดกวดขัน ท่านพระอาจารย์สาคร ไม่ว่าท่านพระอาจารย์สาครจะทำอะไร ดูเหมือนจะผิดไปหมด กลับถูกเข่น ถูกว่าสารพัด เผลอสติเป็นไม่ได้ ไม่เพียงท่านที่ถูกเข่นเท่านั้น เณรที่รับใช้องค์หลวงปู่ ก็ได้รับความเข้มงวด จนเณรร้องไห้อยู่แทบทุกวัน กระนั้น วันหนึ่งท่านติดขัด เรื่องการจัดยาให้หลวงปู่จึงถามเณร เณรก็ยังตอบว่า “ครูบาเอาตามาด้วยหรือเปล่า ครูบาเอาหูมาด้วยหรือเปล่า” ทำให้ท่านอึดอัดขัดข้องยิ่งขึ้นไปอีก ขณะนั้นท่านคิดว่า “ต่อไปไม่ว่างานเรื่องอะไรในวัดนี้ เราจะต้องเรียนรู้ให้หมดให้ได้” ในแต่ละวัน ไม่ว่าใครจะทำอะไร ผิดมาในวันนั้นก็ดี หรือเหตุเก่าก็ดี พอขึ้นศาลาองค์ หลวงปู่ต้องดุว่า แต่ท่านพระอาจารย์สาครองค์เดียว ทำให้ท่านคิดเบื่อหน่าย อยากจะหนีเป็นที่สุด กำหราบความคิด เมื่อท่านมีความคิดอยากหนีวันไหน พอขึ้นไปบนกุฏิองค์หลวงปู่ฝั้น เพื่อทำอาจริยาวัตรปกติ บางครั้งยังไม่ทันจะนั่งกราบเลย องค์หลวงปู่ ก็พูดขึ้นว่า “จะไปไหนก็ผีตัวเก่า ถ้าไม่ตั้งใจภาวนา จะอยู่ที่ไหนก็ผีตัวเก่า” พออีก ๒-๓ วันคิดจะไปอีก องค์หลวงปู่ก็พูดขึ้นอีก ทำให้ใจท่าน ไม่คิดฟุ้งไปกว่านี้ บางครั้งใจก็คิดอยากจะไปดูถ้ำขามบ้าง ว่าเป็นอย่างไร อยากไปดูวัดดอยธรรมเจดีย์บ้าง ว่า เป็นอย่างไร พอขึ้นกุฏิ องค์หลวงปู่ ก็จะเล่าเรื่องวัดนั้นๆให้ฟังทันที ทำให้ท่านต้องคอยสำรวม ระมัดระวังความคิด อยู่ตลอดเวลา
หมาแทะกระดูก บ่อยครั้งเมื่อลูกศิษย์คิดถึงบ้าน องค์หลวงปู่ฝั้นจะเมตตายกเรื่อง ของท่านขึ้นเทศน์ให้ฟัง ถึงเมื่อครั้งองค์ท่านเองก็เคยเบื่อหน่าย ท้อแท้ จนคิดจะกลับบ้านเช่นกัน วันหนึ่งขณะที่องค์หลวงปู่ เดินบิณฑบาตอยู่นั้น เห็นหมาตัวหนึ่งเดินตามเจ้าของอยู่ สักพักมันเจอกระดูกเก่าท่อนหนึ่ง มันก็หยุดแทะตามประสาหมา แต่เจ้าของก็เดินต่อไป มันแทะอยู่สักพัก ก็วิ่งตามเจ้าของไป แต่แล้วก็หันวิ่งกลับมาแทะต่ออีก แล้วก็วิ่งกลับไปหาเจ้าของอีก กลับไปกลับมาอยู่หลายครั้ง จนเจ้าของเดินไกลออกไปมากแล้ว มันจึงได้วิ่งตามเจ้าของไปอย่างอาลัย องค์หลวงปู่เห็นอาการมันแล้ว ก็กลับมานึกเป็นธรรม อบรมตัวองค์ท่านได้ว่า “การอาลัยในบ้านขององค์ท่าน ก็เหมือนหมาตัวนั้น ที่อาลัยในกระดูกเก่าอันจืดชืด แต่มันไม่รู้ว่ากระดูกนั้นไม่มีรสอะไรแล้ว ที่หลงอยู่ ก็หลงในน้ำลายของตัวเองเท่านั้น ชีวิตทางโลก ก็เหมือนกระดูกเก่าที่หาค่า อันใดมิได้ ความหลงในสิ่งที่ฉาบทาไว้ ก็เหมือนหมาที่หลงอร่อยน้ำลายตัวเอง” เมื่อองค์หลวงปู่ ท่านพิจารณาได้เช่นนั้น ก็วางความคิดถึงบ้านลงได้ ท่านพระอาจารย์สาคร ก็ได้ธรรมข้อนี้ ช่วยให้ท่านผ่านพ้นมาได้ ท่านจึงซาบซึ้ง ถึงพระคุณขององค์หลวงปู่ฝั้น อย่างถึงที่สุด ว่าทางหนึ่ง ท่านก็เข่นเอาเต็มที่ แต่อีกทางหนึ่งก็เมตตา คอยประคับประคอง หาอุบายธรรมช่วยเหลือเต็มที่เช่นกัน ปัจจุบันหากท่านพระอาจารย์สาคร เดินทางไปกราบนมัสการ เจดีย์องค์หลวงปู่ฝั้น ที่วัดป่าอุดมสมพร ท่านจะต้องไปดูภาพแกะสลักเรื่อง “หมาแทะกระดูก” ที่ฐานองค์เจดีย์ ด้วยความระลึกซาบซึ้งในพระคุณ อยู่ทุกครั้งไป
ศึกษาปฏิบัติธรรม และอุปัฏฐาก องค์หลวงปู่ฝั้น เมื่อท่านพิจารณาเข้าใจถึงความเมตตา ขององค์หลวงปู่ฝั้นแล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร ก็ตั้งใจอยู่รับการอบรมอย่างถึงที่สุด คราวนี้ ท่านกลับกลัวองค์หลวงปู่ฝั้นไล่หนีเอา ทั้งนี้ด้วยเห็นพระบางองค์ ถูกองค์หลวงปู่ไล่หนี บางองค์มาถึงวัด ยังไม่ทันแก้บาตรเลย ก็ถูกบอกให้หลีกไปที่อื่นแล้ว ท่านจึงอยู่ด้วยความระมัดระวัง ในเรื่องข้อวัตรปฏิบัติให้ดีที่สุด ท่านพระอาจารย์สาคร คอยปฏิบัติองค์หลวงปู่ฝั้นอย่างใกล้ชิด ดุจเป็นเงาขององค์หลวงปู่ ท่านจะดูแลองค์หลวงปู่ฝั้นตั้งแต่ตอนที่ องค์หลวงปู่ตื่นขึ้นมา โดยจะเข้าไปถวายน้ำล้างหน้า ไม้สีฟัน เปลี่ยนกระโถน รับผ้าจีวรมาที่ศาลา ตอนบิณฑบาตรจะช่วยองค์หลวงปู่ ครองผ้ากลัดรังดุม และคอยส่งบาตร รับบาตรองค์หลวงปู่ แล้วรีบกลับมาเตรียมน้ำอุ่น ล้างเท้าให้องค์หลวงปู่ แล้วจึงคอยเช็ดเท้าให้แห้ง เวลาฉันอาหาร ท่านพระอาจารย์สาคร จะเป็นผู้จัดอาหารถวาย ทั้งนี้เพราะ องค์หลวงปู่ฝั้นท่านไม่จัดอาหารเอง แม้ในคราวที่มีนิมนต์ไปฉันข้างนอกก็ตาม ท่านพระอาจารย์สาคร จะขอโอกาสพระเถระองค์อื่น เพื่อจะได้นั่งใกล้องค์หลวงปู่ฝั้น เพื่อคอยจัดอาหารถวาย ท่านพระอาจารย์สาคร ต้องฉันให้เสร็จก่อนองค์หลวงปู่ เพื่อจะได้นำบาตรของตนไปล้างก่อน แล้วจึงนำบาตรขององค์หลวงปู่ไปล้าง แล้วนำมาเช็ดให้แห้ง ก่อนนำไปผึ่งไว้ แล้วรีบกลับมาถวายไม้สีฟัน ถวายยา เก็บของ เก็บกระโถน รับผ้าจีวร แล้วรีบนำบริขารขององค์หลวงปู่ ไปเก็บไว้ที่กุฏิ แล้วมาคอยเป็นปัจฉาสมณะ ดูแลองค์หลวงปู่ ถ้ามีงานภายในวัด ท่านจะกราบเรียนขอโอกาสไว้ แล้วไปทำงานนั้นๆจนเสร็จ ซึ่งงานส่วนมาก เป็นงานที่คนอื่นไม่กล้าทำ แต่ด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว ท่านจะรับอาสาทำเสมอ อาทิ ตอนที่แบกเสากุฏิ ท่านบอกว่า ถ้าแบกเสา ๑ ต้น ทีละ ๒ คน แต่ถ้าแบก ๓ คน ๒ ต้นน่าจะดีกว่า โดยท่านพระอาจารย์สาคร ท่านรับเป็นคนที่อยู่ตรงกลาง ยอมแบกคนเดียว ๒ ต้น เป็นต้น นอกจากนี้ท่านยังดูแลรักษาเสนาสนะ ร่วมทำงานก่อสร้าง ภายในวัดและภายนอกวัด เช่นงานสร้างเจดีย์ที่หลังกุฏิองค์หลวงปู่ฝั้น งานสร้างถนนวัดถ้ำขาม งานสร้างศาลาวัดถ้ำขาม งานสร้างเขื่อนกั้นน้ำอูน และสะพานบ้านบะทอง งานสร้างโรงพยาบาลหลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นต้น เมื่อถึงตอนเย็น ท่านพระอาจารย์สาคร จะคอยดูแลสรงน้ำองค์หลวงปู่ เมื่อองค์หลวงปู่สรงน้ำเสร็จ ต้องรีบเช็ดพื้นห้องน้ำให้แห้ง เพราะเป็นพื้นไม้ ตอนกลางคืน ต้องทำวัตรสวดมนต์ และรับฟังโอวาทที่ศาลา เมื่อเลิกท่านก็ไปที่กุฏิองค์หลวงปู่ เพื่อไปส่งย่าม และคอยจับเส้นถวายองค์หลวงปู่ กว่าจะเลิก บางคืนก็เที่ยงคืน บางคืนล่วงไปจนถึงตีหนึ่ง เมื่อลงจาก กุฏิท่านจะลงไปเดินจงกรมต่อ แล้วจึงเข้าพัก บางคืน ท่านจะเดินจนถึงเวลาที่องค์หลวงปู่ตื่น ซึ่งโดยปกติแล้ว องค์หลวงปู่ฝั้นจะเข้าพักไม่นาน เมื่อองค์หลวงปู่ฝั้นท่านตื่น ท่านพระอาจารย์สาคร ก็จะรีบเข้าไปถวายน้ำล้างหน้าอีก ในข้อวัตรต่างๆเหล่านี้ ท่านถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด อยู่ตลอดเวลา ซึ่งท่านพระอาจารย์สาคร จะมีคติสั้นที่ยึดปฏิบัติว่า “นอนทีหลัง ตื่นก่อน ฉันทีหลัง อิ่มก่อน” นอกเหนือจาก การมีข้อวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดแล้ว ในการเดินทาง แม้จะมีเป้าหมายที่แน่นอน หากด้วยบนหนทาง ย่อมต้องพบเครื่องกีดขวางอยู่บ้าง การจะฝ่าฟันไปได้นั้น ท่านพระอาจารย์สาคร ยังมีองค์พระพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือ ยามที่ท่านพบกับปัญหา ไม่ว่าทางด้านใดๆก็ดี ท่านได้มี องค์หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ ท่านพระอาจารย์แปลง สุนฺทโร ท่านพระอาจารย์เขี่ยม โสรโย ท่านพระอาจารย์อุทัย สิริธโร และท่านพระอาจารย์คำดี ปัญโญภาโส คอยเมตตาช่วยเหลือ ทำให้การปฏิบัติธรรม ของท่านพระอาจารย์สาคร ดำเนินไปอย่างราบรื่น ซึ่งท่านพระอาจารย์สาคร ก็ได้ซาบซึ้งในพระคุณ ของท่านพระเถระทุกองค์นี้เสมอ ดังนั้นนอกจากท่านจะไปกราบเยี่ยมแล้ว หากท่านสามารถจัดทำธุระสิ่งใด เพื่อตอบแทนได้ ท่านก็จะทำทันที
หลวงปู่สุุวัจน์ สุวโจ พระอาจารย์แปลง สุนฺทโร พระอาจารย์เขี่ยม โสรโย พระอาจารย์อุทัย สิริธโร พระอาจารย์คำดี ปัญโญภาโส
มั่นใจว่าจะไม่ถูกไล่หนี ถึงแม้ท่านจะตั้งใจปฏิบัติข้อวัตร และทำงานทุกอย่าง เต็มกำลังสติปัญญาความสามารถ หากแต่ยังหวั่นกลัวองค์หลวงปู่ฝั้นจะไล่หนีเอา จนวันหนึ่ง มีสิ่งที่ทำให้ท่าน รับรู้และมั่นใจว่าจะไม่ถูกไล่หนี กล่าวคือ ในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ท่านเจ้าคุณ ซึ่งเคารพองค์หลวงปู่ฝั้น ได้มากราบเยี่ยมองค์หลวงปู่ และปรารภขึ้นว่า ทางภาคตะวันตกของประเทศ นั้นยังมีพระกัมมัฏฐานน้อย ทั้งที่ดินแดนแถบนั้น ยังมีป่าอันสัปปายะอุดมสมบูรณ์อยู่ แม้ขณะนั้น จะมีท่านพระอาจารย์มหาปิ่นอยู่ แต่ท่านก็อาพาธ จึงอยากจะขอพระจากองค์หลวงปู่ ไปอยู่เป็นหลัก ให้แก่พระและญาติโยม ทางด้านนั้นบ้าง องค์หลวงปู่ฝั้นจึงถามว่า คิดจะเอาใครไป ท่านเจ้าคุณ ซึ่งได้เคยเห็นอาจริยวัตร และฝีมือการทำงาน ในตัวท่านพระอาจารย์เป็นประจักษ์แล้ว จึงกล่าวขอตัวท่านพระอาจารย์ กับองค์หลวงปู่ฝั้น ซึ่งองค์หลวงปู่ฝั้น ก็ไม่อนุญาตให้ไป การที่องค์หลวงปู่ฝั้นท่านกล่าว ไม่อนุญาตนั้น ก็มีความหมายเป็นนัย ให้ท่านพระอาจารย์สาครรับรู้ได้ว่า แม้องค์หลวงปู่ฝั้นจะดุ จะว่าเอา แต่องค์หลวงปู่ท่านก็ได้รับรู้ถึง ความเอาใจใส่ ไม่ละวางการงาน ในตัวลูกศิษย์ผู้นี้อยู่เสมอ ซึ่งก็เพียงพอ ให้ท่านพระอาจารย์สาครซาบซึ้ง และเป็นกำลังใจ ให้ท่านยิ่งทุ่มเท แรงกายแรงใจถวายองค์หลวงฝั้นยิ่งขึ้นไป เมื่อองค์หลวงปู่ฝั้นอาพาธ ในปีพ.ศ. ๒๕๑๙ ท่านพระอาจารย์สาคร เป็นพระรูปหนึ่ง ในแปดรูป ที่ได้รับคัดเลือก ให้ดูแลองค์หลวงปู่ จากพระจำนวนร้อย ซึ่งท่านทำหน้าที่ คอยดูแลออกซิเจนให้องค์หลวงปู่ และถวายอาหาร ให้องค์หลวงปู่ในตอนเช้าด้วย จวบจนกระทั่ง องค์หลวงปู่ฝั้นท่านมรณภาพ ในวันอังคารที่ ๔ เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ ณ กุฏิวัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร หลังจากเสร็จพิธี พระราชทานเพลิงศพองค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านพระอาจารย์สาคร ได้เดินทางธุดงค์ แสวงหาที่ปฏิบัติธรรม เพื่อที่จะได้เร่งบำเพ็ญภาวนา ตามแนวทางคำสั่งสอนจากครูบาอาจารย์ ที่ท่านได้เมตตาอบรมแนะนำธรรม ละจากแดนดินอีสานสู่ภาคตะวันตก เมื่อสิ้นองค์หลวงปู่ฝั้น และเสร็จงานพระราชทานเพลิงศพแล้ว ในวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๑ ท่านก็ละจากวัดป่าอุดมสมพร เพื่อเดินทางไป อุปัฏฐากองค์หลวงปู่หลุย เพื่อเป็นอาจริยบูชา ที่องค์หลวงปู่หลุยเคยเมตตา ฝึกหัดอบรมแก่ท่าน ในโอกาสนี้ ท่านจึงมีโอกาสติดตามธุดงค์อีกครั้ง ไปกับองค์หลวงปู่หลุย ทุกจังหวัดทางภาคเหนือ และองค์หลวงปู่หลุย ได้พากราบเยี่ยมยังสถานที่ และวัดสำคัญอันองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้เคยมาเผยแพร่หลักธรรม คำสอนอยู่ เมื่อใกล้เข้าพรรษา องค์หลวงปู่หลุย ซึ่งได้พิจารณารับนิมนต์ ไปจำพรรษาที่หนองแซง จ.อุดรธานี ก็เดินทางกลับลงมา และแวะโปรดญาติโยม ที่สำนักสงฆ์ กม.๒๗ กรุงเทพมหานคร ส่วนท่านพระอาจารย์สาคร ก็มีนายอำเภอมานิมนต์ ให้ท่านไปเป็นเจ้าอาวาส ที่วัดภูซางใหญ่ จ.อุดรธานี แต่ท่านมิได้รับนิมนต์ไป ด้วยเมื่อหวนคิดถึง เมื่อครั้งท่านถูกขอตัว จากองค์หลวงปู่ฝั้น เพื่อไปอยู่ทางภาคตะวันตก “ด้วยแดนดินถิ่นนั้นขาดพระเณร ที่จะเป็นหลัก” ทำให้ท่านติดอยู่ในใจ ที่อยากจะไปช่วยเหลือ ทั้งในทางภาคอีสานนี้ ก็มีครูบาอาจารย์ พระเณรซึ่งเป็นหลักแก่พระพุทธศาสนา ให้พึ่งพิงมากมายอยู่แล้ว ท่านจึงคิดจะไปทางนั้นดู จึงได้กราบเรียนองค์หลวงปู่หลุย ซึ่งองค์หลวงปู่ก็อนุญาต ดังนั้นในคืนวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๑ อันวันรุ่งขึ้นองค์หลวงปู่จะเดินทางกลับไป จ.อุดรธานี ท่านพระอาจารย์สาคร จึงขอทำวัตรกับองค์หลวงปู่ โดยบอกแก่ญาติโยมที่นั้นว่า “เผื่อมันตายไป พรุ่งนี้ไม่ได้ไปกับหลวงปู่” นั่นก็เป็นที่แจ้งแก่ใจญาติโยม ที่เคารพนับถือ ในตัวท่านพระอาจารย์สาคร ว่าท่านจะไม่กลับไปด้วยแล้ว ก่อให้เกิดความอาลัย ร่ำไห้ออกมาหลายคน วันรุ่งขึ้น ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๑ ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ส่งองค์หลวงปู่หลุย ขึ้นรถไฟที่ดอนเมือง ครั้นถึงเวลารถออก ท่านก็กราบลาลงมา นับเป็นเวลา ๕ เดือนเต็ม ที่ท่านได้ทำอาจริยบูชา ปรนนิบัติดูแลองค์หลวงปู่หลุยโดยใกล้ชิด กำเนิดวัดเวฬุวัน เมื่อท่านพระอาจารย์สาคร ขอโอกาสกราบลาจากองค์หลวงปู่หลุยแล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร ได้พิจารณาแสวงหาที่ปฏิบัติธรรม โดยท่านได้เลือก ไปวิเวกทางจังหวัดกาญจนบุรี เพราะเห็นว่าสถานที่นั้น ยังไม่ค่อยมีพระปฏิบัติมาพักอยู่ ท่านจึงบอกกับลูกศิษย์ ให้ขับรถมารับ ที่วัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร เพื่อเดินทางไปทางจังหวัดกาญจนบุรี และได้มาส่งท่านถึงเพียงแค่ วัดพุทธวิมุติวนาราม อ.ไทรโยค ด้วยถนนเพิ่งสร้างมาสิ้นสุด ณ ตรงนั้น การเดินทางจึงต้องเดินทางต่อโดยทางเรือ จนถึงทองผาภูมิ ท่านจึงให้คณะที่มาส่งกลับไป เหลือแต่ท่านพระอาจารย์สาคร เดินทางต่อไปเพียงลำพัง เมื่อถึงทองผาภูมิ เนื่องจากท่านไม่รู้จักใคร ท่านจึงได้สอบถามหาโยม ผู้อุปถัมภ์วัดในละแวกนั้น ให้พาท่านไปดูถ้ำต่างๆ เพื่อเป็นที่พำนัก ปฏิบัติในพรรษาที่ใกล้จะมาถึง พวกโยมได้พาไปดูถ้ำหลายแห่ง จนในที่สุดท่านมาพบถ้ำแก่งกระโต่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เป็นที่จำพรรษาในคราวนั้นเอง
 ถ้ำแก่งกระโต่ง
องค์หลวงปู่ฝั้นพาสร้างวัดใหม่ คืนหนึ่งที่ถ้ำแก่งกระโต่ง ท่านพระอาจารย์สาครเข้าภาวนาตอนหัวค่ำอันเป็นปกติ ปรากฏว่าเมื่อจิตสงบแล้วในค่ำคืนนั้น ท่านได้นิมิตเห็นองค์หลวงปู่ฝั้นพาท่านและพระเณรสร้าง กุฏิพระ ศาลา ถนนหนทางในวัดแห่งหนึ่ง ท่านและพระเณรอื่นๆก็ช่วยกันสร้างอย่างแข็งขัน เฉกเช่นที่ท่านเคยช่วยงานก่อสร้างกับองค์หลวงปู่ฝั้นมาตามปกติ ท่านอยู่สร้างวัดนั้นนานเหมือนเป็นปี จนท่านคุ้นเคยกับสถานที่นั้นเป็นอย่างดี ด้วยต้องเดินไปทั่วเขตวัดเพื่อสำรวจทาง และหาไม้ หาฟืน อยู่ทุกวัน จนท่านจำได้ว่ามีถนน มีกุฏิ ศาลา อยู่อย่างไร มีคลองทางน้ำ มีต้นไม้อะไรอยู่ตรงไหน สิ่งหนึ่งที่ท่านจำได้ชัด คือบ่อพุน้ำที่มีปลาอาศัย มีต้นไม้ที่ไม่มีรากแก้วล้มอยู่ ด้านโคนต้นอยู่ที่บ่อพุน้ำทางปลาย พาดคลองชี้ไปทางทิศตะวันออก วันหนึ่ง หลังจาก พักทำงาน ขณะองค์หลวงปู่ฝั้นมาพักฉันน้ำ องค์หลวงปู่ก็พูดขึ้นกับท่านพระอาจารย์สาครว่า “ท่านอยู่ที่นี่นะ” ในนิมิตนั้น ท่านพระอาจารย์สาครได้ตอบไปว่า “กระผมไม่เอา กระผมจะกลับสกลนคร ที่นี่ลำบาก” ด้วยการตอบสวนคำ ที่ไม่เคยทำต่อองค์หลวงปู่ฝั้นมาก่อน จิตท่านจึงถอดออกทันที ซึ่งขณะนั้นเป็นเวลา ตี ๒ ล่วงเข้าวันใหม่ เมื่อมีโอกาสท่านพระอาจารย์สาครจึงสอบถามกับญาติโยมที่มีศรัทธามาทำบุญใส่บาตรว่า เคยเห็นสถานที่ที่มีลักษณะดังกล่าวหรือไม่ จนได้ความแล้วจึงได้ไปดู พบว่าสถานที่นั้นตรงกับในนิมิตทุกประการ ซึ่งขณะที่เดินไปนั้นท่านสามารถบอกล่วงหน้าได้ว่า ประเดี๋ยวตรงทางขึ้นวัดจะมีจอมปลวกและไม้แดงอยู่ ก็พบดังที่ท่านบอก และถัดไปจะมีต้นมะขามป้อม และมีคลองทางน้ำไหลมาจากบ่อพุน้ำด้านบน เดินไปตามคลองจะมีต้นฉะค่าง และเมื่อข้ามคลองไปจะเจอต้นแดงคู่อยู่ ก็เจอตามที่ท่านพูดเหมือนคุ้นเคยมาก่อน และเมื่อสุดคลองก็พบบ่อพุน้ำมีต้นไม้ล้มอยู่ในลักษณะที่ท่านเห็นในนิมิตทุกประการ ดังนั้น ท่านจึงตัดสินใจพาญาติโยมผู้มีศรัทธา เริ่มสร้างเสนาสนะตามที่องค์หลวงปู่ฝั้นบอกกับท่านในนิมิต และท่านได้อยู่จำพรรษา ณ สถานที่นี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๒ เรื่อยมา ต่อมาท่านได้สร้างเสนาสนะเพิ่มเติม จนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๓ ได้รับการประกาศจากกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งเป็นวัดในพระพุทธศาสนาโดยสมบูรณ์มีนามว่า วัดเวฬุวัน เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๓ และท่านพระอาจารย์สาครได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๗ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๑ และได้รับ พระราชทานเป็น พระครูภาวนาสุทธาจาร เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๑ นับจากวันที่ได้เริ่มสร้างวัดเวฬุวันเป็นต้นมา สถานที่แห่งนี้ได้สร้าง ได้อบรมพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และอบรมอุบาสก อุบาสิกา ให้ดำรงอยู่ในเส้นทางแห่งความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก อีกประการหนึ่งอาจเป็นจุดประสงค์ขององค์หลวงปู่ฝั้นที่ต้องการให้วัดเวฬุวันเป็นสถานที่คอยสนับสนุนพระเณรที่มุ่งต่อการประพฤติ ปฏิบัติธรรม เพราะหากพิจารณาสภาพผืนป่าที่เหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติในปัจจุบันนี้ก็จะเห็นว่า ผืนป่าภาคตะวันตกยังคงความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด และเป็นสถานที่สัปปายะอย่างยิ่ง ซึ่งตำแหน่งที่ตั้งของวัดเวฬุวันนั้น เป็นเหมือนประตูที่เข้าไปสู่ผืนป่าดังกล่าว องค์หลวงปู่ฝั้น จึงได้สั่งให้ ท่านพระอาจารย์สาครสร้างวัดขึ้น ณ ที่ตรงนี้ เพื่อความเจริญแก่พระเณร และพระพุทธศาสนาต่อไป

 

จัดทำโดย คณะศิษย์วัดป่ามณีกาญจน์

ประวัติบางส่วนของ ท่านพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ
ท่านพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ มีนามเดิมว่า สาคร แสงมุกดา เป็นบุตรคนที่ ๕ ในจำนวน ๗ คน ของ นายบู่ แสงมุกดา และนางบัวลา แสงมุกดา (สกุลเดิมของโยมแม่ ชามนตรี ทายาทอดีตเจ้าเมืองหนองบัวลำภูในยุคนั้น) ท่านเกิดเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๐ เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘ ปีระกา ที่บ้านโนนสงเปลือย ต.หนองบัว อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี (ปัจจุบันคือ ต. เหล่าโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู) การศึกษา ท่านเข้าเรียนที่โรงเรียนบ้านนาวังเวิน เมื่อจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ ก็มิได้ศึกษาต่อ ด้วยเหตุที่ทางบ้าน ไม่สนับสนุน ทั้งนี้เนื่องมาจาก การที่โยมตาของท่าน ซึ่งเคยรับราชการ ในตำแหน่งสูงด้วยความซื่อสัตย์ กลับถูกสอบสวนอย่างไม่เป็นธรรม จนถูกจำคุกอยู่ถึง ๒๐ ปี โยมตาจึงหมดความศรัทธา ในระบบราชการ จึงไม่สนับสนุนให้ศึกษาต่อ อีกทั้งโยมตาท่าน ก็อยากให้มาช่วยกันดูแล เรือกสวนไร่นา ของครอบครัวตนเองจะดีกว่า และโยมพ่อโยมแม่ก็เห็นดีด้วย ท่านพระอาจารย์สาคร ซึ่งโดยนิสัย เชื่อฟังผู้ใหญ่อยู่เป็นพื้น จึงไม่ได้กลับไปศึกษาต่อ แม้ครูจะมาตามให้กลับไปเรียนก็ตาม เป็นกำลังสำคัญของครอบครัว ด้วยทางบ้าน ถือได้ว่ามีฐานะ เพราะมีเรือกสวนไร่นา ทั้งสัตว์เลี้ยงที่ต้องดูแลมาก เมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว ท่านจึงช่วยทางบ้านอย่างแข็งขัน เมื่อถึงฤดูฝนก็ทำไร่ ทำนา และเมื่อหมดหน้านา ก็ต้องต้อนฝูงวัวควายไปขาย ต่างบ้าน และต้องคุม หมู ไก่ กลับมาขาย บางครั้ง ก็ตามโยมพ่อเข้าป่า ไปหาใบยาและของป่า เนื่องจากโยมพ่อเป็นหมอยา ท่านจึงได้ความรู้ เรื่องยาและสมุนไพร จากโยมพ่ออีกด้วย เห็นทุกข์ทางโลก ด้วยหมู่บ้านสมัยก่อน บ้านเรือนมักอยู่ไม่ห่างกันนัก มีอะไรก็ช่วยซึ่งกันและกัน บางครั้งคนในหมู่บ้านจะคลอดลูก ได้ยินเสียงร้องโอดโอยไปหลายหลังคาเรือน ท่านมีโอกาสได้ตามไปดู ได้เห็นความเจ็บปวดทุกขเวทนา ของหญิงที่จะกำลังคลอดลูก ทำให้ท่านรู้สึกกลัว อีกทั้งเมื่อท่านคิดถึงเด็กที่อยู่ในท้อง ที่ต้องไปขดอยู่ในที่แคบๆ เป็นเวลานาน ให้รู้สึกอึดอัดเป็นอย่างยิ่ง แค่คิดก็แย่แล้ว แต่นี่คนที่เกิดต้องทนอยู่ถึง ๙ เดือน และในบางครั้งการคลอดลูก แม่ตายบ้าง เด็กไม่รอดบ้าง บางทีก็ต้องมาตายทั้งแม่ทั้งลูก ด้วยการคิดพิจารณา จากประสบการณ์ที่รับรู้มา ทำให้ท่านเห็นว่า การเกิดนั้นเป็นทุกข์อย่างยิ่ง กอปรกับเมื่อท่านต้องช่วยทำงานไร่นาที่บ้าน อย่างเหน็ดเหนื่อย ทำให้ท่านเห็นว่า ชีวิตคนทางโลก ต้องทำมาหากินไม่หยุดหย่อน เพื่อหาเลี้ยงตนเองและครอบครัว แต่สุดท้ายแล้ว ก็ไม่มีอะไรเป็นสาระที่แท้จริง จะบวชเป็นท่านเจ้าคุณ ในวัยเด็กท่านมีโอกาสติดตามโยมแม่ และญาติใหญ่ ไปวัดโดยสม่ำเสมอ ด้วยมีญาติพี่น้องบวชอยู่ ท่านจึงคุ้นเคยกับชีวิตสมณะ นักบวช และเนื่องจากโยมพี่ชายของท่าน (หลวงตาวา) ได้บวชเป็นเณรอยู่วัดมหาชัย โยมแม่จึงได้อาศัย ใช้ท่านนำอาหารไปถวายเสมอ และท่านก็ได้เห็นเณรพี่ชายท่าน ต้องถูกฝึกหัดให้ทำงาน และรับใช้อุปัฎฐาก ท่านเจ้าคุณที่วัดอยู่ เป็นประจำ ทำให้ท่านเกิดความคิดว่า เมื่อท่านจะบวช ท่านจะไม่บวชเป็นเณร ท่านอยากจะบวชเป็นท่านเจ้าคุณ
ออกบวช อำเภอหนองบัวลำภูในยุคนั้น อยู่บนเส้นทาง ที่พระวิปัสสนากัมมัฎฐานหลายรูป ใช้เป็นเส้นทางเดินธุดงค์ เพื่อไปฟังธรรมอบรมจากองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่จังหวัดสกลนคร และหลายท่าน ได้มาพักสร้างวัดในธรรมยุตินิกาย ที่เน้นการปฏิบัติธรรม ขึ้น ณ อำเภอนี้ ซึ่งญาติพี่น้องของท่านพระอาจารย์สาครเอง ก็ได้บวชเป็นพระเณรกันหลายท่าน บางท่านบวชเรียนสามารถสอบได้นักธรรม เปรียญธรรมประโยคต่างๆ บางท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นท่านเจ้าคุณ มีจริยวัตรงดงาม แสดงธรรมเทศนาได้ลึกซึ้ง น่าติดตาม ดังนั้นเมื่ออายุครบบวช ท่านพระอาจารย์สาคร จึงตัดสินใจ ขออนุญาติบิดามารดา ลาบวช เพื่อศึกษาธรรม ณ วัดมหาชัย ต.หนองบัว จ.อุดรธานี เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๘ โดยมี พระพิศาลคณานุกิจ เป็นพระอุปัชฌาย พระสมุห์คำบาล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาพุทธศาสนาว่า ธมมาวุโธ อันมีความหมายว่า ผู้มีธรรมเป็นอาวุธ สังกัดธรรมยุตนิกาย อยู่จำพรรษาแรก ณ วัดมหาชัย ต. หนองบัว อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี จะไม่อยู่ใกล้บ้าน เมื่อท่านบวชจำพรรษาแรกที่ วัดมหาชัย ใกล้บ้าน เพื่อโปรดญาติโยม และเมื่อทางบ้าน ได้อนุโมทนาการบวชของท่าน พอสมควรแล้ว ได้ขอให้ท่านลาสิกขาบทเพื่อ มาดูแลไร่นาและบ้านต่อไป หากแต่ด้วยท่านมีจิตใจที่มุ่งมั่นแล้ว ว่าจะบวช ดังนั้นท่านพระอาจารย์สาคร จึงผัดผ่อนเรื่อยมา หากญาติโยมมาตอนเช้า ท่านก็บอกให้รอตอนเย็นเสียก่อน หากญาติโยมมาตอนเย็น ท่านก็บอกให้รอเช้าเสียก่อน จนออกพรรษา ท่านจึงกราบลาอุปัชฌาย์ เดินทางเพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ต่อไป โดยท่านตั้งใจแน่วแน่ว่า จะไม่อยู่ในจังหวัดเลย อุดรธานี หนองคาย เพราะอยู่ใกล้บ้าน ใกล้ญาติโยมเกินไป แสวงหาครูบาอาจารย์ ตลอดพรรษา ปีพ.ศ. ๒๕๐๘ ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ และพระธรรมวินัยต่างๆ จนมีความเข้าใจเป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยสร้าง โบสถ์วัดมหาชัย จนลุล่วง ครั้นเมื่อออกพรรษา และได้ทำพิธีฉลองโบสถ์ในวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๙ แล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบลาพระอุปัชาฌาย์ เพื่อออกเดินทาง ไปกับท่านพระอาจารย์แถว โดยออกเดินทางโดยรถไฟ จาก จ.อุดรธานี แล้วไปเปลี่ยนรถไฟที่ภาชี เพื่อจะไปยังจ.พิษณุโลก เมื่อ ถึง จ.พิษณุโลกแล้ว ท่านจึงโดยสารรถยนต์ ต่อไปยังบ้านป่าหญ้าคา ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านพระอาจารย์แถว เพื่อทำกิจธุระ เมื่อทำธุระเสร็จแล้ว ท่านพระอาจารย์แถวจึงพาท่านลงมา ที่วัดนิรมลวัฒนา อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งท่านพระอาจารย์แถวเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ต่อมาในวันวิสาขบูชา ท่านพระอาจารย์สาครได้มีโอกาสพบ ท่านพระอาจารย์ทองดี ชุตินธโร เป็นครั้งแรก ซึ่งมาร่วมลงอุโบสถที่วัด และท่านพระอาจารย์สาคร ได้มีโอกาส พูดคุยกับท่านพระอาจารย์ทองดี เรื่องครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ สายองค์หลวงปู่มั่นภูริทัตโต ซึ่งขณะนั้น ครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ เริ่มทยอยเดินทาง กลับสู่ภาคอีสานแล้ว แต่เนื่องจากขณะนั้น ใกล้ฤดูการเข้าพรรษา ท่านพระอาจารย์สาคร จึงจำพรรษาที่วัดนิรมลวัฒนา กับท่านพระอาจารย์แถวก่อน กราบองค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เมื่อออกพรรษา ท่านพระอาจารย์สาคร จึงออกเดินทาง กลับจากจังหวัดเพชรบูรณ์ สู่ภาคอีสาน การเดินทาง ของท่านพระอาจารย์สาครคราวนั้น ท่านต้องเดินทางผ่าน จ.เลย ท่านจึงแวะกราบนมัสการ องค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ซึ่งขณะนั้นองค์หลวงปู่ชอบ พักอยู่ที่วัดม่วงไข่ อ.วังสะพุง จ.เลย เมื่อท่านพระอาจารย์สาคร เข้าไปกราบนมัสการองค์หลวงปู่ชอบ ซึ่ง ท่านมีจิตเมตตา ให้ท่านพระอาจารย์สาคร พักอยู่ด้วย พร้อมทั้งแนะนำ ให้อุบายธรรมต่างๆ ให้ท่านพระอาจารย์สาคร นำไปปฏิบัติ ทำให้ผลการปฏิบัติธรรม ของท่านพระอาจารย์สาคร มีความก้าวหน้า ขึ้นตามลำดับ ช่วงเวลาที่ท่านพระอาจารย์สาคร ได้พักอยู่กับองค์หลวงปู่ชอบนั้น ท่านต้องตื่นแต่ตี ๓ เพื่อมารองน้ำหมอกไว้เป็นน้ำฉัน ท่านกลางอากาศหนาวจัด ขนาดที่ว่ากำมือแล้ว ต้องเอามืออีกข้างหนึ่งมาแกะออก อีกทั้งเครื่องกันหนาวต่างๆ ก็มีไม่มากเหมือนยุคปัจจุบัน ในช่วงกลางวันที่ต้องทำงานก่อสร้าง ท่านพระอาจารย์สาครต้องหาฟืน และผ่าฟืนด้วย ท่านผ่าฟืนมากจนมือพอง จากมือพองจนมือแตก ในช่วงกลางคืน องค์หลวงปู่ จะพาพระเณรนั่งภาวนา ตั้งแต่ช่วงค่ำ จนกระทั่ง ๔ ทุ่ม จึงพาทำวัตรเย็น ในขณะที่พระเณรนั่งภาวนากันเงียบอยู่นั้น องค์หลวงปู่ก็จะสูบบุหรี่ ฉันหมาก และฉันหมาก สูบบุหรี่ สลับกันไป แต่หากใครพลิกขา หรือขยับแม้แต่นิดเดียว ท่านก็จะรู้ ท่านจะพูดว่า “พระพวกนี้เคารพขา มากกว่าเคารพธรรม อุตส่าห์แบกกลดแบกบาตร แสวงหาธรรม แต่เมื่อธรรมเกิดขึ้น กลับไม่ยอมพิจารณา” สิ่งเหล่านี้ เป็นตัวอย่างอุบาย ที่องค์หลวงปู่ชอบ ใช้อบรมสั่งสอนศิษย์ ท่านพระอาจารย์สาคร ได้อยู่ศึกษาปฏิบัติธรรม จากองค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม อยู่ช่วงระยะหนึ่ง ต่อมาองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ซึ่งขณะนั้นท่านพักอยู่ที่วัดกกกอก ต.งิ้วตาก อ.วังสะพุง จ.เลย ได้มีจดหมายนิมนต์พระเณรในแถบนั้น ไปร่วมงานทำบุญฉลองศาลา วัดกกกอก ท่านพระอาจารย์สาคร จึงได้ไปร่วมงาน และได้มีโอกาสกราบนมัสการ องค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ในครั้งนั้นด้วย อุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ในคราวที่ไปร่วมงานฉลองศาลาวัดกกกอกนั้น ท่านพระอาจารย์สาคร ได้มีโอกาสเข้ากราบนมัสการองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ต่อเมื่อเสร็จงานฉลองศาลาแล้ว เณรผู้ดูแลอุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย ต้องไปคัดเลือกทหาร ท่านพระอาจารย์สาคร จึงได้รับเมตตาจากององค์หลวงปู่หลุย ให้ทำหน้าที่นี้ พร้อมกับได้มีโอกาส ฟังพระธรรมาเทศนา อบรมสั่งสอน ฝึกความอดทน และรับการแนะนำ ธรรมภาคปฎิบัติ จากองค์หลวงปู่หลุยอีกด้วย การอยู่ดูแลรับใช้ อุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร นั้น ท่านพระอาจารย์สาคร ได้มีโอกาสติดตามองค์หลวงปู่ ออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆทั่วจังหวัดเลย และจังหวัดใกล้เคียง หลวงปู่หลุย จันทสาโร หลวงปู่ซามา อจฺตโต ธุดงค์กับองค์หลวงปู่หลุย ครั้งหนึ่งท่านพระอาจารย์สาคร มีโอกาสได้ธุดงค์ติดตามเพียงลำพัง ไปกับองค์หลวงปู่หลุย เมื่อองค์หลวงปู่ต้องเดินทาง ไปงานที่วัดท่าแขก โดยองค์หลวงปู่หลุยพาเดินทาง จากบ้านกกกอก ข้ามเขาลงมายังบ้านไร่ม่วง เพื่อกราบองค์หลวงปู่ซามา อจุตโต ที่วัดป่าอัมพวัน อ.เมือง จ.เลย ซึ่งระหว่างทางนั้นเอง ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ถูกฝึกความอดทน ความเพียร จากองค์หลวงปู่หลุยอย่างหนัก กล่าวคือ ครั้งหนึ่งซึ่งตรงกับวันโกน ในพระธรรมวินัย ซึ่งองค์หลวงปู่หลุย อนุญาตให้ท่านพระอาจารย์สาคร ปลงเกศา ให้องค์หลวงปู่จนเสร็จแล้ว องค์หลวงปู่ ก็ไปสรงน้ำชำระร่างกาย ท่านพระอาจารย์สาคร จึงเริ่มปลงเกศาของท่านเอง เมื่อท่านปลงเกศาไปได้เพียงครึ่งเดียว องค์หลวงปู่หลุยก็สรงน้ำเสร็จพอดี ท่านได้บอกกับท่านพระอาจารย์สาครว่า “เราออกเดินทางกันต่อไปเถอะ” คำว่า “ไป” ขององค์หลวงปู่หลุยนี้ ท่านมิได้เพียงแต่พูด ท่านได้ออกเดินทางไปจริงๆ ท่านพระอาจารย์สาคร จึงต้องหยุดการปลงเกศาตนเองไว้เท่านั้น รีบไปเก็บสัมภาระอัฐบริขารต่างๆ ทั้งของท่านเองกับขององค์หลวงปู่ด้วย ซึ่งมีถุงบาตร และ ย่าม อย่างละ ๒ ใบ แล้วรีบออกเดินทางต่อ เพื่อที่จะติดตามองค์หลวงปู่หลุยให้ทัน เมื่อเดินทันองค์หลวงปู่ หลุยแล้วท่านจึงเริ่มทำการปลงเกศาต่อ โดยใช้วิธีเดินไปปลงเกศาไป เพื่อปลงให้แล้วเสร็จก่อนถึงหมู่บ้าน ซึ่งครั้งนั้นเป็นการปลงเกศาที่ลำบากมาก เพราะมือข้างหนึ่งทำการปลงเกศา อีกข้างหนึ่ง ก็แบกย่ามกับถุงบาตรอีก ๒ ใบ ซึ่งโดยปกติการเดินปลงเกศา ก็เป็นเรื่องลำบากอยู่แล้ว แต่ท่านยังต้องสะพายของบนบ่าอีก จึงเป็นการเพิ่มความลำบาก ให้กับท่านยิ่งขึ้น ในครั้งนั้น ท่านจึงถูกมีดโกนบาด เสียหลายแผล เมื่อกราบลาองค์หลวงปู่ชามา อจุตโต แล้ว องค์หลวงปู่หลุย ได้พาเดินต่อไปยังถ้ำผาปู่ เพื่อกราบ องค์หลวงปู่คำดี ปภาโส และที่นี่ ท่านได้รับการฝึกอีกครั้งในระหว่างที่ พักอยู่ที่นี่ คือ โดยปกติแล้วหลังจาก ท่านทำอาจริยวัตร ถวายองค์หลวงปู่หลุยเสร็จ ในช่วงเช้า และองค์หลวงปู่ได้เข้าพักแล้ว โดยปกติองค์หลวงปู่จะออกมาอีกครั้ง ในเวลา ๒-๓ โมง ท่านพระอาจารย์สาคร จึงแยกไปภาวนาที่ถ้าผาปู่เพียงลำพัง สักครู่ที่ท่านเดินจงกรมภาวนาอยู่ ปรากฎว่าจิตท่านมีอาการผิดปกติ ข้างในมีอาการใจเต้นเร็ว ท่านเห็นผิดปกติ จึงออกจากการภาวนา เดินออกมา พอพ้นถ้ำเท่านั้นก็ได้ยินเสียงระฆัง อันเป็นสัญญาน เรียกพระเณรที่ถ้ำผาปู่ดังลั่นวัด ท่านจึงรีบมาทันที ปรากฏว่าองค์หลวงปู่หลุย เป็นผู้ตีระฆังเพื่อเรียกหาท่าน พระเณรออกมาดูกันทั้งวัด แต่เพราะท่านอยู่ในถ้ำ จึงไม่ได้ยินเสียงเลยแม้แต่น้อย องค์หลวงปู่จึงถามท่าน และบอกว่าจะเดินทางต่อ อันเป็นนิสัยการมาเร็วไปเร็ว ขององค์หลวงปู่ ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบเรียนถึงที่อยู่ และอาการของจิตท่าน องค์หลวงปู่จึงมิได้ต่อว่าอย่างไร นับเป็นอีกครั้ง ที่การภาวนา และความจดจ่ออยู่กับครูบาอาจารย์เสมอ ช่วยให้ท่านไม่ถูกตำหนิได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติอันพึงมี ในพระติดตามครูบาอาจารย์ต่อไป เมื่อออกจากวัดถ้ำผาปู่แล้ว ได้เดินธุดงค์ต่อไปยังวัดท่าแขก อันเป็นเป้าหมาย ท่านพระอาจารย์สาคร ได้อยู่ช่วยงานศพจนแล้วเสร็จ และเมื่อพระอุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย ได้มาถึงแล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบลาองค์หลวงปู่หลุย ที่วัดท่าแขกนี้เอง องค์หลวงปู่หลุย วางใจในท่านพระอาจารย์สาครแล้ว จึงอนุญาตให้ไปได้ ท่านจึงได้เดินทางย้อนกลับมา ยังถ้ำผาบิ้ง โดยหมายใช้เป็นที่วิเวกภาวนาต่อไป เวทนาทางกาย ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๐ ขณะที่ท่านพระอาจารย์สาคร ธุดงค์มาถึงที่ถ้ำผาบิ้ง ท่านได้พิจารณาพักอยู่ เพื่อภาวนาชั่วระยะหนึ่ง (ขณะนั้น องค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ยังไม่ได้อยู่ที่ถ้ำผาบิ้งนี้) ท่านได้ไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านน้ำทบ ได้เพียงข้าวเปล่าเท่านั้น และบางวันก็ได้พริกป่น กับเกลือมาด้วย ท่านก็ได้พิจารณาฉันตามฐานะนักบวช หากด้วยความไม่คุ้นเคย ทำให้ท่านปากพองแสบร้อนไปหมด จนแม้แต่ฉันน้ำ ก็ยังทรมาน เกิดเวทนาทางกายยิ่งนัก
เสือช่วย ตกคืนนั้นที่ท่านนั่งภาวนาอยู่ภายในถ้ำ ปรากฎมีเสียง สวบ สวบ ดั่งเสียงเสือเดินอยู่หน้าถ้ำ ด้วยความกลัวท่านจึงนั่งหลับตานิ่ง เร่งภาวนา พุทโธ พุทโธ อยู่ภายในใจ จนจิตสงบเงียบลงไป เหลือแต่มีความรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ขณะนั้นท่านพิจารณาร่างกาย สังขาร ข้อธรรมใดก็พิจารณาได้หมด จวบจนกระทั่งเช้าได้เวลาบิณฑบาต จึงได้ถอนออกจากการภาวนา นับเป็นเวลานานที่ผ่านไปอย่างรวดเร็ว นับจากที่ท่านได้เข้าภาวนา ขณะได้ยินเสียงเสือเมื่อราว ๑ ทุ่ม เมื่อท่านออกจากภาวนาแล้ว ก็ได้หวนคิดดื่มด่ำกับสิ่งที่เกิดขึ้น อัศจรรย์ว่า “ตัวเราภาวนาได้ขนาดนี้เชียวหรือ” และคิดว่า “ ถ้าเสือไม่ช่วยเราคงยังติดขัดอยู่” ขณะที่ภาวนานั้นก็ไม่รู้ เสือหายไปทางไหน เมื่อท่านมาดูอย่างละเอียด จนเข้าใจ่ว่า น่าจะเป็นบ่างมากินมะขามจากต้นหน้าถ้ำมากกว่า เช้านั้นท่านออกไปบิณฑบาต ก็ได้ข้าวกับพริกเกลือเช่นเดิม แต่ครั้งนี้ท่านฉันแล้วไม่รู้สึกแสบปาก แสบลิ้นดังที่เคย ท่านจึงได้อยู่ภาวนาต่อในถ้ำนี้ และตลอดเวลา ๒-๓ อาทิตย์ที่อยู่นั้น การภาวนาของท่านได้ผลดีเป็นอย่างยิ่งแต่เพราะมีนัดหมายกับท่านพระอาจารย์ทองดีไว้ ว่าจะไปพบกัน ที่วัดถ้ำกลองเพลจ.อุดรธานี ก่อนสิ้นเดือนเมษายน ทำให้ท่านต้องละจากถ้ำผ้าบิ้งนี้ไป จากถ้ำผาบิ้งไปวัดถ้ำกลองเพล หลังฉันเช้าเสร็จ ประมาณ ๙ โมงเช้า ท่านพระอาจารย์สาคร ออกเดินเท้าจากถ้ำผาบิ้ง เพื่อไปยังหมู่บ้านโนนสงเปลือย จ.หนองบังลำภู โดยมีระยะทางทั้งสิ้นกว่า ๙๕ กิโลเมตร ท่านเดินทางตามผ่านป่า ผ่านดงหนองไผ่ หากช่วงไหนเป็นหมู่บ้าน ท่านจะเดินเลี่ยงอ้อมเอา ท่านพระอาจารย์สาคร เดินภาวนาพุธโธไปตลอดระยะทาง ทำให้จิตสงบ กายเบา จิตเบา จนท่านสามารถเดินได้เร็วมาก โดยไม่เหน็ดเหนื่อยเลยแม้แต่น้อย ท่านมาถึงไร่โยมพ่อ บ้านโนนสงเปลือย เวลาบ่าย ๔ โมงเย็น ใช้เวลาเดินเท้าทั้งสิ้นเพียง ๗ ชั่วโมงเท่านั้น นับเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง เมื่อมาถึงไร่ ปรากฏว่าโยมพ่อกลับไปบ้านแล้ว ท่านจึงกางกลด พักอยู่ที่กระต๊อบในไร่นั้นเอง เช้าวันรุ่งขึ้น ได้บิณฑบาตโปรดโยม ที่บ้านโนนสงเปลือย แล้วไต่ถามได้ความว่า โยมพี่สะใภ้จะเดินทางไปอุดรธานีพอดี จึงนั่งรถโดยสารไปกับโยมพี่สะใภ้ เพื่อเดินทางต่อไปจนถึงวัดถ้ำกลองเพล
กราบองค์หลวงปู่ขาว อนาลโย เมื่อถึงวัดถ้ำกลองเพล (พุทธศักราช ๒๕๑๐) ท่านพระอาจารย์สาครได้เข้ากราบนมัสการองค์หลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งขณะนั้น กำลังอาพาธ และมีครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่สำคัญหลายองค์ มาถวายการดูแลองค์หลวงปู่ อันได้แก่ ท่านพระอาจารย์สุวัจน์ สุวโจ ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร ท่านพระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต ซึ่งถือว่าเป็นโชคดี ของท่านพระอาจารย์สาคร ที่ได้มีโอกาสรับใช้ ครูบาอาจารย์องค์สำคัญ ในคราวนั้นด้วย หลังจากที่ได้พบ กับท่านพระอาจารย์ทองดี ที่วัดถ้ำกลองเพล ตามที่ได้นัดหมายไว้ จึงได้กราบลาองค์หลวงปู่ขาวอนาลโย เพื่อออกเดินทางต่อไป
กราบองค์หลวงปู่ฝั้นครั้งแรก ท่านพระอาจารย์สาคร ออกเดินทางจากวัดถ้ำกลองเพล พร้อมท่านพระอาจารย์ทองดี โดยได้พาท่านพระอาจารย์สาคร ไปงานศพท่านพระอาจารย์สีลา อิสสโร อุปัชฌาย์ของท่านพระอาจารย์ทองดี ที่สำนักงานสงฆ์วัดโพธิ์ชัย ตำบลวาใหญ่ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร และที่นี้เอง ที่ท่านพระอาจารย์สาคร ได้พบองค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นครั้งแรก ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ระลึกถึงคำขององค์หลวงปู่หลุย ที่บอกว่าองค์หลวงปู่ฝั้น เป็นพระที่ได้รับการยกย่อง จากองค์หลวงปู่มั่น ในด้านความสามารถ ทางด้านจิตใจ ทั้งองค์หลวงปู่หลุย แม้พรรษาจะมากกว่าองค์หลวงปู่ฝั้น ก็เรียกองค์หลวงปู่ฝั้น ด้วยความเคารพว่า “อาจารย์ใหญ่” ดังนั้นองค์หลวงปู่ฝั้น จึงเป็นพระผู้ที่มีความสำคัญมาก ทั้งท่านพระอาจารย์ทองดี ก็สนับสนุนให้ไปอยู่กับองค์หลวงปู่ฝั้น โดยให้เหตุผลว่า ที่นั้นมีตั้ง ๒ วัด หากไม่พอใจในวัดป่าอุดมสมพร ก็สามารถขึ้นเขาไปอยู่ที่ถ้ำขามได้ ดังนั้น เมื่อเสร็จจากงานศพท่านพระอาจารย์สีลา แล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร ได้แยกกับ ท่านพระอาจารย์ทองดี ที่นี่เอง โดยท่านตั้งจุดหมายการเดินทาง ต่อไป ยังวัดป่าอุดมสมพร อ.พรรนานิคม จังหวัดสกลนคร เพื่อกราบถวายตัวเป็นลูกศิษย์ ขององค์หลวงปู่ฝั้นต่อไป ถึงวัดป่าอุดมสมพร ลุถึงวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ พุทธศักราช ๒๕๑๐ อันเป็นวันลงอุโบสถ ท่านก็ถึงวัดป่าอุดมสมพร ได้กราบองค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และนับจากวันนั้น ท่านได้อยู่ถวายตัว เป็นศิษย์องค์หลวงปู่ฝั้นมาตลอด ขณะนั้นที่วัดป่าอุดมสมพร มีพระอยู่เพียง ๕ รูป และเณรอีก ๑ รูป คือ ๑.องค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ๒.ท่านพระอาจารย์แปลง สุนฺทโร ๓.หลวงตาพรหม ๔.หลวงตาไข ๕.หลวงตาอ่อน และเณร ด้วยขณะนั้น ท่านพระอาจารย์ปิ่น ปิยธัมโม ไม่อยู่ และท่านพระอาจารย์อุทัย สิริธโร ยังไม่ลงมาจากถ้ำขาม ทั้งท่านพระอาจารย์แปลง ก็มีภาระดูแลงานอื่นเป็นจำนวนมาก คงมีหลวงตาอ่อน ดูแลอุปัฏฐากองค์หลวงปู่ฝั้น อยู่ผู้เดียว ท่านพระอาจารย์สาคร จึงได้เข้าช่วยงาน หลวงตาอ่อนอีกแรงหนึ่ง นับจากนั้น ท่านก็ได้รับหน้าที่ ดูแลอุปัฏฐากองค์หลวงปู่ฝั้น มาโดยตลอด จากการที่มีโอกาสรับใช้ใกล้ชิด องค์หลวงปู่ฝั้น และได้รับฟังโอวาท ได้เห็นจริยาวัตรอันงดงาม ทั้งข้อปฏิบัติที่เพียบพร้อม ทำให้ท่านพระอาจารย์สาคร เกิดความศรัทธาและลงใจ ในองค์หลวงปู่ฝั้นเป็นอย่างยิ่ง แม้เพิ่งจะมาถวายตัวรับใช้กับองค์หลวงปู่ เพียงไม่นาน
เพชรบนยอดมงกุฎแห่งเมืองเลย มาวัดป่าอุดมสมพร ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ พุทธศักราช ๒๕๑๐ หลังจากพำนักอยู่กับองค์หลวงปู่ฝั้นเพียง ๗ วัน องค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม และองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ได้เดินทางมาเยี่ยมองค์หลวงปู่ฝั้น และรอลงอุโบสถร่วมกันในวันวิสาขบูชา ที่วัดป่าอุดมสมพร เมื่อองค์หลวงปู่ท่าน ได้กราบคารวะกันแล้ว องค์หลวงปู่หลุยเห็นท่านพระอาจารย์สาคร กำลังจัดอาสนะอยู่นั้น ท่านจึงกล่าวขึ้นกับองค์หลวงปู่ฝั้นว่า “พระองค์นี้เคยอยู่กับผมมาก่อน” องค์หลวงปู่ชอบก็ได้กล่าวขึ้นด้วยว่า “เคยอยู่กับผมเหมือนกันพระองค์นี้” ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบเรียนองค์หลวงปู่ฝั้นว่า ท่านเคยอยู่กับองค์หลวงปู่ชอบมาก่อนที่วัดป่าม่วงไข่ แล้วจึงมาอยู่กับองค์หลวงปู่หลุย ที่บ้านกกกอก หลังจากลงอุโบสถ ในวันวิสาขบูชา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อองค์หลวงปู่ชอบ และ องค์หลวงปู่หลุย ได้กลับไปแล้ว นับจากวันนั้นมา ท่านพระอาจารย์สาครเปรียบว่า เหมือนผ้าเช็ดหน้า จะบิดให้ขาดเสียให้ได้ องค์หลวงปู่ฝั้น เปลี่ยนจากองค์หลวงปู่องค์เดิม อย่างสิ้นเชิง หันมาเข้มงวด กับท่านพระอาจารย์สาครมากขึ้น หากมีอะไรผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ก็จะค่อยดุว่า ไม่ปล่อยให้ความผิดพลาดนั้นผ่านไปเฉยๆ บางครั้งความผิดพลาดของท่าน ก็นำมาเทศน์บนศาลา เทศน์กันเป็นอาทิตย์ๆเป็นเดือนๆ ในความผิดนั้นๆ ทั้งนี้คงเป็นเจตนาขององค์หลวงปู่ฝั้น ที่ต้องการทดสอบความเข้มแข็ง ทางจิตใจของลูกศิษย์ และต้องการให้ศิษย์ได้ดีในทางธรรม อยากหนี จากการที่องค์หลวงปู่ฝั้นเข้มงวดกวดขัน ท่านพระอาจารย์สาคร ไม่ว่าท่านพระอาจารย์สาครจะทำอะไร ดูเหมือนจะผิดไปหมด กลับถูกเข่น ถูกว่าสารพัด เผลอสติเป็นไม่ได้ ไม่เพียงท่านที่ถูกเข่นเท่านั้น เณรที่รับใช้องค์หลวงปู่ ก็ได้รับความเข้มงวด จนเณรร้องไห้อยู่แทบทุกวัน กระนั้น วันหนึ่งท่านติดขัด เรื่องการจัดยาให้หลวงปู่จึงถามเณร เณรก็ยังตอบว่า “ครูบาเอาตามาด้วยหรือเปล่า ครูบาเอาหูมาด้วยหรือเปล่า” ทำให้ท่านอึดอัดขัดข้องยิ่งขึ้นไปอีก ขณะนั้นท่านคิดว่า “ต่อไปไม่ว่างานเรื่องอะไรในวัดนี้ เราจะต้องเรียนรู้ให้หมดให้ได้” ในแต่ละวัน ไม่ว่าใครจะทำอะไร ผิดมาในวันนั้นก็ดี หรือเหตุเก่าก็ดี พอขึ้นศาลาองค์ หลวงปู่ต้องดุว่า แต่ท่านพระอาจารย์สาครองค์เดียว ทำให้ท่านคิดเบื่อหน่าย อยากจะหนีเป็นที่สุด กำหราบความคิด เมื่อท่านมีความคิดอยากหนีวันไหน พอขึ้นไปบนกุฏิองค์หลวงปู่ฝั้น เพื่อทำอาจริยาวัตรปกติ บางครั้งยังไม่ทันจะนั่งกราบเลย องค์หลวงปู่ ก็พูดขึ้นว่า “จะไปไหนก็ผีตัวเก่า ถ้าไม่ตั้งใจภาวนา จะอยู่ที่ไหนก็ผีตัวเก่า” พออีก ๒-๓ วันคิดจะไปอีก องค์หลวงปู่ก็พูดขึ้นอีก ทำให้ใจท่าน ไม่คิดฟุ้งไปกว่านี้ บางครั้งใจก็คิดอยากจะไปดูถ้ำขามบ้าง ว่าเป็นอย่างไร อยากไปดูวัดดอยธรรมเจดีย์บ้าง ว่า เป็นอย่างไร พอขึ้นกุฏิ องค์หลวงปู่ ก็จะเล่าเรื่องวัดนั้นๆให้ฟังทันที ทำให้ท่านต้องคอยสำรวม ระมัดระวังความคิด อยู่ตลอดเวลา
หมาแทะกระดูก บ่อยครั้งเมื่อลูกศิษย์คิดถึงบ้าน องค์หลวงปู่ฝั้นจะเมตตายกเรื่อง ของท่านขึ้นเทศน์ให้ฟัง ถึงเมื่อครั้งองค์ท่านเองก็เคยเบื่อหน่าย ท้อแท้ จนคิดจะกลับบ้านเช่นกัน วันหนึ่งขณะที่องค์หลวงปู่ เดินบิณฑบาตอยู่นั้น เห็นหมาตัวหนึ่งเดินตามเจ้าของอยู่ สักพักมันเจอกระดูกเก่าท่อนหนึ่ง มันก็หยุดแทะตามประสาหมา แต่เจ้าของก็เดินต่อไป มันแทะอยู่สักพัก ก็วิ่งตามเจ้าของไป แต่แล้วก็หันวิ่งกลับมาแทะต่ออีก แล้วก็วิ่งกลับไปหาเจ้าของอีก กลับไปกลับมาอยู่หลายครั้ง จนเจ้าของเดินไกลออกไปมากแล้ว มันจึงได้วิ่งตามเจ้าของไปอย่างอาลัย องค์หลวงปู่เห็นอาการมันแล้ว ก็กลับมานึกเป็นธรรม อบรมตัวองค์ท่านได้ว่า “การอาลัยในบ้านขององค์ท่าน ก็เหมือนหมาตัวนั้น ที่อาลัยในกระดูกเก่าอันจืดชืด แต่มันไม่รู้ว่ากระดูกนั้นไม่มีรสอะไรแล้ว ที่หลงอยู่ ก็หลงในน้ำลายของตัวเองเท่านั้น ชีวิตทางโลก ก็เหมือนกระดูกเก่าที่หาค่า อันใดมิได้ ความหลงในสิ่งที่ฉาบทาไว้ ก็เหมือนหมาที่หลงอร่อยน้ำลายตัวเอง” เมื่อองค์หลวงปู่ ท่านพิจารณาได้เช่นนั้น ก็วางความคิดถึงบ้านลงได้ ท่านพระอาจารย์สาคร ก็ได้ธรรมข้อนี้ ช่วยให้ท่านผ่านพ้นมาได้ ท่านจึงซาบซึ้ง ถึงพระคุณขององค์หลวงปู่ฝั้น อย่างถึงที่สุด ว่าทางหนึ่ง ท่านก็เข่นเอาเต็มที่ แต่อีกทางหนึ่งก็เมตตา คอยประคับประคอง หาอุบายธรรมช่วยเหลือเต็มที่เช่นกัน ปัจจุบันหากท่านพระอาจารย์สาคร เดินทางไปกราบนมัสการ เจดีย์องค์หลวงปู่ฝั้น ที่วัดป่าอุดมสมพร ท่านจะต้องไปดูภาพแกะสลักเรื่อง “หมาแทะกระดูก” ที่ฐานองค์เจดีย์ ด้วยความระลึกซาบซึ้งในพระคุณ อยู่ทุกครั้งไป
ศึกษาปฏิบัติธรรม และอุปัฏฐาก องค์หลวงปู่ฝั้น เมื่อท่านพิจารณาเข้าใจถึงความเมตตา ขององค์หลวงปู่ฝั้นแล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร ก็ตั้งใจอยู่รับการอบรมอย่างถึงที่สุด คราวนี้ ท่านกลับกลัวองค์หลวงปู่ฝั้นไล่หนีเอา ทั้งนี้ด้วยเห็นพระบางองค์ ถูกองค์หลวงปู่ไล่หนี บางองค์มาถึงวัด ยังไม่ทันแก้บาตรเลย ก็ถูกบอกให้หลีกไปที่อื่นแล้ว ท่านจึงอยู่ด้วยความระมัดระวัง ในเรื่องข้อวัตรปฏิบัติให้ดีที่สุด ท่านพระอาจารย์สาคร คอยปฏิบัติองค์หลวงปู่ฝั้นอย่างใกล้ชิด ดุจเป็นเงาขององค์หลวงปู่ ท่านจะดูแลองค์หลวงปู่ฝั้นตั้งแต่ตอนที่ องค์หลวงปู่ตื่นขึ้นมา โดยจะเข้าไปถวายน้ำล้างหน้า ไม้สีฟัน เปลี่ยนกระโถน รับผ้าจีวรมาที่ศาลา ตอนบิณฑบาตรจะช่วยองค์หลวงปู่ ครองผ้ากลัดรังดุม และคอยส่งบาตร รับบาตรองค์หลวงปู่ แล้วรีบกลับมาเตรียมน้ำอุ่น ล้างเท้าให้องค์หลวงปู่ แล้วจึงคอยเช็ดเท้าให้แห้ง เวลาฉันอาหาร ท่านพระอาจารย์สาคร จะเป็นผู้จัดอาหารถวาย ทั้งนี้เพราะ องค์หลวงปู่ฝั้นท่านไม่จัดอาหารเอง แม้ในคราวที่มีนิมนต์ไปฉันข้างนอกก็ตาม ท่านพระอาจารย์สาคร จะขอโอกาสพระเถระองค์อื่น เพื่อจะได้นั่งใกล้องค์หลวงปู่ฝั้น เพื่อคอยจัดอาหารถวาย ท่านพระอาจารย์สาคร ต้องฉันให้เสร็จก่อนองค์หลวงปู่ เพื่อจะได้นำบาตรของตนไปล้างก่อน แล้วจึงนำบาตรขององค์หลวงปู่ไปล้าง แล้วนำมาเช็ดให้แห้ง ก่อนนำไปผึ่งไว้ แล้วรีบกลับมาถวายไม้สีฟัน ถวายยา เก็บของ เก็บกระโถน รับผ้าจีวร แล้วรีบนำบริขารขององค์หลวงปู่ ไปเก็บไว้ที่กุฏิ แล้วมาคอยเป็นปัจฉาสมณะ ดูแลองค์หลวงปู่ ถ้ามีงานภายในวัด ท่านจะกราบเรียนขอโอกาสไว้ แล้วไปทำงานนั้นๆจนเสร็จ ซึ่งงานส่วนมาก เป็นงานที่คนอื่นไม่กล้าทำ แต่ด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว ท่านจะรับอาสาทำเสมอ อาทิ ตอนที่แบกเสากุฏิ ท่านบอกว่า ถ้าแบกเสา ๑ ต้น ทีละ ๒ คน แต่ถ้าแบก ๓ คน ๒ ต้นน่าจะดีกว่า โดยท่านพระอาจารย์สาคร ท่านรับเป็นคนที่อยู่ตรงกลาง ยอมแบกคนเดียว ๒ ต้น เป็นต้น นอกจากนี้ท่านยังดูแลรักษาเสนาสนะ ร่วมทำงานก่อสร้าง ภายในวัดและภายนอกวัด เช่นงานสร้างเจดีย์ที่หลังกุฏิองค์หลวงปู่ฝั้น งานสร้างถนนวัดถ้ำขาม งานสร้างศาลาวัดถ้ำขาม งานสร้างเขื่อนกั้นน้ำอูน และสะพานบ้านบะทอง งานสร้างโรงพยาบาลหลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นต้น เมื่อถึงตอนเย็น ท่านพระอาจารย์สาคร จะคอยดูแลสรงน้ำองค์หลวงปู่ เมื่อองค์หลวงปู่สรงน้ำเสร็จ ต้องรีบเช็ดพื้นห้องน้ำให้แห้ง เพราะเป็นพื้นไม้ ตอนกลางคืน ต้องทำวัตรสวดมนต์ และรับฟังโอวาทที่ศาลา เมื่อเลิกท่านก็ไปที่กุฏิองค์หลวงปู่ เพื่อไปส่งย่าม และคอยจับเส้นถวายองค์หลวงปู่ กว่าจะเลิก บางคืนก็เที่ยงคืน บางคืนล่วงไปจนถึงตีหนึ่ง เมื่อลงจาก กุฏิท่านจะลงไปเดินจงกรมต่อ แล้วจึงเข้าพัก บางคืน ท่านจะเดินจนถึงเวลาที่องค์หลวงปู่ตื่น ซึ่งโดยปกติแล้ว องค์หลวงปู่ฝั้นจะเข้าพักไม่นาน เมื่อองค์หลวงปู่ฝั้นท่านตื่น ท่านพระอาจารย์สาคร ก็จะรีบเข้าไปถวายน้ำล้างหน้าอีก ในข้อวัตรต่างๆเหล่านี้ ท่านถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด อยู่ตลอดเวลา ซึ่งท่านพระอาจารย์สาคร จะมีคติสั้นที่ยึดปฏิบัติว่า “นอนทีหลัง ตื่นก่อน ฉันทีหลัง อิ่มก่อน” นอกเหนือจาก การมีข้อวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดแล้ว ในการเดินทาง แม้จะมีเป้าหมายที่แน่นอน หากด้วยบนหนทาง ย่อมต้องพบเครื่องกีดขวางอยู่บ้าง การจะฝ่าฟันไปได้นั้น ท่านพระอาจารย์สาคร ยังมีองค์พระพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือ ยามที่ท่านพบกับปัญหา ไม่ว่าทางด้านใดๆก็ดี ท่านได้มี องค์หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ ท่านพระอาจารย์แปลง สุนฺทโร ท่านพระอาจารย์เขี่ยม โสรโย ท่านพระอาจารย์อุทัย สิริธโร และท่านพระอาจารย์คำดี ปัญโญภาโส คอยเมตตาช่วยเหลือ ทำให้การปฏิบัติธรรม ของท่านพระอาจารย์สาคร ดำเนินไปอย่างราบรื่น ซึ่งท่านพระอาจารย์สาคร ก็ได้ซาบซึ้งในพระคุณ ของท่านพระเถระทุกองค์นี้เสมอ ดังนั้นนอกจากท่านจะไปกราบเยี่ยมแล้ว หากท่านสามารถจัดทำธุระสิ่งใด เพื่อตอบแทนได้ ท่านก็จะทำทันที
หลวงปู่สุุวัจน์ สุวโจ พระอาจารย์แปลง สุนฺทโร พระอาจารย์เขี่ยม โสรโย
พระอาจารย์อุทัย สิริธโร พระอาจารย์คำดี ปัญโญภาโส
มั่นใจว่าจะไม่ถูกไล่หนี ถึงแม้ท่านจะตั้งใจปฏิบัติข้อวัตร และทำงานทุกอย่าง เต็มกำลังสติปัญญาความสามารถ หากแต่ยังหวั่นกลัวองค์หลวงปู่ฝั้นจะไล่หนีเอา จนวันหนึ่ง มีสิ่งที่ทำให้ท่าน รับรู้และมั่นใจว่าจะไม่ถูกไล่หนี กล่าวคือ ในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ท่านเจ้าคุณ ซึ่งเคารพองค์หลวงปู่ฝั้น ได้มากราบเยี่ยมองค์หลวงปู่ และปรารภขึ้นว่า ทางภาคตะวันตกของประเทศ นั้นยังมีพระกัมมัฏฐานน้อย ทั้งที่ดินแดนแถบนั้น ยังมีป่าอันสัปปายะอุดมสมบูรณ์อยู่ แม้ขณะนั้น จะมีท่านพระอาจารย์มหาปิ่นอยู่ แต่ท่านก็อาพาธ จึงอยากจะขอพระจากองค์หลวงปู่ ไปอยู่เป็นหลัก ให้แก่พระและญาติโยม ทางด้านนั้นบ้าง องค์หลวงปู่ฝั้นจึงถามว่า คิดจะเอาใครไป ท่านเจ้าคุณ ซึ่งได้เคยเห็นอาจริยวัตร และฝีมือการทำงาน ในตัวท่านพระอาจารย์เป็นประจักษ์แล้ว จึงกล่าวขอตัวท่านพระอาจารย์ กับองค์หลวงปู่ฝั้น ซึ่งองค์หลวงปู่ฝั้น ก็ไม่อนุญาตให้ไป การที่องค์หลวงปู่ฝั้นท่านกล่าว ไม่อนุญาตนั้น ก็มีความหมายเป็นนัย ให้ท่านพระอาจารย์สาครรับรู้ได้ว่า แม้องค์หลวงปู่ฝั้นจะดุ จะว่าเอา แต่องค์หลวงปู่ท่านก็ได้รับรู้ถึง ความเอาใจใส่ ไม่ละวางการงาน ในตัวลูกศิษย์ผู้นี้อยู่เสมอ ซึ่งก็เพียงพอ ให้ท่านพระอาจารย์สาครซาบซึ้ง และเป็นกำลังใจ ให้ท่านยิ่งทุ่มเท แรงกายแรงใจถวายองค์หลวงฝั้นยิ่งขึ้นไป เมื่อองค์หลวงปู่ฝั้นอาพาธ ในปีพ.ศ. ๒๕๑๙ ท่านพระอาจารย์สาคร เป็นพระรูปหนึ่ง ในแปดรูป ที่ได้รับคัดเลือก ให้ดูแลองค์หลวงปู่ จากพระจำนวนร้อย ซึ่งท่านทำหน้าที่ คอยดูแลออกซิเจนให้องค์หลวงปู่ และถวายอาหาร ให้องค์หลวงปู่ในตอนเช้าด้วย จวบจนกระทั่ง องค์หลวงปู่ฝั้นท่านมรณภาพ ในวันอังคารที่ ๔ เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ ณ กุฏิวัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร หลังจากเสร็จพิธี พระราชทานเพลิงศพองค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านพระอาจารย์สาคร ได้เดินทางธุดงค์ แสวงหาที่ปฏิบัติธรรม เพื่อที่จะได้เร่งบำเพ็ญภาวนา ตามแนวทางคำสั่งสอนจากครูบาอาจารย์ ที่ท่านได้เมตตาอบรมแนะนำธรรม ละจากแดนดินอีสานสู่ภาคตะวันตก เมื่อสิ้นองค์หลวงปู่ฝั้น และเสร็จงานพระราชทานเพลิงศพแล้ว ในวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๑ ท่านก็ละจากวัดป่าอุดมสมพร เพื่อเดินทางไป อุปัฏฐากองค์หลวงปู่หลุย เพื่อเป็นอาจริยบูชา ที่องค์หลวงปู่หลุยเคยเมตตา ฝึกหัดอบรมแก่ท่าน ในโอกาสนี้ ท่านจึงมีโอกาสติดตามธุดงค์อีกครั้ง ไปกับองค์หลวงปู่หลุย ทุกจังหวัดทางภาคเหนือ และองค์หลวงปู่หลุย ได้พากราบเยี่ยมยังสถานที่ และวัดสำคัญอันองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้เคยมาเผยแพร่หลักธรรม คำสอนอยู่ เมื่อใกล้เข้าพรรษา องค์หลวงปู่หลุย ซึ่งได้พิจารณารับนิมนต์ ไปจำพรรษาที่หนองแซง จ.อุดรธานี ก็เดินทางกลับลงมา และแวะโปรดญาติโยม ที่สำนักสงฆ์ กม.๒๗ กรุงเทพมหานคร ส่วนท่านพระอาจารย์สาคร ก็มีนายอำเภอมานิมนต์ ให้ท่านไปเป็นเจ้าอาวาส ที่วัดภูซางใหญ่ จ.อุดรธานี แต่ท่านมิได้รับนิมนต์ไป ด้วยเมื่อหวนคิดถึง เมื่อครั้งท่านถูกขอตัว จากองค์หลวงปู่ฝั้น เพื่อไปอยู่ทางภาคตะวันตก “ด้วยแดนดินถิ่นนั้นขาดพระเณร ที่จะเป็นหลัก” ทำให้ท่านติดอยู่ในใจ ที่อยากจะไปช่วยเหลือ ทั้งในทางภาคอีสานนี้ ก็มีครูบาอาจารย์ พระเณรซึ่งเป็นหลักแก่พระพุทธศาสนา ให้พึ่งพิงมากมายอยู่แล้ว ท่านจึงคิดจะไปทางนั้นดู จึงได้กราบเรียนองค์หลวงปู่หลุย ซึ่งองค์หลวงปู่ก็อนุญาต ดังนั้นในคืนวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๑ อันวันรุ่งขึ้นองค์หลวงปู่จะเดินทางกลับไป จ.อุดรธานี ท่านพระอาจารย์สาคร จึงขอทำวัตรกับองค์หลวงปู่ โดยบอกแก่ญาติโยมที่นั้นว่า “เผื่อมันตายไป พรุ่งนี้ไม่ได้ไปกับหลวงปู่” นั่นก็เป็นที่แจ้งแก่ใจญาติโยม ที่เคารพนับถือ ในตัวท่านพระอาจารย์สาคร ว่าท่านจะไม่กลับไปด้วยแล้ว ก่อให้เกิดความอาลัย ร่ำไห้ออกมาหลายคน วันรุ่งขึ้น ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๑ ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ส่งองค์หลวงปู่หลุย ขึ้นรถไฟที่ดอนเมือง ครั้นถึงเวลารถออก ท่านก็กราบลาลงมา นับเป็นเวลา ๕ เดือนเต็ม ที่ท่านได้ทำอาจริยบูชา ปรนนิบัติดูแลองค์หลวงปู่หลุยโดยใกล้ชิด กำเนิดวัดเวฬุวัน เมื่อท่านพระอาจารย์สาคร ขอโอกาสกราบลาจากองค์หลวงปู่หลุยแล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร ได้พิจารณาแสวงหาที่ปฏิบัติธรรม โดยท่านได้เลือก ไปวิเวกทางจังหวัดกาญจนบุรี เพราะเห็นว่าสถานที่นั้น ยังไม่ค่อยมีพระปฏิบัติมาพักอยู่ ท่านจึงบอกกับลูกศิษย์ ให้ขับรถมารับ ที่วัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร เพื่อเดินทางไปทางจังหวัดกาญจนบุรี และได้มาส่งท่านถึงเพียงแค่ วัดพุทธวิมุติวนาราม อ.ไทรโยค ด้วยถนนเพิ่งสร้างมาสิ้นสุด ณ ตรงนั้น การเดินทางจึงต้องเดินทางต่อโดยทางเรือ จนถึงทองผาภูมิ ท่านจึงให้คณะที่มาส่งกลับไป เหลือแต่ท่านพระอาจารย์สาคร เดินทางต่อไปเพียงลำพัง เมื่อถึงทองผาภูมิ เนื่องจากท่านไม่รู้จักใคร ท่านจึงได้สอบถามหาโยม ผู้อุปถัมภ์วัดในละแวกนั้น ให้พาท่านไปดูถ้ำต่างๆ เพื่อเป็นที่พำนัก ปฏิบัติในพรรษาที่ใกล้จะมาถึง พวกโยมได้พาไปดูถ้ำหลายแห่ง จนในที่สุดท่านมาพบถ้ำแก่งกระโต่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เป็นที่จำพรรษาในคราวนั้นเอง
 ถ้ำแก่งกระโต่ง
องค์หลวงปู่ฝั้นพาสร้างวัดใหม่ คืนหนึ่งที่ถ้ำแก่งกระโต่ง ท่านพระอาจารย์สาครเข้าภาวนาตอนหัวค่ำอันเป็นปกติ ปรากฏว่าเมื่อจิตสงบแล้วในค่ำคืนนั้น ท่านได้นิมิตเห็นองค์หลวงปู่ฝั้นพาท่านและพระเณรสร้าง กุฏิพระ ศาลา ถนนหนทางในวัดแห่งหนึ่ง ท่านและพระเณรอื่นๆก็ช่วยกันสร้างอย่างแข็งขัน เฉกเช่นที่ท่านเคยช่วยงานก่อสร้างกับองค์หลวงปู่ฝั้นมาตามปกติ ท่านอยู่สร้างวัดนั้นนานเหมือนเป็นปี จนท่านคุ้นเคยกับสถานที่นั้นเป็นอย่างดี ด้วยต้องเดินไปทั่วเขตวัดเพื่อสำรวจทาง และหาไม้ หาฟืน อยู่ทุกวัน จนท่านจำได้ว่ามีถนน มีกุฏิ ศาลา อยู่อย่างไร มีคลองทางน้ำ มีต้นไม้อะไรอยู่ตรงไหน สิ่งหนึ่งที่ท่านจำได้ชัด คือบ่อพุน้ำที่มีปลาอาศัย มีต้นไม้ที่ไม่มีรากแก้วล้มอยู่ ด้านโคนต้นอยู่ที่บ่อพุน้ำทางปลาย พาดคลองชี้ไปทางทิศตะวันออก วันหนึ่ง หลังจาก พักทำงาน ขณะองค์หลวงปู่ฝั้นมาพักฉันน้ำ องค์หลวงปู่ก็พูดขึ้นกับท่านพระอาจารย์สาครว่า “ท่านอยู่ที่นี่นะ” ในนิมิตนั้น ท่านพระอาจารย์สาครได้ตอบไปว่า “กระผมไม่เอา กระผมจะกลับสกลนคร ที่นี่ลำบาก” ด้วยการตอบสวนคำ ที่ไม่เคยทำต่อองค์หลวงปู่ฝั้นมาก่อน จิตท่านจึงถอดออกทันที ซึ่งขณะนั้นเป็นเวลา ตี ๒ ล่วงเข้าวันใหม่ เมื่อมีโอกาสท่านพระอาจารย์สาครจึงสอบถามกับญาติโยมที่มีศรัทธามาทำบุญใส่บาตรว่า เคยเห็นสถานที่ที่มีลักษณะดังกล่าวหรือไม่ จนได้ความแล้วจึงได้ไปดู พบว่าสถานที่นั้นตรงกับในนิมิตทุกประการ ซึ่งขณะที่เดินไปนั้นท่านสามารถบอกล่วงหน้าได้ว่า ประเดี๋ยวตรงทางขึ้นวัดจะมีจอมปลวกและไม้แดงอยู่ ก็พบดังที่ท่านบอก และถัดไปจะมีต้นมะขามป้อม และมีคลองทางน้ำไหลมาจากบ่อพุน้ำด้านบน เดินไปตามคลองจะมีต้นฉะค่าง และเมื่อข้ามคลองไปจะเจอต้นแดงคู่อยู่ ก็เจอตามที่ท่านพูดเหมือนคุ้นเคยมาก่อน และเมื่อสุดคลองก็พบบ่อพุน้ำมีต้นไม้ล้มอยู่ในลักษณะที่ท่านเห็นในนิมิตทุกประการ ดังนั้น ท่านจึงตัดสินใจพาญาติโยมผู้มีศรัทธา เริ่มสร้างเสนาสนะตามที่องค์หลวงปู่ฝั้นบอกกับท่านในนิมิต และท่านได้อยู่จำพรรษา ณ สถานที่นี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๒ เรื่อยมา ต่อมาท่านได้สร้างเสนาสนะเพิ่มเติม จนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๓ ได้รับการประกาศจากกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งเป็นวัดในพระพุทธศาสนาโดยสมบูรณ์มีนามว่า วัดเวฬุวัน เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๓ และท่านพระอาจารย์สาครได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๗ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๑ และได้รับ พระราชทานเป็น พระครูภาวนาสุทธาจาร เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๑ นับจากวันที่ได้เริ่มสร้างวัดเวฬุวันเป็นต้นมา สถานที่แห่งนี้ได้สร้าง ได้อบรมพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และอบรมอุบาสก อุบาสิกา ให้ดำรงอยู่ในเส้นทางแห่งความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก อีกประการหนึ่งอาจเป็นจุดประสงค์ขององค์หลวงปู่ฝั้นที่ต้องการให้วัดเวฬุวันเป็นสถานที่คอยสนับสนุนพระเณรที่มุ่งต่อการประพฤติ ปฏิบัติธรรม เพราะหากพิจารณาสภาพผืนป่าที่เหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติในปัจจุบันนี้ก็จะเห็นว่า ผืนป่าภาคตะวันตกยังคงความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด และเป็นสถานที่สัปปายะอย่างยิ่ง ซึ่งตำแหน่งที่ตั้งของวัดเวฬุวันนั้น เป็นเหมือนประตูที่เข้าไปสู่ผืนป่าดังกล่าว องค์หลวงปู่ฝั้น จึงได้สั่งให้ ท่านพระอาจารย์สาครสร้างวัดขึ้น ณ ที่ตรงนี้ เพื่อความเจริญแก่พระเณร และพระพุทธศาสนาต่อไป
ประวัติบางส่วนของ ท่านพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ
ท่านพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ มีนามเดิมว่า สาคร แสงมุกดา เป็นบุตรคนที่ ๕ ในจำนวน ๗ คน ของ นายบู่ แสงมุกดา และนางบัวลา แสงมุกดา (สกุลเดิมของโยมแม่ ชามนตรี ทายาทอดีตเจ้าเมืองหนองบัวลำภูในยุคนั้น) ท่านเกิดเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๐ เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘ ปีระกา ที่บ้านโนนสงเปลือย ต.หนองบัว อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี (ปัจจุบันคือ ต. เหล่าโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู) การศึกษา ท่านเข้าเรียนที่โรงเรียนบ้านนาวังเวิน เมื่อจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ ก็มิได้ศึกษาต่อ ด้วยเหตุที่ทางบ้าน ไม่สนับสนุน ทั้งนี้เนื่องมาจาก การที่โยมตาของท่าน ซึ่งเคยรับราชการ ในตำแหน่งสูงด้วยความซื่อสัตย์ กลับถูกสอบสวนอย่างไม่เป็นธรรม จนถูกจำคุกอยู่ถึง ๒๐ ปี โยมตาจึงหมดความศรัทธา ในระบบราชการ จึงไม่สนับสนุนให้ศึกษาต่อ อีกทั้งโยมตาท่าน ก็อยากให้มาช่วยกันดูแล เรือกสวนไร่นา ของครอบครัวตนเองจะดีกว่า และโยมพ่อโยมแม่ก็เห็นดีด้วย ท่านพระอาจารย์สาคร ซึ่งโดยนิสัย เชื่อฟังผู้ใหญ่อยู่เป็นพื้น จึงไม่ได้กลับไปศึกษาต่อ แม้ครูจะมาตามให้กลับไปเรียนก็ตาม เป็นกำลังสำคัญของครอบครัว ด้วยทางบ้าน ถือได้ว่ามีฐานะ เพราะมีเรือกสวนไร่นา ทั้งสัตว์เลี้ยงที่ต้องดูแลมาก เมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว ท่านจึงช่วยทางบ้านอย่างแข็งขัน เมื่อถึงฤดูฝนก็ทำไร่ ทำนา และเมื่อหมดหน้านา ก็ต้องต้อนฝูงวัวควายไปขาย ต่างบ้าน และต้องคุม หมู ไก่ กลับมาขาย บางครั้ง ก็ตามโยมพ่อเข้าป่า ไปหาใบยาและของป่า เนื่องจากโยมพ่อเป็นหมอยา ท่านจึงได้ความรู้ เรื่องยาและสมุนไพร จากโยมพ่ออีกด้วย เห็นทุกข์ทางโลก ด้วยหมู่บ้านสมัยก่อน บ้านเรือนมักอยู่ไม่ห่างกันนัก มีอะไรก็ช่วยซึ่งกันและกัน บางครั้งคนในหมู่บ้านจะคลอดลูก ได้ยินเสียงร้องโอดโอยไปหลายหลังคาเรือน ท่านมีโอกาสได้ตามไปดู ได้เห็นความเจ็บปวดทุกขเวทนา ของหญิงที่จะกำลังคลอดลูก ทำให้ท่านรู้สึกกลัว อีกทั้งเมื่อท่านคิดถึงเด็กที่อยู่ในท้อง ที่ต้องไปขดอยู่ในที่แคบๆ เป็นเวลานาน ให้รู้สึกอึดอัดเป็นอย่างยิ่ง แค่คิดก็แย่แล้ว แต่นี่คนที่เกิดต้องทนอยู่ถึง ๙ เดือน และในบางครั้งการคลอดลูก แม่ตายบ้าง เด็กไม่รอดบ้าง บางทีก็ต้องมาตายทั้งแม่ทั้งลูก ด้วยการคิดพิจารณา จากประสบการณ์ที่รับรู้มา ทำให้ท่านเห็นว่า การเกิดนั้นเป็นทุกข์อย่างยิ่ง กอปรกับเมื่อท่านต้องช่วยทำงานไร่นาที่บ้าน อย่างเหน็ดเหนื่อย ทำให้ท่านเห็นว่า ชีวิตคนทางโลก ต้องทำมาหากินไม่หยุดหย่อน เพื่อหาเลี้ยงตนเองและครอบครัว แต่สุดท้ายแล้ว ก็ไม่มีอะไรเป็นสาระที่แท้จริง จะบวชเป็นท่านเจ้าคุณ ในวัยเด็กท่านมีโอกาสติดตามโยมแม่ และญาติใหญ่ ไปวัดโดยสม่ำเสมอ ด้วยมีญาติพี่น้องบวชอยู่ ท่านจึงคุ้นเคยกับชีวิตสมณะ นักบวช และเนื่องจากโยมพี่ชายของท่าน (หลวงตาวา) ได้บวชเป็นเณรอยู่วัดมหาชัย โยมแม่จึงได้อาศัย ใช้ท่านนำอาหารไปถวายเสมอ และท่านก็ได้เห็นเณรพี่ชายท่าน ต้องถูกฝึกหัดให้ทำงาน และรับใช้อุปัฎฐาก ท่านเจ้าคุณที่วัดอยู่ เป็นประจำ ทำให้ท่านเกิดความคิดว่า เมื่อท่านจะบวช ท่านจะไม่บวชเป็นเณร ท่านอยากจะบวชเป็นท่านเจ้าคุณ ออกบวช อำเภอหนองบัวลำภูในยุคนั้น อยู่บนเส้นทาง ที่พระวิปัสสนากัมมัฎฐานหลายรูป ใช้เป็นเส้นทางเดินธุดงค์ เพื่อไปฟังธรรมอบรมจากองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่จังหวัดสกลนคร และหลายท่าน ได้มาพักสร้างวัดในธรรมยุตินิกาย ที่เน้นการปฏิบัติธรรม ขึ้น ณ อำเภอนี้ ซึ่งญาติพี่น้องของท่านพระอาจารย์สาครเอง ก็ได้บวชเป็นพระเณรกันหลายท่าน บางท่านบวชเรียนสามารถสอบได้นักธรรม เปรียญธรรมประโยคต่างๆ บางท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นท่านเจ้าคุณ มีจริยวัตรงดงาม แสดงธรรมเทศนาได้ลึกซึ้ง น่าติดตาม ดังนั้นเมื่ออายุครบบวช ท่านพระอาจารย์สาคร จึงตัดสินใจ ขออนุญาติบิดามารดา ลาบวช เพื่อศึกษาธรรม ณ วัดมหาชัย ต.หนองบัว จ.อุดรธานี เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๘ โดยมี พระพิศาลคณานุกิจ เป็นพระอุปัชฌาย พระสมุห์คำบาล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาพุทธศาสนาว่า ธมมาวุโธ อันมีความหมายว่า ผู้มีธรรมเป็นอาวุธ สังกัดธรรมยุตนิกาย อยู่จำพรรษาแรก ณ วัดมหาชัย ต. หนองบัว อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี จะไม่อยู่ใกล้บ้าน เมื่อท่านบวชจำพรรษาแรกที่ วัดมหาชัย ใกล้บ้าน เพื่อโปรดญาติโยม และเมื่อทางบ้าน ได้อนุโมทนาการบวชของท่าน พอสมควรแล้ว ได้ขอให้ท่านลาสิกขาบทเพื่อ มาดูแลไร่นาและบ้านต่อไป หากแต่ด้วยท่านมีจิตใจที่มุ่งมั่นแล้ว ว่าจะบวช ดังนั้นท่านพระอาจารย์สาคร จึงผัดผ่อนเรื่อยมา หากญาติโยมมาตอนเช้า ท่านก็บอกให้รอตอนเย็นเสียก่อน หากญาติโยมมาตอนเย็น ท่านก็บอกให้รอเช้าเสียก่อน จนออกพรรษา ท่านจึงกราบลาอุปัชฌาย์ เดินทางเพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ต่อไป โดยท่านตั้งใจแน่วแน่ว่า จะไม่อยู่ในจังหวัดเลย อุดรธานี หนองคาย เพราะอยู่ใกล้บ้าน ใกล้ญาติโยมเกินไป แสวงหาครูบาอาจารย์ ตลอดพรรษา ปีพ.ศ. ๒๕๐๘ ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ และพระธรรมวินัยต่างๆ จนมีความเข้าใจเป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยสร้าง โบสถ์วัดมหาชัย จนลุล่วง ครั้นเมื่อออกพรรษา และได้ทำพิธีฉลองโบสถ์ในวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๙ แล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบลาพระอุปัชาฌาย์ เพื่อออกเดินทาง ไปกับท่านพระอาจารย์แถว โดยออกเดินทางโดยรถไฟ จาก จ.อุดรธานี แล้วไปเปลี่ยนรถไฟที่ภาชี เพื่อจะไปยังจ.พิษณุโลก เมื่อ ถึง จ.พิษณุโลกแล้ว ท่านจึงโดยสารรถยนต์ ต่อไปยังบ้านป่าหญ้าคา ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านพระอาจารย์แถว เพื่อทำกิจธุระ เมื่อทำธุระเสร็จแล้ว ท่านพระอาจารย์แถวจึงพาท่านลงมา ที่วัดนิรมลวัฒนา อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งท่านพระอาจารย์แถวเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ต่อมาในวันวิสาขบูชา ท่านพระอาจารย์สาครได้มีโอกาสพบ ท่านพระอาจารย์ทองดี ชุตินธโร เป็นครั้งแรก ซึ่งมาร่วมลงอุโบสถที่วัด และท่านพระอาจารย์สาคร ได้มีโอกาส พูดคุยกับท่านพระอาจารย์ทองดี เรื่องครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ สายองค์หลวงปู่มั่นภูริทัตโต ซึ่งขณะนั้น ครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ เริ่มทยอยเดินทาง กลับสู่ภาคอีสานแล้ว แต่เนื่องจากขณะนั้น ใกล้ฤดูการเข้าพรรษา ท่านพระอาจารย์สาคร จึงจำพรรษาที่วัดนิรมลวัฒนา กับท่านพระอาจารย์แถวก่อน กราบองค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เมื่อออกพรรษา ท่านพระอาจารย์สาคร จึงออกเดินทาง กลับจากจังหวัดเพชรบูรณ์ สู่ภาคอีสาน การเดินทาง ของท่านพระอาจารย์สาครคราวนั้น ท่านต้องเดินทางผ่าน จ.เลย ท่านจึงแวะกราบนมัสการ องค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ซึ่งขณะนั้นองค์หลวงปู่ชอบ พักอยู่ที่วัดม่วงไข่ อ.วังสะพุง จ.เลย เมื่อท่านพระอาจารย์สาคร เข้าไปกราบนมัสการองค์หลวงปู่ชอบ ซึ่ง ท่านมีจิตเมตตา ให้ท่านพระอาจารย์สาคร พักอยู่ด้วย พร้อมทั้งแนะนำ ให้อุบายธรรมต่างๆ ให้ท่านพระอาจารย์สาคร นำไปปฏิบัติ ทำให้ผลการปฏิบัติธรรม ของท่านพระอาจารย์สาคร มีความก้าวหน้า ขึ้นตามลำดับ ช่วงเวลาที่ท่านพระอาจารย์สาคร ได้พักอยู่กับองค์หลวงปู่ชอบนั้น ท่านต้องตื่นแต่ตี ๓ เพื่อมารองน้ำหมอกไว้เป็นน้ำฉัน ท่านกลางอากาศหนาวจัด ขนาดที่ว่ากำมือแล้ว ต้องเอามืออีกข้างหนึ่งมาแกะออก อีกทั้งเครื่องกันหนาวต่างๆ ก็มีไม่มากเหมือนยุคปัจจุบัน ในช่วงกลางวันที่ต้องทำงานก่อสร้าง ท่านพระอาจารย์สาครต้องหาฟืน และผ่าฟืนด้วย ท่านผ่าฟืนมากจนมือพอง จากมือพองจนมือแตก ในช่วงกลางคืน องค์หลวงปู่ จะพาพระเณรนั่งภาวนา ตั้งแต่ช่วงค่ำ จนกระทั่ง ๔ ทุ่ม จึงพาทำวัตรเย็น ในขณะที่พระเณรนั่งภาวนากันเงียบอยู่นั้น องค์หลวงปู่ก็จะสูบบุหรี่ ฉันหมาก และฉันหมาก สูบบุหรี่ สลับกันไป แต่หากใครพลิกขา หรือขยับแม้แต่นิดเดียว ท่านก็จะรู้ ท่านจะพูดว่า “พระพวกนี้เคารพขา มากกว่าเคารพธรรม อุตส่าห์แบกกลดแบกบาตร แสวงหาธรรม แต่เมื่อธรรมเกิดขึ้น กลับไม่ยอมพิจารณา” สิ่งเหล่านี้ เป็นตัวอย่างอุบาย ที่องค์หลวงปู่ชอบ ใช้อบรมสั่งสอนศิษย์ ท่านพระอาจารย์สาคร ได้อยู่ศึกษาปฏิบัติธรรม จากองค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม อยู่ช่วงระยะหนึ่ง ต่อมาองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ซึ่งขณะนั้นท่านพักอยู่ที่วัดกกกอก ต.งิ้วตาก อ.วังสะพุง จ.เลย ได้มีจดหมายนิมนต์พระเณรในแถบนั้น ไปร่วมงานทำบุญฉลองศาลา วัดกกกอก ท่านพระอาจารย์สาคร จึงได้ไปร่วมงาน และได้มีโอกาสกราบนมัสการ องค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ในครั้งนั้นด้วย อุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ในคราวที่ไปร่วมงานฉลองศาลาวัดกกกอกนั้น ท่านพระอาจารย์สาคร ได้มีโอกาสเข้ากราบนมัสการองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ต่อเมื่อเสร็จงานฉลองศาลาแล้ว เณรผู้ดูแลอุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย ต้องไปคัดเลือกทหาร ท่านพระอาจารย์สาคร จึงได้รับเมตตาจากององค์หลวงปู่หลุย ให้ทำหน้าที่นี้ พร้อมกับได้มีโอกาส ฟังพระธรรมาเทศนา อบรมสั่งสอน ฝึกความอดทน และรับการแนะนำ ธรรมภาคปฎิบัติ จากองค์หลวงปู่หลุยอีกด้วย การอยู่ดูแลรับใช้ อุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร นั้น ท่านพระอาจารย์สาคร ได้มีโอกาสติดตามองค์หลวงปู่ ออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆทั่วจังหวัดเลย และจังหวัดใกล้เคียง หลวงปู่หลุย จันทสาโร หลวงปู่ซามา อจฺตโต ธุดงค์กับองค์หลวงปู่หลุย ครั้งหนึ่งท่านพระอาจารย์สาคร มีโอกาสได้ธุดงค์ติดตามเพียงลำพัง ไปกับองค์หลวงปู่หลุย เมื่อองค์หลวงปู่ต้องเดินทาง ไปงานที่วัดท่าแขก โดยองค์หลวงปู่หลุยพาเดินทาง จากบ้านกกกอก ข้ามเขาลงมายังบ้านไร่ม่วง เพื่อกราบองค์หลวงปู่ซามา อจุตโต ที่วัดป่าอัมพวัน อ.เมือง จ.เลย ซึ่งระหว่างทางนั้นเอง ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ถูกฝึกความอดทน ความเพียร จากองค์หลวงปู่หลุยอย่างหนัก กล่าวคือ ครั้งหนึ่งซึ่งตรงกับวันโกน ในพระธรรมวินัย ซึ่งองค์หลวงปู่หลุย อนุญาตให้ท่านพระอาจารย์สาคร ปลงเกศา ให้องค์หลวงปู่จนเสร็จแล้ว องค์หลวงปู่ ก็ไปสรงน้ำชำระร่างกาย ท่านพระอาจารย์สาคร จึงเริ่มปลงเกศาของท่านเอง เมื่อท่านปลงเกศาไปได้เพียงครึ่งเดียว องค์หลวงปู่หลุยก็สรงน้ำเสร็จพอดี ท่านได้บอกกับท่านพระอาจารย์สาครว่า “เราออกเดินทางกันต่อไปเถอะ” คำว่า “ไป” ขององค์หลวงปู่หลุยนี้ ท่านมิได้เพียงแต่พูด ท่านได้ออกเดินทางไปจริงๆ ท่านพระอาจารย์สาคร จึงต้องหยุดการปลงเกศาตนเองไว้เท่านั้น รีบไปเก็บสัมภาระอัฐบริขารต่างๆ ทั้งของท่านเองกับขององค์หลวงปู่ด้วย ซึ่งมีถุงบาตร และ ย่าม อย่างละ ๒ ใบ แล้วรีบออกเดินทางต่อ เพื่อที่จะติดตามองค์หลวงปู่หลุยให้ทัน เมื่อเดินทันองค์หลวงปู่ หลุยแล้วท่านจึงเริ่มทำการปลงเกศาต่อ โดยใช้วิธีเดินไปปลงเกศาไป เพื่อปลงให้แล้วเสร็จก่อนถึงหมู่บ้าน ซึ่งครั้งนั้นเป็นการปลงเกศาที่ลำบากมาก เพราะมือข้างหนึ่งทำการปลงเกศา อีกข้างหนึ่ง ก็แบกย่ามกับถุงบาตรอีก ๒ ใบ ซึ่งโดยปกติการเดินปลงเกศา ก็เป็นเรื่องลำบากอยู่แล้ว แต่ท่านยังต้องสะพายของบนบ่าอีก จึงเป็นการเพิ่มความลำบาก ให้กับท่านยิ่งขึ้น ในครั้งนั้น ท่านจึงถูกมีดโกนบาด เสียหลายแผล เมื่อกราบลาองค์หลวงปู่ชามา อจุตโต แล้ว องค์หลวงปู่หลุย ได้พาเดินต่อไปยังถ้ำผาปู่ เพื่อกราบ องค์หลวงปู่คำดี ปภาโส และที่นี่ ท่านได้รับการฝึกอีกครั้งในระหว่างที่ พักอยู่ที่นี่ คือ โดยปกติแล้วหลังจาก ท่านทำอาจริยวัตร ถวายองค์หลวงปู่หลุยเสร็จ ในช่วงเช้า และองค์หลวงปู่ได้เข้าพักแล้ว โดยปกติองค์หลวงปู่จะออกมาอีกครั้ง ในเวลา ๒-๓ โมง ท่านพระอาจารย์สาคร จึงแยกไปภาวนาที่ถ้าผาปู่เพียงลำพัง สักครู่ที่ท่านเดินจงกรมภาวนาอยู่ ปรากฎว่าจิตท่านมีอาการผิดปกติ ข้างในมีอาการใจเต้นเร็ว ท่านเห็นผิดปกติ จึงออกจากการภาวนา เดินออกมา พอพ้นถ้ำเท่านั้นก็ได้ยินเสียงระฆัง อันเป็นสัญญาน เรียกพระเณรที่ถ้ำผาปู่ดังลั่นวัด ท่านจึงรีบมาทันที ปรากฏว่าองค์หลวงปู่หลุย เป็นผู้ตีระฆังเพื่อเรียกหาท่าน พระเณรออกมาดูกันทั้งวัด แต่เพราะท่านอยู่ในถ้ำ จึงไม่ได้ยินเสียงเลยแม้แต่น้อย องค์หลวงปู่จึงถามท่าน และบอกว่าจะเดินทางต่อ อันเป็นนิสัยการมาเร็วไปเร็ว ขององค์หลวงปู่ ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบเรียนถึงที่อยู่ และอาการของจิตท่าน องค์หลวงปู่จึงมิได้ต่อว่าอย่างไร นับเป็นอีกครั้ง ที่การภาวนา และความจดจ่ออยู่กับครูบาอาจารย์เสมอ ช่วยให้ท่านไม่ถูกตำหนิได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติอันพึงมี ในพระติดตามครูบาอาจารย์ต่อไป เมื่อออกจากวัดถ้ำผาปู่แล้ว ได้เดินธุดงค์ต่อไปยังวัดท่าแขก อันเป็นเป้าหมาย ท่านพระอาจารย์สาคร ได้อยู่ช่วยงานศพจนแล้วเสร็จ และเมื่อพระอุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย ได้มาถึงแล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบลาองค์หลวงปู่หลุย ที่วัดท่าแขกนี้เอง องค์หลวงปู่หลุย วางใจในท่านพระอาจารย์สาครแล้ว จึงอนุญาตให้ไปได้ ท่านจึงได้เดินทางย้อนกลับมา ยังถ้ำผาบิ้ง โดยหมายใช้เป็นที่วิเวกภาวนาต่อไป เวทนาทางกาย ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๐ ขณะที่ท่านพระอาจารย์สาคร ธุดงค์มาถึงที่ถ้ำผาบิ้ง ท่านได้พิจารณาพักอยู่ เพื่อภาวนาชั่วระยะหนึ่ง (ขณะนั้น องค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ยังไม่ได้อยู่ที่ถ้ำผาบิ้งนี้) ท่านได้ไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านน้ำทบ ได้เพียงข้าวเปล่าเท่านั้น และบางวันก็ได้พริกป่น กับเกลือมาด้วย ท่านก็ได้พิจารณาฉันตามฐานะนักบวช หากด้วยความไม่คุ้นเคย ทำให้ท่านปากพองแสบร้อนไปหมด จนแม้แต่ฉันน้ำ ก็ยังทรมาน เกิดเวทนาทางกายยิ่งนัก
เสือช่วย ตกคืนนั้นที่ท่านนั่งภาวนาอยู่ภายในถ้ำ ปรากฎมีเสียง สวบ สวบ ดั่งเสียงเสือเดินอยู่หน้าถ้ำ ด้วยความกลัวท่านจึงนั่งหลับตานิ่ง เร่งภาวนา พุทโธ พุทโธ อยู่ภายในใจ จนจิตสงบเงียบลงไป เหลือแต่มีความรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ขณะนั้นท่านพิจารณาร่างกาย สังขาร ข้อธรรมใดก็พิจารณาได้หมด จวบจนกระทั่งเช้าได้เวลาบิณฑบาต จึงได้ถอนออกจากการภาวนา นับเป็นเวลานานที่ผ่านไปอย่างรวดเร็ว นับจากที่ท่านได้เข้าภาวนา ขณะได้ยินเสียงเสือเมื่อราว ๑ ทุ่ม เมื่อท่านออกจากภาวนาแล้ว ก็ได้หวนคิดดื่มด่ำกับสิ่งที่เกิดขึ้น อัศจรรย์ว่า “ตัวเราภาวนาได้ขนาดนี้เชียวหรือ” และคิดว่า “ ถ้าเสือไม่ช่วยเราคงยังติดขัดอยู่” ขณะที่ภาวนานั้นก็ไม่รู้ เสือหายไปทางไหน เมื่อท่านมาดูอย่างละเอียด จนเข้าใจ่ว่า น่าจะเป็นบ่างมากินมะขามจากต้นหน้าถ้ำมากกว่า เช้านั้นท่านออกไปบิณฑบาต ก็ได้ข้าวกับพริกเกลือเช่นเดิม แต่ครั้งนี้ท่านฉันแล้วไม่รู้สึกแสบปาก แสบลิ้นดังที่เคย ท่านจึงได้อยู่ภาวนาต่อในถ้ำนี้ และตลอดเวลา ๒-๓ อาทิตย์ที่อยู่นั้น การภาวนาของท่านได้ผลดีเป็นอย่างยิ่งแต่เพราะมีนัดหมายกับท่านพระอาจารย์ทองดีไว้ ว่าจะไปพบกัน ที่วัดถ้ำกลองเพลจ.อุดรธานี ก่อนสิ้นเดือนเมษายน ทำให้ท่านต้องละจากถ้ำผ้าบิ้งนี้ไป จากถ้ำผาบิ้งไปวัดถ้ำกลองเพล หลังฉันเช้าเสร็จ ประมาณ ๙ โมงเช้า ท่านพระอาจารย์สาคร ออกเดินเท้าจากถ้ำผาบิ้ง เพื่อไปยังหมู่บ้านโนนสงเปลือย จ.หนองบังลำภู โดยมีระยะทางทั้งสิ้นกว่า ๙๕ กิโลเมตร ท่านเดินทางตามผ่านป่า ผ่านดงหนองไผ่ หากช่วงไหนเป็นหมู่บ้าน ท่านจะเดินเลี่ยงอ้อมเอา ท่านพระอาจารย์สาคร เดินภาวนาพุธโธไปตลอดระยะทาง ทำให้จิตสงบ กายเบา จิตเบา จนท่านสามารถเดินได้เร็วมาก โดยไม่เหน็ดเหนื่อยเลยแม้แต่น้อย ท่านมาถึงไร่โยมพ่อ บ้านโนนสงเปลือย เวลาบ่าย ๔ โมงเย็น ใช้เวลาเดินเท้าทั้งสิ้นเพียง ๗ ชั่วโมงเท่านั้น นับเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง เมื่อมาถึงไร่ ปรากฏว่าโยมพ่อกลับไปบ้านแล้ว ท่านจึงกางกลด พักอยู่ที่กระต๊อบในไร่นั้นเอง เช้าวันรุ่งขึ้น ได้บิณฑบาตโปรดโยม ที่บ้านโนนสงเปลือย แล้วไต่ถามได้ความว่า โยมพี่สะใภ้จะเดินทางไปอุดรธานีพอดี จึงนั่งรถโดยสารไปกับโยมพี่สะใภ้ เพื่อเดินทางต่อไปจนถึงวัดถ้ำกลองเพล
กราบองค์หลวงปู่ขาว อนาลโย เมื่อถึงวัดถ้ำกลองเพล (พุทธศักราช ๒๕๑๐) ท่านพระอาจารย์สาครได้เข้ากราบนมัสการองค์หลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งขณะนั้น กำลังอาพาธ และมีครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่สำคัญหลายองค์ มาถวายการดูแลองค์หลวงปู่ อันได้แก่ ท่านพระอาจารย์สุวัจน์ สุวโจ ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร ท่านพระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต ซึ่งถือว่าเป็นโชคดี ของท่านพระอาจารย์สาคร ที่ได้มีโอกาสรับใช้ ครูบาอาจารย์องค์สำคัญ ในคราวนั้นด้วย หลังจากที่ได้พบ กับท่านพระอาจารย์ทองดี ที่วัดถ้ำกลองเพล ตามที่ได้นัดหมายไว้ จึงได้กราบลาองค์หลวงปู่ขาวอนาลโย เพื่อออกเดินทางต่อไป
กราบองค์หลวงปู่ฝั้นครั้งแรก ท่านพระอาจารย์สาคร ออกเดินทางจากวัดถ้ำกลองเพล พร้อมท่านพระอาจารย์ทองดี โดยได้พาท่านพระอาจารย์สาคร ไปงานศพท่านพระอาจารย์สีลา อิสสโร อุปัชฌาย์ของท่านพระอาจารย์ทองดี ที่สำนักงานสงฆ์วัดโพธิ์ชัย ตำบลวาใหญ่ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร และที่นี้เอง ที่ท่านพระอาจารย์สาคร ได้พบองค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นครั้งแรก ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ระลึกถึงคำขององค์หลวงปู่หลุย ที่บอกว่าองค์หลวงปู่ฝั้น เป็นพระที่ได้รับการยกย่อง จากองค์หลวงปู่มั่น ในด้านความสามารถ ทางด้านจิตใจ ทั้งองค์หลวงปู่หลุย แม้พรรษาจะมากกว่าองค์หลวงปู่ฝั้น ก็เรียกองค์หลวงปู่ฝั้น ด้วยความเคารพว่า “อาจารย์ใหญ่” ดังนั้นองค์หลวงปู่ฝั้น จึงเป็นพระผู้ที่มีความสำคัญมาก ทั้งท่านพระอาจารย์ทองดี ก็สนับสนุนให้ไปอยู่กับองค์หลวงปู่ฝั้น โดยให้เหตุผลว่า ที่นั้นมีตั้ง ๒ วัด หากไม่พอใจในวัดป่าอุดมสมพร ก็สามารถขึ้นเขาไปอยู่ที่ถ้ำขามได้ ดังนั้น เมื่อเสร็จจากงานศพท่านพระอาจารย์สีลา แล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร ได้แยกกับ ท่านพระอาจารย์ทองดี ที่นี่เอง โดยท่านตั้งจุดหมายการเดินทาง ต่อไป ยังวัดป่าอุดมสมพร อ.พรรนานิคม จังหวัดสกลนคร เพื่อกราบถวายตัวเป็นลูกศิษย์ ขององค์หลวงปู่ฝั้นต่อไป ถึงวัดป่าอุดมสมพร ลุถึงวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ พุทธศักราช ๒๕๑๐ อันเป็นวันลงอุโบสถ ท่านก็ถึงวัดป่าอุดมสมพร ได้กราบองค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และนับจากวันนั้น ท่านได้อยู่ถวายตัว เป็นศิษย์องค์หลวงปู่ฝั้นมาตลอด ขณะนั้นที่วัดป่าอุดมสมพร มีพระอยู่เพียง ๕ รูป และเณรอีก ๑ รูป คือ ๑.องค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ๒.ท่านพระอาจารย์แปลง สุนฺทโร ๓.หลวงตาพรหม ๔.หลวงตาไข ๕.หลวงตาอ่อน และเณร ด้วยขณะนั้น ท่านพระอาจารย์ปิ่น ปิยธัมโม ไม่อยู่ และท่านพระอาจารย์อุทัย สิริธโร ยังไม่ลงมาจากถ้ำขาม ทั้งท่านพระอาจารย์แปลง ก็มีภาระดูแลงานอื่นเป็นจำนวนมาก คงมีหลวงตาอ่อน ดูแลอุปัฏฐากองค์หลวงปู่ฝั้น อยู่ผู้เดียว ท่านพระอาจารย์สาคร จึงได้เข้าช่วยงาน หลวงตาอ่อนอีกแรงหนึ่ง นับจากนั้น ท่านก็ได้รับหน้าที่ ดูแลอุปัฏฐากองค์หลวงปู่ฝั้น มาโดยตลอด จากการที่มีโอกาสรับใช้ใกล้ชิด องค์หลวงปู่ฝั้น และได้รับฟังโอวาท ได้เห็นจริยาวัตรอันงดงาม ทั้งข้อปฏิบัติที่เพียบพร้อม ทำให้ท่านพระอาจารย์สาคร เกิดความศรัทธาและลงใจ ในองค์หลวงปู่ฝั้นเป็นอย่างยิ่ง แม้เพิ่งจะมาถวายตัวรับใช้กับองค์หลวงปู่ เพียงไม่นาน
เพชรบนยอดมงกุฎแห่งเมืองเลย มาวัดป่าอุดมสมพร ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ พุทธศักราช ๒๕๑๐ หลังจากพำนักอยู่กับองค์หลวงปู่ฝั้นเพียง ๗ วัน องค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม และองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ได้เดินทางมาเยี่ยมองค์หลวงปู่ฝั้น และรอลงอุโบสถร่วมกันในวันวิสาขบูชา ที่วัดป่าอุดมสมพร เมื่อองค์หลวงปู่ท่าน ได้กราบคารวะกันแล้ว องค์หลวงปู่หลุยเห็นท่านพระอาจารย์สาคร กำลังจัดอาสนะอยู่นั้น ท่านจึงกล่าวขึ้นกับองค์หลวงปู่ฝั้นว่า “พระองค์นี้เคยอยู่กับผมมาก่อน” องค์หลวงปู่ชอบก็ได้กล่าวขึ้นด้วยว่า “เคยอยู่กับผมเหมือนกันพระองค์นี้” ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบเรียนองค์หลวงปู่ฝั้นว่า ท่านเคยอยู่กับองค์หลวงปู่ชอบมาก่อนที่วัดป่าม่วงไข่ แล้วจึงมาอยู่กับองค์หลวงปู่หลุย ที่บ้านกกกอก หลังจากลงอุโบสถ ในวันวิสาขบูชา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อองค์หลวงปู่ชอบ และ องค์หลวงปู่หลุย ได้กลับไปแล้ว นับจากวันนั้นมา ท่านพระอาจารย์สาครเปรียบว่า เหมือนผ้าเช็ดหน้า จะบิดให้ขาดเสียให้ได้ องค์หลวงปู่ฝั้น เปลี่ยนจากองค์หลวงปู่องค์เดิม อย่างสิ้นเชิง หันมาเข้มงวด กับท่านพระอาจารย์สาครมากขึ้น หากมีอะไรผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ก็จะค่อยดุว่า ไม่ปล่อยให้ความผิดพลาดนั้นผ่านไปเฉยๆ บางครั้งความผิดพลาดของท่าน ก็นำมาเทศน์บนศาลา เทศน์กันเป็นอาทิตย์ๆเป็นเดือนๆ ในความผิดนั้นๆ ทั้งนี้คงเป็นเจตนาขององค์หลวงปู่ฝั้น ที่ต้องการทดสอบความเข้มแข็ง ทางจิตใจของลูกศิษย์ และต้องการให้ศิษย์ได้ดีในทางธรรม อยากหนี จากการที่องค์หลวงปู่ฝั้นเข้มงวดกวดขัน ท่านพระอาจารย์สาคร ไม่ว่าท่านพระอาจารย์สาครจะทำอะไร ดูเหมือนจะผิดไปหมด กลับถูกเข่น ถูกว่าสารพัด เผลอสติเป็นไม่ได้ ไม่เพียงท่านที่ถูกเข่นเท่านั้น เณรที่รับใช้องค์หลวงปู่ ก็ได้รับความเข้มงวด จนเณรร้องไห้อยู่แทบทุกวัน กระนั้น วันหนึ่งท่านติดขัด เรื่องการจัดยาให้หลวงปู่จึงถามเณร เณรก็ยังตอบว่า “ครูบาเอาตามาด้วยหรือเปล่า ครูบาเอาหูมาด้วยหรือเปล่า” ทำให้ท่านอึดอัดขัดข้องยิ่งขึ้นไปอีก ขณะนั้นท่านคิดว่า “ต่อไปไม่ว่างานเรื่องอะไรในวัดนี้ เราจะต้องเรียนรู้ให้หมดให้ได้” ในแต่ละวัน ไม่ว่าใครจะทำอะไร ผิดมาในวันนั้นก็ดี หรือเหตุเก่าก็ดี พอขึ้นศาลาองค์ หลวงปู่ต้องดุว่า แต่ท่านพระอาจารย์สาครองค์เดียว ทำให้ท่านคิดเบื่อหน่าย อยากจะหนีเป็นที่สุด กำหราบความคิด เมื่อท่านมีความคิดอยากหนีวันไหน พอขึ้นไปบนกุฏิองค์หลวงปู่ฝั้น เพื่อทำอาจริยาวัตรปกติ บางครั้งยังไม่ทันจะนั่งกราบเลย องค์หลวงปู่ ก็พูดขึ้นว่า “จะไปไหนก็ผีตัวเก่า ถ้าไม่ตั้งใจภาวนา จะอยู่ที่ไหนก็ผีตัวเก่า” พออีก ๒-๓ วันคิดจะไปอีก องค์หลวงปู่ก็พูดขึ้นอีก ทำให้ใจท่าน ไม่คิดฟุ้งไปกว่านี้ บางครั้งใจก็คิดอยากจะไปดูถ้ำขามบ้าง ว่าเป็นอย่างไร อยากไปดูวัดดอยธรรมเจดีย์บ้าง ว่า เป็นอย่างไร พอขึ้นกุฏิ องค์หลวงปู่ ก็จะเล่าเรื่องวัดนั้นๆให้ฟังทันที ทำให้ท่านต้องคอยสำรวม ระมัดระวังความคิด อยู่ตลอดเวลา
หมาแทะกระดูก บ่อยครั้งเมื่อลูกศิษย์คิดถึงบ้าน องค์หลวงปู่ฝั้นจะเมตตายกเรื่อง ของท่านขึ้นเทศน์ให้ฟัง ถึงเมื่อครั้งองค์ท่านเองก็เคยเบื่อหน่าย ท้อแท้ จนคิดจะกลับบ้านเช่นกัน วันหนึ่งขณะที่องค์หลวงปู่ เดินบิณฑบาตอยู่นั้น เห็นหมาตัวหนึ่งเดินตามเจ้าของอยู่ สักพักมันเจอกระดูกเก่าท่อนหนึ่ง มันก็หยุดแทะตามประสาหมา แต่เจ้าของก็เดินต่อไป มันแทะอยู่สักพัก ก็วิ่งตามเจ้าของไป แต่แล้วก็หันวิ่งกลับมาแทะต่ออีก แล้วก็วิ่งกลับไปหาเจ้าของอีก กลับไปกลับมาอยู่หลายครั้ง จนเจ้าของเดินไกลออกไปมากแล้ว มันจึงได้วิ่งตามเจ้าของไปอย่างอาลัย องค์หลวงปู่เห็นอาการมันแล้ว ก็กลับมานึกเป็นธรรม อบรมตัวองค์ท่านได้ว่า “การอาลัยในบ้านขององค์ท่าน ก็เหมือนหมาตัวนั้น ที่อาลัยในกระดูกเก่าอันจืดชืด แต่มันไม่รู้ว่ากระดูกนั้นไม่มีรสอะไรแล้ว ที่หลงอยู่ ก็หลงในน้ำลายของตัวเองเท่านั้น ชีวิตทางโลก ก็เหมือนกระดูกเก่าที่หาค่า อันใดมิได้ ความหลงในสิ่งที่ฉาบทาไว้ ก็เหมือนหมาที่หลงอร่อยน้ำลายตัวเอง” เมื่อองค์หลวงปู่ ท่านพิจารณาได้เช่นนั้น ก็วางความคิดถึงบ้านลงได้ ท่านพระอาจารย์สาคร ก็ได้ธรรมข้อนี้ ช่วยให้ท่านผ่านพ้นมาได้ ท่านจึงซาบซึ้ง ถึงพระคุณขององค์หลวงปู่ฝั้น อย่างถึงที่สุด ว่าทางหนึ่ง ท่านก็เข่นเอาเต็มที่ แต่อีกทางหนึ่งก็เมตตา คอยประคับประคอง หาอุบายธรรมช่วยเหลือเต็มที่เช่นกัน ปัจจุบันหากท่านพระอาจารย์สาคร เดินทางไปกราบนมัสการ เจดีย์องค์หลวงปู่ฝั้น ที่วัดป่าอุดมสมพร ท่านจะต้องไปดูภาพแกะสลักเรื่อง “หมาแทะกระดูก” ที่ฐานองค์เจดีย์ ด้วยความระลึกซาบซึ้งในพระคุณ อยู่ทุกครั้งไป
ศึกษาปฏิบัติธรรม และอุปัฏฐาก องค์หลวงปู่ฝั้น เมื่อท่านพิจารณาเข้าใจถึงความเมตตา ขององค์หลวงปู่ฝั้นแล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร ก็ตั้งใจอยู่รับการอบรมอย่างถึงที่สุด คราวนี้ ท่านกลับกลัวองค์หลวงปู่ฝั้นไล่หนีเอา ทั้งนี้ด้วยเห็นพระบางองค์ ถูกองค์หลวงปู่ไล่หนี บางองค์มาถึงวัด ยังไม่ทันแก้บาตรเลย ก็ถูกบอกให้หลีกไปที่อื่นแล้ว ท่านจึงอยู่ด้วยความระมัดระวัง ในเรื่องข้อวัตรปฏิบัติให้ดีที่สุด ท่านพระอาจารย์สาคร คอยปฏิบัติองค์หลวงปู่ฝั้นอย่างใกล้ชิด ดุจเป็นเงาขององค์หลวงปู่ ท่านจะดูแลองค์หลวงปู่ฝั้นตั้งแต่ตอนที่ องค์หลวงปู่ตื่นขึ้นมา โดยจะเข้าไปถวายน้ำล้างหน้า ไม้สีฟัน เปลี่ยนกระโถน รับผ้าจีวรมาที่ศาลา ตอนบิณฑบาตรจะช่วยองค์หลวงปู่ ครองผ้ากลัดรังดุม และคอยส่งบาตร รับบาตรองค์หลวงปู่ แล้วรีบกลับมาเตรียมน้ำอุ่น ล้างเท้าให้องค์หลวงปู่ แล้วจึงคอยเช็ดเท้าให้แห้ง เวลาฉันอาหาร ท่านพระอาจารย์สาคร จะเป็นผู้จัดอาหารถวาย ทั้งนี้เพราะ องค์หลวงปู่ฝั้นท่านไม่จัดอาหารเอง แม้ในคราวที่มีนิมนต์ไปฉันข้างนอกก็ตาม ท่านพระอาจารย์สาคร จะขอโอกาสพระเถระองค์อื่น เพื่อจะได้นั่งใกล้องค์หลวงปู่ฝั้น เพื่อคอยจัดอาหารถวาย ท่านพระอาจารย์สาคร ต้องฉันให้เสร็จก่อนองค์หลวงปู่ เพื่อจะได้นำบาตรของตนไปล้างก่อน แล้วจึงนำบาตรขององค์หลวงปู่ไปล้าง แล้วนำมาเช็ดให้แห้ง ก่อนนำไปผึ่งไว้ แล้วรีบกลับมาถวายไม้สีฟัน ถวายยา เก็บของ เก็บกระโถน รับผ้าจีวร แล้วรีบนำบริขารขององค์หลวงปู่ ไปเก็บไว้ที่กุฏิ แล้วมาคอยเป็นปัจฉาสมณะ ดูแลองค์หลวงปู่ ถ้ามีงานภายในวัด ท่านจะกราบเรียนขอโอกาสไว้ แล้วไปทำงานนั้นๆจนเสร็จ ซึ่งงานส่วนมาก เป็นงานที่คนอื่นไม่กล้าทำ แต่ด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว ท่านจะรับอาสาทำเสมอ อาทิ ตอนที่แบกเสากุฏิ ท่านบอกว่า ถ้าแบกเสา ๑ ต้น ทีละ ๒ คน แต่ถ้าแบก ๓ คน ๒ ต้นน่าจะดีกว่า โดยท่านพระอาจารย์สาคร ท่านรับเป็นคนที่อยู่ตรงกลาง ยอมแบกคนเดียว ๒ ต้น เป็นต้น นอกจากนี้ท่านยังดูแลรักษาเสนาสนะ ร่วมทำงานก่อสร้าง ภายในวัดและภายนอกวัด เช่นงานสร้างเจดีย์ที่หลังกุฏิองค์หลวงปู่ฝั้น งานสร้างถนนวัดถ้ำขาม งานสร้างศาลาวัดถ้ำขาม งานสร้างเขื่อนกั้นน้ำอูน และสะพานบ้านบะทอง งานสร้างโรงพยาบาลหลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นต้น เมื่อถึงตอนเย็น ท่านพระอาจารย์สาคร จะคอยดูแลสรงน้ำองค์หลวงปู่ เมื่อองค์หลวงปู่สรงน้ำเสร็จ ต้องรีบเช็ดพื้นห้องน้ำให้แห้ง เพราะเป็นพื้นไม้ ตอนกลางคืน ต้องทำวัตรสวดมนต์ และรับฟังโอวาทที่ศาลา เมื่อเลิกท่านก็ไปที่กุฏิองค์หลวงปู่ เพื่อไปส่งย่าม และคอยจับเส้นถวายองค์หลวงปู่ กว่าจะเลิก บางคืนก็เที่ยงคืน บางคืนล่วงไปจนถึงตีหนึ่ง เมื่อลงจาก กุฏิท่านจะลงไปเดินจงกรมต่อ แล้วจึงเข้าพัก บางคืน ท่านจะเดินจนถึงเวลาที่องค์หลวงปู่ตื่น ซึ่งโดยปกติแล้ว องค์หลวงปู่ฝั้นจะเข้าพักไม่นาน เมื่อองค์หลวงปู่ฝั้นท่านตื่น ท่านพระอาจารย์สาคร ก็จะรีบเข้าไปถวายน้ำล้างหน้าอีก ในข้อวัตรต่างๆเหล่านี้ ท่านถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด อยู่ตลอดเวลา ซึ่งท่านพระอาจารย์สาคร จะมีคติสั้นที่ยึดปฏิบัติว่า “นอนทีหลัง ตื่นก่อน ฉันทีหลัง อิ่มก่อน” นอกเหนือจาก การมีข้อวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดแล้ว ในการเดินทาง แม้จะมีเป้าหมายที่แน่นอน หากด้วยบนหนทาง ย่อมต้องพบเครื่องกีดขวางอยู่บ้าง การจะฝ่าฟันไปได้นั้น ท่านพระอาจารย์สาคร ยังมีองค์พระพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือ ยามที่ท่านพบกับปัญหา ไม่ว่าทางด้านใดๆก็ดี ท่านได้มี องค์หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ ท่านพระอาจารย์แปลง สุนฺทโร ท่านพระอาจารย์เขี่ยม โสรโย ท่านพระอาจารย์อุทัย สิริธโร และท่านพระอาจารย์คำดี ปัญโญภาโส คอยเมตตาช่วยเหลือ ทำให้การปฏิบัติธรรม ของท่านพระอาจารย์สาคร ดำเนินไปอย่างราบรื่น ซึ่งท่านพระอาจารย์สาคร ก็ได้ซาบซึ้งในพระคุณ ของท่านพระเถระทุกองค์นี้เสมอ ดังนั้นนอกจากท่านจะไปกราบเยี่ยมแล้ว หากท่านสามารถจัดทำธุระสิ่งใด เพื่อตอบแทนได้ ท่านก็จะทำทันที
หลวงปู่สุุวัจน์ สุวโจ พระอาจารย์แปลง สุนฺทโร พระอาจารย์เขี่ยม โสรโย
พระอาจารย์อุทัย สิริธโร พระอาจารย์คำดี ปัญโญภาโส
มั่นใจว่าจะไม่ถูกไล่หนี ถึงแม้ท่านจะตั้งใจปฏิบัติข้อวัตร และทำงานทุกอย่าง เต็มกำลังสติปัญญาความสามารถ หากแต่ยังหวั่นกลัวองค์หลวงปู่ฝั้นจะไล่หนีเอา จนวันหนึ่ง มีสิ่งที่ทำให้ท่าน รับรู้และมั่นใจว่าจะไม่ถูกไล่หนี กล่าวคือ ในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ท่านเจ้าคุณ ซึ่งเคารพองค์หลวงปู่ฝั้น ได้มากราบเยี่ยมองค์หลวงปู่ และปรารภขึ้นว่า ทางภาคตะวันตกของประเทศ นั้นยังมีพระกัมมัฏฐานน้อย ทั้งที่ดินแดนแถบนั้น ยังมีป่าอันสัปปายะอุดมสมบูรณ์อยู่ แม้ขณะนั้น จะมีท่านพระอาจารย์มหาปิ่นอยู่ แต่ท่านก็อาพาธ จึงอยากจะขอพระจากองค์หลวงปู่ ไปอยู่เป็นหลัก ให้แก่พระและญาติโยม ทางด้านนั้นบ้าง องค์หลวงปู่ฝั้นจึงถามว่า คิดจะเอาใครไป ท่านเจ้าคุณ ซึ่งได้เคยเห็นอาจริยวัตร และฝีมือการทำงาน ในตัวท่านพระอาจารย์เป็นประจักษ์แล้ว จึงกล่าวขอตัวท่านพระอาจารย์ กับองค์หลวงปู่ฝั้น ซึ่งองค์หลวงปู่ฝั้น ก็ไม่อนุญาตให้ไป การที่องค์หลวงปู่ฝั้นท่านกล่าว ไม่อนุญาตนั้น ก็มีความหมายเป็นนัย ให้ท่านพระอาจารย์สาครรับรู้ได้ว่า แม้องค์หลวงปู่ฝั้นจะดุ จะว่าเอา แต่องค์หลวงปู่ท่านก็ได้รับรู้ถึง ความเอาใจใส่ ไม่ละวางการงาน ในตัวลูกศิษย์ผู้นี้อยู่เสมอ ซึ่งก็เพียงพอ ให้ท่านพระอาจารย์สาครซาบซึ้ง และเป็นกำลังใจ ให้ท่านยิ่งทุ่มเท แรงกายแรงใจถวายองค์หลวงฝั้นยิ่งขึ้นไป เมื่อองค์หลวงปู่ฝั้นอาพาธ ในปีพ.ศ. ๒๕๑๙ ท่านพระอาจารย์สาคร เป็นพระรูปหนึ่ง ในแปดรูป ที่ได้รับคัดเลือก ให้ดูแลองค์หลวงปู่ จากพระจำนวนร้อย ซึ่งท่านทำหน้าที่ คอยดูแลออกซิเจนให้องค์หลวงปู่ และถวายอาหาร ให้องค์หลวงปู่ในตอนเช้าด้วย จวบจนกระทั่ง องค์หลวงปู่ฝั้นท่านมรณภาพ ในวันอังคารที่ ๔ เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ ณ กุฏิวัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร หลังจากเสร็จพิธี พระราชทานเพลิงศพองค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านพระอาจารย์สาคร ได้เดินทางธุดงค์ แสวงหาที่ปฏิบัติธรรม เพื่อที่จะได้เร่งบำเพ็ญภาวนา ตามแนวทางคำสั่งสอนจากครูบาอาจารย์ ที่ท่านได้เมตตาอบรมแนะนำธรรม ละจากแดนดินอีสานสู่ภาคตะวันตก เมื่อสิ้นองค์หลวงปู่ฝั้น และเสร็จงานพระราชทานเพลิงศพแล้ว ในวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๑ ท่านก็ละจากวัดป่าอุดมสมพร เพื่อเดินทางไป อุปัฏฐากองค์หลวงปู่หลุย เพื่อเป็นอาจริยบูชา ที่องค์หลวงปู่หลุยเคยเมตตา ฝึกหัดอบรมแก่ท่าน ในโอกาสนี้ ท่านจึงมีโอกาสติดตามธุดงค์อีกครั้ง ไปกับองค์หลวงปู่หลุย ทุกจังหวัดทางภาคเหนือ และองค์หลวงปู่หลุย ได้พากราบเยี่ยมยังสถานที่ และวัดสำคัญอันองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้เคยมาเผยแพร่หลักธรรม คำสอนอยู่ เมื่อใกล้เข้าพรรษา องค์หลวงปู่หลุย ซึ่งได้พิจารณารับนิมนต์ ไปจำพรรษาที่หนองแซง จ.อุดรธานี ก็เดินทางกลับลงมา และแวะโปรดญาติโยม ที่สำนักสงฆ์ กม.๒๗ กรุงเทพมหานคร ส่วนท่านพระอาจารย์สาคร ก็มีนายอำเภอมานิมนต์ ให้ท่านไปเป็นเจ้าอาวาส ที่วัดภูซางใหญ่ จ.อุดรธานี แต่ท่านมิได้รับนิมนต์ไป ด้วยเมื่อหวนคิดถึง เมื่อครั้งท่านถูกขอตัว จากองค์หลวงปู่ฝั้น เพื่อไปอยู่ทางภาคตะวันตก “ด้วยแดนดินถิ่นนั้นขาดพระเณร ที่จะเป็นหลัก” ทำให้ท่านติดอยู่ในใจ ที่อยากจะไปช่วยเหลือ ทั้งในทางภาคอีสานนี้ ก็มีครูบาอาจารย์ พระเณรซึ่งเป็นหลักแก่พระพุทธศาสนา ให้พึ่งพิงมากมายอยู่แล้ว ท่านจึงคิดจะไปทางนั้นดู จึงได้กราบเรียนองค์หลวงปู่หลุย ซึ่งองค์หลวงปู่ก็อนุญาต ดังนั้นในคืนวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๑ อันวันรุ่งขึ้นองค์หลวงปู่จะเดินทางกลับไป จ.อุดรธานี ท่านพระอาจารย์สาคร จึงขอทำวัตรกับองค์หลวงปู่ โดยบอกแก่ญาติโยมที่นั้นว่า “เผื่อมันตายไป พรุ่งนี้ไม่ได้ไปกับหลวงปู่” นั่นก็เป็นที่แจ้งแก่ใจญาติโยม ที่เคารพนับถือ ในตัวท่านพระอาจารย์สาคร ว่าท่านจะไม่กลับไปด้วยแล้ว ก่อให้เกิดความอาลัย ร่ำไห้ออกมาหลายคน วันรุ่งขึ้น ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๑ ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ส่งองค์หลวงปู่หลุย ขึ้นรถไฟที่ดอนเมือง ครั้นถึงเวลารถออก ท่านก็กราบลาลงมา นับเป็นเวลา ๕ เดือนเต็ม ที่ท่านได้ทำอาจริยบูชา ปรนนิบัติดูแลองค์หลวงปู่หลุยโดยใกล้ชิด กำเนิดวัดเวฬุวัน เมื่อท่านพระอาจารย์สาคร ขอโอกาสกราบลาจากองค์หลวงปู่หลุยแล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร ได้พิจารณาแสวงหาที่ปฏิบัติธรรม โดยท่านได้เลือก ไปวิเวกทางจังหวัดกาญจนบุรี เพราะเห็นว่าสถานที่นั้น ยังไม่ค่อยมีพระปฏิบัติมาพักอยู่ ท่านจึงบอกกับลูกศิษย์ ให้ขับรถมารับ ที่วัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร เพื่อเดินทางไปทางจังหวัดกาญจนบุรี และได้มาส่งท่านถึงเพียงแค่ วัดพุทธวิมุติวนาราม อ.ไทรโยค ด้วยถนนเพิ่งสร้างมาสิ้นสุด ณ ตรงนั้น การเดินทางจึงต้องเดินทางต่อโดยทางเรือ จนถึงทองผาภูมิ ท่านจึงให้คณะที่มาส่งกลับไป เหลือแต่ท่านพระอาจารย์สาคร เดินทางต่อไปเพียงลำพัง เมื่อถึงทองผาภูมิ เนื่องจากท่านไม่รู้จักใคร ท่านจึงได้สอบถามหาโยม ผู้อุปถัมภ์วัดในละแวกนั้น ให้พาท่านไปดูถ้ำต่างๆ เพื่อเป็นที่พำนัก ปฏิบัติในพรรษาที่ใกล้จะมาถึง พวกโยมได้พาไปดูถ้ำหลายแห่ง จนในที่สุดท่านมาพบถ้ำแก่งกระโต่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เป็นที่จำพรรษาในคราวนั้นเอง
 ถ้ำแก่งกระโต่ง
องค์หลวงปู่ฝั้นพาสร้างวัดใหม่ คืนหนึ่งที่ถ้ำแก่งกระโต่ง ท่านพระอาจารย์สาครเข้าภาวนาตอนหัวค่ำอันเป็นปกติ ปรากฏว่าเมื่อจิตสงบแล้วในค่ำคืนนั้น ท่านได้นิมิตเห็นองค์หลวงปู่ฝั้นพาท่านและพระเณรสร้าง กุฏิพระ ศาลา ถนนหนทางในวัดแห่งหนึ่ง ท่านและพระเณรอื่นๆก็ช่วยกันสร้างอย่างแข็งขัน เฉกเช่นที่ท่านเคยช่วยงานก่อสร้างกับองค์หลวงปู่ฝั้นมาตามปกติ ท่านอยู่สร้างวัดนั้นนานเหมือนเป็นปี จนท่านคุ้นเคยกับสถานที่นั้นเป็นอย่างดี ด้วยต้องเดินไปทั่วเขตวัดเพื่อสำรวจทาง และหาไม้ หาฟืน อยู่ทุกวัน จนท่านจำได้ว่ามีถนน มีกุฏิ ศาลา อยู่อย่างไร มีคลองทางน้ำ มีต้นไม้อะไรอยู่ตรงไหน สิ่งหนึ่งที่ท่านจำได้ชัด คือบ่อพุน้ำที่มีปลาอาศัย มีต้นไม้ที่ไม่มีรากแก้วล้มอยู่ ด้านโคนต้นอยู่ที่บ่อพุน้ำทางปลาย พาดคลองชี้ไปทางทิศตะวันออก วันหนึ่ง หลังจาก พักทำงาน ขณะองค์หลวงปู่ฝั้นมาพักฉันน้ำ องค์หลวงปู่ก็พูดขึ้นกับท่านพระอาจารย์สาครว่า “ท่านอยู่ที่นี่นะ” ในนิมิตนั้น ท่านพระอาจารย์สาครได้ตอบไปว่า “กระผมไม่เอา กระผมจะกลับสกลนคร ที่นี่ลำบาก” ด้วยการตอบสวนคำ ที่ไม่เคยทำต่อองค์หลวงปู่ฝั้นมาก่อน จิตท่านจึงถอดออกทันที ซึ่งขณะนั้นเป็นเวลา ตี ๒ ล่วงเข้าวันใหม่ เมื่อมีโอกาสท่านพระอาจารย์สาครจึงสอบถามกับญาติโยมที่มีศรัทธามาทำบุญใส่บาตรว่า เคยเห็นสถานที่ที่มีลักษณะดังกล่าวหรือไม่ จนได้ความแล้วจึงได้ไปดู พบว่าสถานที่นั้นตรงกับในนิมิตทุกประการ ซึ่งขณะที่เดินไปนั้นท่านสามารถบอกล่วงหน้าได้ว่า ประเดี๋ยวตรงทางขึ้นวัดจะมีจอมปลวกและไม้แดงอยู่ ก็พบดังที่ท่านบอก และถัดไปจะมีต้นมะขามป้อม และมีคลองทางน้ำไหลมาจากบ่อพุน้ำด้านบน เดินไปตามคลองจะมีต้นฉะค่าง และเมื่อข้ามคลองไปจะเจอต้นแดงคู่อยู่ ก็เจอตามที่ท่านพูดเหมือนคุ้นเคยมาก่อน และเมื่อสุดคลองก็พบบ่อพุน้ำมีต้นไม้ล้มอยู่ในลักษณะที่ท่านเห็นในนิมิตทุกประการ ดังนั้น ท่านจึงตัดสินใจพาญาติโยมผู้มีศรัทธา เริ่มสร้างเสนาสนะตามที่องค์หลวงปู่ฝั้นบอกกับท่านในนิมิต และท่านได้อยู่จำพรรษา ณ สถานที่นี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๒ เรื่อยมา ต่อมาท่านได้สร้างเสนาสนะเพิ่มเติม จนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๓ ได้รับการประกาศจากกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งเป็นวัดในพระพุทธศาสนาโดยสมบูรณ์มีนามว่า วัดเวฬุวัน เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๓ และท่านพระอาจารย์สาครได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๗ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๑ และได้รับ พระราชทานเป็น พระครูภาวนาสุทธาจาร เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๑ นับจากวันที่ได้เริ่มสร้างวัดเวฬุวันเป็นต้นมา สถานที่แห่งนี้ได้สร้าง ได้อบรมพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และอบรมอุบาสก อุบาสิกา ให้ดำรงอยู่ในเส้นทางแห่งความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก อีกประการหนึ่งอาจเป็นจุดประสงค์ขององค์หลวงปู่ฝั้นที่ต้องการให้วัดเวฬุวันเป็นสถานที่คอยสนับสนุนพระเณรที่มุ่งต่อการประพฤติ ปฏิบัติธรรม เพราะหากพิจารณาสภาพผืนป่าที่เหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติในปัจจุบันนี้ก็จะเห็นว่า ผืนป่าภาคตะวันตกยังคงความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด และเป็นสถานที่สัปปายะอย่างยิ่ง ซึ่งตำแหน่งที่ตั้งของวัดเวฬุวันนั้น เป็นเหมือนประตูที่เข้าไปสู่ผืนป่าดังกล่าว องค์หลวงปู่ฝั้น จึงได้สั่งให้ ท่านพระอาจารย์สาครสร้างวัดขึ้น ณ ที่ตรงนี้ เพื่อความเจริญแก่พระเณร และพระพุทธศาสนาต่อไป
ประวัติบางส่วนของ ท่านพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ
ท่านพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ มีนามเดิมว่า สาคร แสงมุกดา เป็นบุตรคนที่ ๕ ในจำนวน ๗ คน ของ นายบู่ แสงมุกดา และนางบัวลา แสงมุกดา (สกุลเดิมของโยมแม่ ชามนตรี ทายาทอดีตเจ้าเมืองหนองบัวลำภูในยุคนั้น) ท่านเกิดเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๐ เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘ ปีระกา ที่บ้านโนนสงเปลือย ต.หนองบัว อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี (ปัจจุบันคือ ต. เหล่าโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู) การศึกษา ท่านเข้าเรียนที่โรงเรียนบ้านนาวังเวิน เมื่อจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ ก็มิได้ศึกษาต่อ ด้วยเหตุที่ทางบ้าน ไม่สนับสนุน ทั้งนี้เนื่องมาจาก การที่โยมตาของท่าน ซึ่งเคยรับราชการ ในตำแหน่งสูงด้วยความซื่อสัตย์ กลับถูกสอบสวนอย่างไม่เป็นธรรม จนถูกจำคุกอยู่ถึง ๒๐ ปี โยมตาจึงหมดความศรัทธา ในระบบราชการ จึงไม่สนับสนุนให้ศึกษาต่อ อีกทั้งโยมตาท่าน ก็อยากให้มาช่วยกันดูแล เรือกสวนไร่นา ของครอบครัวตนเองจะดีกว่า และโยมพ่อโยมแม่ก็เห็นดีด้วย ท่านพระอาจารย์สาคร ซึ่งโดยนิสัย เชื่อฟังผู้ใหญ่อยู่เป็นพื้น จึงไม่ได้กลับไปศึกษาต่อ แม้ครูจะมาตามให้กลับไปเรียนก็ตาม เป็นกำลังสำคัญของครอบครัว ด้วยทางบ้าน ถือได้ว่ามีฐานะ เพราะมีเรือกสวนไร่นา ทั้งสัตว์เลี้ยงที่ต้องดูแลมาก เมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว ท่านจึงช่วยทางบ้านอย่างแข็งขัน เมื่อถึงฤดูฝนก็ทำไร่ ทำนา และเมื่อหมดหน้านา ก็ต้องต้อนฝูงวัวควายไปขาย ต่างบ้าน และต้องคุม หมู ไก่ กลับมาขาย บางครั้ง ก็ตามโยมพ่อเข้าป่า ไปหาใบยาและของป่า เนื่องจากโยมพ่อเป็นหมอยา ท่านจึงได้ความรู้ เรื่องยาและสมุนไพร จากโยมพ่ออีกด้วย เห็นทุกข์ทางโลก ด้วยหมู่บ้านสมัยก่อน บ้านเรือนมักอยู่ไม่ห่างกันนัก มีอะไรก็ช่วยซึ่งกันและกัน บางครั้งคนในหมู่บ้านจะคลอดลูก ได้ยินเสียงร้องโอดโอยไปหลายหลังคาเรือน ท่านมีโอกาสได้ตามไปดู ได้เห็นความเจ็บปวดทุกขเวทนา ของหญิงที่จะกำลังคลอดลูก ทำให้ท่านรู้สึกกลัว อีกทั้งเมื่อท่านคิดถึงเด็กที่อยู่ในท้อง ที่ต้องไปขดอยู่ในที่แคบๆ เป็นเวลานาน ให้รู้สึกอึดอัดเป็นอย่างยิ่ง แค่คิดก็แย่แล้ว แต่นี่คนที่เกิดต้องทนอยู่ถึง ๙ เดือน และในบางครั้งการคลอดลูก แม่ตายบ้าง เด็กไม่รอดบ้าง บางทีก็ต้องมาตายทั้งแม่ทั้งลูก ด้วยการคิดพิจารณา จากประสบการณ์ที่รับรู้มา ทำให้ท่านเห็นว่า การเกิดนั้นเป็นทุกข์อย่างยิ่ง กอปรกับเมื่อท่านต้องช่วยทำงานไร่นาที่บ้าน อย่างเหน็ดเหนื่อย ทำให้ท่านเห็นว่า ชีวิตคนทางโลก ต้องทำมาหากินไม่หยุดหย่อน เพื่อหาเลี้ยงตนเองและครอบครัว แต่สุดท้ายแล้ว ก็ไม่มีอะไรเป็นสาระที่แท้จริง จะบวชเป็นท่านเจ้าคุณ ในวัยเด็กท่านมีโอกาสติดตามโยมแม่ และญาติใหญ่ ไปวัดโดยสม่ำเสมอ ด้วยมีญาติพี่น้องบวชอยู่ ท่านจึงคุ้นเคยกับชีวิตสมณะ นักบวช และเนื่องจากโยมพี่ชายของท่าน (หลวงตาวา) ได้บวชเป็นเณรอยู่วัดมหาชัย โยมแม่จึงได้อาศัย ใช้ท่านนำอาหารไปถวายเสมอ และท่านก็ได้เห็นเณรพี่ชายท่าน ต้องถูกฝึกหัดให้ทำงาน และรับใช้อุปัฎฐาก ท่านเจ้าคุณที่วัดอยู่ เป็นประจำ ทำให้ท่านเกิดความคิดว่า เมื่อท่านจะบวช ท่านจะไม่บวชเป็นเณร ท่านอยากจะบวชเป็นท่านเจ้าคุณ
ออกบวช อำเภอหนองบัวลำภูในยุคนั้น อยู่บนเส้นทาง ที่พระวิปัสสนากัมมัฎฐานหลายรูป ใช้เป็นเส้นทางเดินธุดงค์ เพื่อไปฟังธรรมอบรมจากองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่จังหวัดสกลนคร และหลายท่าน ได้มาพักสร้างวัดในธรรมยุตินิกาย ที่เน้นการปฏิบัติธรรม ขึ้น ณ อำเภอนี้ ซึ่งญาติพี่น้องของท่านพระอาจารย์สาครเอง ก็ได้บวชเป็นพระเณรกันหลายท่าน บางท่านบวชเรียนสามารถสอบได้นักธรรม เปรียญธรรมประโยคต่างๆ บางท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นท่านเจ้าคุณ มีจริยวัตรงดงาม แสดงธรรมเทศนาได้ลึกซึ้ง น่าติดตาม ดังนั้นเมื่ออายุครบบวช ท่านพระอาจารย์สาคร จึงตัดสินใจ ขออนุญาติบิดามารดา ลาบวช เพื่อศึกษาธรรม ณ วัดมหาชัย ต.หนองบัว จ.อุดรธานี เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๘ โดยมี พระพิศาลคณานุกิจ เป็นพระอุปัชฌาย พระสมุห์คำบาล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาพุทธศาสนาว่า ธมมาวุโธ อันมีความหมายว่า ผู้มีธรรมเป็นอาวุธ สังกัดธรรมยุตนิกาย อยู่จำพรรษาแรก ณ วัดมหาชัย ต. หนองบัว อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี จะไม่อยู่ใกล้บ้าน เมื่อท่านบวชจำพรรษาแรกที่ วัดมหาชัย ใกล้บ้าน เพื่อโปรดญาติโยม และเมื่อทางบ้าน ได้อนุโมทนาการบวชของท่าน พอสมควรแล้ว ได้ขอให้ท่านลาสิกขาบทเพื่อ มาดูแลไร่นาและบ้านต่อไป หากแต่ด้วยท่านมีจิตใจที่มุ่งมั่นแล้ว ว่าจะบวช ดังนั้นท่านพระอาจารย์สาคร จึงผัดผ่อนเรื่อยมา หากญาติโยมมาตอนเช้า ท่านก็บอกให้รอตอนเย็นเสียก่อน หากญาติโยมมาตอนเย็น ท่านก็บอกให้รอเช้าเสียก่อน จนออกพรรษา ท่านจึงกราบลาอุปัชฌาย์ เดินทางเพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ต่อไป โดยท่านตั้งใจแน่วแน่ว่า จะไม่อยู่ในจังหวัดเลย อุดรธานี หนองคาย เพราะอยู่ใกล้บ้าน ใกล้ญาติโยมเกินไป แสวงหาครูบาอาจารย์ ตลอดพรรษา ปีพ.ศ. ๒๕๐๘ ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ และพระธรรมวินัยต่างๆ จนมีความเข้าใจเป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยสร้าง โบสถ์วัดมหาชัย จนลุล่วง ครั้นเมื่อออกพรรษา และได้ทำพิธีฉลองโบสถ์ในวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๙ แล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบลาพระอุปัชาฌาย์ เพื่อออกเดินทาง ไปกับท่านพระอาจารย์แถว โดยออกเดินทางโดยรถไฟ จาก จ.อุดรธานี แล้วไปเปลี่ยนรถไฟที่ภาชี เพื่อจะไปยังจ.พิษณุโลก เมื่อ ถึง จ.พิษณุโลกแล้ว ท่านจึงโดยสารรถยนต์ ต่อไปยังบ้านป่าหญ้าคา ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านพระอาจารย์แถว เพื่อทำกิจธุระ เมื่อทำธุระเสร็จแล้ว ท่านพระอาจารย์แถวจึงพาท่านลงมา ที่วัดนิรมลวัฒนา อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งท่านพระอาจารย์แถวเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ต่อมาในวันวิสาขบูชา ท่านพระอาจารย์สาครได้มีโอกาสพบ ท่านพระอาจารย์ทองดี ชุตินธโร เป็นครั้งแรก ซึ่งมาร่วมลงอุโบสถที่วัด และท่านพระอาจารย์สาคร ได้มีโอกาส พูดคุยกับท่านพระอาจารย์ทองดี เรื่องครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ สายองค์หลวงปู่มั่นภูริทัตโต ซึ่งขณะนั้น ครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ เริ่มทยอยเดินทาง กลับสู่ภาคอีสานแล้ว แต่เนื่องจากขณะนั้น ใกล้ฤดูการเข้าพรรษา ท่านพระอาจารย์สาคร จึงจำพรรษาที่วัดนิรมลวัฒนา กับท่านพระอาจารย์แถวก่อน กราบองค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เมื่อออกพรรษา ท่านพระอาจารย์สาคร จึงออกเดินทาง กลับจากจังหวัดเพชรบูรณ์ สู่ภาคอีสาน การเดินทาง ของท่านพระอาจารย์สาครคราวนั้น ท่านต้องเดินทางผ่าน จ.เลย ท่านจึงแวะกราบนมัสการ องค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ซึ่งขณะนั้นองค์หลวงปู่ชอบ พักอยู่ที่วัดม่วงไข่ อ.วังสะพุง จ.เลย เมื่อท่านพระอาจารย์สาคร เข้าไปกราบนมัสการองค์หลวงปู่ชอบ ซึ่ง ท่านมีจิตเมตตา ให้ท่านพระอาจารย์สาคร พักอยู่ด้วย พร้อมทั้งแนะนำ ให้อุบายธรรมต่างๆ ให้ท่านพระอาจารย์สาคร นำไปปฏิบัติ ทำให้ผลการปฏิบัติธรรม ของท่านพระอาจารย์สาคร มีความก้าวหน้า ขึ้นตามลำดับ ช่วงเวลาที่ท่านพระอาจารย์สาคร ได้พักอยู่กับองค์หลวงปู่ชอบนั้น ท่านต้องตื่นแต่ตี ๓ เพื่อมารองน้ำหมอกไว้เป็นน้ำฉัน ท่านกลางอากาศหนาวจัด ขนาดที่ว่ากำมือแล้ว ต้องเอามืออีกข้างหนึ่งมาแกะออก อีกทั้งเครื่องกันหนาวต่างๆ ก็มีไม่มากเหมือนยุคปัจจุบัน ในช่วงกลางวันที่ต้องทำงานก่อสร้าง ท่านพระอาจารย์สาครต้องหาฟืน และผ่าฟืนด้วย ท่านผ่าฟืนมากจนมือพอง จากมือพองจนมือแตก ในช่วงกลางคืน องค์หลวงปู่ จะพาพระเณรนั่งภาวนา ตั้งแต่ช่วงค่ำ จนกระทั่ง ๔ ทุ่ม จึงพาทำวัตรเย็น ในขณะที่พระเณรนั่งภาวนากันเงียบอยู่นั้น องค์หลวงปู่ก็จะสูบบุหรี่ ฉันหมาก และฉันหมาก สูบบุหรี่ สลับกันไป แต่หากใครพลิกขา หรือขยับแม้แต่นิดเดียว ท่านก็จะรู้ ท่านจะพูดว่า “พระพวกนี้เคารพขา มากกว่าเคารพธรรม อุตส่าห์แบกกลดแบกบาตร แสวงหาธรรม แต่เมื่อธรรมเกิดขึ้น กลับไม่ยอมพิจารณา” สิ่งเหล่านี้ เป็นตัวอย่างอุบาย ที่องค์หลวงปู่ชอบ ใช้อบรมสั่งสอนศิษย์ ท่านพระอาจารย์สาคร ได้อยู่ศึกษาปฏิบัติธรรม จากองค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม อยู่ช่วงระยะหนึ่ง ต่อมาองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ซึ่งขณะนั้นท่านพักอยู่ที่วัดกกกอก ต.งิ้วตาก อ.วังสะพุง จ.เลย ได้มีจดหมายนิมนต์พระเณรในแถบนั้น ไปร่วมงานทำบุญฉลองศาลา วัดกกกอก ท่านพระอาจารย์สาคร จึงได้ไปร่วมงาน และได้มีโอกาสกราบนมัสการ องค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ในครั้งนั้นด้วย อุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ในคราวที่ไปร่วมงานฉลองศาลาวัดกกกอกนั้น ท่านพระอาจารย์สาคร ได้มีโอกาสเข้ากราบนมัสการองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ต่อเมื่อเสร็จงานฉลองศาลาแล้ว เณรผู้ดูแลอุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย ต้องไปคัดเลือกทหาร ท่านพระอาจารย์สาคร จึงได้รับเมตตาจากององค์หลวงปู่หลุย ให้ทำหน้าที่นี้ พร้อมกับได้มีโอกาส ฟังพระธรรมาเทศนา อบรมสั่งสอน ฝึกความอดทน และรับการแนะนำ ธรรมภาคปฎิบัติ จากองค์หลวงปู่หลุยอีกด้วย การอยู่ดูแลรับใช้ อุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร นั้น ท่านพระอาจารย์สาคร ได้มีโอกาสติดตามองค์หลวงปู่ ออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆทั่วจังหวัดเลย และจังหวัดใกล้เคียง หลวงปู่หลุย จันทสาโร หลวงปู่ซามา อจฺตโต ธุดงค์กับองค์หลวงปู่หลุย ครั้งหนึ่งท่านพระอาจารย์สาคร มีโอกาสได้ธุดงค์ติดตามเพียงลำพัง ไปกับองค์หลวงปู่หลุย เมื่อองค์หลวงปู่ต้องเดินทาง ไปงานที่วัดท่าแขก โดยองค์หลวงปู่หลุยพาเดินทาง จากบ้านกกกอก ข้ามเขาลงมายังบ้านไร่ม่วง เพื่อกราบองค์หลวงปู่ซามา อจุตโต ที่วัดป่าอัมพวัน อ.เมือง จ.เลย ซึ่งระหว่างทางนั้นเอง ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ถูกฝึกความอดทน ความเพียร จากองค์หลวงปู่หลุยอย่างหนัก กล่าวคือ ครั้งหนึ่งซึ่งตรงกับวันโกน ในพระธรรมวินัย ซึ่งองค์หลวงปู่หลุย อนุญาตให้ท่านพระอาจารย์สาคร ปลงเกศา ให้องค์หลวงปู่จนเสร็จแล้ว องค์หลวงปู่ ก็ไปสรงน้ำชำระร่างกาย ท่านพระอาจารย์สาคร จึงเริ่มปลงเกศาของท่านเอง เมื่อท่านปลงเกศาไปได้เพียงครึ่งเดียว องค์หลวงปู่หลุยก็สรงน้ำเสร็จพอดี ท่านได้บอกกับท่านพระอาจารย์สาครว่า “เราออกเดินทางกันต่อไปเถอะ” คำว่า “ไป” ขององค์หลวงปู่หลุยนี้ ท่านมิได้เพียงแต่พูด ท่านได้ออกเดินทางไปจริงๆ ท่านพระอาจารย์สาคร จึงต้องหยุดการปลงเกศาตนเองไว้เท่านั้น รีบไปเก็บสัมภาระอัฐบริขารต่างๆ ทั้งของท่านเองกับขององค์หลวงปู่ด้วย ซึ่งมีถุงบาตร และ ย่าม อย่างละ ๒ ใบ แล้วรีบออกเดินทางต่อ เพื่อที่จะติดตามองค์หลวงปู่หลุยให้ทัน เมื่อเดินทันองค์หลวงปู่ หลุยแล้วท่านจึงเริ่มทำการปลงเกศาต่อ โดยใช้วิธีเดินไปปลงเกศาไป เพื่อปลงให้แล้วเสร็จก่อนถึงหมู่บ้าน ซึ่งครั้งนั้นเป็นการปลงเกศาที่ลำบากมาก เพราะมือข้างหนึ่งทำการปลงเกศา อีกข้างหนึ่ง ก็แบกย่ามกับถุงบาตรอีก ๒ ใบ ซึ่งโดยปกติการเดินปลงเกศา ก็เป็นเรื่องลำบากอยู่แล้ว แต่ท่านยังต้องสะพายของบนบ่าอีก จึงเป็นการเพิ่มความลำบาก ให้กับท่านยิ่งขึ้น ในครั้งนั้น ท่านจึงถูกมีดโกนบาด เสียหลายแผล เมื่อกราบลาองค์หลวงปู่ชามา อจุตโต แล้ว องค์หลวงปู่หลุย ได้พาเดินต่อไปยังถ้ำผาปู่ เพื่อกราบ องค์หลวงปู่คำดี ปภาโส และที่นี่ ท่านได้รับการฝึกอีกครั้งในระหว่างที่ พักอยู่ที่นี่ คือ โดยปกติแล้วหลังจาก ท่านทำอาจริยวัตร ถวายองค์หลวงปู่หลุยเสร็จ ในช่วงเช้า และองค์หลวงปู่ได้เข้าพักแล้ว โดยปกติองค์หลวงปู่จะออกมาอีกครั้ง ในเวลา ๒-๓ โมง ท่านพระอาจารย์สาคร จึงแยกไปภาวนาที่ถ้าผาปู่เพียงลำพัง สักครู่ที่ท่านเดินจงกรมภาวนาอยู่ ปรากฎว่าจิตท่านมีอาการผิดปกติ ข้างในมีอาการใจเต้นเร็ว ท่านเห็นผิดปกติ จึงออกจากการภาวนา เดินออกมา พอพ้นถ้ำเท่านั้นก็ได้ยินเสียงระฆัง อันเป็นสัญญาน เรียกพระเณรที่ถ้ำผาปู่ดังลั่นวัด ท่านจึงรีบมาทันที ปรากฏว่าองค์หลวงปู่หลุย เป็นผู้ตีระฆังเพื่อเรียกหาท่าน พระเณรออกมาดูกันทั้งวัด แต่เพราะท่านอยู่ในถ้ำ จึงไม่ได้ยินเสียงเลยแม้แต่น้อย องค์หลวงปู่จึงถามท่าน และบอกว่าจะเดินทางต่อ อันเป็นนิสัยการมาเร็วไปเร็ว ขององค์หลวงปู่ ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบเรียนถึงที่อยู่ และอาการของจิตท่าน องค์หลวงปู่จึงมิได้ต่อว่าอย่างไร นับเป็นอีกครั้ง ที่การภาวนา และความจดจ่ออยู่กับครูบาอาจารย์เสมอ ช่วยให้ท่านไม่ถูกตำหนิได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติอันพึงมี ในพระติดตามครูบาอาจารย์ต่อไป เมื่อออกจากวัดถ้ำผาปู่แล้ว ได้เดินธุดงค์ต่อไปยังวัดท่าแขก อันเป็นเป้าหมาย ท่านพระอาจารย์สาคร ได้อยู่ช่วยงานศพจนแล้วเสร็จ และเมื่อพระอุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย ได้มาถึงแล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบลาองค์หลวงปู่หลุย ที่วัดท่าแขกนี้เอง องค์หลวงปู่หลุย วางใจในท่านพระอาจารย์สาครแล้ว จึงอนุญาตให้ไปได้ ท่านจึงได้เดินทางย้อนกลับมา ยังถ้ำผาบิ้ง โดยหมายใช้เป็นที่วิเวกภาวนาต่อไป เวทนาทางกาย ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๐ ขณะที่ท่านพระอาจารย์สาคร ธุดงค์มาถึงที่ถ้ำผาบิ้ง ท่านได้พิจารณาพักอยู่ เพื่อภาวนาชั่วระยะหนึ่ง (ขณะนั้น องค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ยังไม่ได้อยู่ที่ถ้ำผาบิ้งนี้) ท่านได้ไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านน้ำทบ ได้เพียงข้าวเปล่าเท่านั้น และบางวันก็ได้พริกป่น กับเกลือมาด้วย ท่านก็ได้พิจารณาฉันตามฐานะนักบวช หากด้วยความไม่คุ้นเคย ทำให้ท่านปากพองแสบร้อนไปหมด จนแม้แต่ฉันน้ำ ก็ยังทรมาน เกิดเวทนาทางกายยิ่งนัก
เสือช่วย ตกคืนนั้นที่ท่านนั่งภาวนาอยู่ภายในถ้ำ ปรากฎมีเสียง สวบ สวบ ดั่งเสียงเสือเดินอยู่หน้าถ้ำ ด้วยความกลัวท่านจึงนั่งหลับตานิ่ง เร่งภาวนา พุทโธ พุทโธ อยู่ภายในใจ จนจิตสงบเงียบลงไป เหลือแต่มีความรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ขณะนั้นท่านพิจารณาร่างกาย สังขาร ข้อธรรมใดก็พิจารณาได้หมด จวบจนกระทั่งเช้าได้เวลาบิณฑบาต จึงได้ถอนออกจากการภาวนา นับเป็นเวลานานที่ผ่านไปอย่างรวดเร็ว นับจากที่ท่านได้เข้าภาวนา ขณะได้ยินเสียงเสือเมื่อราว ๑ ทุ่ม เมื่อท่านออกจากภาวนาแล้ว ก็ได้หวนคิดดื่มด่ำกับสิ่งที่เกิดขึ้น อัศจรรย์ว่า “ตัวเราภาวนาได้ขนาดนี้เชียวหรือ” และคิดว่า “ ถ้าเสือไม่ช่วยเราคงยังติดขัดอยู่” ขณะที่ภาวนานั้นก็ไม่รู้ เสือหายไปทางไหน เมื่อท่านมาดูอย่างละเอียด จนเข้าใจ่ว่า น่าจะเป็นบ่างมากินมะขามจากต้นหน้าถ้ำมากกว่า เช้านั้นท่านออกไปบิณฑบาต ก็ได้ข้าวกับพริกเกลือเช่นเดิม แต่ครั้งนี้ท่านฉันแล้วไม่รู้สึกแสบปาก แสบลิ้นดังที่เคย ท่านจึงได้อยู่ภาวนาต่อในถ้ำนี้ และตลอดเวลา ๒-๓ อาทิตย์ที่อยู่นั้น การภาวนาของท่านได้ผลดีเป็นอย่างยิ่งแต่เพราะมีนัดหมายกับท่านพระอาจารย์ทองดีไว้ ว่าจะไปพบกัน ที่วัดถ้ำกลองเพลจ.อุดรธานี ก่อนสิ้นเดือนเมษายน ทำให้ท่านต้องละจากถ้ำผ้าบิ้งนี้ไป จากถ้ำผาบิ้งไปวัดถ้ำกลองเพล หลังฉันเช้าเสร็จ ประมาณ ๙ โมงเช้า ท่านพระอาจารย์สาคร ออกเดินเท้าจากถ้ำผาบิ้ง เพื่อไปยังหมู่บ้านโนนสงเปลือย จ.หนองบังลำภู โดยมีระยะทางทั้งสิ้นกว่า ๙๕ กิโลเมตร ท่านเดินทางตามผ่านป่า ผ่านดงหนองไผ่ หากช่วงไหนเป็นหมู่บ้าน ท่านจะเดินเลี่ยงอ้อมเอา ท่านพระอาจารย์สาคร เดินภาวนาพุธโธไปตลอดระยะทาง ทำให้จิตสงบ กายเบา จิตเบา จนท่านสามารถเดินได้เร็วมาก โดยไม่เหน็ดเหนื่อยเลยแม้แต่น้อย ท่านมาถึงไร่โยมพ่อ บ้านโนนสงเปลือย เวลาบ่าย ๔ โมงเย็น ใช้เวลาเดินเท้าทั้งสิ้นเพียง ๗ ชั่วโมงเท่านั้น นับเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง เมื่อมาถึงไร่ ปรากฏว่าโยมพ่อกลับไปบ้านแล้ว ท่านจึงกางกลด พักอยู่ที่กระต๊อบในไร่นั้นเอง เช้าวันรุ่งขึ้น ได้บิณฑบาตโปรดโยม ที่บ้านโนนสงเปลือย แล้วไต่ถามได้ความว่า โยมพี่สะใภ้จะเดินทางไปอุดรธานีพอดี จึงนั่งรถโดยสารไปกับโยมพี่สะใภ้ เพื่อเดินทางต่อไปจนถึงวัดถ้ำกลองเพล
กราบองค์หลวงปู่ขาว อนาลโย เมื่อถึงวัดถ้ำกลองเพล (พุทธศักราช ๒๕๑๐) ท่านพระอาจารย์สาครได้เข้ากราบนมัสการองค์หลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งขณะนั้น กำลังอาพาธ และมีครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่สำคัญหลายองค์ มาถวายการดูแลองค์หลวงปู่ อันได้แก่ ท่านพระอาจารย์สุวัจน์ สุวโจ ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร ท่านพระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต ซึ่งถือว่าเป็นโชคดี ของท่านพระอาจารย์สาคร ที่ได้มีโอกาสรับใช้ ครูบาอาจารย์องค์สำคัญ ในคราวนั้นด้วย หลังจากที่ได้พบ กับท่านพระอาจารย์ทองดี ที่วัดถ้ำกลองเพล ตามที่ได้นัดหมายไว้ จึงได้กราบลาองค์หลวงปู่ขาวอนาลโย เพื่อออกเดินทางต่อไป
กราบองค์หลวงปู่ฝั้นครั้งแรก ท่านพระอาจารย์สาคร ออกเดินทางจากวัดถ้ำกลองเพล พร้อมท่านพระอาจารย์ทองดี โดยได้พาท่านพระอาจารย์สาคร ไปงานศพท่านพระอาจารย์สีลา อิสสโร อุปัชฌาย์ของท่านพระอาจารย์ทองดี ที่สำนักงานสงฆ์วัดโพธิ์ชัย ตำบลวาใหญ่ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร และที่นี้เอง ที่ท่านพระอาจารย์สาคร ได้พบองค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นครั้งแรก ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ระลึกถึงคำขององค์หลวงปู่หลุย ที่บอกว่าองค์หลวงปู่ฝั้น เป็นพระที่ได้รับการยกย่อง จากองค์หลวงปู่มั่น ในด้านความสามารถ ทางด้านจิตใจ ทั้งองค์หลวงปู่หลุย แม้พรรษาจะมากกว่าองค์หลวงปู่ฝั้น ก็เรียกองค์หลวงปู่ฝั้น ด้วยความเคารพว่า “อาจารย์ใหญ่” ดังนั้นองค์หลวงปู่ฝั้น จึงเป็นพระผู้ที่มีความสำคัญมาก ทั้งท่านพระอาจารย์ทองดี ก็สนับสนุนให้ไปอยู่กับองค์หลวงปู่ฝั้น โดยให้เหตุผลว่า ที่นั้นมีตั้ง ๒ วัด หากไม่พอใจในวัดป่าอุดมสมพร ก็สามารถขึ้นเขาไปอยู่ที่ถ้ำขามได้ ดังนั้น เมื่อเสร็จจากงานศพท่านพระอาจารย์สีลา แล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร ได้แยกกับ ท่านพระอาจารย์ทองดี ที่นี่เอง โดยท่านตั้งจุดหมายการเดินทาง ต่อไป ยังวัดป่าอุดมสมพร อ.พรรนานิคม จังหวัดสกลนคร เพื่อกราบถวายตัวเป็นลูกศิษย์ ขององค์หลวงปู่ฝั้นต่อไป ถึงวัดป่าอุดมสมพร ลุถึงวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ พุทธศักราช ๒๕๑๐ อันเป็นวันลงอุโบสถ ท่านก็ถึงวัดป่าอุดมสมพร ได้กราบองค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และนับจากวันนั้น ท่านได้อยู่ถวายตัว เป็นศิษย์องค์หลวงปู่ฝั้นมาตลอด ขณะนั้นที่วัดป่าอุดมสมพร มีพระอยู่เพียง ๕ รูป และเณรอีก ๑ รูป คือ ๑.องค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ๒.ท่านพระอาจารย์แปลง สุนฺทโร ๓.หลวงตาพรหม ๔.หลวงตาไข ๕.หลวงตาอ่อน และเณร ด้วยขณะนั้น ท่านพระอาจารย์ปิ่น ปิยธัมโม ไม่อยู่ และท่านพระอาจารย์อุทัย สิริธโร ยังไม่ลงมาจากถ้ำขาม ทั้งท่านพระอาจารย์แปลง ก็มีภาระดูแลงานอื่นเป็นจำนวนมาก คงมีหลวงตาอ่อน ดูแลอุปัฏฐากองค์หลวงปู่ฝั้น อยู่ผู้เดียว ท่านพระอาจารย์สาคร จึงได้เข้าช่วยงาน หลวงตาอ่อนอีกแรงหนึ่ง นับจากนั้น ท่านก็ได้รับหน้าที่ ดูแลอุปัฏฐากองค์หลวงปู่ฝั้น มาโดยตลอด จากการที่มีโอกาสรับใช้ใกล้ชิด องค์หลวงปู่ฝั้น และได้รับฟังโอวาท ได้เห็นจริยาวัตรอันงดงาม ทั้งข้อปฏิบัติที่เพียบพร้อม ทำให้ท่านพระอาจารย์สาคร เกิดความศรัทธาและลงใจ ในองค์หลวงปู่ฝั้นเป็นอย่างยิ่ง แม้เพิ่งจะมาถวายตัวรับใช้กับองค์หลวงปู่ เพียงไม่นาน
เพชรบนยอดมงกุฎแห่งเมืองเลย มาวัดป่าอุดมสมพร ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ พุทธศักราช ๒๕๑๐ หลังจากพำนักอยู่กับองค์หลวงปู่ฝั้นเพียง ๗ วัน องค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม และองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ได้เดินทางมาเยี่ยมองค์หลวงปู่ฝั้น และรอลงอุโบสถร่วมกันในวันวิสาขบูชา ที่วัดป่าอุดมสมพร เมื่อองค์หลวงปู่ท่าน ได้กราบคารวะกันแล้ว องค์หลวงปู่หลุยเห็นท่านพระอาจารย์สาคร กำลังจัดอาสนะอยู่นั้น ท่านจึงกล่าวขึ้นกับองค์หลวงปู่ฝั้นว่า “พระองค์นี้เคยอยู่กับผมมาก่อน” องค์หลวงปู่ชอบก็ได้กล่าวขึ้นด้วยว่า “เคยอยู่กับผมเหมือนกันพระองค์นี้” ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบเรียนองค์หลวงปู่ฝั้นว่า ท่านเคยอยู่กับองค์หลวงปู่ชอบมาก่อนที่วัดป่าม่วงไข่ แล้วจึงมาอยู่กับองค์หลวงปู่หลุย ที่บ้านกกกอก หลังจากลงอุโบสถ ในวันวิสาขบูชา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อองค์หลวงปู่ชอบ และ องค์หลวงปู่หลุย ได้กลับไปแล้ว นับจากวันนั้นมา ท่านพระอาจารย์สาครเปรียบว่า เหมือนผ้าเช็ดหน้า จะบิดให้ขาดเสียให้ได้ องค์หลวงปู่ฝั้น เปลี่ยนจากองค์หลวงปู่องค์เดิม อย่างสิ้นเชิง หันมาเข้มงวด กับท่านพระอาจารย์สาครมากขึ้น หากมีอะไรผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ก็จะค่อยดุว่า ไม่ปล่อยให้ความผิดพลาดนั้นผ่านไปเฉยๆ บางครั้งความผิดพลาดของท่าน ก็นำมาเทศน์บนศาลา เทศน์กันเป็นอาทิตย์ๆเป็นเดือนๆ ในความผิดนั้นๆ ทั้งนี้คงเป็นเจตนาขององค์หลวงปู่ฝั้น ที่ต้องการทดสอบความเข้มแข็ง ทางจิตใจของลูกศิษย์ และต้องการให้ศิษย์ได้ดีในทางธรรม อยากหนี จากการที่องค์หลวงปู่ฝั้นเข้มงวดกวดขัน ท่านพระอาจารย์สาคร ไม่ว่าท่านพระอาจารย์สาครจะทำอะไร ดูเหมือนจะผิดไปหมด กลับถูกเข่น ถูกว่าสารพัด เผลอสติเป็นไม่ได้ ไม่เพียงท่านที่ถูกเข่นเท่านั้น เณรที่รับใช้องค์หลวงปู่ ก็ได้รับความเข้มงวด จนเณรร้องไห้อยู่แทบทุกวัน กระนั้น วันหนึ่งท่านติดขัด เรื่องการจัดยาให้หลวงปู่จึงถามเณร เณรก็ยังตอบว่า “ครูบาเอาตามาด้วยหรือเปล่า ครูบาเอาหูมาด้วยหรือเปล่า” ทำให้ท่านอึดอัดขัดข้องยิ่งขึ้นไปอีก ขณะนั้นท่านคิดว่า “ต่อไปไม่ว่างานเรื่องอะไรในวัดนี้ เราจะต้องเรียนรู้ให้หมดให้ได้” ในแต่ละวัน ไม่ว่าใครจะทำอะไร ผิดมาในวันนั้นก็ดี หรือเหตุเก่าก็ดี พอขึ้นศาลาองค์ หลวงปู่ต้องดุว่า แต่ท่านพระอาจารย์สาครองค์เดียว ทำให้ท่านคิดเบื่อหน่าย อยากจะหนีเป็นที่สุด กำหราบความคิด เมื่อท่านมีความคิดอยากหนีวันไหน พอขึ้นไปบนกุฏิองค์หลวงปู่ฝั้น เพื่อทำอาจริยาวัตรปกติ บางครั้งยังไม่ทันจะนั่งกราบเลย องค์หลวงปู่ ก็พูดขึ้นว่า “จะไปไหนก็ผีตัวเก่า ถ้าไม่ตั้งใจภาวนา จะอยู่ที่ไหนก็ผีตัวเก่า” พออีก ๒-๓ วันคิดจะไปอีก องค์หลวงปู่ก็พูดขึ้นอีก ทำให้ใจท่าน ไม่คิดฟุ้งไปกว่านี้ บางครั้งใจก็คิดอยากจะไปดูถ้ำขามบ้าง ว่าเป็นอย่างไร อยากไปดูวัดดอยธรรมเจดีย์บ้าง ว่า เป็นอย่างไร พอขึ้นกุฏิ องค์หลวงปู่ ก็จะเล่าเรื่องวัดนั้นๆให้ฟังทันที ทำให้ท่านต้องคอยสำรวม ระมัดระวังความคิด อยู่ตลอดเวลา
หมาแทะกระดูก บ่อยครั้งเมื่อลูกศิษย์คิดถึงบ้าน องค์หลวงปู่ฝั้นจะเมตตายกเรื่อง ของท่านขึ้นเทศน์ให้ฟัง ถึงเมื่อครั้งองค์ท่านเองก็เคยเบื่อหน่าย ท้อแท้ จนคิดจะกลับบ้านเช่นกัน วันหนึ่งขณะที่องค์หลวงปู่ เดินบิณฑบาตอยู่นั้น เห็นหมาตัวหนึ่งเดินตามเจ้าของอยู่ สักพักมันเจอกระดูกเก่าท่อนหนึ่ง มันก็หยุดแทะตามประสาหมา แต่เจ้าของก็เดินต่อไป มันแทะอยู่สักพัก ก็วิ่งตามเจ้าของไป แต่แล้วก็หันวิ่งกลับมาแทะต่ออีก แล้วก็วิ่งกลับไปหาเจ้าของอีก กลับไปกลับมาอยู่หลายครั้ง จนเจ้าของเดินไกลออกไปมากแล้ว มันจึงได้วิ่งตามเจ้าของไปอย่างอาลัย องค์หลวงปู่เห็นอาการมันแล้ว ก็กลับมานึกเป็นธรรม อบรมตัวองค์ท่านได้ว่า “การอาลัยในบ้านขององค์ท่าน ก็เหมือนหมาตัวนั้น ที่อาลัยในกระดูกเก่าอันจืดชืด แต่มันไม่รู้ว่ากระดูกนั้นไม่มีรสอะไรแล้ว ที่หลงอยู่ ก็หลงในน้ำลายของตัวเองเท่านั้น ชีวิตทางโลก ก็เหมือนกระดูกเก่าที่หาค่า อันใดมิได้ ความหลงในสิ่งที่ฉาบทาไว้ ก็เหมือนหมาที่หลงอร่อยน้ำลายตัวเอง” เมื่อองค์หลวงปู่ ท่านพิจารณาได้เช่นนั้น ก็วางความคิดถึงบ้านลงได้ ท่านพระอาจารย์สาคร ก็ได้ธรรมข้อนี้ ช่วยให้ท่านผ่านพ้นมาได้ ท่านจึงซาบซึ้ง ถึงพระคุณขององค์หลวงปู่ฝั้น อย่างถึงที่สุด ว่าทางหนึ่ง ท่านก็เข่นเอาเต็มที่ แต่อีกทางหนึ่งก็เมตตา คอยประคับประคอง หาอุบายธรรมช่วยเหลือเต็มที่เช่นกัน ปัจจุบันหากท่านพระอาจารย์สาคร เดินทางไปกราบนมัสการ เจดีย์องค์หลวงปู่ฝั้น ที่วัดป่าอุดมสมพร ท่านจะต้องไปดูภาพแกะสลักเรื่อง “หมาแทะกระดูก” ที่ฐานองค์เจดีย์ ด้วยความระลึกซาบซึ้งในพระคุณ อยู่ทุกครั้งไป
ศึกษาปฏิบัติธรรม และอุปัฏฐาก องค์หลวงปู่ฝั้น เมื่อท่านพิจารณาเข้าใจถึงความเมตตา ขององค์หลวงปู่ฝั้นแล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร ก็ตั้งใจอยู่รับการอบรมอย่างถึงที่สุด คราวนี้ ท่านกลับกลัวองค์หลวงปู่ฝั้นไล่หนีเอา ทั้งนี้ด้วยเห็นพระบางองค์ ถูกองค์หลวงปู่ไล่หนี บางองค์มาถึงวัด ยังไม่ทันแก้บาตรเลย ก็ถูกบอกให้หลีกไปที่อื่นแล้ว ท่านจึงอยู่ด้วยความระมัดระวัง ในเรื่องข้อวัตรปฏิบัติให้ดีที่สุด ท่านพระอาจารย์สาคร คอยปฏิบัติองค์หลวงปู่ฝั้นอย่างใกล้ชิด ดุจเป็นเงาขององค์หลวงปู่ ท่านจะดูแลองค์หลวงปู่ฝั้นตั้งแต่ตอนที่ องค์หลวงปู่ตื่นขึ้นมา โดยจะเข้าไปถวายน้ำล้างหน้า ไม้สีฟัน เปลี่ยนกระโถน รับผ้าจีวรมาที่ศาลา ตอนบิณฑบาตรจะช่วยองค์หลวงปู่ ครองผ้ากลัดรังดุม และคอยส่งบาตร รับบาตรองค์หลวงปู่ แล้วรีบกลับมาเตรียมน้ำอุ่น ล้างเท้าให้องค์หลวงปู่ แล้วจึงคอยเช็ดเท้าให้แห้ง เวลาฉันอาหาร ท่านพระอาจารย์สาคร จะเป็นผู้จัดอาหารถวาย ทั้งนี้เพราะ องค์หลวงปู่ฝั้นท่านไม่จัดอาหารเอง แม้ในคราวที่มีนิมนต์ไปฉันข้างนอกก็ตาม ท่านพระอาจารย์สาคร จะขอโอกาสพระเถระองค์อื่น เพื่อจะได้นั่งใกล้องค์หลวงปู่ฝั้น เพื่อคอยจัดอาหารถวาย ท่านพระอาจารย์สาคร ต้องฉันให้เสร็จก่อนองค์หลวงปู่ เพื่อจะได้นำบาตรของตนไปล้างก่อน แล้วจึงนำบาตรขององค์หลวงปู่ไปล้าง แล้วนำมาเช็ดให้แห้ง ก่อนนำไปผึ่งไว้ แล้วรีบกลับมาถวายไม้สีฟัน ถวายยา เก็บของ เก็บกระโถน รับผ้าจีวร แล้วรีบนำบริขารขององค์หลวงปู่ ไปเก็บไว้ที่กุฏิ แล้วมาคอยเป็นปัจฉาสมณะ ดูแลองค์หลวงปู่ ถ้ามีงานภายในวัด ท่านจะกราบเรียนขอโอกาสไว้ แล้วไปทำงานนั้นๆจนเสร็จ ซึ่งงานส่วนมาก เป็นงานที่คนอื่นไม่กล้าทำ แต่ด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว ท่านจะรับอาสาทำเสมอ อาทิ ตอนที่แบกเสากุฏิ ท่านบอกว่า ถ้าแบกเสา ๑ ต้น ทีละ ๒ คน แต่ถ้าแบก ๓ คน ๒ ต้นน่าจะดีกว่า โดยท่านพระอาจารย์สาคร ท่านรับเป็นคนที่อยู่ตรงกลาง ยอมแบกคนเดียว ๒ ต้น เป็นต้น นอกจากนี้ท่านยังดูแลรักษาเสนาสนะ ร่วมทำงานก่อสร้าง ภายในวัดและภายนอกวัด เช่นงานสร้างเจดีย์ที่หลังกุฏิองค์หลวงปู่ฝั้น งานสร้างถนนวัดถ้ำขาม งานสร้างศาลาวัดถ้ำขาม งานสร้างเขื่อนกั้นน้ำอูน และสะพานบ้านบะทอง งานสร้างโรงพยาบาลหลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นต้น เมื่อถึงตอนเย็น ท่านพระอาจารย์สาคร จะคอยดูแลสรงน้ำองค์หลวงปู่ เมื่อองค์หลวงปู่สรงน้ำเสร็จ ต้องรีบเช็ดพื้นห้องน้ำให้แห้ง เพราะเป็นพื้นไม้ ตอนกลางคืน ต้องทำวัตรสวดมนต์ และรับฟังโอวาทที่ศาลา เมื่อเลิกท่านก็ไปที่กุฏิองค์หลวงปู่ เพื่อไปส่งย่าม และคอยจับเส้นถวายองค์หลวงปู่ กว่าจะเลิก บางคืนก็เที่ยงคืน บางคืนล่วงไปจนถึงตีหนึ่ง เมื่อลงจาก กุฏิท่านจะลงไปเดินจงกรมต่อ แล้วจึงเข้าพัก บางคืน ท่านจะเดินจนถึงเวลาที่องค์หลวงปู่ตื่น ซึ่งโดยปกติแล้ว องค์หลวงปู่ฝั้นจะเข้าพักไม่นาน เมื่อองค์หลวงปู่ฝั้นท่านตื่น ท่านพระอาจารย์สาคร ก็จะรีบเข้าไปถวายน้ำล้างหน้าอีก ในข้อวัตรต่างๆเหล่านี้ ท่านถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด อยู่ตลอดเวลา ซึ่งท่านพระอาจารย์สาคร จะมีคติสั้นที่ยึดปฏิบัติว่า “นอนทีหลัง ตื่นก่อน ฉันทีหลัง อิ่มก่อน” นอกเหนือจาก การมีข้อวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดแล้ว ในการเดินทาง แม้จะมีเป้าหมายที่แน่นอน หากด้วยบนหนทาง ย่อมต้องพบเครื่องกีดขวางอยู่บ้าง การจะฝ่าฟันไปได้นั้น ท่านพระอาจารย์สาคร ยังมีองค์พระพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือ ยามที่ท่านพบกับปัญหา ไม่ว่าทางด้านใดๆก็ดี ท่านได้มี องค์หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ ท่านพระอาจารย์แปลง สุนฺทโร ท่านพระอาจารย์เขี่ยม โสรโย ท่านพระอาจารย์อุทัย สิริธโร และท่านพระอาจารย์คำดี ปัญโญภาโส คอยเมตตาช่วยเหลือ ทำให้การปฏิบัติธรรม ของท่านพระอาจารย์สาคร ดำเนินไปอย่างราบรื่น ซึ่งท่านพระอาจารย์สาคร ก็ได้ซาบซึ้งในพระคุณ ของท่านพระเถระทุกองค์นี้เสมอ ดังนั้นนอกจากท่านจะไปกราบเยี่ยมแล้ว หากท่านสามารถจัดทำธุระสิ่งใด เพื่อตอบแทนได้ ท่านก็จะทำทันที
หลวงปู่สุุวัจน์ สุวโจ
พระอาจารย์แปลง สุนฺทโร
พระอาจารย์เขี่ยม โสรโย
พระอาจารย์อุทัย สิริธโร
พระอาจารย์คำดี ปัญโญภาโส
มั่นใจว่าจะไม่ถูกไล่หนี ถึงแม้ท่านจะตั้งใจปฏิบัติข้อวัตร และทำงานทุกอย่าง เต็มกำลังสติปัญญาความสามารถ หากแต่ยังหวั่นกลัวองค์หลวงปู่ฝั้นจะไล่หนีเอา จนวันหนึ่ง มีสิ่งที่ทำให้ท่าน รับรู้และมั่นใจว่าจะไม่ถูกไล่หนี กล่าวคือ ในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ท่านเจ้าคุณ ซึ่งเคารพองค์หลวงปู่ฝั้น ได้มากราบเยี่ยมองค์หลวงปู่ และปรารภขึ้นว่า ทางภาคตะวันตกของประเทศ นั้นยังมีพระกัมมัฏฐานน้อย ทั้งที่ดินแดนแถบนั้น ยังมีป่าอันสัปปายะอุดมสมบูรณ์อยู่ แม้ขณะนั้น จะมีท่านพระอาจารย์มหาปิ่นอยู่ แต่ท่านก็อาพาธ จึงอยากจะขอพระจากองค์หลวงปู่ ไปอยู่เป็นหลัก ให้แก่พระและญาติโยม ทางด้านนั้นบ้าง องค์หลวงปู่ฝั้นจึงถามว่า คิดจะเอาใครไป ท่านเจ้าคุณ ซึ่งได้เคยเห็นอาจริยวัตร และฝีมือการทำงาน ในตัวท่านพระอาจารย์เป็นประจักษ์แล้ว จึงกล่าวขอตัวท่านพระอาจารย์ กับองค์หลวงปู่ฝั้น ซึ่งองค์หลวงปู่ฝั้น ก็ไม่อนุญาตให้ไป การที่องค์หลวงปู่ฝั้นท่านกล่าว ไม่อนุญาตนั้น ก็มีความหมายเป็นนัย ให้ท่านพระอาจารย์สาครรับรู้ได้ว่า แม้องค์หลวงปู่ฝั้นจะดุ จะว่าเอา แต่องค์หลวงปู่ท่านก็ได้รับรู้ถึง ความเอาใจใส่ ไม่ละวางการงาน ในตัวลูกศิษย์ผู้นี้อยู่เสมอ ซึ่งก็เพียงพอ ให้ท่านพระอาจารย์สาครซาบซึ้ง และเป็นกำลังใจ ให้ท่านยิ่งทุ่มเท แรงกายแรงใจถวายองค์หลวงฝั้นยิ่งขึ้นไป เมื่อองค์หลวงปู่ฝั้นอาพาธ ในปีพ.ศ. ๒๕๑๙ ท่านพระอาจารย์สาคร เป็นพระรูปหนึ่ง ในแปดรูป ที่ได้รับคัดเลือก ให้ดูแลองค์หลวงปู่ จากพระจำนวนร้อย ซึ่งท่านทำหน้าที่ คอยดูแลออกซิเจนให้องค์หลวงปู่ และถวายอาหาร ให้องค์หลวงปู่ในตอนเช้าด้วย จวบจนกระทั่ง องค์หลวงปู่ฝั้นท่านมรณภาพ ในวันอังคารที่ ๔ เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ ณ กุฏิวัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร หลังจากเสร็จพิธี พระราชทานเพลิงศพองค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านพระอาจารย์สาคร ได้เดินทางธุดงค์ แสวงหาที่ปฏิบัติธรรม เพื่อที่จะได้เร่งบำเพ็ญภาวนา ตามแนวทางคำสั่งสอนจากครูบาอาจารย์ ที่ท่านได้เมตตาอบรมแนะนำธรรม ละจากแดนดินอีสานสู่ภาคตะวันตก เมื่อสิ้นองค์หลวงปู่ฝั้น และเสร็จงานพระราชทานเพลิงศพแล้ว ในวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๑ ท่านก็ละจากวัดป่าอุดมสมพร เพื่อเดินทางไป อุปัฏฐากองค์หลวงปู่หลุย เพื่อเป็นอาจริยบูชา ที่องค์หลวงปู่หลุยเคยเมตตา ฝึกหัดอบรมแก่ท่าน ในโอกาสนี้ ท่านจึงมีโอกาสติดตามธุดงค์อีกครั้ง ไปกับองค์หลวงปู่หลุย ทุกจังหวัดทางภาคเหนือ และองค์หลวงปู่หลุย ได้พากราบเยี่ยมยังสถานที่ และวัดสำคัญอันองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้เคยมาเผยแพร่หลักธรรม คำสอนอยู่ เมื่อใกล้เข้าพรรษา องค์หลวงปู่หลุย ซึ่งได้พิจารณารับนิมนต์ ไปจำพรรษาที่หนองแซง จ.อุดรธานี ก็เดินทางกลับลงมา และแวะโปรดญาติโยม ที่สำนักสงฆ์ กม.๒๗ กรุงเทพมหานคร ส่วนท่านพระอาจารย์สาคร ก็มีนายอำเภอมานิมนต์ ให้ท่านไปเป็นเจ้าอาวาส ที่วัดภูซางใหญ่ จ.อุดรธานี แต่ท่านมิได้รับนิมนต์ไป ด้วยเมื่อหวนคิดถึง เมื่อครั้งท่านถูกขอตัว จากองค์หลวงปู่ฝั้น เพื่อไปอยู่ทางภาคตะวันตก “ด้วยแดนดินถิ่นนั้นขาดพระเณร ที่จะเป็นหลัก” ทำให้ท่านติดอยู่ในใจ ที่อยากจะไปช่วยเหลือ ทั้งในทางภาคอีสานนี้ ก็มีครูบาอาจารย์ พระเณรซึ่งเป็นหลักแก่พระพุทธศาสนา ให้พึ่งพิงมากมายอยู่แล้ว ท่านจึงคิดจะไปทางนั้นดู จึงได้กราบเรียนองค์หลวงปู่หลุย ซึ่งองค์หลวงปู่ก็อนุญาต ดังนั้นในคืนวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๑ อันวันรุ่งขึ้นองค์หลวงปู่จะเดินทางกลับไป จ.อุดรธานี ท่านพระอาจารย์สาคร จึงขอทำวัตรกับองค์หลวงปู่ โดยบอกแก่ญาติโยมที่นั้นว่า “เผื่อมันตายไป พรุ่งนี้ไม่ได้ไปกับหลวงปู่” นั่นก็เป็นที่แจ้งแก่ใจญาติโยม ที่เคารพนับถือ ในตัวท่านพระอาจารย์สาคร ว่าท่านจะไม่กลับไปด้วยแล้ว ก่อให้เกิดความอาลัย ร่ำไห้ออกมาหลายคน วันรุ่งขึ้น ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๑ ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ส่งองค์หลวงปู่หลุย ขึ้นรถไฟที่ดอนเมือง ครั้นถึงเวลารถออก ท่านก็กราบลาลงมา นับเป็นเวลา ๕ เดือนเต็ม ที่ท่านได้ทำอาจริยบูชา ปรนนิบัติดูแลองค์หลวงปู่หลุยโดยใกล้ชิด กำเนิดวัดเวฬุวัน เมื่อท่านพระอาจารย์สาคร ขอโอกาสกราบลาจากองค์หลวงปู่หลุยแล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร ได้พิจารณาแสวงหาที่ปฏิบัติธรรม โดยท่านได้เลือก ไปวิเวกทางจังหวัดกาญจนบุรี เพราะเห็นว่าสถานที่นั้น ยังไม่ค่อยมีพระปฏิบัติมาพักอยู่ ท่านจึงบอกกับลูกศิษย์ ให้ขับรถมารับ ที่วัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร เพื่อเดินทางไปทางจังหวัดกาญจนบุรี และได้มาส่งท่านถึงเพียงแค่ วัดพุทธวิมุติวนาราม อ.ไทรโยค ด้วยถนนเพิ่งสร้างมาสิ้นสุด ณ ตรงนั้น การเดินทางจึงต้องเดินทางต่อโดยทางเรือ จนถึงทองผาภูมิ ท่านจึงให้คณะที่มาส่งกลับไป เหลือแต่ท่านพระอาจารย์สาคร เดินทางต่อไปเพียงลำพัง เมื่อถึงทองผาภูมิ เนื่องจากท่านไม่รู้จักใคร ท่านจึงได้สอบถามหาโยม ผู้อุปถัมภ์วัดในละแวกนั้น ให้พาท่านไปดูถ้ำต่างๆ เพื่อเป็นที่พำนัก ปฏิบัติในพรรษาที่ใกล้จะมาถึง พวกโยมได้พาไปดูถ้ำหลายแห่ง จนในที่สุดท่านมาพบถ้ำแก่งกระโต่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เป็นที่จำพรรษาในคราวนั้นเอง
ถ้ำแก่งกระโต่ง
องค์หลวงปู่ฝั้นพาสร้างวัดใหม่ คืนหนึ่งที่ถ้ำแก่งกระโต่ง ท่านพระอาจารย์สาคร เข้าภาวนาตอนหัวค่ำอันเป็นปกติ ปรากฏว่าเมื่อจิตสงบแล้วในค่ำคืนนั้น ท่านได้นิมิตเห็นองค์หลวงปู่ฝั้น พาท่านและพระเณรสร้าง กุฏิพระ ศาลา ถนนหนทางในวัดแห่งหนึ่ง ท่านและพระเณรอื่นๆ ก็ช่วยกันสร้างอย่างแข็งขัน เฉกเช่นที่ท่านเคยช่วยงานก่อสร้าง กับองค์หลวงปู่ฝั้นมาตามปกติ ท่านอยู่สร้างวัดนั้นนานเหมือนเป็นปี จนท่านคุ้นเคยกับสถานที่นั้นเป็นอย่างดี ด้วยต้องเดินไปทั่วเขตวัดเพื่อสำรวจทาง และหาไม้ หาฟืน อยู่ทุกวัน จนท่านจำได้ว่ามีถนน มีกุฏิ ศาลา อยู่อย่างไร มีคลองทางน้ำ มีต้นไม้อะไรอยู่ตรงไหน สิ่งหนึ่งที่ท่านจำได้ชัด คือบ่อพุน้ำที่มีปลาอาศัย มีต้นไม้ที่ไม่มีรากแก้วล้มอยู่ ด้านโคนต้นอยู่ที่บ่อพุน้ำทางปลาย พาดคลองชี้ไปทางทิศตะวันออก วันหนึ่ง หลังจาก พักทำงาน ขณะองค์หลวงปู่ฝั้นมาพักฉันน้ำ องค์หลวงปู่ ก็พูดขึ้นกับท่านพระอาจารย์สาครว่า “ท่านอยู่ที่นี่นะ” ในนิมิตนั้น ท่านพระอาจารย์สาครได้ตอบไปว่า “กระผมไม่เอา กระผมจะกลับสกลนคร ที่นี่ลำบาก” ด้วยการตอบสวนคำ ที่ไม่เคยทำต่อองค์หลวงปู่ฝั้นมาก่อน จิตท่านจึงถอดออกทันที ซึ่งขณะนั้นเป็นเวลา ตี ๒ ล่วงเข้าวันใหม่ เมื่อมีโอกาสท่านพระอาจารย์สาคร จึงสอบถามกับญาติโยม ที่มีศรัทธามาทำบุญใส่บาตรว่า เคยเห็นสถานที่ที่มีลักษณะดังกล่าวหรือไม่ จนได้ความแล้วจึงได้ไปดู พบว่าสถานที่นั้น ตรงกับในนิมิตทุกประการ ซึ่งขณะที่เดินไปนั้น ท่านสามารถบอกล่วงหน้าได้ว่า ประเดี๋ยวตรงทางขึ้นวัด จะมีจอมปลวกและไม้แดงอยู่ ก็พบดังที่ท่านบอก และถัดไปจะมีต้นมะขามป้อม และมีคลองทางน้ำไหล มาจากบ่อพุน้ำด้านบน เดินไปตามคลองจะมีต้นฉะค่าง และเมื่อข้ามคลองไป จะเจอต้นแดงคู่อยู่ ก็เจอตามที่ท่านพูด เหมือนคุ้นเคยมาก่อน และเมื่อสุดคลอง ก็พบบ่อพุน้ำมีต้นไม้ล้มอยู่ ในลักษณะที่ท่านเห็นในนิมิตทุกประการ ดังนั้น ท่านจึงตัดสินใจ พาญาติโยมผู้มีศรัทธา เริ่มสร้างเสนาสนะ ตามที่องค์หลวงปู่ฝั้น บอกกับท่านในนิมิต และท่านได้อยู่จำพรรษา ณ สถานที่นี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๒ เรื่อยมา ต่อมาท่านได้สร้างเสนาสนะเพิ่มเติม จนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๓ ได้รับการประกาศ จากกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งเป็นวัดในพระพุทธศาสนา โดยสมบูรณ์ มีนามว่า วัดเวฬุวัน เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๓ และท่านพระอาจารย์สาคร ได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๗ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๑ และได้รับ พระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูภาวนาสุทธาจาร เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๑ นับจากวันที่ได้เริ่มสร้าง วัดเวฬุวันเป็นต้นมา สถานที่แห่งนี้ได้สร้าง ได้อบรมพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และอบรมอุบาสก อุบาสิกา ให้ดำรงอยู่ในเส้นทาง แห่งความเจริญรุ่งเรือง ของพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก อีกประการหนึ่ง อาจเป็นจุดประสงค์ขององค์หลวงปู่ฝั้น ที่ต้องการให้วัดเวฬุวัน เป็นสถานที่คอยสนับสนุน พระเณรที่มุ่งต่อการประพฤติ ปฏิบัติธรรม เพราะหากพิจารณาสภาพผืนป่า ที่เหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติ ในปัจจุบันนี้ก็จะเห็นว่า ผืนป่าภาคตะวันตก ยังคงความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด และเป็นสถานที่สัปปายะอย่างยิ่ง ซึ่งตำแหน่งที่ตั้งของวัดเวฬุวันนั้น เป็นเหมือนประตูที่เข้าไปสู่ผืนป่าดังกล่าว องค์หลวงปู่ฝั้น จึงได้สั่งให้ ท่านพระอาจารย์สาครสร้างวัดขึ้น ณ ที่ตรงนี้ เพื่อความเจริญแก่พระเณร และพระพุทธศาสนาต่อไป
ประวัติบางส่วนของ ท่านพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ
ท่านพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ มีนามเดิมว่า สาคร แสงมุกดา เป็นบุตรคนที่ ๕ ในจำนวน ๗ คน ของ นายบู่ แสงมุกดา และนางบัวลา แสงมุกดา (สกุลเดิมของโยมแม่ ชามนตรี ทายาทอดีตเจ้าเมืองหนองบัวลำภูในยุคนั้น) ท่านเกิดเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๐ เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘ ปีระกา ที่บ้านโนนสงเปลือย ต.หนองบัว อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี (ปัจจุบันคือ ต. เหล่าโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู) การศึกษา ท่านเข้าเรียนที่โรงเรียนบ้านนาวังเวิน เมื่อจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ ก็มิได้ศึกษาต่อ ด้วยเหตุที่ทางบ้าน ไม่สนับสนุน ทั้งนี้เนื่องมาจาก การที่โยมตาของท่าน ซึ่งเคยรับราชการ ในตำแหน่งสูงด้วยความซื่อสัตย์ กลับถูกสอบสวนอย่างไม่เป็นธรรม จนถูกจำคุกอยู่ถึง ๒๐ ปี โยมตาจึงหมดความศรัทธา ในระบบราชการ จึงไม่สนับสนุนให้ศึกษาต่อ อีกทั้งโยมตาท่าน ก็อยากให้มาช่วยกันดูแล เรือกสวนไร่นา ของครอบครัวตนเองจะดีกว่า และโยมพ่อโยมแม่ก็เห็นดีด้วย ท่านพระอาจารย์สาคร ซึ่งโดยนิสัย เชื่อฟังผู้ใหญ่อยู่เป็นพื้น จึงไม่ได้กลับไปศึกษาต่อ แม้ครูจะมาตามให้กลับไปเรียนก็ตาม เป็นกำลังสำคัญของครอบครัว ด้วยทางบ้าน ถือได้ว่ามีฐานะ เพราะมีเรือกสวนไร่นา ทั้งสัตว์เลี้ยงที่ต้องดูแลมาก เมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว ท่านจึงช่วยทางบ้านอย่างแข็งขัน เมื่อถึงฤดูฝนก็ทำไร่ ทำนา และเมื่อหมดหน้านา ก็ต้องต้อนฝูงวัวควายไปขาย ต่างบ้าน และต้องคุม หมู ไก่ กลับมาขาย บางครั้ง ก็ตามโยมพ่อเข้าป่า ไปหาใบยาและของป่า เนื่องจากโยมพ่อเป็นหมอยา ท่านจึงได้ความรู้ เรื่องยาและสมุนไพร จากโยมพ่ออีกด้วย เห็นทุกข์ทางโลก ด้วยหมู่บ้านสมัยก่อน บ้านเรือนมักอยู่ไม่ห่างกันนัก มีอะไรก็ช่วยซึ่งกันและกัน บางครั้งคนในหมู่บ้านจะคลอดลูก ได้ยินเสียงร้องโอดโอยไปหลายหลังคาเรือน ท่านมีโอกาสได้ตามไปดู ได้เห็นความเจ็บปวดทุกขเวทนา ของหญิงที่จะกำลังคลอดลูก ทำให้ท่านรู้สึกกลัว อีกทั้งเมื่อท่านคิดถึงเด็กที่อยู่ในท้อง ที่ต้องไปขดอยู่ในที่แคบๆ เป็นเวลานาน ให้รู้สึกอึดอัดเป็นอย่างยิ่ง แค่คิดก็แย่แล้ว แต่นี่คนที่เกิดต้องทนอยู่ถึง ๙ เดือน และในบางครั้งการคลอดลูก แม่ตายบ้าง เด็กไม่รอดบ้าง บางทีก็ต้องมาตายทั้งแม่ทั้งลูก ด้วยการคิดพิจารณา จากประสบการณ์ที่รับรู้มา ทำให้ท่านเห็นว่า การเกิดนั้นเป็นทุกข์อย่างยิ่ง กอปรกับเมื่อท่านต้องช่วยทำงานไร่นาที่บ้าน อย่างเหน็ดเหนื่อย ทำให้ท่านเห็นว่า ชีวิตคนทางโลก ต้องทำมาหากินไม่หยุดหย่อน เพื่อหาเลี้ยงตนเองและครอบครัว แต่สุดท้ายแล้ว ก็ไม่มีอะไรเป็นสาระที่แท้จริง จะบวชเป็นท่านเจ้าคุณ ในวัยเด็กท่านมีโอกาสติดตามโยมแม่ และญาติใหญ่ ไปวัดโดยสม่ำเสมอ ด้วยมีญาติพี่น้องบวชอยู่ ท่านจึงคุ้นเคยกับชีวิตสมณะ นักบวช และเนื่องจากโยมพี่ชายของท่าน (หลวงตาวา) ได้บวชเป็นเณรอยู่วัดมหาชัย โยมแม่จึงได้อาศัย ใช้ท่านนำอาหารไปถวายเสมอ และท่านก็ได้เห็นเณรพี่ชายท่าน ต้องถูกฝึกหัดให้ทำงาน และรับใช้อุปัฎฐาก ท่านเจ้าคุณที่วัดอยู่ เป็นประจำ ทำให้ท่านเกิดความคิดว่า เมื่อท่านจะบวช ท่านจะไม่บวชเป็นเณร ท่านอยากจะบวชเป็นท่านเจ้าคุณ
ออกบวช อำเภอหนองบัวลำภูในยุคนั้น อยู่บนเส้นทาง ที่พระวิปัสสนากัมมัฎฐานหลายรูป ใช้เป็นเส้นทางเดินธุดงค์ เพื่อไปฟังธรรมอบรมจากองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่จังหวัดสกลนคร และหลายท่าน ได้มาพักสร้างวัดในธรรมยุตินิกาย ที่เน้นการปฏิบัติธรรม ขึ้น ณ อำเภอนี้ ซึ่งญาติพี่น้องของท่านพระอาจารย์สาครเอง ก็ได้บวชเป็นพระเณรกันหลายท่าน บางท่านบวชเรียนสามารถสอบได้นักธรรม เปรียญธรรมประโยคต่างๆ บางท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นท่านเจ้าคุณ มีจริยวัตรงดงาม แสดงธรรมเทศนาได้ลึกซึ้ง น่าติดตาม ดังนั้นเมื่ออายุครบบวช ท่านพระอาจารย์สาคร จึงตัดสินใจ ขออนุญาติบิดามารดา ลาบวช เพื่อศึกษาธรรม ณ วัดมหาชัย ต.หนองบัว จ.อุดรธานี เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๘ โดยมี พระพิศาลคณานุกิจ เป็นพระอุปัชฌาย พระสมุห์คำบาล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาพุทธศาสนาว่า ธมมาวุโธ อันมีความหมายว่า ผู้มีธรรมเป็นอาวุธ สังกัดธรรมยุตนิกาย อยู่จำพรรษาแรก ณ วัดมหาชัย ต. หนองบัว อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี จะไม่อยู่ใกล้บ้าน เมื่อท่านบวชจำพรรษาแรกที่ วัดมหาชัย ใกล้บ้าน เพื่อโปรดญาติโยม และเมื่อทางบ้าน ได้อนุโมทนาการบวชของท่าน พอสมควรแล้ว ได้ขอให้ท่านลาสิกขาบทเพื่อ มาดูแลไร่นาและบ้านต่อไป หากแต่ด้วยท่านมีจิตใจที่มุ่งมั่นแล้ว ว่าจะบวช ดังนั้นท่านพระอาจารย์สาคร จึงผัดผ่อนเรื่อยมา หากญาติโยมมาตอนเช้า ท่านก็บอกให้รอตอนเย็นเสียก่อน หากญาติโยมมาตอนเย็น ท่านก็บอกให้รอเช้าเสียก่อน จนออกพรรษา ท่านจึงกราบลาอุปัชฌาย์ เดินทางเพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ต่อไป โดยท่านตั้งใจแน่วแน่ว่า จะไม่อยู่ในจังหวัดเลย อุดรธานี หนองคาย เพราะอยู่ใกล้บ้าน ใกล้ญาติโยมเกินไป แสวงหาครูบาอาจารย์ ตลอดพรรษา ปีพ.ศ. ๒๕๐๘ ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ และพระธรรมวินัยต่างๆ จนมีความเข้าใจเป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยสร้าง โบสถ์วัดมหาชัย จนลุล่วง ครั้นเมื่อออกพรรษา และได้ทำพิธีฉลองโบสถ์ในวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๙ แล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบลาพระอุปัชาฌาย์ เพื่อออกเดินทาง ไปกับท่านพระอาจารย์แถว โดยออกเดินทางโดยรถไฟ จาก จ.อุดรธานี แล้วไปเปลี่ยนรถไฟที่ภาชี เพื่อจะไปยังจ.พิษณุโลก เมื่อ ถึง จ.พิษณุโลกแล้ว ท่านจึงโดยสารรถยนต์ ต่อไปยังบ้านป่าหญ้าคา ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านพระอาจารย์แถว เพื่อทำกิจธุระ เมื่อทำธุระเสร็จแล้ว ท่านพระอาจารย์แถวจึงพาท่านลงมา ที่วัดนิรมลวัฒนา อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งท่านพระอาจารย์แถวเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ต่อมาในวันวิสาขบูชา ท่านพระอาจารย์สาครได้มีโอกาสพบ ท่านพระอาจารย์ทองดี ชุตินธโร เป็นครั้งแรก ซึ่งมาร่วมลงอุโบสถที่วัด และท่านพระอาจารย์สาคร ได้มีโอกาส พูดคุยกับท่านพระอาจารย์ทองดี เรื่องครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ สายองค์หลวงปู่มั่นภูริทัตโต ซึ่งขณะนั้น ครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ เริ่มทยอยเดินทาง กลับสู่ภาคอีสานแล้ว แต่เนื่องจากขณะนั้น ใกล้ฤดูการเข้าพรรษา ท่านพระอาจารย์สาคร จึงจำพรรษาที่วัดนิรมลวัฒนา กับท่านพระอาจารย์แถวก่อน กราบองค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เมื่อออกพรรษา ท่านพระอาจารย์สาคร จึงออกเดินทาง กลับจากจังหวัดเพชรบูรณ์ สู่ภาคอีสาน การเดินทาง ของท่านพระอาจารย์สาครคราวนั้น ท่านต้องเดินทางผ่าน จ.เลย ท่านจึงแวะกราบนมัสการ องค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ซึ่งขณะนั้นองค์หลวงปู่ชอบ พักอยู่ที่วัดม่วงไข่ อ.วังสะพุง จ.เลย เมื่อท่านพระอาจารย์สาคร เข้าไปกราบนมัสการองค์หลวงปู่ชอบ ซึ่ง ท่านมีจิตเมตตา ให้ท่านพระอาจารย์สาคร พักอยู่ด้วย พร้อมทั้งแนะนำ ให้อุบายธรรมต่างๆ ให้ท่านพระอาจารย์สาคร นำไปปฏิบัติ ทำให้ผลการปฏิบัติธรรม ของท่านพระอาจารย์สาคร มีความก้าวหน้า ขึ้นตามลำดับ ช่วงเวลาที่ท่านพระอาจารย์สาคร ได้พักอยู่กับองค์หลวงปู่ชอบนั้น ท่านต้องตื่นแต่ตี ๓ เพื่อมารองน้ำหมอกไว้เป็นน้ำฉัน ท่านกลางอากาศหนาวจัด ขนาดที่ว่ากำมือแล้ว ต้องเอามืออีกข้างหนึ่งมาแกะออก อีกทั้งเครื่องกันหนาวต่างๆ ก็มีไม่มากเหมือนยุคปัจจุบัน ในช่วงกลางวันที่ต้องทำงานก่อสร้าง ท่านพระอาจารย์สาครต้องหาฟืน และผ่าฟืนด้วย ท่านผ่าฟืนมากจนมือพอง จากมือพองจนมือแตก ในช่วงกลางคืน องค์หลวงปู่ จะพาพระเณรนั่งภาวนา ตั้งแต่ช่วงค่ำ จนกระทั่ง ๔ ทุ่ม จึงพาทำวัตรเย็น ในขณะที่พระเณรนั่งภาวนากันเงียบอยู่นั้น องค์หลวงปู่ก็จะสูบบุหรี่ ฉันหมาก และฉันหมาก สูบบุหรี่ สลับกันไป แต่หากใครพลิกขา หรือขยับแม้แต่นิดเดียว ท่านก็จะรู้ ท่านจะพูดว่า “พระพวกนี้เคารพขา มากกว่าเคารพธรรม อุตส่าห์แบกกลดแบกบาตร แสวงหาธรรม แต่เมื่อธรรมเกิดขึ้น กลับไม่ยอมพิจารณา” สิ่งเหล่านี้ เป็นตัวอย่างอุบาย ที่องค์หลวงปู่ชอบ ใช้อบรมสั่งสอนศิษย์ ท่านพระอาจารย์สาคร ได้อยู่ศึกษาปฏิบัติธรรม จากองค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม อยู่ช่วงระยะหนึ่ง ต่อมาองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ซึ่งขณะนั้นท่านพักอยู่ที่วัดกกกอก ต.งิ้วตาก อ.วังสะพุง จ.เลย ได้มีจดหมายนิมนต์พระเณรในแถบนั้น ไปร่วมงานทำบุญฉลองศาลา วัดกกกอก ท่านพระอาจารย์สาคร จึงได้ไปร่วมงาน และได้มีโอกาสกราบนมัสการ องค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ในครั้งนั้นด้วย อุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ในคราวที่ไปร่วมงานฉลองศาลาวัดกกกอกนั้น ท่านพระอาจารย์สาคร ได้มีโอกาสเข้ากราบนมัสการองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ต่อเมื่อเสร็จงานฉลองศาลาแล้ว เณรผู้ดูแลอุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย ต้องไปคัดเลือกทหาร ท่านพระอาจารย์สาคร จึงได้รับเมตตาจากององค์หลวงปู่หลุย ให้ทำหน้าที่นี้ พร้อมกับได้มีโอกาส ฟังพระธรรมาเทศนา อบรมสั่งสอน ฝึกความอดทน และรับการแนะนำ ธรรมภาคปฎิบัติ จากองค์หลวงปู่หลุยอีกด้วย การอยู่ดูแลรับใช้ อุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร นั้น ท่านพระอาจารย์สาคร ได้มีโอกาสติดตามองค์หลวงปู่ ออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆทั่วจังหวัดเลย และจังหวัดใกล้เคียง หลวงปู่หลุย จันทสาโร หลวงปู่ซามา อจฺตโต ธุดงค์กับองค์หลวงปู่หลุย ครั้งหนึ่งท่านพระอาจารย์สาคร มีโอกาสได้ธุดงค์ติดตามเพียงลำพัง ไปกับองค์หลวงปู่หลุย เมื่อองค์หลวงปู่ต้องเดินทาง ไปงานที่วัดท่าแขก โดยองค์หลวงปู่หลุยพาเดินทาง จากบ้านกกกอก ข้ามเขาลงมายังบ้านไร่ม่วง เพื่อกราบองค์หลวงปู่ซามา อจุตโต ที่วัดป่าอัมพวัน อ.เมือง จ.เลย ซึ่งระหว่างทางนั้นเอง ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ถูกฝึกความอดทน ความเพียร จากองค์หลวงปู่หลุยอย่างหนัก กล่าวคือ ครั้งหนึ่งซึ่งตรงกับวันโกน ในพระธรรมวินัย ซึ่งองค์หลวงปู่หลุย อนุญาตให้ท่านพระอาจารย์สาคร ปลงเกศา ให้องค์หลวงปู่จนเสร็จแล้ว องค์หลวงปู่ ก็ไปสรงน้ำชำระร่างกาย ท่านพระอาจารย์สาคร จึงเริ่มปลงเกศาของท่านเอง เมื่อท่านปลงเกศาไปได้เพียงครึ่งเดียว องค์หลวงปู่หลุยก็สรงน้ำเสร็จพอดี ท่านได้บอกกับท่านพระอาจารย์สาครว่า “เราออกเดินทางกันต่อไปเถอะ” คำว่า “ไป” ขององค์หลวงปู่หลุยนี้ ท่านมิได้เพียงแต่พูด ท่านได้ออกเดินทางไปจริงๆ ท่านพระอาจารย์สาคร จึงต้องหยุดการปลงเกศาตนเองไว้เท่านั้น รีบไปเก็บสัมภาระอัฐบริขารต่างๆ ทั้งของท่านเองกับขององค์หลวงปู่ด้วย ซึ่งมีถุงบาตร และ ย่าม อย่างละ ๒ ใบ แล้วรีบออกเดินทางต่อ เพื่อที่จะติดตามองค์หลวงปู่หลุยให้ทัน เมื่อเดินทันองค์หลวงปู่ หลุยแล้วท่านจึงเริ่มทำการปลงเกศาต่อ โดยใช้วิธีเดินไปปลงเกศาไป เพื่อปลงให้แล้วเสร็จก่อนถึงหมู่บ้าน ซึ่งครั้งนั้นเป็นการปลงเกศาที่ลำบากมาก เพราะมือข้างหนึ่งทำการปลงเกศา อีกข้างหนึ่ง ก็แบกย่ามกับถุงบาตรอีก ๒ ใบ ซึ่งโดยปกติการเดินปลงเกศา ก็เป็นเรื่องลำบากอยู่แล้ว แต่ท่านยังต้องสะพายของบนบ่าอีก จึงเป็นการเพิ่มความลำบาก ให้กับท่านยิ่งขึ้น ในครั้งนั้น ท่านจึงถูกมีดโกนบาด เสียหลายแผล เมื่อกราบลาองค์หลวงปู่ชามา อจุตโต แล้ว องค์หลวงปู่หลุย ได้พาเดินต่อไปยังถ้ำผาปู่ เพื่อกราบ องค์หลวงปู่คำดี ปภาโส และที่นี่ ท่านได้รับการฝึกอีกครั้งในระหว่างที่ พักอยู่ที่นี่ คือ โดยปกติแล้วหลังจาก ท่านทำอาจริยวัตร ถวายองค์หลวงปู่หลุยเสร็จ ในช่วงเช้า และองค์หลวงปู่ได้เข้าพักแล้ว โดยปกติองค์หลวงปู่จะออกมาอีกครั้ง ในเวลา ๒-๓ โมง ท่านพระอาจารย์สาคร จึงแยกไปภาวนาที่ถ้าผาปู่เพียงลำพัง สักครู่ที่ท่านเดินจงกรมภาวนาอยู่ ปรากฎว่าจิตท่านมีอาการผิดปกติ ข้างในมีอาการใจเต้นเร็ว ท่านเห็นผิดปกติ จึงออกจากการภาวนา เดินออกมา พอพ้นถ้ำเท่านั้นก็ได้ยินเสียงระฆัง อันเป็นสัญญาน เรียกพระเณรที่ถ้ำผาปู่ดังลั่นวัด ท่านจึงรีบมาทันที ปรากฏว่าองค์หลวงปู่หลุย เป็นผู้ตีระฆังเพื่อเรียกหาท่าน พระเณรออกมาดูกันทั้งวัด แต่เพราะท่านอยู่ในถ้ำ จึงไม่ได้ยินเสียงเลยแม้แต่น้อย องค์หลวงปู่จึงถามท่าน และบอกว่าจะเดินทางต่อ อันเป็นนิสัยการมาเร็วไปเร็ว ขององค์หลวงปู่ ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบเรียนถึงที่อยู่ และอาการของจิตท่าน องค์หลวงปู่จึงมิได้ต่อว่าอย่างไร นับเป็นอีกครั้ง ที่การภาวนา และความจดจ่ออยู่กับครูบาอาจารย์เสมอ ช่วยให้ท่านไม่ถูกตำหนิได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติอันพึงมี ในพระติดตามครูบาอาจารย์ต่อไป เมื่อออกจากวัดถ้ำผาปู่แล้ว ได้เดินธุดงค์ต่อไปยังวัดท่าแขก อันเป็นเป้าหมาย ท่านพระอาจารย์สาคร ได้อยู่ช่วยงานศพจนแล้วเสร็จ และเมื่อพระอุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย ได้มาถึงแล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบลาองค์หลวงปู่หลุย ที่วัดท่าแขกนี้เอง องค์หลวงปู่หลุย วางใจในท่านพระอาจารย์สาครแล้ว จึงอนุญาตให้ไปได้ ท่านจึงได้เดินทางย้อนกลับมา ยังถ้ำผาบิ้ง โดยหมายใช้เป็นที่วิเวกภาวนาต่อไป เวทนาทางกาย ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๐ ขณะที่ท่านพระอาจารย์สาคร ธุดงค์มาถึงที่ถ้ำผาบิ้ง ท่านได้พิจารณาพักอยู่ เพื่อภาวนาชั่วระยะหนึ่ง (ขณะนั้น องค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ยังไม่ได้อยู่ที่ถ้ำผาบิ้งนี้) ท่านได้ไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านน้ำทบ ได้เพียงข้าวเปล่าเท่านั้น และบางวันก็ได้พริกป่น กับเกลือมาด้วย ท่านก็ได้พิจารณาฉันตามฐานะนักบวช หากด้วยความไม่คุ้นเคย ทำให้ท่านปากพองแสบร้อนไปหมด จนแม้แต่ฉันน้ำ ก็ยังทรมาน เกิดเวทนาทางกายยิ่งนัก
เสือช่วย ตกคืนนั้นที่ท่านนั่งภาวนาอยู่ภายในถ้ำ ปรากฎมีเสียง สวบ สวบ ดั่งเสียงเสือเดินอยู่หน้าถ้ำ ด้วยความกลัวท่านจึงนั่งหลับตานิ่ง เร่งภาวนา พุทโธ พุทโธ อยู่ภายในใจ จนจิตสงบเงียบลงไป เหลือแต่มีความรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ขณะนั้นท่านพิจารณาร่างกาย สังขาร ข้อธรรมใดก็พิจารณาได้หมด จวบจนกระทั่งเช้าได้เวลาบิณฑบาต จึงได้ถอนออกจากการภาวนา นับเป็นเวลานานที่ผ่านไปอย่างรวดเร็ว นับจากที่ท่านได้เข้าภาวนา ขณะได้ยินเสียงเสือเมื่อราว ๑ ทุ่ม เมื่อท่านออกจากภาวนาแล้ว ก็ได้หวนคิดดื่มด่ำกับสิ่งที่เกิดขึ้น อัศจรรย์ว่า “ตัวเราภาวนาได้ขนาดนี้เชียวหรือ” และคิดว่า “ ถ้าเสือไม่ช่วยเราคงยังติดขัดอยู่” ขณะที่ภาวนานั้นก็ไม่รู้ เสือหายไปทางไหน เมื่อท่านมาดูอย่างละเอียด จนเข้าใจ่ว่า น่าจะเป็นบ่างมากินมะขามจากต้นหน้าถ้ำมากกว่า เช้านั้นท่านออกไปบิณฑบาต ก็ได้ข้าวกับพริกเกลือเช่นเดิม แต่ครั้งนี้ท่านฉันแล้วไม่รู้สึกแสบปาก แสบลิ้นดังที่เคย ท่านจึงได้อยู่ภาวนาต่อในถ้ำนี้ และตลอดเวลา ๒-๓ อาทิตย์ที่อยู่นั้น การภาวนาของท่านได้ผลดีเป็นอย่างยิ่งแต่เพราะมีนัดหมายกับท่านพระอาจารย์ทองดีไว้ ว่าจะไปพบกัน ที่วัดถ้ำกลองเพลจ.อุดรธานี ก่อนสิ้นเดือนเมษายน ทำให้ท่านต้องละจากถ้ำผ้าบิ้งนี้ไป จากถ้ำผาบิ้งไปวัดถ้ำกลองเพล หลังฉันเช้าเสร็จ ประมาณ ๙ โมงเช้า ท่านพระอาจารย์สาคร ออกเดินเท้าจากถ้ำผาบิ้ง เพื่อไปยังหมู่บ้านโนนสงเปลือย จ.หนองบังลำภู โดยมีระยะทางทั้งสิ้นกว่า ๙๕ กิโลเมตร ท่านเดินทางตามผ่านป่า ผ่านดงหนองไผ่ หากช่วงไหนเป็นหมู่บ้าน ท่านจะเดินเลี่ยงอ้อมเอา ท่านพระอาจารย์สาคร เดินภาวนาพุธโธไปตลอดระยะทาง ทำให้จิตสงบ กายเบา จิตเบา จนท่านสามารถเดินได้เร็วมาก โดยไม่เหน็ดเหนื่อยเลยแม้แต่น้อย ท่านมาถึงไร่โยมพ่อ บ้านโนนสงเปลือย เวลาบ่าย ๔ โมงเย็น ใช้เวลาเดินเท้าทั้งสิ้นเพียง ๗ ชั่วโมงเท่านั้น นับเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง เมื่อมาถึงไร่ ปรากฏว่าโยมพ่อกลับไปบ้านแล้ว ท่านจึงกางกลด พักอยู่ที่กระต๊อบในไร่นั้นเอง เช้าวันรุ่งขึ้น ได้บิณฑบาตโปรดโยม ที่บ้านโนนสงเปลือย แล้วไต่ถามได้ความว่า โยมพี่สะใภ้จะเดินทางไปอุดรธานีพอดี จึงนั่งรถโดยสารไปกับโยมพี่สะใภ้ เพื่อเดินทางต่อไปจนถึงวัดถ้ำกลองเพล
กราบองค์หลวงปู่ขาว อนาลโย เมื่อถึงวัดถ้ำกลองเพล (พุทธศักราช ๒๕๑๐) ท่านพระอาจารย์สาครได้เข้ากราบนมัสการองค์หลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งขณะนั้น กำลังอาพาธ และมีครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่สำคัญหลายองค์ มาถวายการดูแลองค์หลวงปู่ อันได้แก่ ท่านพระอาจารย์สุวัจน์ สุวโจ ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร ท่านพระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต ซึ่งถือว่าเป็นโชคดี ของท่านพระอาจารย์สาคร ที่ได้มีโอกาสรับใช้ ครูบาอาจารย์องค์สำคัญ ในคราวนั้นด้วย หลังจากที่ได้พบ กับท่านพระอาจารย์ทองดี ที่วัดถ้ำกลองเพล ตามที่ได้นัดหมายไว้ จึงได้กราบลาองค์หลวงปู่ขาวอนาลโย เพื่อออกเดินทางต่อไป
กราบองค์หลวงปู่ฝั้นครั้งแรก ท่านพระอาจารย์สาคร ออกเดินทางจากวัดถ้ำกลองเพล พร้อมท่านพระอาจารย์ทองดี โดยได้พาท่านพระอาจารย์สาคร ไปงานศพท่านพระอาจารย์สีลา อิสสโร อุปัชฌาย์ของท่านพระอาจารย์ทองดี ที่สำนักงานสงฆ์วัดโพธิ์ชัย ตำบลวาใหญ่ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร และที่นี้เอง ที่ท่านพระอาจารย์สาคร ได้พบองค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นครั้งแรก ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ระลึกถึงคำขององค์หลวงปู่หลุย ที่บอกว่าองค์หลวงปู่ฝั้น เป็นพระที่ได้รับการยกย่อง จากองค์หลวงปู่มั่น ในด้านความสามารถ ทางด้านจิตใจ ทั้งองค์หลวงปู่หลุย แม้พรรษาจะมากกว่าองค์หลวงปู่ฝั้น ก็เรียกองค์หลวงปู่ฝั้น ด้วยความเคารพว่า “อาจารย์ใหญ่” ดังนั้นองค์หลวงปู่ฝั้น จึงเป็นพระผู้ที่มีความสำคัญมาก ทั้งท่านพระอาจารย์ทองดี ก็สนับสนุนให้ไปอยู่กับองค์หลวงปู่ฝั้น โดยให้เหตุผลว่า ที่นั้นมีตั้ง ๒ วัด หากไม่พอใจในวัดป่าอุดมสมพร ก็สามารถขึ้นเขาไปอยู่ที่ถ้ำขามได้ ดังนั้น เมื่อเสร็จจากงานศพท่านพระอาจารย์สีลา แล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร ได้แยกกับ ท่านพระอาจารย์ทองดี ที่นี่เอง โดยท่านตั้งจุดหมายการเดินทาง ต่อไป ยังวัดป่าอุดมสมพร อ.พรรนานิคม จังหวัดสกลนคร เพื่อกราบถวายตัวเป็นลูกศิษย์ ขององค์หลวงปู่ฝั้นต่อไป ถึงวัดป่าอุดมสมพร ลุถึงวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ พุทธศักราช ๒๕๑๐ อันเป็นวันลงอุโบสถ ท่านก็ถึงวัดป่าอุดมสมพร ได้กราบองค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และนับจากวันนั้น ท่านได้อยู่ถวายตัว เป็นศิษย์องค์หลวงปู่ฝั้นมาตลอด ขณะนั้นที่วัดป่าอุดมสมพร มีพระอยู่เพียง ๕ รูป และเณรอีก ๑ รูป คือ ๑.องค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ๒.ท่านพระอาจารย์แปลง สุนฺทโร ๓.หลวงตาพรหม ๔.หลวงตาไข ๕.หลวงตาอ่อน และเณร ด้วยขณะนั้น ท่านพระอาจารย์ปิ่น ปิยธัมโม ไม่อยู่ และท่านพระอาจารย์อุทัย สิริธโร ยังไม่ลงมาจากถ้ำขาม ทั้งท่านพระอาจารย์แปลง ก็มีภาระดูแลงานอื่นเป็นจำนวนมาก คงมีหลวงตาอ่อน ดูแลอุปัฏฐากองค์หลวงปู่ฝั้น อยู่ผู้เดียว ท่านพระอาจารย์สาคร จึงได้เข้าช่วยงาน หลวงตาอ่อนอีกแรงหนึ่ง นับจากนั้น ท่านก็ได้รับหน้าที่ ดูแลอุปัฏฐากองค์หลวงปู่ฝั้น มาโดยตลอด จากการที่มีโอกาสรับใช้ใกล้ชิด องค์หลวงปู่ฝั้น และได้รับฟังโอวาท ได้เห็นจริยาวัตรอันงดงาม ทั้งข้อปฏิบัติที่เพียบพร้อม ทำให้ท่านพระอาจารย์สาคร เกิดความศรัทธาและลงใจ ในองค์หลวงปู่ฝั้นเป็นอย่างยิ่ง แม้เพิ่งจะมาถวายตัวรับใช้กับองค์หลวงปู่ เพียงไม่นาน
เพชรบนยอดมงกุฎแห่งเมืองเลย มาวัดป่าอุดมสมพร ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ พุทธศักราช ๒๕๑๐ หลังจากพำนักอยู่กับองค์หลวงปู่ฝั้นเพียง ๗ วัน องค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม และองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ได้เดินทางมาเยี่ยมองค์หลวงปู่ฝั้น และรอลงอุโบสถร่วมกันในวันวิสาขบูชา ที่วัดป่าอุดมสมพร เมื่อองค์หลวงปู่ท่าน ได้กราบคารวะกันแล้ว องค์หลวงปู่หลุยเห็นท่านพระอาจารย์สาคร กำลังจัดอาสนะอยู่นั้น ท่านจึงกล่าวขึ้นกับองค์หลวงปู่ฝั้นว่า “พระองค์นี้เคยอยู่กับผมมาก่อน” องค์หลวงปู่ชอบก็ได้กล่าวขึ้นด้วยว่า “เคยอยู่กับผมเหมือนกันพระองค์นี้” ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบเรียนองค์หลวงปู่ฝั้นว่า ท่านเคยอยู่กับองค์หลวงปู่ชอบมาก่อนที่วัดป่าม่วงไข่ แล้วจึงมาอยู่กับองค์หลวงปู่หลุย ที่บ้านกกกอก หลังจากลงอุโบสถ ในวันวิสาขบูชา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อองค์หลวงปู่ชอบ และ องค์หลวงปู่หลุย ได้กลับไปแล้ว นับจากวันนั้นมา ท่านพระอาจารย์สาครเปรียบว่า เหมือนผ้าเช็ดหน้า จะบิดให้ขาดเสียให้ได้ องค์หลวงปู่ฝั้น เปลี่ยนจากองค์หลวงปู่องค์เดิม อย่างสิ้นเชิง หันมาเข้มงวด กับท่านพระอาจารย์สาครมากขึ้น หากมีอะไรผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ก็จะค่อยดุว่า ไม่ปล่อยให้ความผิดพลาดนั้นผ่านไปเฉยๆ บางครั้งความผิดพลาดของท่าน ก็นำมาเทศน์บนศาลา เทศน์กันเป็นอาทิตย์ๆเป็นเดือนๆ ในความผิดนั้นๆ ทั้งนี้คงเป็นเจตนาขององค์หลวงปู่ฝั้น ที่ต้องการทดสอบความเข้มแข็ง ทางจิตใจของลูกศิษย์ และต้องการให้ศิษย์ได้ดีในทางธรรม อยากหนี จากการที่องค์หลวงปู่ฝั้นเข้มงวดกวดขัน ท่านพระอาจารย์สาคร ไม่ว่าท่านพระอาจารย์สาครจะทำอะไร ดูเหมือนจะผิดไปหมด กลับถูกเข่น ถูกว่าสารพัด เผลอสติเป็นไม่ได้ ไม่เพียงท่านที่ถูกเข่นเท่านั้น เณรที่รับใช้องค์หลวงปู่ ก็ได้รับความเข้มงวด จนเณรร้องไห้อยู่แทบทุกวัน กระนั้น วันหนึ่งท่านติดขัด เรื่องการจัดยาให้หลวงปู่จึงถามเณร เณรก็ยังตอบว่า “ครูบาเอาตามาด้วยหรือเปล่า ครูบาเอาหูมาด้วยหรือเปล่า” ทำให้ท่านอึดอัดขัดข้องยิ่งขึ้นไปอีก ขณะนั้นท่านคิดว่า “ต่อไปไม่ว่างานเรื่องอะไรในวัดนี้ เราจะต้องเรียนรู้ให้หมดให้ได้” ในแต่ละวัน ไม่ว่าใครจะทำอะไร ผิดมาในวันนั้นก็ดี หรือเหตุเก่าก็ดี พอขึ้นศาลาองค์ หลวงปู่ต้องดุว่า แต่ท่านพระอาจารย์สาครองค์เดียว ทำให้ท่านคิดเบื่อหน่าย อยากจะหนีเป็นที่สุด กำหราบความคิด เมื่อท่านมีความคิดอยากหนีวันไหน พอขึ้นไปบนกุฏิองค์หลวงปู่ฝั้น เพื่อทำอาจริยาวัตรปกติ บางครั้งยังไม่ทันจะนั่งกราบเลย องค์หลวงปู่ ก็พูดขึ้นว่า “จะไปไหนก็ผีตัวเก่า ถ้าไม่ตั้งใจภาวนา จะอยู่ที่ไหนก็ผีตัวเก่า” พออีก ๒-๓ วันคิดจะไปอีก องค์หลวงปู่ก็พูดขึ้นอีก ทำให้ใจท่าน ไม่คิดฟุ้งไปกว่านี้ บางครั้งใจก็คิดอยากจะไปดูถ้ำขามบ้าง ว่าเป็นอย่างไร อยากไปดูวัดดอยธรรมเจดีย์บ้าง ว่า เป็นอย่างไร พอขึ้นกุฏิ องค์หลวงปู่ ก็จะเล่าเรื่องวัดนั้นๆให้ฟังทันที ทำให้ท่านต้องคอยสำรวม ระมัดระวังความคิด อยู่ตลอดเวลา
หมาแทะกระดูก บ่อยครั้งเมื่อลูกศิษย์คิดถึงบ้าน องค์หลวงปู่ฝั้นจะเมตตายกเรื่อง ของท่านขึ้นเทศน์ให้ฟัง ถึงเมื่อครั้งองค์ท่านเองก็เคยเบื่อหน่าย ท้อแท้ จนคิดจะกลับบ้านเช่นกัน วันหนึ่งขณะที่องค์หลวงปู่ เดินบิณฑบาตอยู่นั้น เห็นหมาตัวหนึ่งเดินตามเจ้าของอยู่ สักพักมันเจอกระดูกเก่าท่อนหนึ่ง มันก็หยุดแทะตามประสาหมา แต่เจ้าของก็เดินต่อไป มันแทะอยู่สักพัก ก็วิ่งตามเจ้าของไป แต่แล้วก็หันวิ่งกลับมาแทะต่ออีก แล้วก็วิ่งกลับไปหาเจ้าของอีก กลับไปกลับมาอยู่หลายครั้ง จนเจ้าของเดินไกลออกไปมากแล้ว มันจึงได้วิ่งตามเจ้าของไปอย่างอาลัย องค์หลวงปู่เห็นอาการมันแล้ว ก็กลับมานึกเป็นธรรม อบรมตัวองค์ท่านได้ว่า “การอาลัยในบ้านขององค์ท่าน ก็เหมือนหมาตัวนั้น ที่อาลัยในกระดูกเก่าอันจืดชืด แต่มันไม่รู้ว่ากระดูกนั้นไม่มีรสอะไรแล้ว ที่หลงอยู่ ก็หลงในน้ำลายของตัวเองเท่านั้น ชีวิตทางโลก ก็เหมือนกระดูกเก่าที่หาค่า อันใดมิได้ ความหลงในสิ่งที่ฉาบทาไว้ ก็เหมือนหมาที่หลงอร่อยน้ำลายตัวเอง” เมื่อองค์หลวงปู่ ท่านพิจารณาได้เช่นนั้น ก็วางความคิดถึงบ้านลงได้ ท่านพระอาจารย์สาคร ก็ได้ธรรมข้อนี้ ช่วยให้ท่านผ่านพ้นมาได้ ท่านจึงซาบซึ้ง ถึงพระคุณขององค์หลวงปู่ฝั้น อย่างถึงที่สุด ว่าทางหนึ่ง ท่านก็เข่นเอาเต็มที่ แต่อีกทางหนึ่งก็เมตตา คอยประคับประคอง หาอุบายธรรมช่วยเหลือเต็มที่เช่นกัน ปัจจุบันหากท่านพระอาจารย์สาคร เดินทางไปกราบนมัสการ เจดีย์องค์หลวงปู่ฝั้น ที่วัดป่าอุดมสมพร ท่านจะต้องไปดูภาพแกะสลักเรื่อง “หมาแทะกระดูก” ที่ฐานองค์เจดีย์ ด้วยความระลึกซาบซึ้งในพระคุณ อยู่ทุกครั้งไป
ศึกษาปฏิบัติธรรม และอุปัฏฐาก องค์หลวงปู่ฝั้น เมื่อท่านพิจารณาเข้าใจถึงความเมตตา ขององค์หลวงปู่ฝั้นแล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร ก็ตั้งใจอยู่รับการอบรมอย่างถึงที่สุด คราวนี้ ท่านกลับกลัวองค์หลวงปู่ฝั้นไล่หนีเอา ทั้งนี้ด้วยเห็นพระบางองค์ ถูกองค์หลวงปู่ไล่หนี บางองค์มาถึงวัด ยังไม่ทันแก้บาตรเลย ก็ถูกบอกให้หลีกไปที่อื่นแล้ว ท่านจึงอยู่ด้วยความระมัดระวัง ในเรื่องข้อวัตรปฏิบัติให้ดีที่สุด ท่านพระอาจารย์สาคร คอยปฏิบัติองค์หลวงปู่ฝั้นอย่างใกล้ชิด ดุจเป็นเงาขององค์หลวงปู่ ท่านจะดูแลองค์หลวงปู่ฝั้นตั้งแต่ตอนที่ องค์หลวงปู่ตื่นขึ้นมา โดยจะเข้าไปถวายน้ำล้างหน้า ไม้สีฟัน เปลี่ยนกระโถน รับผ้าจีวรมาที่ศาลา ตอนบิณฑบาตรจะช่วยองค์หลวงปู่ ครองผ้ากลัดรังดุม และคอยส่งบาตร รับบาตรองค์หลวงปู่ แล้วรีบกลับมาเตรียมน้ำอุ่น ล้างเท้าให้องค์หลวงปู่ แล้วจึงคอยเช็ดเท้าให้แห้ง เวลาฉันอาหาร ท่านพระอาจารย์สาคร จะเป็นผู้จัดอาหารถวาย ทั้งนี้เพราะ องค์หลวงปู่ฝั้นท่านไม่จัดอาหารเอง แม้ในคราวที่มีนิมนต์ไปฉันข้างนอกก็ตาม ท่านพระอาจารย์สาคร จะขอโอกาสพระเถระองค์อื่น เพื่อจะได้นั่งใกล้องค์หลวงปู่ฝั้น เพื่อคอยจัดอาหารถวาย ท่านพระอาจารย์สาคร ต้องฉันให้เสร็จก่อนองค์หลวงปู่ เพื่อจะได้นำบาตรของตนไปล้างก่อน แล้วจึงนำบาตรขององค์หลวงปู่ไปล้าง แล้วนำมาเช็ดให้แห้ง ก่อนนำไปผึ่งไว้ แล้วรีบกลับมาถวายไม้สีฟัน ถวายยา เก็บของ เก็บกระโถน รับผ้าจีวร แล้วรีบนำบริขารขององค์หลวงปู่ ไปเก็บไว้ที่กุฏิ แล้วมาคอยเป็นปัจฉาสมณะ ดูแลองค์หลวงปู่ ถ้ามีงานภายในวัด ท่านจะกราบเรียนขอโอกาสไว้ แล้วไปทำงานนั้นๆจนเสร็จ ซึ่งงานส่วนมาก เป็นงานที่คนอื่นไม่กล้าทำ แต่ด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว ท่านจะรับอาสาทำเสมอ อาทิ ตอนที่แบกเสากุฏิ ท่านบอกว่า ถ้าแบกเสา ๑ ต้น ทีละ ๒ คน แต่ถ้าแบก ๓ คน ๒ ต้นน่าจะดีกว่า โดยท่านพระอาจารย์สาคร ท่านรับเป็นคนที่อยู่ตรงกลาง ยอมแบกคนเดียว ๒ ต้น เป็นต้น นอกจากนี้ท่านยังดูแลรักษาเสนาสนะ ร่วมทำงานก่อสร้าง ภายในวัดและภายนอกวัด เช่นงานสร้างเจดีย์ที่หลังกุฏิองค์หลวงปู่ฝั้น งานสร้างถนนวัดถ้ำขาม งานสร้างศาลาวัดถ้ำขาม งานสร้างเขื่อนกั้นน้ำอูน และสะพานบ้านบะทอง งานสร้างโรงพยาบาลหลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นต้น เมื่อถึงตอนเย็น ท่านพระอาจารย์สาคร จะคอยดูแลสรงน้ำองค์หลวงปู่ เมื่อองค์หลวงปู่สรงน้ำเสร็จ ต้องรีบเช็ดพื้นห้องน้ำให้แห้ง เพราะเป็นพื้นไม้ ตอนกลางคืน ต้องทำวัตรสวดมนต์ และรับฟังโอวาทที่ศาลา เมื่อเลิกท่านก็ไปที่กุฏิองค์หลวงปู่ เพื่อไปส่งย่าม และคอยจับเส้นถวายองค์หลวงปู่ กว่าจะเลิก บางคืนก็เที่ยงคืน บางคืนล่วงไปจนถึงตีหนึ่ง เมื่อลงจาก กุฏิท่านจะลงไปเดินจงกรมต่อ แล้วจึงเข้าพัก บางคืน ท่านจะเดินจนถึงเวลาที่องค์หลวงปู่ตื่น ซึ่งโดยปกติแล้ว องค์หลวงปู่ฝั้นจะเข้าพักไม่นาน เมื่อองค์หลวงปู่ฝั้นท่านตื่น ท่านพระอาจารย์สาคร ก็จะรีบเข้าไปถวายน้ำล้างหน้าอีก ในข้อวัตรต่างๆเหล่านี้ ท่านถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด อยู่ตลอดเวลา ซึ่งท่านพระอาจารย์สาคร จะมีคติสั้นที่ยึดปฏิบัติว่า “นอนทีหลัง ตื่นก่อน ฉันทีหลัง อิ่มก่อน” นอกเหนือจาก การมีข้อวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดแล้ว ในการเดินทาง แม้จะมีเป้าหมายที่แน่นอน หากด้วยบนหนทาง ย่อมต้องพบเครื่องกีดขวางอยู่บ้าง การจะฝ่าฟันไปได้นั้น ท่านพระอาจารย์สาคร ยังมีองค์พระพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือ ยามที่ท่านพบกับปัญหา ไม่ว่าทางด้านใดๆก็ดี ท่านได้มี องค์หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ ท่านพระอาจารย์แปลง สุนฺทโร ท่านพระอาจารย์เขี่ยม โสรโย ท่านพระอาจารย์อุทัย สิริธโร และท่านพระอาจารย์คำดี ปัญโญภาโส คอยเมตตาช่วยเหลือ ทำให้การปฏิบัติธรรม ของท่านพระอาจารย์สาคร ดำเนินไปอย่างราบรื่น ซึ่งท่านพระอาจารย์สาคร ก็ได้ซาบซึ้งในพระคุณ ของท่านพระเถระทุกองค์นี้เสมอ ดังนั้นนอกจากท่านจะไปกราบเยี่ยมแล้ว หากท่านสามารถจัดทำธุระสิ่งใด เพื่อตอบแทนได้ ท่านก็จะทำทันที
หลวงปู่สุุวัจน์ สุวโจ
พระอาจารย์แปลง สุนฺทโร
พระอาจารย์เขี่ยม โสรโย
พระอาจารย์อุทัย สิริธโร
พระอาจารย์คำดี ปัญโญภาโส
มั่นใจว่าจะไม่ถูกไล่หนี ถึงแม้ท่านจะตั้งใจปฏิบัติข้อวัตร และทำงานทุกอย่าง เต็มกำลังสติปัญญาความสามารถ หากแต่ยังหวั่นกลัวองค์หลวงปู่ฝั้นจะไล่หนีเอา จนวันหนึ่ง มีสิ่งที่ทำให้ท่าน รับรู้และมั่นใจว่าจะไม่ถูกไล่หนี กล่าวคือ ในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ท่านเจ้าคุณ ซึ่งเคารพองค์หลวงปู่ฝั้น ได้มากราบเยี่ยมองค์หลวงปู่ และปรารภขึ้นว่า ทางภาคตะวันตกของประเทศ นั้นยังมีพระกัมมัฏฐานน้อย ทั้งที่ดินแดนแถบนั้น ยังมีป่าอันสัปปายะอุดมสมบูรณ์อยู่ แม้ขณะนั้น จะมีท่านพระอาจารย์มหาปิ่นอยู่ แต่ท่านก็อาพาธ จึงอยากจะขอพระจากองค์หลวงปู่ ไปอยู่เป็นหลัก ให้แก่พระและญาติโยม ทางด้านนั้นบ้าง องค์หลวงปู่ฝั้นจึงถามว่า คิดจะเอาใครไป ท่านเจ้าคุณ ซึ่งได้เคยเห็นอาจริยวัตร และฝีมือการทำงาน ในตัวท่านพระอาจารย์เป็นประจักษ์แล้ว จึงกล่าวขอตัวท่านพระอาจารย์ กับองค์หลวงปู่ฝั้น ซึ่งองค์หลวงปู่ฝั้น ก็ไม่อนุญาตให้ไป การที่องค์หลวงปู่ฝั้นท่านกล่าว ไม่อนุญาตนั้น ก็มีความหมายเป็นนัย ให้ท่านพระอาจารย์สาครรับรู้ได้ว่า แม้องค์หลวงปู่ฝั้นจะดุ จะว่าเอา แต่องค์หลวงปู่ท่านก็ได้รับรู้ถึง ความเอาใจใส่ ไม่ละวางการงาน ในตัวลูกศิษย์ผู้นี้อยู่เสมอ ซึ่งก็เพียงพอ ให้ท่านพระอาจารย์สาครซาบซึ้ง และเป็นกำลังใจ ให้ท่านยิ่งทุ่มเท แรงกายแรงใจถวายองค์หลวงฝั้นยิ่งขึ้นไป เมื่อองค์หลวงปู่ฝั้นอาพาธ ในปีพ.ศ. ๒๕๑๙ ท่านพระอาจารย์สาคร เป็นพระรูปหนึ่ง ในแปดรูป ที่ได้รับคัดเลือก ให้ดูแลองค์หลวงปู่ จากพระจำนวนร้อย ซึ่งท่านทำหน้าที่ คอยดูแลออกซิเจนให้องค์หลวงปู่ และถวายอาหาร ให้องค์หลวงปู่ในตอนเช้าด้วย จวบจนกระทั่ง องค์หลวงปู่ฝั้นท่านมรณภาพ ในวันอังคารที่ ๔ เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ ณ กุฏิวัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร หลังจากเสร็จพิธี พระราชทานเพลิงศพองค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านพระอาจารย์สาคร ได้เดินทางธุดงค์ แสวงหาที่ปฏิบัติธรรม เพื่อที่จะได้เร่งบำเพ็ญภาวนา ตามแนวทางคำสั่งสอนจากครูบาอาจารย์ ที่ท่านได้เมตตาอบรมแนะนำธรรม ละจากแดนดินอีสานสู่ภาคตะวันตก เมื่อสิ้นองค์หลวงปู่ฝั้น และเสร็จงานพระราชทานเพลิงศพแล้ว ในวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๑ ท่านก็ละจากวัดป่าอุดมสมพร เพื่อเดินทางไป อุปัฏฐากองค์หลวงปู่หลุย เพื่อเป็นอาจริยบูชา ที่องค์หลวงปู่หลุยเคยเมตตา ฝึกหัดอบรมแก่ท่าน ในโอกาสนี้ ท่านจึงมีโอกาสติดตามธุดงค์อีกครั้ง ไปกับองค์หลวงปู่หลุย ทุกจังหวัดทางภาคเหนือ และองค์หลวงปู่หลุย ได้พากราบเยี่ยมยังสถานที่ และวัดสำคัญอันองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้เคยมาเผยแพร่หลักธรรม คำสอนอยู่ เมื่อใกล้เข้าพรรษา องค์หลวงปู่หลุย ซึ่งได้พิจารณารับนิมนต์ ไปจำพรรษาที่หนองแซง จ.อุดรธานี ก็เดินทางกลับลงมา และแวะโปรดญาติโยม ที่สำนักสงฆ์ กม.๒๗ กรุงเทพมหานคร ส่วนท่านพระอาจารย์สาคร ก็มีนายอำเภอมานิมนต์ ให้ท่านไปเป็นเจ้าอาวาส ที่วัดภูซางใหญ่ จ.อุดรธานี แต่ท่านมิได้รับนิมนต์ไป ด้วยเมื่อหวนคิดถึง เมื่อครั้งท่านถูกขอตัว จากองค์หลวงปู่ฝั้น เพื่อไปอยู่ทางภาคตะวันตก “ด้วยแดนดินถิ่นนั้นขาดพระเณร ที่จะเป็นหลัก” ทำให้ท่านติดอยู่ในใจ ที่อยากจะไปช่วยเหลือ ทั้งในทางภาคอีสานนี้ ก็มีครูบาอาจารย์ พระเณรซึ่งเป็นหลักแก่พระพุทธศาสนา ให้พึ่งพิงมากมายอยู่แล้ว ท่านจึงคิดจะไปทางนั้นดู จึงได้กราบเรียนองค์หลวงปู่หลุย ซึ่งองค์หลวงปู่ก็อนุญาต ดังนั้นในคืนวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๑ อันวันรุ่งขึ้นองค์หลวงปู่จะเดินทางกลับไป จ.อุดรธานี ท่านพระอาจารย์สาคร จึงขอทำวัตรกับองค์หลวงปู่ โดยบอกแก่ญาติโยมที่นั้นว่า “เผื่อมันตายไป พรุ่งนี้ไม่ได้ไปกับหลวงปู่” นั่นก็เป็นที่แจ้งแก่ใจญาติโยม ที่เคารพนับถือ ในตัวท่านพระอาจารย์สาคร ว่าท่านจะไม่กลับไปด้วยแล้ว ก่อให้เกิดความอาลัย ร่ำไห้ออกมาหลายคน วันรุ่งขึ้น ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๑ ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ส่งองค์หลวงปู่หลุย ขึ้นรถไฟที่ดอนเมือง ครั้นถึงเวลารถออก ท่านก็กราบลาลงมา นับเป็นเวลา ๕ เดือนเต็ม ที่ท่านได้ทำอาจริยบูชา ปรนนิบัติดูแลองค์หลวงปู่หลุยโดยใกล้ชิด กำเนิดวัดเวฬุวัน เมื่อท่านพระอาจารย์สาคร ขอโอกาสกราบลาจากองค์หลวงปู่หลุยแล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร ได้พิจารณาแสวงหาที่ปฏิบัติธรรม โดยท่านได้เลือก ไปวิเวกทางจังหวัดกาญจนบุรี เพราะเห็นว่าสถานที่นั้น ยังไม่ค่อยมีพระปฏิบัติมาพักอยู่ ท่านจึงบอกกับลูกศิษย์ ให้ขับรถมารับ ที่วัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร เพื่อเดินทางไปทางจังหวัดกาญจนบุรี และได้มาส่งท่านถึงเพียงแค่ วัดพุทธวิมุติวนาราม อ.ไทรโยค ด้วยถนนเพิ่งสร้างมาสิ้นสุด ณ ตรงนั้น การเดินทางจึงต้องเดินทางต่อโดยทางเรือ จนถึงทองผาภูมิ ท่านจึงให้คณะที่มาส่งกลับไป เหลือแต่ท่านพระอาจารย์สาคร เดินทางต่อไปเพียงลำพัง เมื่อถึงทองผาภูมิ เนื่องจากท่านไม่รู้จักใคร ท่านจึงได้สอบถามหาโยม ผู้อุปถัมภ์วัดในละแวกนั้น ให้พาท่านไปดูถ้ำต่างๆ เพื่อเป็นที่พำนัก ปฏิบัติในพรรษาที่ใกล้จะมาถึง พวกโยมได้พาไปดูถ้ำหลายแห่ง จนในที่สุดท่านมาพบถ้ำแก่งกระโต่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เป็นที่จำพรรษาในคราวนั้นเอง
ถ้ำแก่งกระโต่ง
องค์หลวงปู่ฝั้นพาสร้างวัดใหม่ คืนหนึ่งที่ถ้ำแก่งกระโต่ง ท่านพระอาจารย์สาคร เข้าภาวนาตอนหัวค่ำอันเป็นปกติ ปรากฏว่าเมื่อจิตสงบแล้วในค่ำคืนนั้น ท่านได้นิมิตเห็นองค์หลวงปู่ฝั้น พาท่านและพระเณรสร้าง กุฏิพระ ศาลา ถนนหนทางในวัดแห่งหนึ่ง ท่านและพระเณรอื่นๆ ก็ช่วยกันสร้างอย่างแข็งขัน เฉกเช่นที่ท่านเคยช่วยงานก่อสร้าง กับองค์หลวงปู่ฝั้นมาตามปกติ ท่านอยู่สร้างวัดนั้นนานเหมือนเป็นปี จนท่านคุ้นเคยกับสถานที่นั้นเป็นอย่างดี ด้วยต้องเดินไปทั่วเขตวัดเพื่อสำรวจทาง และหาไม้ หาฟืน อยู่ทุกวัน จนท่านจำได้ว่ามีถนน มีกุฏิ ศาลา อยู่อย่างไร มีคลองทางน้ำ มีต้นไม้อะไรอยู่ตรงไหน สิ่งหนึ่งที่ท่านจำได้ชัด คือบ่อพุน้ำที่มีปลาอาศัย มีต้นไม้ที่ไม่มีรากแก้วล้มอยู่ ด้านโคนต้นอยู่ที่บ่อพุน้ำทางปลาย พาดคลองชี้ไปทางทิศตะวันออก วันหนึ่ง หลังจาก พักทำงาน ขณะองค์หลวงปู่ฝั้นมาพักฉันน้ำ องค์หลวงปู่ ก็พูดขึ้นกับท่านพระอาจารย์สาครว่า “ท่านอยู่ที่นี่นะ” ในนิมิตนั้น ท่านพระอาจารย์สาครได้ตอบไปว่า “กระผมไม่เอา กระผมจะกลับสกลนคร ที่นี่ลำบาก” ด้วยการตอบสวนคำ ที่ไม่เคยทำต่อองค์หลวงปู่ฝั้นมาก่อน จิตท่านจึงถอดออกทันที ซึ่งขณะนั้นเป็นเวลา ตี ๒ ล่วงเข้าวันใหม่ เมื่อมีโอกาสท่านพระอาจารย์สาคร จึงสอบถามกับญาติโยม ที่มีศรัทธามาทำบุญใส่บาตรว่า เคยเห็นสถานที่ที่มีลักษณะดังกล่าวหรือไม่ จนได้ความแล้วจึงได้ไปดู พบว่าสถานที่นั้น ตรงกับในนิมิตทุกประการ ซึ่งขณะที่เดินไปนั้น ท่านสามารถบอกล่วงหน้าได้ว่า ประเดี๋ยวตรงทางขึ้นวัด จะมีจอมปลวกและไม้แดงอยู่ ก็พบดังที่ท่านบอก และถัดไปจะมีต้นมะขามป้อม และมีคลองทางน้ำไหล มาจากบ่อพุน้ำด้านบน เดินไปตามคลองจะมีต้นฉะค่าง และเมื่อข้ามคลองไป จะเจอต้นแดงคู่อยู่ ก็เจอตามที่ท่านพูด เหมือนคุ้นเคยมาก่อน และเมื่อสุดคลอง ก็พบบ่อพุน้ำมีต้นไม้ล้มอยู่ ในลักษณะที่ท่านเห็นในนิมิตทุกประการ ดังนั้น ท่านจึงตัดสินใจ พาญาติโยมผู้มีศรัทธา เริ่มสร้างเสนาสนะ ตามที่องค์หลวงปู่ฝั้น บอกกับท่านในนิมิต และท่านได้อยู่จำพรรษา ณ สถานที่นี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๒ เรื่อยมา ต่อมาท่านได้สร้างเสนาสนะเพิ่มเติม จนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๓ ได้รับการประกาศ จากกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งเป็นวัดในพระพุทธศาสนา โดยสมบูรณ์ มีนามว่า วัดเวฬุวัน เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๓ และท่านพระอาจารย์สาคร ได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๗ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๑ และได้รับ พระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูภาวนาสุทธาจาร เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๑ นับจากวันที่ได้เริ่มสร้าง วัดเวฬุวันเป็นต้นมา สถานที่แห่งนี้ได้สร้าง ได้อบรมพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และอบรมอุบาสก อุบาสิกา ให้ดำรงอยู่ในเส้นทาง แห่งความเจริญรุ่งเรือง ของพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก อีกประการหนึ่ง อาจเป็นจุดประสงค์ขององค์หลวงปู่ฝั้น ที่ต้องการให้วัดเวฬุวัน เป็นสถานที่คอยสนับสนุน พระเณรที่มุ่งต่อการประพฤติ ปฏิบัติธรรม เพราะหากพิจารณาสภาพผืนป่า ที่เหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติ ในปัจจุบันนี้ก็จะเห็นว่า ผืนป่าภาคตะวันตก ยังคงความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด และเป็นสถานที่สัปปายะอย่างยิ่ง ซึ่งตำแหน่งที่ตั้งของวัดเวฬุวันนั้น เป็นเหมือนประตูที่เข้าไปสู่ผืนป่าดังกล่าว องค์หลวงปู่ฝั้น จึงได้สั่งให้ ท่านพระอาจารย์สาครสร้างวัดขึ้น ณ ที่ตรงนี้ เพื่อความเจริญแก่พระเณร และพระพุทธศาสนาต่อไป
ประวัติบางส่วนของ ท่านพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ
ท่านพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ มีนามเดิมว่า สาคร แสงมุกดา เป็นบุตรคนที่ ๕ ในจำนวน ๗ คน ของ นายบู่ แสงมุกดา และนางบัวลา แสงมุกดา (สกุลเดิมของโยมแม่ ชามนตรี ทายาทอดีตเจ้าเมืองหนองบัวลำภูในยุคนั้น) ท่านเกิดเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๐ เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘ ปีระกา ที่บ้านโนนสงเปลือย ต.หนองบัว อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี (ปัจจุบันคือ ต. เหล่าโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู) การศึกษา ท่านเข้าเรียนที่โรงเรียนบ้านนาวังเวิน เมื่อจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ ก็มิได้ศึกษาต่อ ด้วยเหตุที่ทางบ้าน ไม่สนับสนุน ทั้งนี้เนื่องมาจาก การที่โยมตาของท่าน ซึ่งเคยรับราชการ ในตำแหน่งสูงด้วยความซื่อสัตย์ กลับถูกสอบสวนอย่างไม่เป็นธรรม จนถูกจำคุกอยู่ถึง ๒๐ ปี โยมตาจึงหมดความศรัทธา ในระบบราชการ จึงไม่สนับสนุนให้ศึกษาต่อ อีกทั้งโยมตาท่าน ก็อยากให้มาช่วยกันดูแล เรือกสวนไร่นา ของครอบครัวตนเองจะดีกว่า และโยมพ่อโยมแม่ก็เห็นดีด้วย ท่านพระอาจารย์สาคร ซึ่งโดยนิสัย เชื่อฟังผู้ใหญ่อยู่เป็นพื้น จึงไม่ได้กลับไปศึกษาต่อ แม้ครูจะมาตามให้กลับไปเรียนก็ตาม เป็นกำลังสำคัญของครอบครัว ด้วยทางบ้าน ถือได้ว่ามีฐานะ เพราะมีเรือกสวนไร่นา ทั้งสัตว์เลี้ยงที่ต้องดูแลมาก เมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว ท่านจึงช่วยทางบ้านอย่างแข็งขัน เมื่อถึงฤดูฝนก็ทำไร่ ทำนา และเมื่อหมดหน้านา ก็ต้องต้อนฝูงวัวควายไปขาย ต่างบ้าน และต้องคุม หมู ไก่ กลับมาขาย บางครั้ง ก็ตามโยมพ่อเข้าป่า ไปหาใบยาและของป่า เนื่องจากโยมพ่อเป็นหมอยา ท่านจึงได้ความรู้ เรื่องยาและสมุนไพร จากโยมพ่ออีกด้วย เห็นทุกข์ทางโลก ด้วยหมู่บ้านสมัยก่อน บ้านเรือนมักอยู่ไม่ห่างกันนัก มีอะไรก็ช่วยซึ่งกันและกัน บางครั้งคนในหมู่บ้านจะคลอดลูก ได้ยินเสียงร้องโอดโอยไปหลายหลังคาเรือน ท่านมีโอกาสได้ตามไปดู ได้เห็นความเจ็บปวดทุกขเวทนา ของหญิงที่จะกำลังคลอดลูก ทำให้ท่านรู้สึกกลัว อีกทั้งเมื่อท่านคิดถึงเด็กที่อยู่ในท้อง ที่ต้องไปขดอยู่ในที่แคบๆ เป็นเวลานาน ให้รู้สึกอึดอัดเป็นอย่างยิ่ง แค่คิดก็แย่แล้ว แต่นี่คนที่เกิดต้องทนอยู่ถึง ๙ เดือน และในบางครั้งการคลอดลูก แม่ตายบ้าง เด็กไม่รอดบ้าง บางทีก็ต้องมาตายทั้งแม่ทั้งลูก ด้วยการคิดพิจารณา จากประสบการณ์ที่รับรู้มา ทำให้ท่านเห็นว่า การเกิดนั้นเป็นทุกข์อย่างยิ่ง กอปรกับเมื่อท่านต้องช่วยทำงานไร่นาที่บ้าน อย่างเหน็ดเหนื่อย ทำให้ท่านเห็นว่า ชีวิตคนทางโลก ต้องทำมาหากินไม่หยุดหย่อน เพื่อหาเลี้ยงตนเองและครอบครัว แต่สุดท้ายแล้ว ก็ไม่มีอะไรเป็นสาระที่แท้จริง จะบวชเป็นท่านเจ้าคุณ ในวัยเด็กท่านมีโอกาสติดตามโยมแม่ และญาติใหญ่ ไปวัดโดยสม่ำเสมอ ด้วยมีญาติพี่น้องบวชอยู่ ท่านจึงคุ้นเคยกับชีวิตสมณะ นักบวช และเนื่องจากโยมพี่ชายของท่าน (หลวงตาวา) ได้บวชเป็นเณรอยู่วัดมหาชัย โยมแม่จึงได้อาศัย ใช้ท่านนำอาหารไปถวายเสมอ และท่านก็ได้เห็นเณรพี่ชายท่าน ต้องถูกฝึกหัดให้ทำงาน และรับใช้อุปัฎฐาก ท่านเจ้าคุณที่วัดอยู่ เป็นประจำ ทำให้ท่านเกิดความคิดว่า เมื่อท่านจะบวช ท่านจะไม่บวชเป็นเณร ท่านอยากจะบวชเป็นท่านเจ้าคุณ ออกบวช อำเภอหนองบัวลำภูในยุคนั้น อยู่บนเส้นทาง ที่พระวิปัสสนากัมมัฎฐานหลายรูป ใช้เป็นเส้นทางเดินธุดงค์ เพื่อไปฟังธรรมอบรมจากองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่จังหวัดสกลนคร และหลายท่าน ได้มาพักสร้างวัดในธรรมยุตินิกาย ที่เน้นการปฏิบัติธรรม ขึ้น ณ อำเภอนี้ ซึ่งญาติพี่น้องของท่านพระอาจารย์สาครเอง ก็ได้บวชเป็นพระเณรกันหลายท่าน บางท่านบวชเรียนสามารถสอบได้นักธรรม เปรียญธรรมประโยคต่างๆ บางท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นท่านเจ้าคุณ มีจริยวัตรงดงาม แสดงธรรมเทศนาได้ลึกซึ้ง น่าติดตาม ดังนั้นเมื่ออายุครบบวช ท่านพระอาจารย์สาคร จึงตัดสินใจ ขออนุญาติบิดามารดา ลาบวช เพื่อศึกษาธรรม ณ วัดมหาชัย ต.หนองบัว จ.อุดรธานี เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๘ โดยมี พระพิศาลคณานุกิจ เป็นพระอุปัชฌาย พระสมุห์คำบาล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาพุทธศาสนาว่า ธมมาวุโธ อันมีความหมายว่า ผู้มีธรรมเป็นอาวุธ สังกัดธรรมยุตนิกาย อยู่จำพรรษาแรก ณ วัดมหาชัย ต. หนองบัว อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี จะไม่อยู่ใกล้บ้าน เมื่อท่านบวชจำพรรษาแรกที่ วัดมหาชัย ใกล้บ้าน เพื่อโปรดญาติโยม และเมื่อทางบ้าน ได้อนุโมทนาการบวชของท่าน พอสมควรแล้ว ได้ขอให้ท่านลาสิกขาบทเพื่อ มาดูแลไร่นาและบ้านต่อไป หากแต่ด้วยท่านมีจิตใจที่มุ่งมั่นแล้ว ว่าจะบวช ดังนั้นท่านพระอาจารย์สาคร จึงผัดผ่อนเรื่อยมา หากญาติโยมมาตอนเช้า ท่านก็บอกให้รอตอนเย็นเสียก่อน หากญาติโยมมาตอนเย็น ท่านก็บอกให้รอเช้าเสียก่อน จนออกพรรษา ท่านจึงกราบลาอุปัชฌาย์ เดินทางเพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ต่อไป โดยท่านตั้งใจแน่วแน่ว่า จะไม่อยู่ในจังหวัดเลย อุดรธานี หนองคาย เพราะอยู่ใกล้บ้าน ใกล้ญาติโยมเกินไป แสวงหาครูบาอาจารย์ ตลอดพรรษา ปีพ.ศ. ๒๕๐๘ ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ และพระธรรมวินัยต่างๆ จนมีความเข้าใจเป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยสร้าง โบสถ์วัดมหาชัย จนลุล่วง ครั้นเมื่อออกพรรษา และได้ทำพิธีฉลองโบสถ์ในวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๙ แล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบลาพระอุปัชาฌาย์ เพื่อออกเดินทาง ไปกับท่านพระอาจารย์แถว โดยออกเดินทางโดยรถไฟ จาก จ.อุดรธานี แล้วไปเปลี่ยนรถไฟที่ภาชี เพื่อจะไปยังจ.พิษณุโลก เมื่อ ถึง จ.พิษณุโลกแล้ว ท่านจึงโดยสารรถยนต์ ต่อไปยังบ้านป่าหญ้าคา ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านพระอาจารย์แถว เพื่อทำกิจธุระ เมื่อทำธุระเสร็จแล้ว ท่านพระอาจารย์แถวจึงพาท่านลงมา ที่วัดนิรมลวัฒนา อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งท่านพระอาจารย์แถวเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ต่อมาในวันวิสาขบูชา ท่านพระอาจารย์สาครได้มีโอกาสพบ ท่านพระอาจารย์ทองดี ชุตินธโร เป็นครั้งแรก ซึ่งมาร่วมลงอุโบสถที่วัด และท่านพระอาจารย์สาคร ได้มีโอกาส พูดคุยกับท่านพระอาจารย์ทองดี เรื่องครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ สายองค์หลวงปู่มั่นภูริทัตโต ซึ่งขณะนั้น ครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ เริ่มทยอยเดินทาง กลับสู่ภาคอีสานแล้ว แต่เนื่องจากขณะนั้น ใกล้ฤดูการเข้าพรรษา ท่านพระอาจารย์สาคร จึงจำพรรษาที่วัดนิรมลวัฒนา กับท่านพระอาจารย์แถวก่อน กราบองค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เมื่อออกพรรษา ท่านพระอาจารย์สาคร จึงออกเดินทาง กลับจากจังหวัดเพชรบูรณ์ สู่ภาคอีสาน การเดินทาง ของท่านพระอาจารย์สาครคราวนั้น ท่านต้องเดินทางผ่าน จ.เลย ท่านจึงแวะกราบนมัสการ องค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ซึ่งขณะนั้นองค์หลวงปู่ชอบ พักอยู่ที่วัดม่วงไข่ อ.วังสะพุง จ.เลย เมื่อท่านพระอาจารย์สาคร เข้าไปกราบนมัสการองค์หลวงปู่ชอบ ซึ่ง ท่านมีจิตเมตตา ให้ท่านพระอาจารย์สาคร พักอยู่ด้วย พร้อมทั้งแนะนำ ให้อุบายธรรมต่างๆ ให้ท่านพระอาจารย์สาคร นำไปปฏิบัติ ทำให้ผลการปฏิบัติธรรม ของท่านพระอาจารย์สาคร มีความก้าวหน้า ขึ้นตามลำดับ ช่วงเวลาที่ท่านพระอาจารย์สาคร ได้พักอยู่กับองค์หลวงปู่ชอบนั้น ท่านต้องตื่นแต่ตี ๓ เพื่อมารองน้ำหมอกไว้เป็นน้ำฉัน ท่านกลางอากาศหนาวจัด ขนาดที่ว่ากำมือแล้ว ต้องเอามืออีกข้างหนึ่งมาแกะออก อีกทั้งเครื่องกันหนาวต่างๆ ก็มีไม่มากเหมือนยุคปัจจุบัน ในช่วงกลางวันที่ต้องทำงานก่อสร้าง ท่านพระอาจารย์สาครต้องหาฟืน และผ่าฟืนด้วย ท่านผ่าฟืนมากจนมือพอง จากมือพองจนมือแตก ในช่วงกลางคืน องค์หลวงปู่ จะพาพระเณรนั่งภาวนา ตั้งแต่ช่วงค่ำ จนกระทั่ง ๔ ทุ่ม จึงพาทำวัตรเย็น ในขณะที่พระเณรนั่งภาวนากันเงียบอยู่นั้น องค์หลวงปู่ก็จะสูบบุหรี่ ฉันหมาก และฉันหมาก สูบบุหรี่ สลับกันไป แต่หากใครพลิกขา หรือขยับแม้แต่นิดเดียว ท่านก็จะรู้ ท่านจะพูดว่า “พระพวกนี้เคารพขา มากกว่าเคารพธรรม อุตส่าห์แบกกลดแบกบาตร แสวงหาธรรม แต่เมื่อธรรมเกิดขึ้น กลับไม่ยอมพิจารณา” สิ่งเหล่านี้ เป็นตัวอย่างอุบาย ที่องค์หลวงปู่ชอบ ใช้อบรมสั่งสอนศิษย์ ท่านพระอาจารย์สาคร ได้อยู่ศึกษาปฏิบัติธรรม จากองค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม อยู่ช่วงระยะหนึ่ง ต่อมาองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ซึ่งขณะนั้นท่านพักอยู่ที่วัดกกกอก ต.งิ้วตาก อ.วังสะพุง จ.เลย ได้มีจดหมายนิมนต์พระเณรในแถบนั้น ไปร่วมงานทำบุญฉลองศาลา วัดกกกอก ท่านพระอาจารย์สาคร จึงได้ไปร่วมงาน และได้มีโอกาสกราบนมัสการ องค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ในครั้งนั้นด้วย อุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ในคราวที่ไปร่วมงานฉลองศาลาวัดกกกอกนั้น ท่านพระอาจารย์สาคร ได้มีโอกาสเข้ากราบนมัสการองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ต่อเมื่อเสร็จงานฉลองศาลาแล้ว เณรผู้ดูแลอุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย ต้องไปคัดเลือกทหาร ท่านพระอาจารย์สาคร จึงได้รับเมตตาจากององค์หลวงปู่หลุย ให้ทำหน้าที่นี้ พร้อมกับได้มีโอกาส ฟังพระธรรมาเทศนา อบรมสั่งสอน ฝึกความอดทน และรับการแนะนำ ธรรมภาคปฎิบัติ จากองค์หลวงปู่หลุยอีกด้วย การอยู่ดูแลรับใช้ อุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร นั้น ท่านพระอาจารย์สาคร ได้มีโอกาสติดตามองค์หลวงปู่ ออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆทั่วจังหวัดเลย และจังหวัดใกล้เคียง หลวงปู่หลุย จันทสาโร หลวงปู่ซามา อจฺตโต ธุดงค์กับองค์หลวงปู่หลุย ครั้งหนึ่งท่านพระอาจารย์สาคร มีโอกาสได้ธุดงค์ติดตามเพียงลำพัง ไปกับองค์หลวงปู่หลุย เมื่อองค์หลวงปู่ต้องเดินทาง ไปงานที่วัดท่าแขก โดยองค์หลวงปู่หลุยพาเดินทาง จากบ้านกกกอก ข้ามเขาลงมายังบ้านไร่ม่วง เพื่อกราบองค์หลวงปู่ซามา อจุตโต ที่วัดป่าอัมพวัน อ.เมือง จ.เลย ซึ่งระหว่างทางนั้นเอง ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ถูกฝึกความอดทน ความเพียร จากองค์หลวงปู่หลุยอย่างหนัก กล่าวคือ ครั้งหนึ่งซึ่งตรงกับวันโกน ในพระธรรมวินัย ซึ่งองค์หลวงปู่หลุย อนุญาตให้ท่านพระอาจารย์สาคร ปลงเกศา ให้องค์หลวงปู่จนเสร็จแล้ว องค์หลวงปู่ ก็ไปสรงน้ำชำระร่างกาย ท่านพระอาจารย์สาคร จึงเริ่มปลงเกศาของท่านเอง เมื่อท่านปลงเกศาไปได้เพียงครึ่งเดียว องค์หลวงปู่หลุยก็สรงน้ำเสร็จพอดี ท่านได้บอกกับท่านพระอาจารย์สาครว่า “เราออกเดินทางกันต่อไปเถอะ” คำว่า “ไป” ขององค์หลวงปู่หลุยนี้ ท่านมิได้เพียงแต่พูด ท่านได้ออกเดินทางไปจริงๆ ท่านพระอาจารย์สาคร จึงต้องหยุดการปลงเกศาตนเองไว้เท่านั้น รีบไปเก็บสัมภาระอัฐบริขารต่างๆ ทั้งของท่านเองกับขององค์หลวงปู่ด้วย ซึ่งมีถุงบาตร และ ย่าม อย่างละ ๒ ใบ แล้วรีบออกเดินทางต่อ เพื่อที่จะติดตามองค์หลวงปู่หลุยให้ทัน เมื่อเดินทันองค์หลวงปู่ หลุยแล้วท่านจึงเริ่มทำการปลงเกศาต่อ โดยใช้วิธีเดินไปปลงเกศาไป เพื่อปลงให้แล้วเสร็จก่อนถึงหมู่บ้าน ซึ่งครั้งนั้นเป็นการปลงเกศาที่ลำบากมาก เพราะมือข้างหนึ่งทำการปลงเกศา อีกข้างหนึ่ง ก็แบกย่ามกับถุงบาตรอีก ๒ ใบ ซึ่งโดยปกติการเดินปลงเกศา ก็เป็นเรื่องลำบากอยู่แล้ว แต่ท่านยังต้องสะพายของบนบ่าอีก จึงเป็นการเพิ่มความลำบาก ให้กับท่านยิ่งขึ้น ในครั้งนั้น ท่านจึงถูกมีดโกนบาด เสียหลายแผล เมื่อกราบลาองค์หลวงปู่ชามา อจุตโต แล้ว องค์หลวงปู่หลุย ได้พาเดินต่อไปยังถ้ำผาปู่ เพื่อกราบ องค์หลวงปู่คำดี ปภาโส และที่นี่ ท่านได้รับการฝึกอีกครั้งในระหว่างที่ พักอยู่ที่นี่ คือ โดยปกติแล้วหลังจาก ท่านทำอาจริยวัตร ถวายองค์หลวงปู่หลุยเสร็จ ในช่วงเช้า และองค์หลวงปู่ได้เข้าพักแล้ว โดยปกติองค์หลวงปู่จะออกมาอีกครั้ง ในเวลา ๒-๓ โมง ท่านพระอาจารย์สาคร จึงแยกไปภาวนาที่ถ้าผาปู่เพียงลำพัง สักครู่ที่ท่านเดินจงกรมภาวนาอยู่ ปรากฎว่าจิตท่านมีอาการผิดปกติ ข้างในมีอาการใจเต้นเร็ว ท่านเห็นผิดปกติ จึงออกจากการภาวนา เดินออกมา พอพ้นถ้ำเท่านั้นก็ได้ยินเสียงระฆัง อันเป็นสัญญาน เรียกพระเณรที่ถ้ำผาปู่ดังลั่นวัด ท่านจึงรีบมาทันที ปรากฏว่าองค์หลวงปู่หลุย เป็นผู้ตีระฆังเพื่อเรียกหาท่าน พระเณรออกมาดูกันทั้งวัด แต่เพราะท่านอยู่ในถ้ำ จึงไม่ได้ยินเสียงเลยแม้แต่น้อย องค์หลวงปู่จึงถามท่าน และบอกว่าจะเดินทางต่อ อันเป็นนิสัยการมาเร็วไปเร็ว ขององค์หลวงปู่ ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบเรียนถึงที่อยู่ และอาการของจิตท่าน องค์หลวงปู่จึงมิได้ต่อว่าอย่างไร นับเป็นอีกครั้ง ที่การภาวนา และความจดจ่ออยู่กับครูบาอาจารย์เสมอ ช่วยให้ท่านไม่ถูกตำหนิได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติอันพึงมี ในพระติดตามครูบาอาจารย์ต่อไป เมื่อออกจากวัดถ้ำผาปู่แล้ว ได้เดินธุดงค์ต่อไปยังวัดท่าแขก อันเป็นเป้าหมาย ท่านพระอาจารย์สาคร ได้อยู่ช่วยงานศพจนแล้วเสร็จ และเมื่อพระอุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย ได้มาถึงแล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบลาองค์หลวงปู่หลุย ที่วัดท่าแขกนี้เอง องค์หลวงปู่หลุย วางใจในท่านพระอาจารย์สาครแล้ว จึงอนุญาตให้ไปได้ ท่านจึงได้เดินทางย้อนกลับมา ยังถ้ำผาบิ้ง โดยหมายใช้เป็นที่วิเวกภาวนาต่อไป เวทนาทางกาย ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๐ ขณะที่ท่านพระอาจารย์สาคร ธุดงค์มาถึงที่ถ้ำผาบิ้ง ท่านได้พิจารณาพักอยู่ เพื่อภาวนาชั่วระยะหนึ่ง (ขณะนั้น องค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ยังไม่ได้อยู่ที่ถ้ำผาบิ้งนี้) ท่านได้ไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านน้ำทบ ได้เพียงข้าวเปล่าเท่านั้น และบางวันก็ได้พริกป่น กับเกลือมาด้วย ท่านก็ได้พิจารณาฉันตามฐานะนักบวช หากด้วยความไม่คุ้นเคย ทำให้ท่านปากพองแสบร้อนไปหมด จนแม้แต่ฉันน้ำ ก็ยังทรมาน เกิดเวทนาทางกายยิ่งนัก
เสือช่วย ตกคืนนั้นที่ท่านนั่งภาวนาอยู่ภายในถ้ำ ปรากฎมีเสียง สวบ สวบ ดั่งเสียงเสือเดินอยู่หน้าถ้ำ ด้วยความกลัวท่านจึงนั่งหลับตานิ่ง เร่งภาวนา พุทโธ พุทโธ อยู่ภายในใจ จนจิตสงบเงียบลงไป เหลือแต่มีความรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ขณะนั้นท่านพิจารณาร่างกาย สังขาร ข้อธรรมใดก็พิจารณาได้หมด จวบจนกระทั่งเช้าได้เวลาบิณฑบาต จึงได้ถอนออกจากการภาวนา นับเป็นเวลานานที่ผ่านไปอย่างรวดเร็ว นับจากที่ท่านได้เข้าภาวนา ขณะได้ยินเสียงเสือเมื่อราว ๑ ทุ่ม เมื่อท่านออกจากภาวนาแล้ว ก็ได้หวนคิดดื่มด่ำกับสิ่งที่เกิดขึ้น อัศจรรย์ว่า “ตัวเราภาวนาได้ขนาดนี้เชียวหรือ” และคิดว่า “ ถ้าเสือไม่ช่วยเราคงยังติดขัดอยู่” ขณะที่ภาวนานั้นก็ไม่รู้ เสือหายไปทางไหน เมื่อท่านมาดูอย่างละเอียด จนเข้าใจ่ว่า น่าจะเป็นบ่างมากินมะขามจากต้นหน้าถ้ำมากกว่า เช้านั้นท่านออกไปบิณฑบาต ก็ได้ข้าวกับพริกเกลือเช่นเดิม แต่ครั้งนี้ท่านฉันแล้วไม่รู้สึกแสบปาก แสบลิ้นดังที่เคย ท่านจึงได้อยู่ภาวนาต่อในถ้ำนี้ และตลอดเวลา ๒-๓ อาทิตย์ที่อยู่นั้น การภาวนาของท่านได้ผลดีเป็นอย่างยิ่งแต่เพราะมีนัดหมายกับท่านพระอาจารย์ทองดีไว้ ว่าจะไปพบกัน ที่วัดถ้ำกลองเพลจ.อุดรธานี ก่อนสิ้นเดือนเมษายน ทำให้ท่านต้องละจากถ้ำผ้าบิ้งนี้ไป จากถ้ำผาบิ้งไปวัดถ้ำกลองเพล หลังฉันเช้าเสร็จ ประมาณ ๙ โมงเช้า ท่านพระอาจารย์สาคร ออกเดินเท้าจากถ้ำผาบิ้ง เพื่อไปยังหมู่บ้านโนนสงเปลือย จ.หนองบังลำภู โดยมีระยะทางทั้งสิ้นกว่า ๙๕ กิโลเมตร ท่านเดินทางตามผ่านป่า ผ่านดงหนองไผ่ หากช่วงไหนเป็นหมู่บ้าน ท่านจะเดินเลี่ยงอ้อมเอา ท่านพระอาจารย์สาคร เดินภาวนาพุธโธไปตลอดระยะทาง ทำให้จิตสงบ กายเบา จิตเบา จนท่านสามารถเดินได้เร็วมาก โดยไม่เหน็ดเหนื่อยเลยแม้แต่น้อย ท่านมาถึงไร่โยมพ่อ บ้านโนนสงเปลือย เวลาบ่าย ๔ โมงเย็น ใช้เวลาเดินเท้าทั้งสิ้นเพียง ๗ ชั่วโมงเท่านั้น นับเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง เมื่อมาถึงไร่ ปรากฏว่าโยมพ่อกลับไปบ้านแล้ว ท่านจึงกางกลด พักอยู่ที่กระต๊อบในไร่นั้นเอง เช้าวันรุ่งขึ้น ได้บิณฑบาตโปรดโยม ที่บ้านโนนสงเปลือย แล้วไต่ถามได้ความว่า โยมพี่สะใภ้จะเดินทางไปอุดรธานีพอดี จึงนั่งรถโดยสารไปกับโยมพี่สะใภ้ เพื่อเดินทางต่อไปจนถึงวัดถ้ำกลองเพล
กราบองค์หลวงปู่ขาว อนาลโย เมื่อถึงวัดถ้ำกลองเพล (พุทธศักราช ๒๕๑๐) ท่านพระอาจารย์สาครได้เข้ากราบนมัสการองค์หลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งขณะนั้น กำลังอาพาธ และมีครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่สำคัญหลายองค์ มาถวายการดูแลองค์หลวงปู่ อันได้แก่ ท่านพระอาจารย์สุวัจน์ สุวโจ ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร ท่านพระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต ซึ่งถือว่าเป็นโชคดี ของท่านพระอาจารย์สาคร ที่ได้มีโอกาสรับใช้ ครูบาอาจารย์องค์สำคัญ ในคราวนั้นด้วย หลังจากที่ได้พบ กับท่านพระอาจารย์ทองดี ที่วัดถ้ำกลองเพล ตามที่ได้นัดหมายไว้ จึงได้กราบลาองค์หลวงปู่ขาวอนาลโย เพื่อออกเดินทางต่อไป
กราบองค์หลวงปู่ฝั้นครั้งแรก ท่านพระอาจารย์สาคร ออกเดินทางจากวัดถ้ำกลองเพล พร้อมท่านพระอาจารย์ทองดี โดยได้พาท่านพระอาจารย์สาคร ไปงานศพท่านพระอาจารย์สีลา อิสสโร อุปัชฌาย์ของท่านพระอาจารย์ทองดี ที่สำนักงานสงฆ์วัดโพธิ์ชัย ตำบลวาใหญ่ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร และที่นี้เอง ที่ท่านพระอาจารย์สาคร ได้พบองค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นครั้งแรก ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ระลึกถึงคำขององค์หลวงปู่หลุย ที่บอกว่าองค์หลวงปู่ฝั้น เป็นพระที่ได้รับการยกย่อง จากองค์หลวงปู่มั่น ในด้านความสามารถ ทางด้านจิตใจ ทั้งองค์หลวงปู่หลุย แม้พรรษาจะมากกว่าองค์หลวงปู่ฝั้น ก็เรียกองค์หลวงปู่ฝั้น ด้วยความเคารพว่า “อาจารย์ใหญ่” ดังนั้นองค์หลวงปู่ฝั้น จึงเป็นพระผู้ที่มีความสำคัญมาก ทั้งท่านพระอาจารย์ทองดี ก็สนับสนุนให้ไปอยู่กับองค์หลวงปู่ฝั้น โดยให้เหตุผลว่า ที่นั้นมีตั้ง ๒ วัด หากไม่พอใจในวัดป่าอุดมสมพร ก็สามารถขึ้นเขาไปอยู่ที่ถ้ำขามได้ ดังนั้น เมื่อเสร็จจากงานศพท่านพระอาจารย์สีลา แล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร ได้แยกกับ ท่านพระอาจารย์ทองดี ที่นี่เอง โดยท่านตั้งจุดหมายการเดินทาง ต่อไป ยังวัดป่าอุดมสมพร อ.พรรนานิคม จังหวัดสกลนคร เพื่อกราบถวายตัวเป็นลูกศิษย์ ขององค์หลวงปู่ฝั้นต่อไป ถึงวัดป่าอุดมสมพร ลุถึงวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ พุทธศักราช ๒๕๑๐ อันเป็นวันลงอุโบสถ ท่านก็ถึงวัดป่าอุดมสมพร ได้กราบองค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และนับจากวันนั้น ท่านได้อยู่ถวายตัว เป็นศิษย์องค์หลวงปู่ฝั้นมาตลอด ขณะนั้นที่วัดป่าอุดมสมพร มีพระอยู่เพียง ๕ รูป และเณรอีก ๑ รูป คือ ๑.องค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ๒.ท่านพระอาจารย์แปลง สุนฺทโร ๓.หลวงตาพรหม ๔.หลวงตาไข ๕.หลวงตาอ่อน และเณร ด้วยขณะนั้น ท่านพระอาจารย์ปิ่น ปิยธัมโม ไม่อยู่ และท่านพระอาจารย์อุทัย สิริธโร ยังไม่ลงมาจากถ้ำขาม ทั้งท่านพระอาจารย์แปลง ก็มีภาระดูแลงานอื่นเป็นจำนวนมาก คงมีหลวงตาอ่อน ดูแลอุปัฏฐากองค์หลวงปู่ฝั้น อยู่ผู้เดียว ท่านพระอาจารย์สาคร จึงได้เข้าช่วยงาน หลวงตาอ่อนอีกแรงหนึ่ง นับจากนั้น ท่านก็ได้รับหน้าที่ ดูแลอุปัฏฐากองค์หลวงปู่ฝั้น มาโดยตลอด จากการที่มีโอกาสรับใช้ใกล้ชิด องค์หลวงปู่ฝั้น และได้รับฟังโอวาท ได้เห็นจริยาวัตรอันงดงาม ทั้งข้อปฏิบัติที่เพียบพร้อม ทำให้ท่านพระอาจารย์สาคร เกิดความศรัทธาและลงใจ ในองค์หลวงปู่ฝั้นเป็นอย่างยิ่ง แม้เพิ่งจะมาถวายตัวรับใช้กับองค์หลวงปู่ เพียงไม่นาน
เพชรบนยอดมงกุฎแห่งเมืองเลย มาวัดป่าอุดมสมพร ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ พุทธศักราช ๒๕๑๐ หลังจากพำนักอยู่กับองค์หลวงปู่ฝั้นเพียง ๗ วัน องค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม และองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ได้เดินทางมาเยี่ยมองค์หลวงปู่ฝั้น และรอลงอุโบสถร่วมกันในวันวิสาขบูชา ที่วัดป่าอุดมสมพร เมื่อองค์หลวงปู่ท่าน ได้กราบคารวะกันแล้ว องค์หลวงปู่หลุยเห็นท่านพระอาจารย์สาคร กำลังจัดอาสนะอยู่นั้น ท่านจึงกล่าวขึ้นกับองค์หลวงปู่ฝั้นว่า “พระองค์นี้เคยอยู่กับผมมาก่อน” องค์หลวงปู่ชอบก็ได้กล่าวขึ้นด้วยว่า “เคยอยู่กับผมเหมือนกันพระองค์นี้” ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบเรียนองค์หลวงปู่ฝั้นว่า ท่านเคยอยู่กับองค์หลวงปู่ชอบมาก่อนที่วัดป่าม่วงไข่ แล้วจึงมาอยู่กับองค์หลวงปู่หลุย ที่บ้านกกกอก หลังจากลงอุโบสถ ในวันวิสาขบูชา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อองค์หลวงปู่ชอบ และ องค์หลวงปู่หลุย ได้กลับไปแล้ว นับจากวันนั้นมา ท่านพระอาจารย์สาครเปรียบว่า เหมือนผ้าเช็ดหน้า จะบิดให้ขาดเสียให้ได้ องค์หลวงปู่ฝั้น เปลี่ยนจากองค์หลวงปู่องค์เดิม อย่างสิ้นเชิง หันมาเข้มงวด กับท่านพระอาจารย์สาครมากขึ้น หากมีอะไรผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ก็จะค่อยดุว่า ไม่ปล่อยให้ความผิดพลาดนั้นผ่านไปเฉยๆ บางครั้งความผิดพลาดของท่าน ก็นำมาเทศน์บนศาลา เทศน์กันเป็นอาทิตย์ๆเป็นเดือนๆ ในความผิดนั้นๆ ทั้งนี้คงเป็นเจตนาขององค์หลวงปู่ฝั้น ที่ต้องการทดสอบความเข้มแข็ง ทางจิตใจของลูกศิษย์ และต้องการให้ศิษย์ได้ดีในทางธรรม อยากหนี จากการที่องค์หลวงปู่ฝั้นเข้มงวดกวดขัน ท่านพระอาจารย์สาคร ไม่ว่าท่านพระอาจารย์สาครจะทำอะไร ดูเหมือนจะผิดไปหมด กลับถูกเข่น ถูกว่าสารพัด เผลอสติเป็นไม่ได้ ไม่เพียงท่านที่ถูกเข่นเท่านั้น เณรที่รับใช้องค์หลวงปู่ ก็ได้รับความเข้มงวด จนเณรร้องไห้อยู่แทบทุกวัน กระนั้น วันหนึ่งท่านติดขัด เรื่องการจัดยาให้หลวงปู่จึงถามเณร เณรก็ยังตอบว่า “ครูบาเอาตามาด้วยหรือเปล่า ครูบาเอาหูมาด้วยหรือเปล่า” ทำให้ท่านอึดอัดขัดข้องยิ่งขึ้นไปอีก ขณะนั้นท่านคิดว่า “ต่อไปไม่ว่างานเรื่องอะไรในวัดนี้ เราจะต้องเรียนรู้ให้หมดให้ได้” ในแต่ละวัน ไม่ว่าใครจะทำอะไร ผิดมาในวันนั้นก็ดี หรือเหตุเก่าก็ดี พอขึ้นศาลาองค์ หลวงปู่ต้องดุว่า แต่ท่านพระอาจารย์สาครองค์เดียว ทำให้ท่านคิดเบื่อหน่าย อยากจะหนีเป็นที่สุด กำหราบความคิด เมื่อท่านมีความคิดอยากหนีวันไหน พอขึ้นไปบนกุฏิองค์หลวงปู่ฝั้น เพื่อทำอาจริยาวัตรปกติ บางครั้งยังไม่ทันจะนั่งกราบเลย องค์หลวงปู่ ก็พูดขึ้นว่า “จะไปไหนก็ผีตัวเก่า ถ้าไม่ตั้งใจภาวนา จะอยู่ที่ไหนก็ผีตัวเก่า” พออีก ๒-๓ วันคิดจะไปอีก องค์หลวงปู่ก็พูดขึ้นอีก ทำให้ใจท่าน ไม่คิดฟุ้งไปกว่านี้ บางครั้งใจก็คิดอยากจะไปดูถ้ำขามบ้าง ว่าเป็นอย่างไร อยากไปดูวัดดอยธรรมเจดีย์บ้าง ว่า เป็นอย่างไร พอขึ้นกุฏิ องค์หลวงปู่ ก็จะเล่าเรื่องวัดนั้นๆให้ฟังทันที ทำให้ท่านต้องคอยสำรวม ระมัดระวังความคิด อยู่ตลอดเวลา
หมาแทะกระดูก บ่อยครั้งเมื่อลูกศิษย์คิดถึงบ้าน องค์หลวงปู่ฝั้นจะเมตตายกเรื่อง ของท่านขึ้นเทศน์ให้ฟัง ถึงเมื่อครั้งองค์ท่านเองก็เคยเบื่อหน่าย ท้อแท้ จนคิดจะกลับบ้านเช่นกัน วันหนึ่งขณะที่องค์หลวงปู่ เดินบิณฑบาตอยู่นั้น เห็นหมาตัวหนึ่งเดินตามเจ้าของอยู่ สักพักมันเจอกระดูกเก่าท่อนหนึ่ง มันก็หยุดแทะตามประสาหมา แต่เจ้าของก็เดินต่อไป มันแทะอยู่สักพัก ก็วิ่งตามเจ้าของไป แต่แล้วก็หันวิ่งกลับมาแทะต่ออีก แล้วก็วิ่งกลับไปหาเจ้าของอีก กลับไปกลับมาอยู่หลายครั้ง จนเจ้าของเดินไกลออกไปมากแล้ว มันจึงได้วิ่งตามเจ้าของไปอย่างอาลัย องค์หลวงปู่เห็นอาการมันแล้ว ก็กลับมานึกเป็นธรรม อบรมตัวองค์ท่านได้ว่า “การอาลัยในบ้านขององค์ท่าน ก็เหมือนหมาตัวนั้น ที่อาลัยในกระดูกเก่าอันจืดชืด แต่มันไม่รู้ว่ากระดูกนั้นไม่มีรสอะไรแล้ว ที่หลงอยู่ ก็หลงในน้ำลายของตัวเองเท่านั้น ชีวิตทางโลก ก็เหมือนกระดูกเก่าที่หาค่า อันใดมิได้ ความหลงในสิ่งที่ฉาบทาไว้ ก็เหมือนหมาที่หลงอร่อยน้ำลายตัวเอง” เมื่อองค์หลวงปู่ ท่านพิจารณาได้เช่นนั้น ก็วางความคิดถึงบ้านลงได้ ท่านพระอาจารย์สาคร ก็ได้ธรรมข้อนี้ ช่วยให้ท่านผ่านพ้นมาได้ ท่านจึงซาบซึ้ง ถึงพระคุณขององค์หลวงปู่ฝั้น อย่างถึงที่สุด ว่าทางหนึ่ง ท่านก็เข่นเอาเต็มที่ แต่อีกทางหนึ่งก็เมตตา คอยประคับประคอง หาอุบายธรรมช่วยเหลือเต็มที่เช่นกัน ปัจจุบันหากท่านพระอาจารย์สาคร เดินทางไปกราบนมัสการ เจดีย์องค์หลวงปู่ฝั้น ที่วัดป่าอุดมสมพร ท่านจะต้องไปดูภาพแกะสลักเรื่อง “หมาแทะกระดูก” ที่ฐานองค์เจดีย์ ด้วยความระลึกซาบซึ้งในพระคุณ อยู่ทุกครั้งไป
ศึกษาปฏิบัติธรรม และอุปัฏฐาก องค์หลวงปู่ฝั้น เมื่อท่านพิจารณาเข้าใจถึงความเมตตา ขององค์หลวงปู่ฝั้นแล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร ก็ตั้งใจอยู่รับการอบรมอย่างถึงที่สุด คราวนี้ ท่านกลับกลัวองค์หลวงปู่ฝั้นไล่หนีเอา ทั้งนี้ด้วยเห็นพระบางองค์ ถูกองค์หลวงปู่ไล่หนี บางองค์มาถึงวัด ยังไม่ทันแก้บาตรเลย ก็ถูกบอกให้หลีกไปที่อื่นแล้ว ท่านจึงอยู่ด้วยความระมัดระวัง ในเรื่องข้อวัตรปฏิบัติให้ดีที่สุด ท่านพระอาจารย์สาคร คอยปฏิบัติองค์หลวงปู่ฝั้นอย่างใกล้ชิด ดุจเป็นเงาขององค์หลวงปู่ ท่านจะดูแลองค์หลวงปู่ฝั้นตั้งแต่ตอนที่ องค์หลวงปู่ตื่นขึ้นมา โดยจะเข้าไปถวายน้ำล้างหน้า ไม้สีฟัน เปลี่ยนกระโถน รับผ้าจีวรมาที่ศาลา ตอนบิณฑบาตรจะช่วยองค์หลวงปู่ ครองผ้ากลัดรังดุม และคอยส่งบาตร รับบาตรองค์หลวงปู่ แล้วรีบกลับมาเตรียมน้ำอุ่น ล้างเท้าให้องค์หลวงปู่ แล้วจึงคอยเช็ดเท้าให้แห้ง เวลาฉันอาหาร ท่านพระอาจารย์สาคร จะเป็นผู้จัดอาหารถวาย ทั้งนี้เพราะ องค์หลวงปู่ฝั้นท่านไม่จัดอาหารเอง แม้ในคราวที่มีนิมนต์ไปฉันข้างนอกก็ตาม ท่านพระอาจารย์สาคร จะขอโอกาสพระเถระองค์อื่น เพื่อจะได้นั่งใกล้องค์หลวงปู่ฝั้น เพื่อคอยจัดอาหารถวาย ท่านพระอาจารย์สาคร ต้องฉันให้เสร็จก่อนองค์หลวงปู่ เพื่อจะได้นำบาตรของตนไปล้างก่อน แล้วจึงนำบาตรขององค์หลวงปู่ไปล้าง แล้วนำมาเช็ดให้แห้ง ก่อนนำไปผึ่งไว้ แล้วรีบกลับมาถวายไม้สีฟัน ถวายยา เก็บของ เก็บกระโถน รับผ้าจีวร แล้วรีบนำบริขารขององค์หลวงปู่ ไปเก็บไว้ที่กุฏิ แล้วมาคอยเป็นปัจฉาสมณะ ดูแลองค์หลวงปู่ ถ้ามีงานภายในวัด ท่านจะกราบเรียนขอโอกาสไว้ แล้วไปทำงานนั้นๆจนเสร็จ ซึ่งงานส่วนมาก เป็นงานที่คนอื่นไม่กล้าทำ แต่ด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว ท่านจะรับอาสาทำเสมอ อาทิ ตอนที่แบกเสากุฏิ ท่านบอกว่า ถ้าแบกเสา ๑ ต้น ทีละ ๒ คน แต่ถ้าแบก ๓ คน ๒ ต้นน่าจะดีกว่า โดยท่านพระอาจารย์สาคร ท่านรับเป็นคนที่อยู่ตรงกลาง ยอมแบกคนเดียว ๒ ต้น เป็นต้น นอกจากนี้ท่านยังดูแลรักษาเสนาสนะ ร่วมทำงานก่อสร้าง ภายในวัดและภายนอกวัด เช่นงานสร้างเจดีย์ที่หลังกุฏิองค์หลวงปู่ฝั้น งานสร้างถนนวัดถ้ำขาม งานสร้างศาลาวัดถ้ำขาม งานสร้างเขื่อนกั้นน้ำอูน และสะพานบ้านบะทอง งานสร้างโรงพยาบาลหลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นต้น เมื่อถึงตอนเย็น ท่านพระอาจารย์สาคร จะคอยดูแลสรงน้ำองค์หลวงปู่ เมื่อองค์หลวงปู่สรงน้ำเสร็จ ต้องรีบเช็ดพื้นห้องน้ำให้แห้ง เพราะเป็นพื้นไม้ ตอนกลางคืน ต้องทำวัตรสวดมนต์ และรับฟังโอวาทที่ศาลา เมื่อเลิกท่านก็ไปที่กุฏิองค์หลวงปู่ เพื่อไปส่งย่าม และคอยจับเส้นถวายองค์หลวงปู่ กว่าจะเลิก บางคืนก็เที่ยงคืน บางคืนล่วงไปจนถึงตีหนึ่ง เมื่อลงจาก กุฏิท่านจะลงไปเดินจงกรมต่อ แล้วจึงเข้าพัก บางคืน ท่านจะเดินจนถึงเวลาที่องค์หลวงปู่ตื่น ซึ่งโดยปกติแล้ว องค์หลวงปู่ฝั้นจะเข้าพักไม่นาน เมื่อองค์หลวงปู่ฝั้นท่านตื่น ท่านพระอาจารย์สาคร ก็จะรีบเข้าไปถวายน้ำล้างหน้าอีก ในข้อวัตรต่างๆเหล่านี้ ท่านถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด อยู่ตลอดเวลา ซึ่งท่านพระอาจารย์สาคร จะมีคติสั้นที่ยึดปฏิบัติว่า “นอนทีหลัง ตื่นก่อน ฉันทีหลัง อิ่มก่อน” นอกเหนือจาก การมีข้อวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดแล้ว ในการเดินทาง แม้จะมีเป้าหมายที่แน่นอน หากด้วยบนหนทาง ย่อมต้องพบเครื่องกีดขวางอยู่บ้าง การจะฝ่าฟันไปได้นั้น ท่านพระอาจารย์สาคร ยังมีองค์พระพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือ ยามที่ท่านพบกับปัญหา ไม่ว่าทางด้านใดๆก็ดี ท่านได้มี องค์หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ ท่านพระอาจารย์แปลง สุนฺทโร ท่านพระอาจารย์เขี่ยม โสรโย ท่านพระอาจารย์อุทัย สิริธโร และท่านพระอาจารย์คำดี ปัญโญภาโส คอยเมตตาช่วยเหลือ ทำให้การปฏิบัติธรรม ของท่านพระอาจารย์สาคร ดำเนินไปอย่างราบรื่น ซึ่งท่านพระอาจารย์สาคร ก็ได้ซาบซึ้งในพระคุณ ของท่านพระเถระทุกองค์นี้เสมอ ดังนั้นนอกจากท่านจะไปกราบเยี่ยมแล้ว หากท่านสามารถจัดทำธุระสิ่งใด เพื่อตอบแทนได้ ท่านก็จะทำทันที
หลวงปู่สุุวัจน์ สุวโจ
พระอาจารย์แปลง สุนฺทโร
พระอาจารย์เขี่ยม โสรโย
พระอาจารย์อุทัย สิริธโร
พระอาจารย์คำดี ปัญโญภาโส
มั่นใจว่าจะไม่ถูกไล่หนี ถึงแม้ท่านจะตั้งใจปฏิบัติข้อวัตร และทำงานทุกอย่าง เต็มกำลังสติปัญญาความสามารถ หากแต่ยังหวั่นกลัวองค์หลวงปู่ฝั้นจะไล่หนีเอา จนวันหนึ่ง มีสิ่งที่ทำให้ท่าน รับรู้และมั่นใจว่าจะไม่ถูกไล่หนี กล่าวคือ ในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ท่านเจ้าคุณ ซึ่งเคารพองค์หลวงปู่ฝั้น ได้มากราบเยี่ยมองค์หลวงปู่ และปรารภขึ้นว่า ทางภาคตะวันตกของประเทศ นั้นยังมีพระกัมมัฏฐานน้อย ทั้งที่ดินแดนแถบนั้น ยังมีป่าอันสัปปายะอุดมสมบูรณ์อยู่ แม้ขณะนั้น จะมีท่านพระอาจารย์มหาปิ่นอยู่ แต่ท่านก็อาพาธ จึงอยากจะขอพระจากองค์หลวงปู่ ไปอยู่เป็นหลัก ให้แก่พระและญาติโยม ทางด้านนั้นบ้าง องค์หลวงปู่ฝั้นจึงถามว่า คิดจะเอาใครไป ท่านเจ้าคุณ ซึ่งได้เคยเห็นอาจริยวัตร และฝีมือการทำงาน ในตัวท่านพระอาจารย์เป็นประจักษ์แล้ว จึงกล่าวขอตัวท่านพระอาจารย์ กับองค์หลวงปู่ฝั้น ซึ่งองค์หลวงปู่ฝั้น ก็ไม่อนุญาตให้ไป การที่องค์หลวงปู่ฝั้นท่านกล่าว ไม่อนุญาตนั้น ก็มีความหมายเป็นนัย ให้ท่านพระอาจารย์สาครรับรู้ได้ว่า แม้องค์หลวงปู่ฝั้นจะดุ จะว่าเอา แต่องค์หลวงปู่ท่านก็ได้รับรู้ถึง ความเอาใจใส่ ไม่ละวางการงาน ในตัวลูกศิษย์ผู้นี้อยู่เสมอ ซึ่งก็เพียงพอ ให้ท่านพระอาจารย์สาครซาบซึ้ง และเป็นกำลังใจ ให้ท่านยิ่งทุ่มเท แรงกายแรงใจถวายองค์หลวงฝั้นยิ่งขึ้นไป เมื่อองค์หลวงปู่ฝั้นอาพาธ ในปีพ.ศ. ๒๕๑๙ ท่านพระอาจารย์สาคร เป็นพระรูปหนึ่ง ในแปดรูป ที่ได้รับคัดเลือก ให้ดูแลองค์หลวงปู่ จากพระจำนวนร้อย ซึ่งท่านทำหน้าที่ คอยดูแลออกซิเจนให้องค์หลวงปู่ และถวายอาหาร ให้องค์หลวงปู่ในตอนเช้าด้วย จวบจนกระทั่ง องค์หลวงปู่ฝั้นท่านมรณภาพ ในวันอังคารที่ ๔ เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ ณ กุฏิวัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร หลังจากเสร็จพิธี พระราชทานเพลิงศพองค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านพระอาจารย์สาคร ได้เดินทางธุดงค์ แสวงหาที่ปฏิบัติธรรม เพื่อที่จะได้เร่งบำเพ็ญภาวนา ตามแนวทางคำสั่งสอนจากครูบาอาจารย์ ที่ท่านได้เมตตาอบรมแนะนำธรรม ละจากแดนดินอีสานสู่ภาคตะวันตก เมื่อสิ้นองค์หลวงปู่ฝั้น และเสร็จงานพระราชทานเพลิงศพแล้ว ในวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๑ ท่านก็ละจากวัดป่าอุดมสมพร เพื่อเดินทางไป อุปัฏฐากองค์หลวงปู่หลุย เพื่อเป็นอาจริยบูชา ที่องค์หลวงปู่หลุยเคยเมตตา ฝึกหัดอบรมแก่ท่าน ในโอกาสนี้ ท่านจึงมีโอกาสติดตามธุดงค์อีกครั้ง ไปกับองค์หลวงปู่หลุย ทุกจังหวัดทางภาคเหนือ และองค์หลวงปู่หลุย ได้พากราบเยี่ยมยังสถานที่ และวัดสำคัญอันองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้เคยมาเผยแพร่หลักธรรม คำสอนอยู่ เมื่อใกล้เข้าพรรษา องค์หลวงปู่หลุย ซึ่งได้พิจารณารับนิมนต์ ไปจำพรรษาที่หนองแซง จ.อุดรธานี ก็เดินทางกลับลงมา และแวะโปรดญาติโยม ที่สำนักสงฆ์ กม.๒๗ กรุงเทพมหานคร ส่วนท่านพระอาจารย์สาคร ก็มีนายอำเภอมานิมนต์ ให้ท่านไปเป็นเจ้าอาวาส ที่วัดภูซางใหญ่ จ.อุดรธานี แต่ท่านมิได้รับนิมนต์ไป ด้วยเมื่อหวนคิดถึง เมื่อครั้งท่านถูกขอตัว จากองค์หลวงปู่ฝั้น เพื่อไปอยู่ทางภาคตะวันตก “ด้วยแดนดินถิ่นนั้นขาดพระเณร ที่จะเป็นหลัก” ทำให้ท่านติดอยู่ในใจ ที่อยากจะไปช่วยเหลือ ทั้งในทางภาคอีสานนี้ ก็มีครูบาอาจารย์ พระเณรซึ่งเป็นหลักแก่พระพุทธศาสนา ให้พึ่งพิงมากมายอยู่แล้ว ท่านจึงคิดจะไปทางนั้นดู จึงได้กราบเรียนองค์หลวงปู่หลุย ซึ่งองค์หลวงปู่ก็อนุญาต ดังนั้นในคืนวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๑ อันวันรุ่งขึ้นองค์หลวงปู่จะเดินทางกลับไป จ.อุดรธานี ท่านพระอาจารย์สาคร จึงขอทำวัตรกับองค์หลวงปู่ โดยบอกแก่ญาติโยมที่นั้นว่า “เผื่อมันตายไป พรุ่งนี้ไม่ได้ไปกับหลวงปู่” นั่นก็เป็นที่แจ้งแก่ใจญาติโยม ที่เคารพนับถือ ในตัวท่านพระอาจารย์สาคร ว่าท่านจะไม่กลับไปด้วยแล้ว ก่อให้เกิดความอาลัย ร่ำไห้ออกมาหลายคน วันรุ่งขึ้น ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๑ ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ส่งองค์หลวงปู่หลุย ขึ้นรถไฟที่ดอนเมือง ครั้นถึงเวลารถออก ท่านก็กราบลาลงมา นับเป็นเวลา ๕ เดือนเต็ม ที่ท่านได้ทำอาจริยบูชา ปรนนิบัติดูแลองค์หลวงปู่หลุยโดยใกล้ชิด กำเนิดวัดเวฬุวัน เมื่อท่านพระอาจารย์สาคร ขอโอกาสกราบลาจากองค์หลวงปู่หลุยแล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร ได้พิจารณาแสวงหาที่ปฏิบัติธรรม โดยท่านได้เลือก ไปวิเวกทางจังหวัดกาญจนบุรี เพราะเห็นว่าสถานที่นั้น ยังไม่ค่อยมีพระปฏิบัติมาพักอยู่ ท่านจึงบอกกับลูกศิษย์ ให้ขับรถมารับ ที่วัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร เพื่อเดินทางไปทางจังหวัดกาญจนบุรี และได้มาส่งท่านถึงเพียงแค่ วัดพุทธวิมุติวนาราม อ.ไทรโยค ด้วยถนนเพิ่งสร้างมาสิ้นสุด ณ ตรงนั้น การเดินทางจึงต้องเดินทางต่อโดยทางเรือ จนถึงทองผาภูมิ ท่านจึงให้คณะที่มาส่งกลับไป เหลือแต่ท่านพระอาจารย์สาคร เดินทางต่อไปเพียงลำพัง เมื่อถึงทองผาภูมิ เนื่องจากท่านไม่รู้จักใคร ท่านจึงได้สอบถามหาโยม ผู้อุปถัมภ์วัดในละแวกนั้น ให้พาท่านไปดูถ้ำต่างๆ เพื่อเป็นที่พำนัก ปฏิบัติในพรรษาที่ใกล้จะมาถึง พวกโยมได้พาไปดูถ้ำหลายแห่ง จนในที่สุดท่านมาพบถ้ำแก่งกระโต่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เป็นที่จำพรรษาในคราวนั้นเอง
ถ้ำแก่งกระโต่ง
องค์หลวงปู่ฝั้นพาสร้างวัดใหม่ คืนหนึ่งที่ถ้ำแก่งกระโต่ง ท่านพระอาจารย์สาคร เข้าภาวนาตอนหัวค่ำอันเป็นปกติ ปรากฏว่าเมื่อจิตสงบแล้วในค่ำคืนนั้น ท่านได้นิมิตเห็นองค์หลวงปู่ฝั้น พาท่านและพระเณรสร้าง กุฏิพระ ศาลา ถนนหนทางในวัดแห่งหนึ่ง ท่านและพระเณรอื่นๆ ก็ช่วยกันสร้างอย่างแข็งขัน เฉกเช่นที่ท่านเคยช่วยงานก่อสร้าง กับองค์หลวงปู่ฝั้นมาตามปกติ ท่านอยู่สร้างวัดนั้นนานเหมือนเป็นปี จนท่านคุ้นเคยกับสถานที่นั้นเป็นอย่างดี ด้วยต้องเดินไปทั่วเขตวัดเพื่อสำรวจทาง และหาไม้ หาฟืน อยู่ทุกวัน จนท่านจำได้ว่ามีถนน มีกุฏิ ศาลา อยู่อย่างไร มีคลองทางน้ำ มีต้นไม้อะไรอยู่ตรงไหน สิ่งหนึ่งที่ท่านจำได้ชัด คือบ่อพุน้ำที่มีปลาอาศัย มีต้นไม้ที่ไม่มีรากแก้วล้มอยู่ ด้านโคนต้นอยู่ที่บ่อพุน้ำทางปลาย พาดคลองชี้ไปทางทิศตะวันออก วันหนึ่ง หลังจาก พักทำงาน ขณะองค์หลวงปู่ฝั้นมาพักฉันน้ำ องค์หลวงปู่ ก็พูดขึ้นกับท่านพระอาจารย์สาครว่า “ท่านอยู่ที่นี่นะ” ในนิมิตนั้น ท่านพระอาจารย์สาครได้ตอบไปว่า “กระผมไม่เอา กระผมจะกลับสกลนคร ที่นี่ลำบาก” ด้วยการตอบสวนคำ ที่ไม่เคยทำต่อองค์หลวงปู่ฝั้นมาก่อน จิตท่านจึงถอดออกทันที ซึ่งขณะนั้นเป็นเวลา ตี ๒ ล่วงเข้าวันใหม่ เมื่อมีโอกาสท่านพระอาจารย์สาคร จึงสอบถามกับญาติโยม ที่มีศรัทธามาทำบุญใส่บาตรว่า เคยเห็นสถานที่ที่มีลักษณะดังกล่าวหรือไม่ จนได้ความแล้วจึงได้ไปดู พบว่าสถานที่นั้น ตรงกับในนิมิตทุกประการ ซึ่งขณะที่เดินไปนั้น ท่านสามารถบอกล่วงหน้าได้ว่า ประเดี๋ยวตรงทางขึ้นวัด จะมีจอมปลวกและไม้แดงอยู่ ก็พบดังที่ท่านบอก และถัดไปจะมีต้นมะขามป้อม และมีคลองทางน้ำไหล มาจากบ่อพุน้ำด้านบน เดินไปตามคลองจะมีต้นฉะค่าง และเมื่อข้ามคลองไป จะเจอต้นแดงคู่อยู่ ก็เจอตามที่ท่านพูด เหมือนคุ้นเคยมาก่อน และเมื่อสุดคลอง ก็พบบ่อพุน้ำมีต้นไม้ล้มอยู่ ในลักษณะที่ท่านเห็นในนิมิตทุกประการ ดังนั้น ท่านจึงตัดสินใจ พาญาติโยมผู้มีศรัทธา เริ่มสร้างเสนาสนะ ตามที่องค์หลวงปู่ฝั้น บอกกับท่านในนิมิต และท่านได้อยู่จำพรรษา ณ สถานที่นี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๒ เรื่อยมา ต่อมาท่านได้สร้างเสนาสนะเพิ่มเติม จนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๓ ได้รับการประกาศ จากกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งเป็นวัดในพระพุทธศาสนา โดยสมบูรณ์ มีนามว่า วัดเวฬุวัน เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๓ และท่านพระอาจารย์สาคร ได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๗ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๑ และได้รับ พระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูภาวนาสุทธาจาร เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๑ นับจากวันที่ได้เริ่มสร้าง วัดเวฬุวันเป็นต้นมา สถานที่แห่งนี้ได้สร้าง ได้อบรมพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และอบรมอุบาสก อุบาสิกา ให้ดำรงอยู่ในเส้นทาง แห่งความเจริญรุ่งเรือง ของพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก อีกประการหนึ่ง อาจเป็นจุดประสงค์ขององค์หลวงปู่ฝั้น ที่ต้องการให้วัดเวฬุวัน เป็นสถานที่คอยสนับสนุน พระเณรที่มุ่งต่อการประพฤติ ปฏิบัติธรรม เพราะหากพิจารณาสภาพผืนป่า ที่เหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติ ในปัจจุบันนี้ก็จะเห็นว่า ผืนป่าภาคตะวันตก ยังคงความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด และเป็นสถานที่สัปปายะอย่างยิ่ง ซึ่งตำแหน่งที่ตั้งของวัดเวฬุวันนั้น เป็นเหมือนประตูที่เข้าไปสู่ผืนป่าดังกล่าว องค์หลวงปู่ฝั้น จึงได้สั่งให้ ท่านพระอาจารย์สาครสร้างวัดขึ้น ณ ที่ตรงนี้ เพื่อความเจริญแก่พระเณร และพระพุทธศาสนาต่อไป
ประวัติบางส่วนของ ท่านพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ
ท่านพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ มีนามเดิมว่า สาคร แสงมุกดา เป็นบุตรคนที่ ๕ ในจำนวน ๗ คน ของ นายบู่ แสงมุกดา และนางบัวลา แสงมุกดา (สกุลเดิมของโยมแม่ ชามนตรี ทายาทอดีตเจ้าเมืองหนองบัวลำภูในยุคนั้น) ท่านเกิดเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๐ เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘ ปีระกา ที่บ้านโนนสงเปลือย ต.หนองบัว อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี (ปัจจุบันคือ ต. เหล่าโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู) การศึกษา ท่านเข้าเรียนที่โรงเรียนบ้านนาวังเวิน เมื่อจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ ก็มิได้ศึกษาต่อ ด้วยเหตุที่ทางบ้าน ไม่สนับสนุน ทั้งนี้เนื่องมาจาก การที่โยมตาของท่าน ซึ่งเคยรับราชการ ในตำแหน่งสูงด้วยความซื่อสัตย์ กลับถูกสอบสวนอย่างไม่เป็นธรรม จนถูกจำคุกอยู่ถึง ๒๐ ปี โยมตาจึงหมดความศรัทธา ในระบบราชการ จึงไม่สนับสนุนให้ศึกษาต่อ อีกทั้งโยมตาท่าน ก็อยากให้มาช่วยกันดูแล เรือกสวนไร่นา ของครอบครัวตนเองจะดีกว่า และโยมพ่อโยมแม่ก็เห็นดีด้วย ท่านพระอาจารย์สาคร ซึ่งโดยนิสัย เชื่อฟังผู้ใหญ่อยู่เป็นพื้น จึงไม่ได้กลับไปศึกษาต่อ แม้ครูจะมาตามให้กลับไปเรียนก็ตาม เป็นกำลังสำคัญของครอบครัว ด้วยทางบ้าน ถือได้ว่ามีฐานะ เพราะมีเรือกสวนไร่นา ทั้งสัตว์เลี้ยงที่ต้องดูแลมาก เมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว ท่านจึงช่วยทางบ้านอย่างแข็งขัน เมื่อถึงฤดูฝนก็ทำไร่ ทำนา และเมื่อหมดหน้านา ก็ต้องต้อนฝูงวัวควายไปขาย ต่างบ้าน และต้องคุม หมู ไก่ กลับมาขาย บางครั้ง ก็ตามโยมพ่อเข้าป่า ไปหาใบยาและของป่า เนื่องจากโยมพ่อเป็นหมอยา ท่านจึงได้ความรู้ เรื่องยาและสมุนไพร จากโยมพ่ออีกด้วย เห็นทุกข์ทางโลก ด้วยหมู่บ้านสมัยก่อน บ้านเรือนมักอยู่ไม่ห่างกันนัก มีอะไรก็ช่วยซึ่งกันและกัน บางครั้งคนในหมู่บ้านจะคลอดลูก ได้ยินเสียงร้องโอดโอยไปหลายหลังคาเรือน ท่านมีโอกาสได้ตามไปดู ได้เห็นความเจ็บปวดทุกขเวทนา ของหญิงที่จะกำลังคลอดลูก ทำให้ท่านรู้สึกกลัว อีกทั้งเมื่อท่านคิดถึงเด็กที่อยู่ในท้อง ที่ต้องไปขดอยู่ในที่แคบๆ เป็นเวลานาน ให้รู้สึกอึดอัดเป็นอย่างยิ่ง แค่คิดก็แย่แล้ว แต่นี่คนที่เกิดต้องทนอยู่ถึง ๙ เดือน และในบางครั้งการคลอดลูก แม่ตายบ้าง เด็กไม่รอดบ้าง บางทีก็ต้องมาตายทั้งแม่ทั้งลูก ด้วยการคิดพิจารณา จากประสบการณ์ที่รับรู้มา ทำให้ท่านเห็นว่า การเกิดนั้นเป็นทุกข์อย่างยิ่ง กอปรกับเมื่อท่านต้องช่วยทำงานไร่นาที่บ้าน อย่างเหน็ดเหนื่อย ทำให้ท่านเห็นว่า ชีวิตคนทางโลก ต้องทำมาหากินไม่หยุดหย่อน เพื่อหาเลี้ยงตนเองและครอบครัว แต่สุดท้ายแล้ว ก็ไม่มีอะไรเป็นสาระที่แท้จริง จะบวชเป็นท่านเจ้าคุณ ในวัยเด็กท่านมีโอกาสติดตามโยมแม่ และญาติใหญ่ ไปวัดโดยสม่ำเสมอ ด้วยมีญาติพี่น้องบวชอยู่ ท่านจึงคุ้นเคยกับชีวิตสมณะ นักบวช และเนื่องจากโยมพี่ชายของท่าน (หลวงตาวา) ได้บวชเป็นเณรอยู่วัดมหาชัย โยมแม่จึงได้อาศัย ใช้ท่านนำอาหารไปถวายเสมอ และท่านก็ได้เห็นเณรพี่ชายท่าน ต้องถูกฝึกหัดให้ทำงาน และรับใช้อุปัฎฐาก ท่านเจ้าคุณที่วัดอยู่ เป็นประจำ ทำให้ท่านเกิดความคิดว่า เมื่อท่านจะบวช ท่านจะไม่บวชเป็นเณร ท่านอยากจะบวชเป็นท่านเจ้าคุณ ออกบวช อำเภอหนองบัวลำภูในยุคนั้น อยู่บนเส้นทาง ที่พระวิปัสสนากัมมัฎฐานหลายรูป ใช้เป็นเส้นทางเดินธุดงค์ เพื่อไปฟังธรรมอบรมจากองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่จังหวัดสกลนคร และหลายท่าน ได้มาพักสร้างวัดในธรรมยุตินิกาย ที่เน้นการปฏิบัติธรรม ขึ้น ณ อำเภอนี้ ซึ่งญาติพี่น้องของท่านพระอาจารย์สาครเอง ก็ได้บวชเป็นพระเณรกันหลายท่าน บางท่านบวชเรียนสามารถสอบได้นักธรรม เปรียญธรรมประโยคต่างๆ บางท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นท่านเจ้าคุณ มีจริยวัตรงดงาม แสดงธรรมเทศนาได้ลึกซึ้ง น่าติดตาม ดังนั้นเมื่ออายุครบบวช ท่านพระอาจารย์สาคร จึงตัดสินใจ ขออนุญาติบิดามารดา ลาบวช เพื่อศึกษาธรรม ณ วัดมหาชัย ต.หนองบัว จ.อุดรธานี เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๘ โดยมี พระพิศาลคณานุกิจ เป็นพระอุปัชฌาย พระสมุห์คำบาล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาพุทธศาสนาว่า ธมมาวุโธ อันมีความหมายว่า ผู้มีธรรมเป็นอาวุธ สังกัดธรรมยุตนิกาย อยู่จำพรรษาแรก ณ วัดมหาชัย ต. หนองบัว อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี จะไม่อยู่ใกล้บ้าน เมื่อท่านบวชจำพรรษาแรกที่ วัดมหาชัย ใกล้บ้าน เพื่อโปรดญาติโยม และเมื่อทางบ้าน ได้อนุโมทนาการบวชของท่าน พอสมควรแล้ว ได้ขอให้ท่านลาสิกขาบทเพื่อ มาดูแลไร่นาและบ้านต่อไป หากแต่ด้วยท่านมีจิตใจที่มุ่งมั่นแล้ว ว่าจะบวช ดังนั้นท่านพระอาจารย์สาคร จึงผัดผ่อนเรื่อยมา หากญาติโยมมาตอนเช้า ท่านก็บอกให้รอตอนเย็นเสียก่อน หากญาติโยมมาตอนเย็น ท่านก็บอกให้รอเช้าเสียก่อน จนออกพรรษา ท่านจึงกราบลาอุปัชฌาย์ เดินทางเพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ต่อไป โดยท่านตั้งใจแน่วแน่ว่า จะไม่อยู่ในจังหวัดเลย อุดรธานี หนองคาย เพราะอยู่ใกล้บ้าน ใกล้ญาติโยมเกินไป แสวงหาครูบาอาจารย์ ตลอดพรรษา ปีพ.ศ. ๒๕๐๘ ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ และพระธรรมวินัยต่างๆ จนมีความเข้าใจเป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยสร้าง โบสถ์วัดมหาชัย จนลุล่วง ครั้นเมื่อออกพรรษา และได้ทำพิธีฉลองโบสถ์ในวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๙ แล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบลาพระอุปัชาฌาย์ เพื่อออกเดินทาง ไปกับท่านพระอาจารย์แถว โดยออกเดินทางโดยรถไฟ จาก จ.อุดรธานี แล้วไปเปลี่ยนรถไฟที่ภาชี เพื่อจะไปยังจ.พิษณุโลก เมื่อ ถึง จ.พิษณุโลกแล้ว ท่านจึงโดยสารรถยนต์ ต่อไปยังบ้านป่าหญ้าคา ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านพระอาจารย์แถว เพื่อทำกิจธุระ เมื่อทำธุระเสร็จแล้ว ท่านพระอาจารย์แถวจึงพาท่านลงมา ที่วัดนิรมลวัฒนา อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งท่านพระอาจารย์แถวเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ต่อมาในวันวิสาขบูชา ท่านพระอาจารย์สาครได้มีโอกาสพบ ท่านพระอาจารย์ทองดี ชุตินธโร เป็นครั้งแรก ซึ่งมาร่วมลงอุโบสถที่วัด และท่านพระอาจารย์สาคร ได้มีโอกาส พูดคุยกับท่านพระอาจารย์ทองดี เรื่องครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ สายองค์หลวงปู่มั่นภูริทัตโต ซึ่งขณะนั้น ครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ เริ่มทยอยเดินทาง กลับสู่ภาคอีสานแล้ว แต่เนื่องจากขณะนั้น ใกล้ฤดูการเข้าพรรษา ท่านพระอาจารย์สาคร จึงจำพรรษาที่วัดนิรมลวัฒนา กับท่านพระอาจารย์แถวก่อน กราบองค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เมื่อออกพรรษา ท่านพระอาจารย์สาคร จึงออกเดินทาง กลับจากจังหวัดเพชรบูรณ์ สู่ภาคอีสาน การเดินทาง ของท่านพระอาจารย์สาครคราวนั้น ท่านต้องเดินทางผ่าน จ.เลย ท่านจึงแวะกราบนมัสการ องค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ซึ่งขณะนั้นองค์หลวงปู่ชอบ พักอยู่ที่วัดม่วงไข่ อ.วังสะพุง จ.เลย เมื่อท่านพระอาจารย์สาคร เข้าไปกราบนมัสการองค์หลวงปู่ชอบ ซึ่ง ท่านมีจิตเมตตา ให้ท่านพระอาจารย์สาคร พักอยู่ด้วย พร้อมทั้งแนะนำ ให้อุบายธรรมต่างๆ ให้ท่านพระอาจารย์สาคร นำไปปฏิบัติ ทำให้ผลการปฏิบัติธรรม ของท่านพระอาจารย์สาคร มีความก้าวหน้า ขึ้นตามลำดับ ช่วงเวลาที่ท่านพระอาจารย์สาคร ได้พักอยู่กับองค์หลวงปู่ชอบนั้น ท่านต้องตื่นแต่ตี ๓ เพื่อมารองน้ำหมอกไว้เป็นน้ำฉัน ท่านกลางอากาศหนาวจัด ขนาดที่ว่ากำมือแล้ว ต้องเอามืออีกข้างหนึ่งมาแกะออก อีกทั้งเครื่องกันหนาวต่างๆ ก็มีไม่มากเหมือนยุคปัจจุบัน ในช่วงกลางวันที่ต้องทำงานก่อสร้าง ท่านพระอาจารย์สาครต้องหาฟืน และผ่าฟืนด้วย ท่านผ่าฟืนมากจนมือพอง จากมือพองจนมือแตก ในช่วงกลางคืน องค์หลวงปู่ จะพาพระเณรนั่งภาวนา ตั้งแต่ช่วงค่ำ จนกระทั่ง ๔ ทุ่ม จึงพาทำวัตรเย็น ในขณะที่พระเณรนั่งภาวนากันเงียบอยู่นั้น องค์หลวงปู่ก็จะสูบบุหรี่ ฉันหมาก และฉันหมาก สูบบุหรี่ สลับกันไป แต่หากใครพลิกขา หรือขยับแม้แต่นิดเดียว ท่านก็จะรู้ ท่านจะพูดว่า “พระพวกนี้เคารพขา มากกว่าเคารพธรรม อุตส่าห์แบกกลดแบกบาตร แสวงหาธรรม แต่เมื่อธรรมเกิดขึ้น กลับไม่ยอมพิจารณา” สิ่งเหล่านี้ เป็นตัวอย่างอุบาย ที่องค์หลวงปู่ชอบ ใช้อบรมสั่งสอนศิษย์ ท่านพระอาจารย์สาคร ได้อยู่ศึกษาปฏิบัติธรรม จากองค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม อยู่ช่วงระยะหนึ่ง ต่อมาองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ซึ่งขณะนั้นท่านพักอยู่ที่วัดกกกอก ต.งิ้วตาก อ.วังสะพุง จ.เลย ได้มีจดหมายนิมนต์พระเณรในแถบนั้น ไปร่วมงานทำบุญฉลองศาลา วัดกกกอก ท่านพระอาจารย์สาคร จึงได้ไปร่วมงาน และได้มีโอกาสกราบนมัสการ องค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ในครั้งนั้นด้วย อุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ในคราวที่ไปร่วมงานฉลองศาลาวัดกกกอกนั้น ท่านพระอาจารย์สาคร ได้มีโอกาสเข้ากราบนมัสการองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ต่อเมื่อเสร็จงานฉลองศาลาแล้ว เณรผู้ดูแลอุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย ต้องไปคัดเลือกทหาร ท่านพระอาจารย์สาคร จึงได้รับเมตตาจากององค์หลวงปู่หลุย ให้ทำหน้าที่นี้ พร้อมกับได้มีโอกาส ฟังพระธรรมาเทศนา อบรมสั่งสอน ฝึกความอดทน และรับการแนะนำ ธรรมภาคปฎิบัติ จากองค์หลวงปู่หลุยอีกด้วย การอยู่ดูแลรับใช้ อุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร นั้น ท่านพระอาจารย์สาคร ได้มีโอกาสติดตามองค์หลวงปู่ ออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆทั่วจังหวัดเลย และจังหวัดใกล้เคียง หลวงปู่หลุย จันทสาโร หลวงปู่ซามา อจฺตโต ธุดงค์กับองค์หลวงปู่หลุย ครั้งหนึ่งท่านพระอาจารย์สาคร มีโอกาสได้ธุดงค์ติดตามเพียงลำพัง ไปกับองค์หลวงปู่หลุย เมื่อองค์หลวงปู่ต้องเดินทาง ไปงานที่วัดท่าแขก โดยองค์หลวงปู่หลุยพาเดินทาง จากบ้านกกกอก ข้ามเขาลงมายังบ้านไร่ม่วง เพื่อกราบองค์หลวงปู่ซามา อจุตโต ที่วัดป่าอัมพวัน อ.เมือง จ.เลย ซึ่งระหว่างทางนั้นเอง ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ถูกฝึกความอดทน ความเพียร จากองค์หลวงปู่หลุยอย่างหนัก กล่าวคือ ครั้งหนึ่งซึ่งตรงกับวันโกน ในพระธรรมวินัย ซึ่งองค์หลวงปู่หลุย อนุญาตให้ท่านพระอาจารย์สาคร ปลงเกศา ให้องค์หลวงปู่จนเสร็จแล้ว องค์หลวงปู่ ก็ไปสรงน้ำชำระร่างกาย ท่านพระอาจารย์สาคร จึงเริ่มปลงเกศาของท่านเอง เมื่อท่านปลงเกศาไปได้เพียงครึ่งเดียว องค์หลวงปู่หลุยก็สรงน้ำเสร็จพอดี ท่านได้บอกกับท่านพระอาจารย์สาครว่า “เราออกเดินทางกันต่อไปเถอะ” คำว่า “ไป” ขององค์หลวงปู่หลุยนี้ ท่านมิได้เพียงแต่พูด ท่านได้ออกเดินทางไปจริงๆ ท่านพระอาจารย์สาคร จึงต้องหยุดการปลงเกศาตนเองไว้เท่านั้น รีบไปเก็บสัมภาระอัฐบริขารต่างๆ ทั้งของท่านเองกับขององค์หลวงปู่ด้วย ซึ่งมีถุงบาตร และ ย่าม อย่างละ ๒ ใบ แล้วรีบออกเดินทางต่อ เพื่อที่จะติดตามองค์หลวงปู่หลุยให้ทัน เมื่อเดินทันองค์หลวงปู่ หลุยแล้วท่านจึงเริ่มทำการปลงเกศาต่อ โดยใช้วิธีเดินไปปลงเกศาไป เพื่อปลงให้แล้วเสร็จก่อนถึงหมู่บ้าน ซึ่งครั้งนั้นเป็นการปลงเกศาที่ลำบากมาก เพราะมือข้างหนึ่งทำการปลงเกศา อีกข้างหนึ่ง ก็แบกย่ามกับถุงบาตรอีก ๒ ใบ ซึ่งโดยปกติการเดินปลงเกศา ก็เป็นเรื่องลำบากอยู่แล้ว แต่ท่านยังต้องสะพายของบนบ่าอีก จึงเป็นการเพิ่มความลำบาก ให้กับท่านยิ่งขึ้น ในครั้งนั้น ท่านจึงถูกมีดโกนบาด เสียหลายแผล เมื่อกราบลาองค์หลวงปู่ชามา อจุตโต แล้ว องค์หลวงปู่หลุย ได้พาเดินต่อไปยังถ้ำผาปู่ เพื่อกราบ องค์หลวงปู่คำดี ปภาโส และที่นี่ ท่านได้รับการฝึกอีกครั้งในระหว่างที่ พักอยู่ที่นี่ คือ โดยปกติแล้วหลังจาก ท่านทำอาจริยวัตร ถวายองค์หลวงปู่หลุยเสร็จ ในช่วงเช้า และองค์หลวงปู่ได้เข้าพักแล้ว โดยปกติองค์หลวงปู่จะออกมาอีกครั้ง ในเวลา ๒-๓ โมง ท่านพระอาจารย์สาคร จึงแยกไปภาวนาที่ถ้าผาปู่เพียงลำพัง สักครู่ที่ท่านเดินจงกรมภาวนาอยู่ ปรากฎว่าจิตท่านมีอาการผิดปกติ ข้างในมีอาการใจเต้นเร็ว ท่านเห็นผิดปกติ จึงออกจากการภาวนา เดินออกมา พอพ้นถ้ำเท่านั้นก็ได้ยินเสียงระฆัง อันเป็นสัญญาน เรียกพระเณรที่ถ้ำผาปู่ดังลั่นวัด ท่านจึงรีบมาทันที ปรากฏว่าองค์หลวงปู่หลุย เป็นผู้ตีระฆังเพื่อเรียกหาท่าน พระเณรออกมาดูกันทั้งวัด แต่เพราะท่านอยู่ในถ้ำ จึงไม่ได้ยินเสียงเลยแม้แต่น้อย องค์หลวงปู่จึงถามท่าน และบอกว่าจะเดินทางต่อ อันเป็นนิสัยการมาเร็วไปเร็ว ขององค์หลวงปู่ ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบเรียนถึงที่อยู่ และอาการของจิตท่าน องค์หลวงปู่จึงมิได้ต่อว่าอย่างไร นับเป็นอีกครั้ง ที่การภาวนา และความจดจ่ออยู่กับครูบาอาจารย์เสมอ ช่วยให้ท่านไม่ถูกตำหนิได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติอันพึงมี ในพระติดตามครูบาอาจารย์ต่อไป เมื่อออกจากวัดถ้ำผาปู่แล้ว ได้เดินธุดงค์ต่อไปยังวัดท่าแขก อันเป็นเป้าหมาย ท่านพระอาจารย์สาคร ได้อยู่ช่วยงานศพจนแล้วเสร็จ และเมื่อพระอุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย ได้มาถึงแล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบลาองค์หลวงปู่หลุย ที่วัดท่าแขกนี้เอง องค์หลวงปู่หลุย วางใจในท่านพระอาจารย์สาครแล้ว จึงอนุญาตให้ไปได้ ท่านจึงได้เดินทางย้อนกลับมา ยังถ้ำผาบิ้ง โดยหมายใช้เป็นที่วิเวกภาวนาต่อไป เวทนาทางกาย ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๐ ขณะที่ท่านพระอาจารย์สาคร ธุดงค์มาถึงที่ถ้ำผาบิ้ง ท่านได้พิจารณาพักอยู่ เพื่อภาวนาชั่วระยะหนึ่ง (ขณะนั้น องค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ยังไม่ได้อยู่ที่ถ้ำผาบิ้งนี้) ท่านได้ไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านน้ำทบ ได้เพียงข้าวเปล่าเท่านั้น และบางวันก็ได้พริกป่น กับเกลือมาด้วย ท่านก็ได้พิจารณาฉันตามฐานะนักบวช หากด้วยความไม่คุ้นเคย ทำให้ท่านปากพองแสบร้อนไปหมด จนแม้แต่ฉันน้ำ ก็ยังทรมาน เกิดเวทนาทางกายยิ่งนัก
เสือช่วย ตกคืนนั้นที่ท่านนั่งภาวนาอยู่ภายในถ้ำ ปรากฎมีเสียง สวบ สวบ ดั่งเสียงเสือเดินอยู่หน้าถ้ำ ด้วยความกลัวท่านจึงนั่งหลับตานิ่ง เร่งภาวนา พุทโธ พุทโธ อยู่ภายในใจ จนจิตสงบเงียบลงไป เหลือแต่มีความรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ขณะนั้นท่านพิจารณาร่างกาย สังขาร ข้อธรรมใดก็พิจารณาได้หมด จวบจนกระทั่งเช้าได้เวลาบิณฑบาต จึงได้ถอนออกจากการภาวนา นับเป็นเวลานานที่ผ่านไปอย่างรวดเร็ว นับจากที่ท่านได้เข้าภาวนา ขณะได้ยินเสียงเสือเมื่อราว ๑ ทุ่ม เมื่อท่านออกจากภาวนาแล้ว ก็ได้หวนคิดดื่มด่ำกับสิ่งที่เกิดขึ้น อัศจรรย์ว่า “ตัวเราภาวนาได้ขนาดนี้เชียวหรือ” และคิดว่า “ ถ้าเสือไม่ช่วยเราคงยังติดขัดอยู่” ขณะที่ภาวนานั้นก็ไม่รู้ เสือหายไปทางไหน เมื่อท่านมาดูอย่างละเอียด จนเข้าใจ่ว่า น่าจะเป็นบ่างมากินมะขามจากต้นหน้าถ้ำมากกว่า เช้านั้นท่านออกไปบิณฑบาต ก็ได้ข้าวกับพริกเกลือเช่นเดิม แต่ครั้งนี้ท่านฉันแล้วไม่รู้สึกแสบปาก แสบลิ้นดังที่เคย ท่านจึงได้อยู่ภาวนาต่อในถ้ำนี้ และตลอดเวลา ๒-๓ อาทิตย์ที่อยู่นั้น การภาวนาของท่านได้ผลดีเป็นอย่างยิ่งแต่เพราะมีนัดหมายกับท่านพระอาจารย์ทองดีไว้ ว่าจะไปพบกัน ที่วัดถ้ำกลองเพลจ.อุดรธานี ก่อนสิ้นเดือนเมษายน ทำให้ท่านต้องละจากถ้ำผ้าบิ้งนี้ไป จากถ้ำผาบิ้งไปวัดถ้ำกลองเพล หลังฉันเช้าเสร็จ ประมาณ ๙ โมงเช้า ท่านพระอาจารย์สาคร ออกเดินเท้าจากถ้ำผาบิ้ง เพื่อไปยังหมู่บ้านโนนสงเปลือย จ.หนองบังลำภู โดยมีระยะทางทั้งสิ้นกว่า ๙๕ กิโลเมตร ท่านเดินทางตามผ่านป่า ผ่านดงหนองไผ่ หากช่วงไหนเป็นหมู่บ้าน ท่านจะเดินเลี่ยงอ้อมเอา ท่านพระอาจารย์สาคร เดินภาวนาพุธโธไปตลอดระยะทาง ทำให้จิตสงบ กายเบา จิตเบา จนท่านสามารถเดินได้เร็วมาก โดยไม่เหน็ดเหนื่อยเลยแม้แต่น้อย ท่านมาถึงไร่โยมพ่อ บ้านโนนสงเปลือย เวลาบ่าย ๔ โมงเย็น ใช้เวลาเดินเท้าทั้งสิ้นเพียง ๗ ชั่วโมงเท่านั้น นับเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง เมื่อมาถึงไร่ ปรากฏว่าโยมพ่อกลับไปบ้านแล้ว ท่านจึงกางกลด พักอยู่ที่กระต๊อบในไร่นั้นเอง เช้าวันรุ่งขึ้น ได้บิณฑบาตโปรดโยม ที่บ้านโนนสงเปลือย แล้วไต่ถามได้ความว่า โยมพี่สะใภ้จะเดินทางไปอุดรธานีพอดี จึงนั่งรถโดยสารไปกับโยมพี่สะใภ้ เพื่อเดินทางต่อไปจนถึงวัดถ้ำกลองเพล
กราบองค์หลวงปู่ขาว อนาลโย เมื่อถึงวัดถ้ำกลองเพล (พุทธศักราช ๒๕๑๐) ท่านพระอาจารย์สาครได้เข้ากราบนมัสการองค์หลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งขณะนั้น กำลังอาพาธ และมีครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่สำคัญหลายองค์ มาถวายการดูแลองค์หลวงปู่ อันได้แก่ ท่านพระอาจารย์สุวัจน์ สุวโจ ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร ท่านพระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต ซึ่งถือว่าเป็นโชคดี ของท่านพระอาจารย์สาคร ที่ได้มีโอกาสรับใช้ ครูบาอาจารย์องค์สำคัญ ในคราวนั้นด้วย หลังจากที่ได้พบ กับท่านพระอาจารย์ทองดี ที่วัดถ้ำกลองเพล ตามที่ได้นัดหมายไว้ จึงได้กราบลาองค์หลวงปู่ขาวอนาลโย เพื่อออกเดินทางต่อไป
กราบองค์หลวงปู่ฝั้นครั้งแรก ท่านพระอาจารย์สาคร ออกเดินทางจากวัดถ้ำกลองเพล พร้อมท่านพระอาจารย์ทองดี โดยได้พาท่านพระอาจารย์สาคร ไปงานศพท่านพระอาจารย์สีลา อิสสโร อุปัชฌาย์ของท่านพระอาจารย์ทองดี ที่สำนักงานสงฆ์วัดโพธิ์ชัย ตำบลวาใหญ่ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร และที่นี้เอง ที่ท่านพระอาจารย์สาคร ได้พบองค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นครั้งแรก ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ระลึกถึงคำขององค์หลวงปู่หลุย ที่บอกว่าองค์หลวงปู่ฝั้น เป็นพระที่ได้รับการยกย่อง จากองค์หลวงปู่มั่น ในด้านความสามารถ ทางด้านจิตใจ ทั้งองค์หลวงปู่หลุย แม้พรรษาจะมากกว่าองค์หลวงปู่ฝั้น ก็เรียกองค์หลวงปู่ฝั้น ด้วยความเคารพว่า “อาจารย์ใหญ่” ดังนั้นองค์หลวงปู่ฝั้น จึงเป็นพระผู้ที่มีความสำคัญมาก ทั้งท่านพระอาจารย์ทองดี ก็สนับสนุนให้ไปอยู่กับองค์หลวงปู่ฝั้น โดยให้เหตุผลว่า ที่นั้นมีตั้ง ๒ วัด หากไม่พอใจในวัดป่าอุดมสมพร ก็สามารถขึ้นเขาไปอยู่ที่ถ้ำขามได้ ดังนั้น เมื่อเสร็จจากงานศพท่านพระอาจารย์สีลา แล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร ได้แยกกับ ท่านพระอาจารย์ทองดี ที่นี่เอง โดยท่านตั้งจุดหมายการเดินทาง ต่อไป ยังวัดป่าอุดมสมพร อ.พรรนานิคม จังหวัดสกลนคร เพื่อกราบถวายตัวเป็นลูกศิษย์ ขององค์หลวงปู่ฝั้นต่อไป ถึงวัดป่าอุดมสมพร ลุถึงวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ พุทธศักราช ๒๕๑๐ อันเป็นวันลงอุโบสถ ท่านก็ถึงวัดป่าอุดมสมพร ได้กราบองค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และนับจากวันนั้น ท่านได้อยู่ถวายตัว เป็นศิษย์องค์หลวงปู่ฝั้นมาตลอด ขณะนั้นที่วัดป่าอุดมสมพร มีพระอยู่เพียง ๕ รูป และเณรอีก ๑ รูป คือ ๑.องค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ๒.ท่านพระอาจารย์แปลง สุนฺทโร ๓.หลวงตาพรหม ๔.หลวงตาไข ๕.หลวงตาอ่อน และเณร ด้วยขณะนั้น ท่านพระอาจารย์ปิ่น ปิยธัมโม ไม่อยู่ และท่านพระอาจารย์อุทัย สิริธโร ยังไม่ลงมาจากถ้ำขาม ทั้งท่านพระอาจารย์แปลง ก็มีภาระดูแลงานอื่นเป็นจำนวนมาก คงมีหลวงตาอ่อน ดูแลอุปัฏฐากองค์หลวงปู่ฝั้น อยู่ผู้เดียว ท่านพระอาจารย์สาคร จึงได้เข้าช่วยงาน หลวงตาอ่อนอีกแรงหนึ่ง นับจากนั้น ท่านก็ได้รับหน้าที่ ดูแลอุปัฏฐากองค์หลวงปู่ฝั้น มาโดยตลอด จากการที่มีโอกาสรับใช้ใกล้ชิด องค์หลวงปู่ฝั้น และได้รับฟังโอวาท ได้เห็นจริยาวัตรอันงดงาม ทั้งข้อปฏิบัติที่เพียบพร้อม ทำให้ท่านพระอาจารย์สาคร เกิดความศรัทธาและลงใจ ในองค์หลวงปู่ฝั้นเป็นอย่างยิ่ง แม้เพิ่งจะมาถวายตัวรับใช้กับองค์หลวงปู่ เพียงไม่นาน
เพชรบนยอดมงกุฎแห่งเมืองเลย มาวัดป่าอุดมสมพร ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ พุทธศักราช ๒๕๑๐ หลังจากพำนักอยู่กับองค์หลวงปู่ฝั้นเพียง ๗ วัน องค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม และองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ได้เดินทางมาเยี่ยมองค์หลวงปู่ฝั้น และรอลงอุโบสถร่วมกันในวันวิสาขบูชา ที่วัดป่าอุดมสมพร เมื่อองค์หลวงปู่ท่าน ได้กราบคารวะกันแล้ว องค์หลวงปู่หลุยเห็นท่านพระอาจารย์สาคร กำลังจัดอาสนะอยู่นั้น ท่านจึงกล่าวขึ้นกับองค์หลวงปู่ฝั้นว่า “พระองค์นี้เคยอยู่กับผมมาก่อน” องค์หลวงปู่ชอบก็ได้กล่าวขึ้นด้วยว่า “เคยอยู่กับผมเหมือนกันพระองค์นี้” ท่านพระอาจารย์สาคร จึงกราบเรียนองค์หลวงปู่ฝั้นว่า ท่านเคยอยู่กับองค์หลวงปู่ชอบมาก่อนที่วัดป่าม่วงไข่ แล้วจึงมาอยู่กับองค์หลวงปู่หลุย ที่บ้านกกกอก หลังจากลงอุโบสถ ในวันวิสาขบูชา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อองค์หลวงปู่ชอบ และ องค์หลวงปู่หลุย ได้กลับไปแล้ว นับจากวันนั้นมา ท่านพระอาจารย์สาครเปรียบว่า เหมือนผ้าเช็ดหน้า จะบิดให้ขาดเสียให้ได้ องค์หลวงปู่ฝั้น เปลี่ยนจากองค์หลวงปู่องค์เดิม อย่างสิ้นเชิง หันมาเข้มงวด กับท่านพระอาจารย์สาครมากขึ้น หากมีอะไรผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ก็จะค่อยดุว่า ไม่ปล่อยให้ความผิดพลาดนั้นผ่านไปเฉยๆ บางครั้งความผิดพลาดของท่าน ก็นำมาเทศน์บนศาลา เทศน์กันเป็นอาทิตย์ๆเป็นเดือนๆ ในความผิดนั้นๆ ทั้งนี้คงเป็นเจตนาขององค์หลวงปู่ฝั้น ที่ต้องการทดสอบความเข้มแข็ง ทางจิตใจของลูกศิษย์ และต้องการให้ศิษย์ได้ดีในทางธรรม อยากหนี จากการที่องค์หลวงปู่ฝั้นเข้มงวดกวดขัน ท่านพระอาจารย์สาคร ไม่ว่าท่านพระอาจารย์สาครจะทำอะไร ดูเหมือนจะผิดไปหมด กลับถูกเข่น ถูกว่าสารพัด เผลอสติเป็นไม่ได้ ไม่เพียงท่านที่ถูกเข่นเท่านั้น เณรที่รับใช้องค์หลวงปู่ ก็ได้รับความเข้มงวด จนเณรร้องไห้อยู่แทบทุกวัน กระนั้น วันหนึ่งท่านติดขัด เรื่องการจัดยาให้หลวงปู่จึงถามเณร เณรก็ยังตอบว่า “ครูบาเอาตามาด้วยหรือเปล่า ครูบาเอาหูมาด้วยหรือเปล่า” ทำให้ท่านอึดอัดขัดข้องยิ่งขึ้นไปอีก ขณะนั้นท่านคิดว่า “ต่อไปไม่ว่างานเรื่องอะไรในวัดนี้ เราจะต้องเรียนรู้ให้หมดให้ได้” ในแต่ละวัน ไม่ว่าใครจะทำอะไร ผิดมาในวันนั้นก็ดี หรือเหตุเก่าก็ดี พอขึ้นศาลาองค์ หลวงปู่ต้องดุว่า แต่ท่านพระอาจารย์สาครองค์เดียว ทำให้ท่านคิดเบื่อหน่าย อยากจะหนีเป็นที่สุด กำหราบความคิด เมื่อท่านมีความคิดอยากหนีวันไหน พอขึ้นไปบนกุฏิองค์หลวงปู่ฝั้น เพื่อทำอาจริยาวัตรปกติ บางครั้งยังไม่ทันจะนั่งกราบเลย องค์หลวงปู่ ก็พูดขึ้นว่า “จะไปไหนก็ผีตัวเก่า ถ้าไม่ตั้งใจภาวนา จะอยู่ที่ไหนก็ผีตัวเก่า” พออีก ๒-๓ วันคิดจะไปอีก องค์หลวงปู่ก็พูดขึ้นอีก ทำให้ใจท่าน ไม่คิดฟุ้งไปกว่านี้ บางครั้งใจก็คิดอยากจะไปดูถ้ำขามบ้าง ว่าเป็นอย่างไร อยากไปดูวัดดอยธรรมเจดีย์บ้าง ว่า เป็นอย่างไร พอขึ้นกุฏิ องค์หลวงปู่ ก็จะเล่าเรื่องวัดนั้นๆให้ฟังทันที ทำให้ท่านต้องคอยสำรวม ระมัดระวังความคิด อยู่ตลอดเวลา
หมาแทะกระดูก บ่อยครั้งเมื่อลูกศิษย์คิดถึงบ้าน องค์หลวงปู่ฝั้นจะเมตตายกเรื่อง ของท่านขึ้นเทศน์ให้ฟัง ถึงเมื่อครั้งองค์ท่านเองก็เคยเบื่อหน่าย ท้อแท้ จนคิดจะกลับบ้านเช่นกัน วันหนึ่งขณะที่องค์หลวงปู่ เดินบิณฑบาตอยู่นั้น เห็นหมาตัวหนึ่งเดินตามเจ้าของอยู่ สักพักมันเจอกระดูกเก่าท่อนหนึ่ง มันก็หยุดแทะตามประสาหมา แต่เจ้าของก็เดินต่อไป มันแทะอยู่สักพัก ก็วิ่งตามเจ้าของไป แต่แล้วก็หันวิ่งกลับมาแทะต่ออีก แล้วก็วิ่งกลับไปหาเจ้าของอีก กลับไปกลับมาอยู่หลายครั้ง จนเจ้าของเดินไกลออกไปมากแล้ว มันจึงได้วิ่งตามเจ้าของไปอย่างอาลัย องค์หลวงปู่เห็นอาการมันแล้ว ก็กลับมานึกเป็นธรรม อบรมตัวองค์ท่านได้ว่า “การอาลัยในบ้านขององค์ท่าน ก็เหมือนหมาตัวนั้น ที่อาลัยในกระดูกเก่าอันจืดชืด แต่มันไม่รู้ว่ากระดูกนั้นไม่มีรสอะไรแล้ว ที่หลงอยู่ ก็หลงในน้ำลายของตัวเองเท่านั้น ชีวิตทางโลก ก็เหมือนกระดูกเก่าที่หาค่า อันใดมิได้ ความหลงในสิ่งที่ฉาบทาไว้ ก็เหมือนหมาที่หลงอร่อยน้ำลายตัวเอง” เมื่อองค์หลวงปู่ ท่านพิจารณาได้เช่นนั้น ก็วางความคิดถึงบ้านลงได้ ท่านพระอาจารย์สาคร ก็ได้ธรรมข้อนี้ ช่วยให้ท่านผ่านพ้นมาได้ ท่านจึงซาบซึ้ง ถึงพระคุณขององค์หลวงปู่ฝั้น อย่างถึงที่สุด ว่าทางหนึ่ง ท่านก็เข่นเอาเต็มที่ แต่อีกทางหนึ่งก็เมตตา คอยประคับประคอง หาอุบายธรรมช่วยเหลือเต็มที่เช่นกัน ปัจจุบันหากท่านพระอาจารย์สาคร เดินทางไปกราบนมัสการ เจดีย์องค์หลวงปู่ฝั้น ที่วัดป่าอุดมสมพร ท่านจะต้องไปดูภาพแกะสลักเรื่อง “หมาแทะกระดูก” ที่ฐานองค์เจดีย์ ด้วยความระลึกซาบซึ้งในพระคุณ อยู่ทุกครั้งไป
ศึกษาปฏิบัติธรรม และอุปัฏฐาก องค์หลวงปู่ฝั้น เมื่อท่านพิจารณาเข้าใจถึงความเมตตา ขององค์หลวงปู่ฝั้นแล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร ก็ตั้งใจอยู่รับการอบรมอย่างถึงที่สุด คราวนี้ ท่านกลับกลัวองค์หลวงปู่ฝั้นไล่หนีเอา ทั้งนี้ด้วยเห็นพระบางองค์ ถูกองค์หลวงปู่ไล่หนี บางองค์มาถึงวัด ยังไม่ทันแก้บาตรเลย ก็ถูกบอกให้หลีกไปที่อื่นแล้ว ท่านจึงอยู่ด้วยความระมัดระวัง ในเรื่องข้อวัตรปฏิบัติให้ดีที่สุด ท่านพระอาจารย์สาคร คอยปฏิบัติองค์หลวงปู่ฝั้นอย่างใกล้ชิด ดุจเป็นเงาขององค์หลวงปู่ ท่านจะดูแลองค์หลวงปู่ฝั้นตั้งแต่ตอนที่ องค์หลวงปู่ตื่นขึ้นมา โดยจะเข้าไปถวายน้ำล้างหน้า ไม้สีฟัน เปลี่ยนกระโถน รับผ้าจีวรมาที่ศาลา ตอนบิณฑบาตรจะช่วยองค์หลวงปู่ ครองผ้ากลัดรังดุม และคอยส่งบาตร รับบาตรองค์หลวงปู่ แล้วรีบกลับมาเตรียมน้ำอุ่น ล้างเท้าให้องค์หลวงปู่ แล้วจึงคอยเช็ดเท้าให้แห้ง เวลาฉันอาหาร ท่านพระอาจารย์สาคร จะเป็นผู้จัดอาหารถวาย ทั้งนี้เพราะ องค์หลวงปู่ฝั้นท่านไม่จัดอาหารเอง แม้ในคราวที่มีนิมนต์ไปฉันข้างนอกก็ตาม ท่านพระอาจารย์สาคร จะขอโอกาสพระเถระองค์อื่น เพื่อจะได้นั่งใกล้องค์หลวงปู่ฝั้น เพื่อคอยจัดอาหารถวาย ท่านพระอาจารย์สาคร ต้องฉันให้เสร็จก่อนองค์หลวงปู่ เพื่อจะได้นำบาตรของตนไปล้างก่อน แล้วจึงนำบาตรขององค์หลวงปู่ไปล้าง แล้วนำมาเช็ดให้แห้ง ก่อนนำไปผึ่งไว้ แล้วรีบกลับมาถวายไม้สีฟัน ถวายยา เก็บของ เก็บกระโถน รับผ้าจีวร แล้วรีบนำบริขารขององค์หลวงปู่ ไปเก็บไว้ที่กุฏิ แล้วมาคอยเป็นปัจฉาสมณะ ดูแลองค์หลวงปู่ ถ้ามีงานภายในวัด ท่านจะกราบเรียนขอโอกาสไว้ แล้วไปทำงานนั้นๆจนเสร็จ ซึ่งงานส่วนมาก เป็นงานที่คนอื่นไม่กล้าทำ แต่ด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว ท่านจะรับอาสาทำเสมอ อาทิ ตอนที่แบกเสากุฏิ ท่านบอกว่า ถ้าแบกเสา ๑ ต้น ทีละ ๒ คน แต่ถ้าแบก ๓ คน ๒ ต้นน่าจะดีกว่า โดยท่านพระอาจารย์สาคร ท่านรับเป็นคนที่อยู่ตรงกลาง ยอมแบกคนเดียว ๒ ต้น เป็นต้น นอกจากนี้ท่านยังดูแลรักษาเสนาสนะ ร่วมทำงานก่อสร้าง ภายในวัดและภายนอกวัด เช่นงานสร้างเจดีย์ที่หลังกุฏิองค์หลวงปู่ฝั้น งานสร้างถนนวัดถ้ำขาม งานสร้างศาลาวัดถ้ำขาม งานสร้างเขื่อนกั้นน้ำอูน และสะพานบ้านบะทอง งานสร้างโรงพยาบาลหลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นต้น เมื่อถึงตอนเย็น ท่านพระอาจารย์สาคร จะคอยดูแลสรงน้ำองค์หลวงปู่ เมื่อองค์หลวงปู่สรงน้ำเสร็จ ต้องรีบเช็ดพื้นห้องน้ำให้แห้ง เพราะเป็นพื้นไม้ ตอนกลางคืน ต้องทำวัตรสวดมนต์ และรับฟังโอวาทที่ศาลา เมื่อเลิกท่านก็ไปที่กุฏิองค์หลวงปู่ เพื่อไปส่งย่าม และคอยจับเส้นถวายองค์หลวงปู่ กว่าจะเลิก บางคืนก็เที่ยงคืน บางคืนล่วงไปจนถึงตีหนึ่ง เมื่อลงจาก กุฏิท่านจะลงไปเดินจงกรมต่อ แล้วจึงเข้าพัก บางคืน ท่านจะเดินจนถึงเวลาที่องค์หลวงปู่ตื่น ซึ่งโดยปกติแล้ว องค์หลวงปู่ฝั้นจะเข้าพักไม่นาน เมื่อองค์หลวงปู่ฝั้นท่านตื่น ท่านพระอาจารย์สาคร ก็จะรีบเข้าไปถวายน้ำล้างหน้าอีก ในข้อวัตรต่างๆเหล่านี้ ท่านถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด อยู่ตลอดเวลา ซึ่งท่านพระอาจารย์สาคร จะมีคติสั้นที่ยึดปฏิบัติว่า “นอนทีหลัง ตื่นก่อน ฉันทีหลัง อิ่มก่อน” นอกเหนือจาก การมีข้อวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดแล้ว ในการเดินทาง แม้จะมีเป้าหมายที่แน่นอน หากด้วยบนหนทาง ย่อมต้องพบเครื่องกีดขวางอยู่บ้าง การจะฝ่าฟันไปได้นั้น ท่านพระอาจารย์สาคร ยังมีองค์พระพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือ ยามที่ท่านพบกับปัญหา ไม่ว่าทางด้านใดๆก็ดี ท่านได้มี องค์หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ ท่านพระอาจารย์แปลง สุนฺทโร ท่านพระอาจารย์เขี่ยม โสรโย ท่านพระอาจารย์อุทัย สิริธโร และท่านพระอาจารย์คำดี ปัญโญภาโส คอยเมตตาช่วยเหลือ ทำให้การปฏิบัติธรรม ของท่านพระอาจารย์สาคร ดำเนินไปอย่างราบรื่น ซึ่งท่านพระอาจารย์สาคร ก็ได้ซาบซึ้งในพระคุณ ของท่านพระเถระทุกองค์นี้เสมอ ดังนั้นนอกจากท่านจะไปกราบเยี่ยมแล้ว หากท่านสามารถจัดทำธุระสิ่งใด เพื่อตอบแทนได้ ท่านก็จะทำทันที
หลวงปู่สุุวัจน์ สุวโจ
พระอาจารย์แปลง สุนฺทโร
พระอาจารย์เขี่ยม โสรโย
พระอาจารย์อุทัย สิริธโร
พระอาจารย์คำดี ปัญโญภาโส
มั่นใจว่าจะไม่ถูกไล่หนี ถึงแม้ท่านจะตั้งใจปฏิบัติข้อวัตร และทำงานทุกอย่าง เต็มกำลังสติปัญญาความสามารถ หากแต่ยังหวั่นกลัวองค์หลวงปู่ฝั้นจะไล่หนีเอา จนวันหนึ่ง มีสิ่งที่ทำให้ท่าน รับรู้และมั่นใจว่าจะไม่ถูกไล่หนี กล่าวคือ ในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ท่านเจ้าคุณ ซึ่งเคารพองค์หลวงปู่ฝั้น ได้มากราบเยี่ยมองค์หลวงปู่ และปรารภขึ้นว่า ทางภาคตะวันตกของประเทศ นั้นยังมีพระกัมมัฏฐานน้อย ทั้งที่ดินแดนแถบนั้น ยังมีป่าอันสัปปายะอุดมสมบูรณ์อยู่ แม้ขณะนั้น จะมีท่านพระอาจารย์มหาปิ่นอยู่ แต่ท่านก็อาพาธ จึงอยากจะขอพระจากองค์หลวงปู่ ไปอยู่เป็นหลัก ให้แก่พระและญาติโยม ทางด้านนั้นบ้าง องค์หลวงปู่ฝั้นจึงถามว่า คิดจะเอาใครไป ท่านเจ้าคุณ ซึ่งได้เคยเห็นอาจริยวัตร และฝีมือการทำงาน ในตัวท่านพระอาจารย์เป็นประจักษ์แล้ว จึงกล่าวขอตัวท่านพระอาจารย์ กับองค์หลวงปู่ฝั้น ซึ่งองค์หลวงปู่ฝั้น ก็ไม่อนุญาตให้ไป การที่องค์หลวงปู่ฝั้นท่านกล่าว ไม่อนุญาตนั้น ก็มีความหมายเป็นนัย ให้ท่านพระอาจารย์สาครรับรู้ได้ว่า แม้องค์หลวงปู่ฝั้นจะดุ จะว่าเอา แต่องค์หลวงปู่ท่านก็ได้รับรู้ถึง ความเอาใจใส่ ไม่ละวางการงาน ในตัวลูกศิษย์ผู้นี้อยู่เสมอ ซึ่งก็เพียงพอ ให้ท่านพระอาจารย์สาครซาบซึ้ง และเป็นกำลังใจ ให้ท่านยิ่งทุ่มเท แรงกายแรงใจถวายองค์หลวงฝั้นยิ่งขึ้นไป เมื่อองค์หลวงปู่ฝั้นอาพาธ ในปีพ.ศ. ๒๕๑๙ ท่านพระอาจารย์สาคร เป็นพระรูปหนึ่ง ในแปดรูป ที่ได้รับคัดเลือก ให้ดูแลองค์หลวงปู่ จากพระจำนวนร้อย ซึ่งท่านทำหน้าที่ คอยดูแลออกซิเจนให้องค์หลวงปู่ และถวายอาหาร ให้องค์หลวงปู่ในตอนเช้าด้วย จวบจนกระทั่ง องค์หลวงปู่ฝั้นท่านมรณภาพ ในวันอังคารที่ ๔ เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ ณ กุฏิวัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร หลังจากเสร็จพิธี พระราชทานเพลิงศพองค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านพระอาจารย์สาคร ได้เดินทางธุดงค์ แสวงหาที่ปฏิบัติธรรม เพื่อที่จะได้เร่งบำเพ็ญภาวนา ตามแนวทางคำสั่งสอนจากครูบาอาจารย์ ที่ท่านได้เมตตาอบรมแนะนำธรรม ละจากแดนดินอีสานสู่ภาคตะวันตก เมื่อสิ้นองค์หลวงปู่ฝั้น และเสร็จงานพระราชทานเพลิงศพแล้ว ในวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๑ ท่านก็ละจากวัดป่าอุดมสมพร เพื่อเดินทางไป อุปัฏฐากองค์หลวงปู่หลุย เพื่อเป็นอาจริยบูชา ที่องค์หลวงปู่หลุยเคยเมตตา ฝึกหัดอบรมแก่ท่าน ในโอกาสนี้ ท่านจึงมีโอกาสติดตามธุดงค์อีกครั้ง ไปกับองค์หลวงปู่หลุย ทุกจังหวัดทางภาคเหนือ และองค์หลวงปู่หลุย ได้พากราบเยี่ยมยังสถานที่ และวัดสำคัญอันองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้เคยมาเผยแพร่หลักธรรม คำสอนอยู่ เมื่อใกล้เข้าพรรษา องค์หลวงปู่หลุย ซึ่งได้พิจารณารับนิมนต์ ไปจำพรรษาที่หนองแซง จ.อุดรธานี ก็เดินทางกลับลงมา และแวะโปรดญาติโยม ที่สำนักสงฆ์ กม.๒๗ กรุงเทพมหานคร ส่วนท่านพระอาจารย์สาคร ก็มีนายอำเภอมานิมนต์ ให้ท่านไปเป็นเจ้าอาวาส ที่วัดภูซางใหญ่ จ.อุดรธานี แต่ท่านมิได้รับนิมนต์ไป ด้วยเมื่อหวนคิดถึง เมื่อครั้งท่านถูกขอตัว จากองค์หลวงปู่ฝั้น เพื่อไปอยู่ทางภาคตะวันตก “ด้วยแดนดินถิ่นนั้นขาดพระเณร ที่จะเป็นหลัก” ทำให้ท่านติดอยู่ในใจ ที่อยากจะไปช่วยเหลือ ทั้งในทางภาคอีสานนี้ ก็มีครูบาอาจารย์ พระเณรซึ่งเป็นหลักแก่พระพุทธศาสนา ให้พึ่งพิงมากมายอยู่แล้ว ท่านจึงคิดจะไปทางนั้นดู จึงได้กราบเรียนองค์หลวงปู่หลุย ซึ่งองค์หลวงปู่ก็อนุญาต ดังนั้นในคืนวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๑ อันวันรุ่งขึ้นองค์หลวงปู่จะเดินทางกลับไป จ.อุดรธานี ท่านพระอาจารย์สาคร จึงขอทำวัตรกับองค์หลวงปู่ โดยบอกแก่ญาติโยมที่นั้นว่า “เผื่อมันตายไป พรุ่งนี้ไม่ได้ไปกับหลวงปู่” นั่นก็เป็นที่แจ้งแก่ใจญาติโยม ที่เคารพนับถือ ในตัวท่านพระอาจารย์สาคร ว่าท่านจะไม่กลับไปด้วยแล้ว ก่อให้เกิดความอาลัย ร่ำไห้ออกมาหลายคน วันรุ่งขึ้น ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๑ ท่านพระอาจารย์สาคร ได้ส่งองค์หลวงปู่หลุย ขึ้นรถไฟที่ดอนเมือง ครั้นถึงเวลารถออก ท่านก็กราบลาลงมา นับเป็นเวลา ๕ เดือนเต็ม ที่ท่านได้ทำอาจริยบูชา ปรนนิบัติดูแลองค์หลวงปู่หลุยโดยใกล้ชิด กำเนิดวัดเวฬุวัน เมื่อท่านพระอาจารย์สาคร ขอโอกาสกราบลาจากองค์หลวงปู่หลุยแล้ว ท่านพระอาจารย์สาคร ได้พิจารณาแสวงหาที่ปฏิบัติธรรม โดยท่านได้เลือก ไปวิเวกทางจังหวัดกาญจนบุรี เพราะเห็นว่าสถานที่นั้น ยังไม่ค่อยมีพระปฏิบัติมาพักอยู่ ท่านจึงบอกกับลูกศิษย์ ให้ขับรถมารับ ที่วัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร เพื่อเดินทางไปทางจังหวัดกาญจนบุรี และได้มาส่งท่านถึงเพียงแค่ วัดพุทธวิมุติวนาราม อ.ไทรโยค ด้วยถนนเพิ่งสร้างมาสิ้นสุด ณ ตรงนั้น การเดินทางจึงต้องเดินทางต่อโดยทางเรือ จนถึงทองผาภูมิ ท่านจึงให้คณะที่มาส่งกลับไป เหลือแต่ท่านพระอาจารย์สาคร เดินทางต่อไปเพียงลำพัง เมื่อถึงทองผาภูมิ เนื่องจากท่านไม่รู้จักใคร ท่านจึงได้สอบถามหาโยม ผู้อุปถัมภ์วัดในละแวกนั้น ให้พาท่านไปดูถ้ำต่างๆ เพื่อเป็นที่พำนัก ปฏิบัติในพรรษาที่ใกล้จะมาถึง พวกโยมได้พาไปดูถ้ำหลายแห่ง จนในที่สุดท่านมาพบถ้ำแก่งกระโต่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เป็นที่จำพรรษาในคราวนั้นเอง
ถ้ำแก่งกระโต่ง
องค์หลวงปู่ฝั้นพาสร้างวัดใหม่ คืนหนึ่งที่ถ้ำแก่งกระโต่ง ท่านพระอาจารย์สาคร เข้าภาวนาตอนหัวค่ำอันเป็นปกติ ปรากฏว่าเมื่อจิตสงบแล้วในค่ำคืนนั้น ท่านได้นิมิตเห็นองค์หลวงปู่ฝั้น พาท่านและพระเณรสร้าง กุฏิพระ ศาลา ถนนหนทางในวัดแห่งหนึ่ง ท่านและพระเณรอื่นๆ ก็ช่วยกันสร้างอย่างแข็งขัน เฉกเช่นที่ท่านเคยช่วยงานก่อสร้าง กับองค์หลวงปู่ฝั้นมาตามปกติ ท่านอยู่สร้างวัดนั้นนานเหมือนเป็นปี จนท่านคุ้นเคยกับสถานที่นั้นเป็นอย่างดี ด้วยต้องเดินไปทั่วเขตวัดเพื่อสำรวจทาง และหาไม้ หาฟืน อยู่ทุกวัน จนท่านจำได้ว่ามีถนน มีกุฏิ ศาลา อยู่อย่างไร มีคลองทางน้ำ มีต้นไม้อะไรอยู่ตรงไหน สิ่งหนึ่งที่ท่านจำได้ชัด คือบ่อพุน้ำที่มีปลาอาศัย มีต้นไม้ที่ไม่มีรากแก้วล้มอยู่ ด้านโคนต้นอยู่ที่บ่อพุน้ำทางปลาย พาดคลองชี้ไปทางทิศตะวันออก วันหนึ่ง หลังจาก พักทำงาน ขณะองค์หลวงปู่ฝั้นมาพักฉันน้ำ องค์หลวงปู่ ก็พูดขึ้นกับท่านพระอาจารย์สาครว่า “ท่านอยู่ที่นี่นะ” ในนิมิตนั้น ท่านพระอาจารย์สาครได้ตอบไปว่า “กระผมไม่เอา กระผมจะกลับสกลนคร ที่นี่ลำบาก” ด้วยการตอบสวนคำ ที่ไม่เคยทำต่อองค์หลวงปู่ฝั้นมาก่อน จิตท่านจึงถอดออกทันที ซึ่งขณะนั้นเป็นเวลา ตี ๒ ล่วงเข้าวันใหม่ เมื่อมีโอกาสท่านพระอาจารย์สาคร จึงสอบถามกับญาติโยม ที่มีศรัทธามาทำบุญใส่บาตรว่า เคยเห็นสถานที่ที่มีลักษณะดังกล่าวหรือไม่ จนได้ความแล้วจึงได้ไปดู พบว่าสถานที่นั้น ตรงกับในนิมิตทุกประการ ซึ่งขณะที่เดินไปนั้น ท่านสามารถบอกล่วงหน้าได้ว่า ประเดี๋ยวตรงทางขึ้นวัด จะมีจอมปลวกและไม้แดงอยู่ ก็พบดังที่ท่านบอก และถัดไปจะมีต้นมะขามป้อม และมีคลองทางน้ำไหล มาจากบ่อพุน้ำด้านบน เดินไปตามคลองจะมีต้นฉะค่าง และเมื่อข้ามคลองไป จะเจอต้นแดงคู่อยู่ ก็เจอตามที่ท่านพูด เหมือนคุ้นเคยมาก่อน และเมื่อสุดคลอง ก็พบบ่อพุน้ำมีต้นไม้ล้มอยู่ ในลักษณะที่ท่านเห็นในนิมิตทุกประการ ดังนั้น ท่านจึงตัดสินใจ พาญาติโยมผู้มีศรัทธา เริ่มสร้างเสนาสนะ ตามที่องค์หลวงปู่ฝั้น บอกกับท่านในนิมิต และท่านได้อยู่จำพรรษา ณ สถานที่นี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๒ เรื่อยมา ต่อมาท่านได้สร้างเสนาสนะเพิ่มเติม จนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๓ ได้รับการประกาศ จากกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งเป็นวัดในพระพุทธศาสนา โดยสมบูรณ์ มีนามว่า วัดเวฬุวัน เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๓ และท่านพระอาจารย์สาคร ได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๗ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๑ และได้รับ พระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูภาวนาสุทธาจาร เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๑ นับจากวันที่ได้เริ่มสร้าง วัดเวฬุวันเป็นต้นมา สถานที่แห่งนี้ได้สร้าง ได้อบรมพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และอบรมอุบาสก อุบาสิกา ให้ดำรงอยู่ในเส้นทาง แห่งความเจริญรุ่งเรือง ของพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก อีกประการหนึ่ง อาจเป็นจุดประสงค์ขององค์หลวงปู่ฝั้น ที่ต้องการให้วัดเวฬุวัน เป็นสถานที่คอยสนับสนุน พระเณรที่มุ่งต่อการประพฤติ ปฏิบัติธรรม เพราะหากพิจารณาสภาพผืนป่า ที่เหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติ ในปัจจุบันนี้ก็จะเห็นว่า ผืนป่าภาคตะวันตก ยังคงความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด และเป็นสถานที่สัปปายะอย่างยิ่ง ซึ่งตำแหน่งที่ตั้งของวัดเวฬุวันนั้น เป็นเหมือนประตูที่เข้าไปสู่ผืนป่าดังกล่าว องค์หลวงปู่ฝั้น จึงได้สั่งให้ ท่านพระอาจารย์สาครสร้างวัดขึ้น ณ ที่ตรงนี้ เพื่อความเจริญแก่พระเณร และพระพุทธศาสนาต่อไป